กรดอะมิโนจำเป็น
กรดอะมิโนจำเป็น (อังกฤษ: essential amino acid) หรือ กรดอะมิโนที่ขาดไม่ได้ (อังกฤษ: indispensable amino acid) หมายถึงกรดอะมิโนที่สิ่งมีชีวิตไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นเองได้เร็วพอที่จะทดแทนความต้องการ ฉะนั้นจึงต้องได้รับผ่านการบริโภคเท่านั้น ในบรรดากรดอะมิโนทั่วไป 21 ชนิดที่พบในสิ่งมีชีวิต กรดอะมิโนเก้าชนิดที่ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถสังเคราะห์ได้แก่ ฟีนิลอะลานีน, วาลีน, ธีโอนีน, ทริพโทฟาน, เมธไธโอนีน, ลีวซีน, ไอโซลีวซีน, ลัยซีน และ ฮิสทิดีน[1][2]
ในจำนวนนี้ สำหรับมนุษย์มีกระอะมิโนหกชนิดที่จำเป็นในบางกรณี (conditionally essential) ซึ่งคือกลุ่มที่มีการสังเคราะห์ขึ้นได้จำกัดภายใต้สภาวะที่มีพยาธิสภาพพิเศษ หรือสภาวะทางสรีรวิทยา เช่น เด็กแรกเกิด หรือผู้มีความผิดปกติในกระบวนการคาทาบอลิก[2] กรดอะมิโนหกตัวนี้ได้แก่ อาร์จินีน, ซิสเทอีน, กลัยซีน, กลูทามีน, พรอพีน และ ทัยโรซีน ส่วนกรดอะมิโนไม่จำเป็นหกตัวคือสามารถสังเคราะห์ขึ้นได้เพียงพอโดยร่างกาย ได้แก่ อะลานีน, กรดอัสพาร์ทิก, อัสพาราจีน, กรดกลูทามิก, เซอรีน,[2] เซเลโนซิสเทอีน ส่วนกรดอะมิโนเพียโรลัยซีนซึ่งพบมีคุณสมบัติสามารถนำไปใช้ในการสังเคราะห์โปรตีน (proteinogenic) แค่เพียงในสิ่งมีชีวิตบางกลุ่ม ไม่ปรากฏใช้หรือจำเป็นในสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่ รวมถึงมนุษย์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Young VR (1994). "Adult amino acid requirements: the case for a major revision in current recommendations" (PDF). J. Nutr. 124 (8 Suppl): 1517S–1523S. doi:10.1093/jn/124.suppl_8.1517S. PMID 8064412.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Dietary Reference Intakes: The Essential Guide to Nutrient Requirements เก็บถาวร 5 กรกฎาคม 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Institute of Medicine's Food and Nutrition Board. usda.gov