กรมการขนส่งทหารบก
กรมการขนส่งทหารบก | |
---|---|
กรมการขนส่งทหารบก | |
ประเทศ | ไทย |
บทบาท | การขนส่งทางยุทธวิธี[1] การขนส่งทั่วไป[1] การส่งกำลัง[2] การซ่อมบำรุง[2] บริการอุปกรณ์ขนส่ง[2] ตรวจสภาพรถทหาร[3] ตรวจสอบยานพาหนะกองทัพบก[3] |
กองบัญชาการ | ถนนประดิพัทธ์ แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300 |
คำขวัญ | รวดเร็ว ปลอดภัย โปร่งใส ทันเวลา (Rapid Safety Transparency Timeously) |
สีหน่วย | เลือดหมู |
สัญลักษณ์นำโชค | พระมาตุลี |
วันสถาปนา | 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2448 |
ผู้บังคับบัญชา | |
เจ้ากรมการขนส่งทหารบก | พลตรี เสรี ตรีครุธพันธุ์[4] |
กรมการขนส่งทหารบก (อังกฤษ: Army Transportation Department; อักษรย่อ: ขส.ทบ.[5][6][7][8][9]) เป็นหน่วยงานราชการของกองทัพบกไทย[10][11] ที่ดำเนินการเกี่ยวกับการขนส่งทางยุทธวิธี และการขนส่งทั่วไป[1] ซึ่งมีเจ้ากรมการขนส่งทหารบกคนปัจจุบัน (1 ตุลาคม พ.ศ. 2567) คือ พลตรี เสรี ตรีครุธพันธุ์[12]
กรมการขนส่งทหารบกมีสถานีวิทยุในสังกัด คือ สถานีวิทยุกระจายเสียงกองทัพบก กรมการขนส่งทหารบก เอฟเอ็ม 102.0 เมกะเฮิรตซ์ เอเอ็ม 1269 กีโลเฮิรตซ์[13] และมีโรงเรียนในสังกัด คือ โรงเรียนทหารขนส่ง กรมการขนส่งทหารบก[14][15][16][17]
ประวัติ
[แก้]"กรมการขนส่งทหารบก" ถือกำเนิดครั้งแรกในชื่อ "กรมพาหนะ" เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2448 และมีการเปลี่ยนแปลงองค์กรเรื่อยมา ซึ่งบางครั้งก็ไม่ปรากฏชื่อ "กรมพาหนะ" หากแต่เป็นเพียงหน่วยเล็ก ๆ ที่แฝงอยู่กับกรมกองอื่น ครั้นปี พ.ศ. 2460 ประเทศไทยได้ส่งกองทหารบกรถยนต์ไปร่วมรบกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ที่ประเทศฝรั่งเศส จนกระทั่งสงครามยุติ[1]
ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ประเทศไทยไม่สามารถปรับปรุงกิจการทหารขนส่งเนื่องด้วยอยู่ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ กระทั่งยุบหน่วยทหารพาหนะไปในปี พ.ศ. 2468 นับเป็นการสิ้นสุดของหน่วยทหารพาหนะในยุคแรก[1]
จนถึงวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2480 ได้มีการจัดตั้งหน่วยทหารพาหนะใหม่เป็น "กรมพาหนะทหารบก" ที่ขึ้นตรงต่อกรมพลาธิการทหารบก และปี พ.ศ. 2491 ได้มีการจัดส่งนายทหารไปศึกษาวิชาขนส่งในต่างประเทศเป็นครั้งแรก ก่อนที่จะกลับมาพัฒนากิจการของหน่วยทหารพาหนะ[1]
กระทั่งปี พ.ศ. 2495 ได้มีการจัดวางระเบียบราชการกองทัพบกในกระทรวงกลาโหม โดยมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาตั้งแต่วันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2495 ซึ่งทางกองทัพบกได้เปลี่ยนชื่อ "กรมพาหนะทหารบก" มาเป็น "กรมการขนส่งทหารบก"[1]
พ.ศ. 2560 เมื่อครั้งที่กองทัพบกไทยเลิกใช้เรือเหาะในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ กรมการขนส่งทหารบกได้นำรถลากเรือเหาะไปดำเนินการประมูลขายทอดตลาด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป[18] และปีเดียวกันนี้ กรมการขนส่งทหารบกได้เป็นหนึ่งในหน่วยงานที่เข้าร่วมริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศ ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยกำลังพลที่เข้าร่วมได้แต่งกายในชุดโบราณ[19]
ส่วนปี พ.ศ. 2562 กำลังพลจากกรมการขนส่งทหารบกได้มีส่วนร่วมในกระบวนพยุหยาตราสถลมารค ของพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562[20][21][22][23]
ส่วนร่วมทางการเมือง
[แก้]เดือนมีนาคม พ.ศ. 2562 ทหารจากกรมการขนส่งทหารบก ได้เข้าร่วมใช้สิทธิลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562[24] โดยใช้สิทธิเลือกตั้งในฐานะประชาชนได้อย่างเป็นอย่างอิสระ[25]
กิจกรรมเพื่อสังคม
[แก้]เดือนมกราคม พ.ศ. 2560 กำลังพลจากกรมการขนส่งทหารบก 63 นาย ได้เข้าพื้นที่เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วม ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี[26]
ส่วนเดือนเมษายน พ.ศ. 2561 ได้มีการจัดงานประกวดพระเครื่องที่โรงเรียนทหารขนส่ง กรมการขนส่งทหารบก โดยบริจาครายได้ส่วนหนึ่งจากการประกวดเพื่อสาธารณประโยชน์ รวมถึงช่วยเหลือทหารผ่านศึก, ผู้พิการทางสายตา, ทุนการศึกษาแก่นักเรียน ตลอดจนสร้างสถานปฏิบัติธรรม[27][28] และเดือนกันยายน ของปีเดียวกัน กรมการขนส่งทหารบกเป็นหนึ่งใน 8 องค์กร ที่เข้าร่วมเครือข่ายลงนามความร่วมมือพัฒนาองค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพ ของกรมอนามัย[29]
เดือนมกราคม พ.ศ. 2562 กรมการขนส่งทหารบกได้ทำการฉีดน้ำบริเวณถนนเสรีไทย และเขตติดต่อเขตบางเขน–รามอินทรา 58 เพื่อลดปัญหาฝุ่นละอองในกรุงเทพมหานคร[30]
ส่วนเดือนสิงหาคม ของปีเดียวกัน กรมการขนส่งทหารบกได้รับมอบหมายจากกองทัพบกไทย ในการนำคาซา ซี.212 อวิโอคาร์ ออกปฏิบัติการโปรยสารเคมี เพื่อทำฝนหลวงเหนือเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ที่จังหวัดลพบุรีอย่างต่อเนื่อง[31] และเดือนพฤศจิกายน ทางกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้ให้การช่วยเหลือประชาชนในชุมชนที่มีสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำแม่น้ำเจ้าพระยา โดยจัดหาที่อยู่อาศัยใหม่ ซึ่งประชาชนบางส่วนได้ย้ายไปยังแฟลตของกรมการขนส่งทหารบก[32]
หน่วยในสังกัด
[แก้]สิ่งสืบทอด
[แก้]พ.ศ. 2536 กรมการขนส่งทหารบกได้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์กรมการขนส่งทหารบก ณ เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยไม่เสียค่าเข้าชม แต่ต้องทำหนังสือแจ้งล่วงหน้า[39]
รายพระนามและชื่อเจ้ากรมการขนส่งทหารบก
[แก้]- พันเอก พระอินทร์สรศัลย์ (สอาด แพ่งสภา) (พ.ศ. 2480 - 2483)
- พันเอก หลวงอินทร์เรืองเดช (เจริญ เหล็กกล้า) (พ.ศ. 2483 - 2485)
- พันเอก หม่อมเจ้าคัสตาวัส จักรพันธุ์ (พ.ศ. 2485 - 2489)
- พันเอก ขุนสมบูรณ์ยุทธศิลป์ (สมบูรณ์ ศิริเวทิน) (พ.ศ. 2489)
- พันเอก หลวงศรีสิงหสงคราม (โลม ศิริปาลกะ) (พ.ศ. 2489 - 2490)
- พลตรี ขุนศิลป์ศรชัย (ศิลป์ รัตนพิบูลชัย) (พ.ศ. 2490 - 2491)
- พลตรี ปรุง วังสิยานนท์ (พ.ศ. 2491 - 2493)
- พลตรี ศิริ สิริโยธิน (พ.ศ. 2493 - 2497)
- พลตรี พงษ์ ปุณณกันต์ (พ.ศ. 2497 - 2503)
- พลตรี ประวิตร งามอุโฆษ (พ.ศ. 2503 - 2508)
- พลตรี พล ศรินทุ (พ.ศ. 2508 - 2510)
- พลตรี ประนิต เจริญศิริ (พ.ศ. 2510 - 2518)
- พลตรี เฉลิม คำรพวงศ์ (พ.ศ. 2518 - 2519)
- พลตรี สังข์ ผดุงกุล (พ.ศ. 2519 - 2520)
- พลตรี ภิงการ สุจริตกุล (พ.ศ. 2520 - 2525)
- พลตรี มานะ วรามิตร (พ.ศ. 2525 - 2527)
- พลตรี กิติ ทรงวรวิทย์ (พ.ศ. 2527 - 2528)
- พลตรี วัฒนา จันทนาคม (พ.ศ. 2528 - 2529)
- พลตรี ยุทธนา คำดี (พ.ศ. 2529 - 2532)
- พลตรี ปรีมล ปัทมะสุคนธ์ (พ.ศ. 2532 - 2535)
- พลตรี วิลาศ พงศ์สุวรรณ (พ.ศ. 2535 - 2538)
- พลตรี ประเสริฐ นิมมานนท์ (พ.ศ. 2538 - 2542)
- พลตรี ธานี แก้วโอภาส (พ.ศ. 2542 - 2543)
- พลตรี มรุต สุวัจนานนท์ (พ.ศ. 2543 - 2545)
- พลตรี หม่อมหลวงกิติมาศ ศุขสวัสดิ์ (พ.ศ. 2545 - 2548)
- พลตรี ต่อศักดิ์ คงเมือง (พ.ศ. 2548 - 2550)
- พลตรี ณรงค์ พูลสวัสดิ์ (พ.ศ. 2550 - 2552)
- พลตรี วุทธิ์ วิมุกตะลพ (พ.ศ. 2552 - 2554)
- พลตรี อภิชัย เชียงอารีย์ (พ.ศ. 2554 - 2555)
- พลตรี พิชเยนทร์ ธัญญสิริ (พ.ศ. 2555 - 2556)
- พลตรี พรชัย ดวงเนตร (พ.ศ. 2556 - 2557)
- พลตรี สุวภัทร ยี่โถขาว (พ.ศ. 2557 - 2559)
- พลตรี สมศักดิ์ ทรัพย์อนันต์ (พ.ศ. 2559 - 2560)
- พลตรี ธวัชชัย พัดทอง (พ.ศ. 2560 - 2562)
- พลตรี อภิชาติ ปัตตะนุ (พ.ศ. 2562 - 2564)
- พลตรี พูลลาภ ยะตินันท์ (พ.ศ. 2564 - พ.ศ. 2565)
- พลตรี สนอง แน่งอนงค์ (พ.ศ. 2565 - พ.ศ. 2567)
ยศทหารเป็นยศขณะดำรงตำแหน่งและในวงเล็บเป็นระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง
บุคคลที่มีชื่อเสียง
[แก้]- พลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ (บิ๊กแดง) – ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.), อดีตนักบินฝูงบินกองการบิน กรมการขนส่งทหารบก[44]
- มนต์แคน แก่นคูน (สิบเอก กิตติคุณ บุญค้ำจุน) – นักร้อง
ยุทโธปกรณ์
[แก้]ยานพาหนะภาคพื้นดิน
[แก้]รุ่น | ภาพ | ประเภท | ที่มา | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
อีซูซุ ไม่ทราบรุ่น | – | รถบัส | ญี่ปุ่น | 40 ที่นั่ง |
นิสสัน เออร์แวน | รถตู้ | ญี่ปุ่น | นิสสัน มอเตอร์ ประเทศไทย ส่งมอบให้แก่กรมการขนส่งทหารบก 45 คัน เมื่อปี พ.ศ. 2562[45][46][47] |
อากาศยาน
[แก้]รุ่น | ภาพ | ประเภท | ที่มา | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
เออาเดเอสเซ กาซา เซ-295 | อากาศยานขนส่งทางการทหาร[48] | สเปน[49] | ||
คาซา ซี.212 อวิโอคาร์ | อากาศยานขนส่งทางการทหาร | สเปน | สนับสนุนปฏิบัติการโปรยสารเคมี เพื่อทำฝนหลวง[31] | |
อากุสตาเวสต์ลันด์ อาวูดอปปียา149 | เฮลิคอปเตอร์ทางการทหาร[50] | อิตาลี[51] | กรมการขนส่งทหารบกเป็นหน่วยจัดหา[52] | |
อากุสตาเวสต์ลันด์ อาวูดอปปียา139 | เฮลิคอปเตอร์ทางการทหาร[53] | อิตาลี[51] |
เรือ
[แก้]รุ่น | ภาพ | ประเภท | ที่มา | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
ไม่ทราบ | – | เรือระบายพล | ไม่ทราบ | สำหรับหน่วยจู่โจม (เรนเจอร์)[54] |
ยุทโธปกรณ์ในอดีต
[แก้]ยานพาหนะภาคพื้นดิน
[แก้]รุ่น | ภาพ | ประเภท | ที่มา | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
ฟอร์ตเทมส์ | – | รถขนาดเล็ก | สหราชอาณาจักร | รถสำหรับนายทหารชั้นผู้ใหญ่ นำมาใช้ในปี พ.ศ. 2500[55] |
จยพ. ฮาร์เล่ย์ | – | รถพ่วงข้าง | เยอรมนี | นำมาใช้สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง[55] |
เทมโป้ | – | 2 พวงมาลัย ขับเคลื่อนได้ 2 ทาง | เยอรมนี | รถตรวจการณ์ของนายทหารชั้นผู้ใหญ่[55] |
ดีเซโต้ เอส-1-เอช | – | รถบรรทุก | สหรัฐอเมริกา | ผลิตโดยบริษัทไครสเลอร์ ซึ่งนำมาใช้ในสงครามโลกครั้งที่สอง[55] |
ดอดจ์ ที. อี. 31 | – | รถบรรทุก | สหรัฐอเมริกา | นำมาจากสหรัฐ[55] |
รถดับเพลิงอินเตอร์ | – | รถดับเพลิง | ไม่ทราบ | สร้างปี พ.ศ. 2483 นำมาใช้ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง[55] |
อากาศยาน
[แก้]รุ่น | ภาพ | ประเภท | ที่มา | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
ดักลาส ซี-47 สกายเทรน | อากาศยานขนส่งทางการทหาร | สหรัฐอเมริกา | 3 ลำ[1] | |
เฮลิคอปเตอร์แบบเอส 55 | เฮลิคอปเตอร์อเนกประสงค์ | สหรัฐอเมริกา | 5 ลำ[1] | |
ซีเอช-47 ชีนุก | เฮลิคอปเตอร์ลำเลียง | สหรัฐอเมริกา | กรมการขนส่งทหารบกดำเนินการตามระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างของราชการ[56] |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 1.8 ประวัติกรมการขนส่งทหารบก[ลิงก์เสีย]
- ↑ 2.0 2.1 2.2 "การจัดหน่วยกองทัพบก :: organization". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-30. สืบค้นเมื่อ 2020-04-23.
- ↑ 3.0 3.1 ทบ.ลุยลดฝุ่นต่อเนื่อง สั่ง ขส.ทบ.ตรวจสภาพรถทหาร ไม่ให้ปล่อยควันเกินมาตรฐาน
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 141 ตอนพิเศษ 262 ง 21 กันยายน พ.ศ. 2567
- ↑ ชงปลด "พ.อ." ออกจากราชการ-ปลอมเอกสารประมูลรถทหาร 1,136 คัน
- ↑ ขส.ทบ.มอบหลักฐานเท็จประมูลรถทหาร 1,316 คันเป็นคดีพิเศษ
- ↑ กรมขนส่งฯ ส่งข้อมูลรถขายทอดตลาด 1,136 คันให้ดีเอสไอ
- ↑ "กรมการขนส่งทางบก" รับ มีกลุ่มมิจฉาชีพใช้เอกสารเท็จขอจดทะเบียนรถทหารปลดประจำการ[ลิงก์เสีย]
- ↑ พบแล้ว รถหรูจดประกอบ 7 คัน ถูกส่งฟอกผ่านการประมูล
- ↑ อย่าโยน!! ผบ.ทบ.ลั่นวิกฤติฝุ่นพิษทุกคนต้องช่วยกัน
- ↑ "ผบ.ทบ.ย้ำอย่าปล่อยรัฐบาลแก้ปัญหาฝุ่นลำพัง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-24. สืบค้นเมื่อ 2021-11-05.
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 141 ตอนพิเศษ 262 ง 21 กันยายน พ.ศ. 2567
- ↑ NEWS1 ส่งรายการคุณภาพ ออนแอร์วิทยุ FM 102 MHz.
- ↑ ผบ.มทบ. 11 ต้อนรับทหารใหม่สร้างความอุ่นใจผู้ปกครอง
- ↑ "ชิน ชินวุฒ" ส่ง "ซีดี" นักร้องรุ่นน้องเข้าค่ายทหารเกณฑ์ผลัด 2
- ↑ กากีกะสีเขียว
- ↑ แจกฟรี!! โปสเตอร์ หลวงปู่ทิม ๕,๐๐๐ แผ่น
- ↑ ปิดฉากเรือเหาะ หมดอายุใช้งาน ทบ.ฟันงบราว 500 ล้าน
- ↑ ทภ.1 อบรมแต่งกายชุดโบราณ 16 แบบสำหรับริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศ
- ↑ ซ้อมเสมือนจริงริ้วขบวนพยุหยาตราสถลมารคเสด็จเลียบพระนคร
- ↑ ปลัด กห.พร้อมผู้นำเหล่าทัพตรวจฝึกซ้อมริ้วขบวนพยุหยาตราสถลมารค
- ↑ ซ้อมรวมครั้งแรก ริ้วขบวนที่ 3 พยุหยาตราสถลมารค
- ↑ บิ๊กตู่-นำทีม ไปร่วมซ้อม พยุหยาตรา "สถลมารค"
- ↑ สายเริ่มร้อน หน่วยวัดแก้วฟ้าเกียกกาย ทหารเกณฑ์ทยอยใช้สิทธิแน่น
- ↑ เกียกกายคึกคักทหารต่อแถวใช้สิทธิเลือกตั้ง[ลิงก์เสีย]
- ↑ ผบ.ทบ. ปธ.พิธีปล่อยขบวนคาราวานช่วยเหลือปชช.น้ำท่วมใต้ 30 คัน
- ↑ ฤๅษีเณรแถลงข่าวประกวดพระเครื่องไทย ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพ
- ↑ อัญเชิญถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพฯงานประกวดพระเครื่องไทย
- ↑ "ห่วง! คนไทยภูมิคุ้มกันข้อมูลสุขภาพยังด้อย/กรมอนามัยผนึก 8 องค์กรปลุก! รู้เท่าทัน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-25. สืบค้นเมื่อ 2020-04-23.
- ↑ ทบ.ระดมฉีดน้ำ กลางวัน-กลางคืน ลดฝุ่นพิษ
- ↑ 31.0 31.1 'ทบ.' เดินหน้าช่วยเหลือปชช.ประสบภัยต่อเนื่อง
- ↑ ศึกษาความเหมาะสมรูปแบบโครงการพัฒนาพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยารอบด้าน
- ↑ กรมการขนส่งทหารบก เยี่ยมชมบีทีเอส - Matichon
- ↑ BEM ร่วมต้อนรับคณะ ขส.ทบ.จากโรงเรียนทหารขนส่งทหารบก • ข่าวหุ้น
- ↑ ทหารเกณฑ์ ผลัด 2 เข้ากรมรับใช้ชาติ
- ↑ ร่วมเป็นเจ้าภาพ
- ↑ ส่องแอร์ฯ "ทบ." สวยแบบทหาร
- ↑ ผบ.ทบ.ไม่หวั่นสหรัฐคงระดับเทียร์ 3 ลั่นกำจัดผู้มีอิทธิพลใน 1 ปี
- ↑ 39.0 39.1 พิพิธภัณฑ์กรมการขนส่งทหารบก - ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
- ↑ “หมาแก่-ดนัย” อ้างเนชั่นขับรถไกล ย้าย “เจาะลึกทั่วไทยฯ” ซบช่อง 9 ยันไม่ได้มีปัญหากับ “ฉาย”
- ↑ เจาะลึกผิดที่? รายการ “หมาแก่-ดนัย” หลุดผังเนชั่น หลังออนแอร์ได้เดือนเดียว
- ↑ เบื้องหลัง “ครอบจักรวาล” ตำนาน “ทอล์กโชว์” วิทยุ
- ↑ บุคคลในข่าว : วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ เป็นประธาน เปิดโครงการประชุม ณ โรงแรมมิราเคิลฯ
- ↑ เปิดประวัติ “บิ๊กแดง อภิรัชต์ คงสมพงษ์” จากนักบิน สู่เก้าอี้ ผบ.ทบ.
- ↑ กรมการขนส่งทหารบกมั่นใจรถตู้นิสสัน - TNN
- ↑ กรมการขนส่งทหารบกมั่นใจรถตู้นิสสัน - LINE Today
- ↑ นิสสัน ส่งมอบ นิสสัน เออร์แวน 45 คัน ให้กรมการขนส่งทหารบก
- ↑ ญาติเชิญดวงวิญญาณ รับศพร.ท.ร่มไม่กาง กลับบ้านที่สงขลา
- ↑ ทบ.จัดซื้อเครื่องบิน'คาซ่า ซี 295 ดับเบิลยู'
- ↑ AgustaWestland AW 149 ฮ. รุ่นใหม่ของ ทบ. บินได้จ้ะ
- ↑ 51.0 51.1 'ศรีสุวรรณ' จ่อร้อง สตง. สงสัยกองทัพจัดซื้อ 'ฮ.AW139' แพงกว่าของเสี่ยวิชัย
- ↑ กองทัพบกโต้อิศราเสนอข่าวเฮลิคอปเตอร์ AW 149 บินไม่ขึ้น
- ↑ "กองทัพแจงยิบ ซื้อ ฮ.ไม่แพงเกินจริง ชี้คนฟ้องเข้าใจผิด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-25. สืบค้นเมื่อ 2021-11-05.
- ↑ "รายงานพิเศษ : หลักสูตรการรบแบบจู่โจมภาคทะเล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-04. สืบค้นเมื่อ 2020-04-23.
- ↑ 55.0 55.1 55.2 55.3 55.4 55.5 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อMuseum
- ↑ ทบ.โต้ข่าวทำสัญญาขายซากชีนุกให้เอกชน ยันยังอยู่ขั้นประกวดราคา