ข้ามไปเนื้อหา

ภัยพิบัติกระสวยอวกาศแชลเลนเจอร์

พิกัด: 28°38′24″N 80°16′48″W / 28.64000°N 80.28000°W / 28.64000; -80.28000
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภัยพิบัติกระสวยอวกาศแชลเลนเจอร์
Space Shuttle Challenger disaster
กลุ่มควันพวยพุ่งบนท้องฟ้า หลังจากกระสวยอวกาศ ชาเลนเจอร์ระเบิด
วันที่28 มกราคม 1986; 38 ปีก่อน (1986-01-28)
เวลา11:39:13 EST (16:39:13 UTC)
ที่ตั้งมหาสมุทรแอตแลนติก, ใกล้ชายฝั่งของฟลอริดา
พิกัด28°38′24″N 80°16′48″W / 28.64000°N 80.28000°W / 28.64000; -80.28000
สาเหตุO-ring ซีลด้านขวาขัดข้อง SRB เนื่องจากสภาพอากาศที่เย็นจัดและลมเฉือน
ผล
  • สูญเสีย แชลเลนเจอร์ และลูกเรือ
  • โครงการครูในอวกาศและกระสวยอวกาศพลเรือนที่ตามมาถูกยกเลิก
  • หน่วยกระสวยอวกาศหยุดดำเนินการตามมาตรการความปลอดภัย
  • การสร้างกระสวยอวกาศ เอนเดฟเวอร์ ทดแทน
เสียชีวิต
ไต่สวนรายงานของคณะกรรมการโรเจอร์ส

ภัยพิบัติกระสวยอวกาศแชลเลนเจอร์ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มกราคม ค.ศ. 1986 โดยกระสวยอวกาศแชลเลนเจอร์ (OV-099) ของนาซา แตกเป็นเสี่ยง ๆ ในช่วงเวลาเพียง 73 วินาทีหลังออกบินในภารกิจ STS-51-L ทำให้สมาชิกลูกเรือทั้งเจ็ดคนเสียชีวิต เป็นนักบินอวกาศของนาซา 5 คนและเป็นผู้ชำนาญพิเศษน้ำหนักบรรทุก (Payload Specialist) 2 คน ยานอวกาศนั้นแตกทลายเหนือมหาสมุทรแอตแลนติก นอกชายฝั่งแหลมคะแนเวอรัล รัฐฟลอริดา เมื่อเวลา 11.39 ตามเวลามาตรฐานตะวันออก (16:39 UTC) การแตกทลายของยานเริ่มหลังผนึกโอริงในเครื่องเร่งความเร็วจรวด (solid rocket booster, SRB) ด้านขวาหลุดออกเมื่อปล่อยจรวด ความล้มเหลวของโอริงทำให้มีรอยแตกตามข้อของ SRB ที่มันผนึกไว้ ทำให้แก๊สเผาไหม้แรงดันสูงจากในมอเตอร์จรวดแข็งรั่วออกมาภายนอกและมีผลต่อฮาร์ดแวร์ยึดข้อสนามท้ายเครื่อง SRB และถังเชื้อเพลิงภายนอกติดกัน ทำให้มีการแยกการยึดข้อสนามท้ายจรวดของ SRB ด้านขวามือและการล้มเหลวทางโครงสร้างของถังภายนอก แรงทางอากาศพลศาสตร์พังส่วนโคจรนั้น

สุดท้ายมีการกู้ส่วนลูกเรือและอีกหลายส่วนของยานจากพื้นมหาสมุทรหลังปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยอันยาวนาน ไม่ทราบเวลาตายของลูกเรือที่แน่ชัด ทราบว่าลูกเรือหลายคนรอดชีวิตการพังทลายขั้นต้นของยานอวกาศ กระสวยอวกาศนี้ไม่มีระบบหนี และแรงกระแทกของส่วนลูกเรือกับผิวมหาสมุทรนั้นรุนแรงเกินกว่าจะรอดชีวิตได้

ภัยพิบัตินี้ทำให้โครงการกระสวยอวกาศหยุดชะงักไป 32 เดือน ประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกนมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการโรเจอร์ส (Rogers Commission) เป็นคณะกรรมการพิเศษสอบสวนอุบัติเหตุนี้ คณะกรรมการพบว่าวัฒนธรรมองค์การของนาซาและกระบวนการในการตัดสินใจ เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้น[1] ผู้จัดการของนาซาทราบตั้งแต่ ค.ศ. 1977 ว่าการออกแบบ SRB ของผู้รับเหมามอร์ตัน ทิโอโคล มีข้อบกพร่องที่อาจเป็นภัยร้ายแรงที่โอริง แต่พวกเขาไม่สามารถจัดการปัญหานี้อย่างเหมาะสม พวกเขายังละเลยคำเตือนจากวิศวกรเกี่ยวกับอันตรายในการปล่อยยานในวันที่มีอากาศเย็นในเช้านั้น และยังไม่รายงานความกังวลทางเทคนิคเหล่านี้แก่ผู้บังคับบัญชาได้

ชาวอเมริกันประมาณร้อยละ 17 เป็นพยานการปล่อยกระสวยแบบเรียลไทม์ เพราะมีผู้ชำนาญน้ำหนักบรรทุกพิเศษคนหนึ่งคือ คริสตา แมคออลีฟ ซึ่งจะเป็นครูคนแรกในอวกาศ มีการรายงานอุบัติเหตุนี้ในสื่ออย่างกว้างขวาง มีการศึกษาหนึ่งรายงานว่า ชาวอเมริกันร้อยละ 85 ที่สำรวจ ทราบข่าวภายในหนึ่งชั่วโมง[2] ภัยพิบัติแชลเลนเจอร์ยังใช้เป็นกรณีศึกษาในการอภิปรายความปลอดภัยทางวิศวกรรมและจริยธรรมในที่ทำงานหลายครั้ง

อ้างอิง

[แก้]
  1. Outer Space Universe. "Remembering the Challenger Shuttle Explosion: A Disaster 25 Years Ago". สืบค้นเมื่อ January 28, 2011.
  2. "On January 28, 1986, Space Shuttle Challenger Exploded 76 Seconds After Launch (VIDEO)". Viral Video Box. สืบค้นเมื่อ January 28, 2014.