ข้ามไปเนื้อหา

ทรานซิสเตอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทรานซิสเตอร์
ทรานซิสเตอร์แบบต่าง ๆ
ชนิดแอคทีฟ
ประดิษฐ์โดยยูเลียส เอดการ์ ลิเลียนเฟลด์
ผลิตครั้งแรกค.ศ. 1947
สัญลักษณ์
แบบจำลองของทรานซิสเตอร์ที่ทำงานเป็นครั้งแรก

ทรานซิสเตอร์ (อังกฤษ: transistor) เป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำที่มีคุณสมบัติขยายหรือสลับสัญญาณไฟฟ้าหรือพลังงานไฟฟ้า[1]

ยูเลียส เอดการ์ ลิเลียนเฟลด์ วิศวกรและนักฟิสิกส์ชาวเยอรมันจดสิทธิบัตรทรานซิสเตอร์สนามไฟฟ้า (field-effect transistor) ในปี ค.ศ. 1926 แต่ในเวลานั้นยังไม่สามารถสร้างได้จริง[2] ต่อมาในปี ค.ศ. 1947 จอห์น บาร์ดีน, วอลเตอร์ เฮาเซอร์ แบรตเทนและวิลเลียม ชอกลีย์ นักฟิสิกส์ชาวอเมริการ่วมกันคิดค้นทรานซิสเตอร์จุดสัมผัส (point-contact transistor)[3] ทำให้วงการอิเล็กทรอนิกส์สร้างอุปกรณ์ได้ราคาถูกและเล็กลง จากผลงานนี้ทำให้บาร์ดีน, แบรตเทนและชอกลีย์ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี ค.ศ. 1956[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Transistor". Britannica.com. สืบค้นเมื่อ September 2, 2018.
  2. "1926 – Field Effect Semiconductor Device Concepts Patented". Computer History Museum. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มีนาคม 22, 2016. สืบค้นเมื่อ มีนาคม 25, 2016.
  3. Levine, Alaina G. "John Bardeen, William Shockley, Walter Brattain—Invention of the Transistor", 2008, American Physical Society Retrieved on October 6, 2010
  4. "The Nobel Prize in Physics 1956". Nobelprize.org. Nobel Media AB. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ ธันวาคม 16, 2014. สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 7, 2014.