ข้ามไปเนื้อหา

กระทรวงยุติธรรม (สหราชอาณาจักร)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กระทรวงยุติธรรม

ที่ทำการกระทรวง ณ เลขที่ 102 ตึกเพ็ตตี ฟรานซ์ ลอนดอน
ภาพรวมกระทรวง
ก่อตั้งพ.ศ. 2550
กระทรวงก่อนหน้า
เขตอำนาจสหราชอาณาจักร ในข้อกฎหมายที่ยังมีผลบังคับถึงปัจจุบัน ในเขตอังกฤษและ เวลส์)
สำนักงานใหญ่102 Petty France
Westminster, London, SW1H 9AJ
บุคลากรมากกว่า 77,000 คน
งบประมาณต่อปี8.2 พันล้านปอนด์ (ปัจจุบัน) และ 400 ล้านปอนด์ (เงินต้น) ในปี 2011–12 [1]
รัฐมนตรี
ฝ่ายบริหารกระทรวง
ลูกสังกัด
เว็บไซต์Official website

กระทรวงยุติธรรมแห่งสหราชอาณาจักร (อังกฤษ: Ministry of Justice ย่อว่า: MOJ) เป็นกระทรวงหนึ่งในรัฐบาลสหราชอาณาจักร รับผิดชอบโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (Secretary of State for Justice) และลอร์ดชานเซลเลอร์แห่งบริเตนใหญ่ (ทั้งสองตำแหน่งควบโดยบุคคลเดียวกันและรัฐมนตรีกระทรวงนี้ถือเป็นสมาชิกคณะรัฐมนตรีวงใน) กระทรวงนี้ดูแลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างข้อกฎหมายโดยโอนย้ายงานมาจากรองนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร รวมไปถึงงานด้านสิทธิมนุษยชน และงานกฎหมายในสหราชอาณาจักร นอกจากนี้รัฐมนตรีเจ้ากระทรวงและลอร์ดชานเซลเลอร์ยังมีหน้าที่รับผิดชอบรัฐสภาเกี่ยวกับกฎหมาย กิจการตุลาการ ระบบยุติธรรม การลงโทษและการคุมประพฤติทั่วทั้งเขตอำนาจศาลในอังกฤษและเวลส์

กระทรวงนี้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พฤษภาคม ค.ศ. 2007 ในรัฐบาลโทนี แบลร์โดยโอนอำนาจหน้าที่บางส่วนจากกระทรวงมหาดไทย (Home Department) และอำนาจหน้าที่ทั้งหมดของกระทรวงกิจการรัฐธรรมนูญ (Department of Constitutional Affairs)[2] ซึ่งถูกโอนย้ายหน้าที่จากสำนักงานลอร์ดชานเซลเลอร์ (Office of the Lord Chancellor) อันเป็นหน่วยงานเทียบเท่ากระทรวงในรัฐบาลสหราชอาณาจักรอีกที (ก่อนพระราชบัญญัติปฏิรูปรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 2005 ลอร์ดชานเซลเลอร์ถือเป็นประธานสภาขุนนางและศาลสูงสุด[3]) ในปี ค.ศ. 2003

อำนาจหน้าที่

[แก้]

เขตสหราชอาณาจักร

[แก้]

ในช่วงที่รัฐบาลผสมของแคเมอรอนบริหารในเดือน พฤษภาคม ค.ศ. 2010 กระทรวงมีอำนาจจัดการในด้านความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลสหราชอาณาจักรและรัฐบาลท้องถิ่นประกอบไปด้วยฝ่ายบริหารแห่งไอร์แลนด์เหนือ, รัฐบาลสกอตแลนด์และรัฐบาลเวลส์

ต่อมาอำนาจหน้าที่ได้เปลื่ยนแปลงหลังจากที่มีการยกเลิกตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร โดยโอนหน้าที่ไปเป็นความรับผิดชอบของสำนักคณะรัฐมนตรี (ถือเป็นกระทรวงหนึ่งของสหราชอาณาจักร) นอกจากนี้ยังมีอำนาจชี้แจงในเรื่องที่เกี่ยวกับ การปฏิรูปการเมือง และ กฎหมาย เช่น การปฏิรูป สภาขุนนาง, กระทู้ถาม เวสต์โลเทียน, นโยบายด้านการส่งเสริมการเลือกตั้ง, นโยบายการระดมทุนพรรคการเมืองและการสืบราชสันตติวงศ์

โดยรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมมีอำนาจหน้าที่ร่วมกันในการพิจารณา ข้อกฎหมายต่างๆ ในสหราชอาณาจักร[4]

โดยอำนาจของกระทรวงที่มีในสหราชอาณาจักรมีดังต่อไปนี้:

ด้านอำนาจของ ลอร์ดชานเซลเลอร์ รัฐมนตรีจะดูแลในด้านนโยบายที่เกี่ยวข้องกับสมุหเทศาภิบาล (ผู้แทนพระองค์ในพระมหากษัตริย์), งานพิเศษที่มอบหมายจากทางวัง นอกเหนืออำนาจหน้าที่, งานคัดเลือกและการสืบตระกูลขุนนาง, และงานที่เกี่ยวกับข้อกฎหมายในรัฐธรรมนูญที่ยังไม่ชัดเจน[5]

โดยนับตั้งแต่ไอร์แลนด์ประกาศเอกราชในปี ค.ศ. 1922 ไอร์แลนด์เหนือยังเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร แต่ว่าอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวกับการประสานงานได้โอนย้ายไปยังตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการสำนักไอร์แลนด์เหนือในปัจจุบัน

เขตอังกฤษและเวลส์

[แก้]

โดยอำนาจการบริหารด้านการยุติธรรม, การราชทัณฑ์, และการคุมประพฤติ กระทรวงมีอำนาจในเขตอังกฤษ และเวลส์เท่านั้น กระทรวงไม่สามารถแทรกแซง ระบบยุติธรรมในเขตของสกอตแลนด์และไอร์แลนด์เหนือได้ เนื่องจากในทั้งสองประเทศต่างมีหน่วยงานด้านการยุติธรรมเป็นของตนเอง

ในเขตใต้อธิปไตยของสหราชอาณาจักร

[แก้]

กระทรวงยุติธรรมมีหน้าที่อำนวยความสะดวกในด้านการติดต่อประสานงานกับดินแดนปกครองตนเองของสหราชอาณาจักร เช่น เจอร์ซีย์, เกิร์นซีย์ และไอล์ออฟแมนโดยในตำแหน่งดยุกแห่งนอร์มังดีถือครองโดยสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 ในดินแดนหมู่เกาะช่องแคบอังกฤษ

ในทางกฎหมาย กฎหมายที่ออกในสหราชอาณาจักร ย่อมจะมีผลบังคับใช้ร่วมกับหมู่เกาะหรือดินแดนปกครองตนเองของสหราชอาณาจักรอีกด้วย[6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Budget 2011 (PDF). London: HM Treasury. 2011. p. 48. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-05-01. สืบค้นเมื่อ 30 December 2011.
  2. National Audit Office (6 July 2010). Ministry of Justice, Financial Management Report (PDF). TSO. p. 10. ISBN 978-0-10-296533-9.
  3. ดิเรก ชัยนาม. (16 เมษายน 2490). รัฐธรรมนูญบริติช. บทที่ 4. หน้า 16.
  4. "สำนักคณะรัฐมนตรี". รายซื่อกระทรวงและส่วนราชการในรัฐบาลสหราชอาณาจักร. สำนักคณะรัฐมนตรี. สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2012.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. "สำนักคณะรัฐมนตรี". รายซื่อกระทรวงและส่วนราชการในรัฐบาลสหราชอาณาจักร. สำนักคณะรัฐมนตรี. สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2012.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. "Ministry of Justice – What we do – Crown dependencies". สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2013.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)