ข้ามไปเนื้อหา

กฎของมัวร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จำนวนทรานซิสเตอร์เทียบกับช่วงเวลา แสดงถึงปริมาณที่เพิ่มขึ้นสองเท่าในทุกสองปี
Osborne Executive คอมพิวเตอร์พกพาปี 1982 และ iPhone ที่ออกปี 2007 (ในรูปเป็น iPhone 3G) Osborne Executive หนักกว่า 100 เท่า ใหญ่กว่า 500 เท่า แพงกว่า 10 เท่า และช้ากว่า 100 เท่าของ iPhone

กฎของมัวร์ (Moore's law) อธิบายถึง ปริมาณของทรานซิสเตอร์บนวงจรรวม โดยจะเพิ่มเป็นเท่าตัวประมาณทุก ๆ สองปี[1] กฎนี้ได้ถูกพิสูจน์อย่างต่อเนื่องมาแล้วกว่าครึ่งศตวรรษ และคาดว่าจะใช้ได้จนถึงปี 2015 หรือ 2020 หรืออาจมากกว่านั้น

ความสามารถของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มากมาย เป็นไปตามกฎของมัวร์อย่างเห็นได้ชัด เช่น ความเร็วประมวลผล ความจุของแรม เซ็นเซอร์ หรือแม้แต่จำนวนพิกเซลของกล้องดิจิทัล ทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลสนับสนุนอย่างคร่าว ๆ (ยังมีกฎอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเช่นราคาต่อหน่วย) การพัฒนาของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ มีผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ กฎของมัวร์ได้อธิบายแรงการขับเคลื่อนของเทคโนโลยี ตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 20 ไปจนถึงต้นศตวรรษที่ 21

ชื่อของกฎถูกตั้งตามชื่อของ อดีตซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทอินเทล กอร์ดอน มัวร์ (Gordon E. Moore) เขาได้อธิบายกฎนี้ไว้ในรายงานของเขาเมื่อปี 1965 รายงานนั้นได้ระบุไว้ว่า จำนวนของส่วนประกอบในวงจรรวมจะเพิ่มเป็นเท่าตัวทุก ๆ ปี ตั้งแต่ปี 1958 ไปจนถึง 1965 และคาดว่าจะเป็นอย่างนี้ไปอีก "อย่างน้อยสิบปี" การทำนายของเขายังเป็นไปตามที่คาดไว้อย่างน่าประหลาดใจ อย่างน้อยกฎนี้ปัจจุบันยังถูกใช้ในอุตสาหกรรมสารกึ่งตัวนำที่ได้ถูกใช้เป็นแนวทางของแผนที่จะเป็นเป้าหมายของของการวิจัย และพัฒนา

อ้างอิง

[แก้]
  1. มัวร์ได้กล่าวว่าเพิ่มขึ้นสองเท่าทุกปี [1] เก็บถาวร 2008-02-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน แต่ได้ออกเอกสารใหม่และกล่าวว่าทุกสองปีแทนที่[2] เก็บถาวร 2012-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]