กชกร วรอาคม
กชกร วรอาคม | |
---|---|
เกิด | เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2521 (47 ปี) ไทย |
สัญชาติ | ไทย |
ศิษย์เก่า | |
รางวัล | TED fellow |
ผลงานสำคัญ |
|
โครงการสำคัญ |
|
กชกร วรอาคม (เกิดปี พ.ศ. 2524) เป็นภูมิสถาปนิกชาวไทย นักเขียน และอาจารย์พิเศษคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[2]และบัณฑิตวิทยาลัยการออกแบบ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด[3] เป็นผู้ก่อตั้งสำนักงานออกแบบบริษัท Landprocess เป็นที่รู้จักจากการออกแบบงานภูมิทัศน์และโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์สวนสาธารณะหลายแห่ง อาทิเช่น อุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สวนเกษตรลอยฟ้าใจกลางสยามสแควร์ Siam Green Sky อุทยานการเรียนรู้ป๋วย 100 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
กชกร วรอาคม ติดอันดับดาวรุ่งแห่งปี 100 คน ประจำปี พ.ศ. 2562 ในสาขานักนวัตกรรม ซึ่งจัดอันดับโดยนิตยสาร ไทม์
ประวัติ
[แก้]กชกรศึกษาที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา จากนั้นศึกษาที่ภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขณะศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4 ได้ไปฝึกงานที่อเมริกาและทำงานอยู่พักหนึ่ง และกลับมาศึกษาต่อจนจบด้วยเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง และได้ทุนไปศึกษาต่อที่บัณฑิตวิทยาลัยการออกแบบ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (GSD) ในด้านภูมิสถาปัตยกรรม จากการศึกษาที่นี่ทำให้ค้นพบว่าถนัดการออกแบบพื้นที่สาธารณะ กลับมาเป็นภูมิสถาปนิก ตั้งบริษัท Landprocess[4] ได้ออกแบบโครงการในลักษณะเชิงผสมผสาน Greenovative Design[5] อย่างงาน Siam Green Sky, โครงการบูรณะพัฒนาอาคารพาณิชย์บริเวณหมอน 47 การออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมของสยามสแควร์วัน ที่ได้นำแนวคิดพื้นที่สีเขียวมาบริหารจัดการในส่วนต่าง ๆ ภายในและภายนอกอาคาร เธอยังออกแบบสระว่ายน้ำสำหรับผู้พิการทางสายตา มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ สระแห่งนี้ใช้เป็นสระสำหรับให้นักกีฬาพาราลิมปิกและผู้พิการทางสายตาได้มีโอกาสมาฝึกซ้อมและออกกำลังกาย[6]
ต่อมาออกแบบอุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สวนสาธารณะเนื้อที่ 28 ไร่ ออกแบบให้เป็นพื้นที่หน่วงน้ำของเมือง ซึ่งได้รับคัดเลือกโดยสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ให้เป็นผลงานออกแบบสถาปัตยกรรมดีเด่น (ASA AD Award) ในปี พ.ศ. 2561[7] ถือเป็นครั้งแรกที่รางวัลด้านสถาปัตยกรรมให้รางวัลกับสวนสาธารณะ[8] ผลงานต่อมาออกแบบอุทยานการเรียนรู้ป๋วย 100 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ออกแบบเพื่อให้เป็นห้องเรียนกลางแจ้ง เพื่อศึกษาเรียนรู้เรื่องประชาธิปไตย และเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำเช่นเดียวกับที่อุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[9] ออกแบบเชื่อมโยงการระบายน้ำกับผังแม่บทของมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นส่วนหนึ่งกับตัวมหาวิทยาลัยและเมือง[10] อุทยานการเรียนรู้ป๋วย 100 ปี เป็นแปลงเกษตรในเมืองบนหลังคาเขียวที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย[11] และสวนสาธารณะลอยฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชีย และใหญ่เป็นอันดับสองของโลกรองจากที่สหรัฐ[12]
กชกรเป็นหนึ่งในที่ปรึกษาและผู้ออกแบบโครงการสวนสาธารณะคลองช่องนนทรี[13] และเป็นหนึ่งในผู้ออกแบบโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์สวนลุมพินี
งานด้านสังคม
[แก้]กชกรก่อตั้งกลุ่มศิลป์บำบัด ARTFIELD ใช้ศิลปะและดนตรีช่วยบำบัดผู้ป่วยโรคมะเร็ง ก่อนหน้านั้นตอนศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด เคยร่วมกับเพื่อน ๆ ต่างชาติ ตั้งองค์กรไม่แสวงหากำไร ชื่อ KOUNKUEY (คุ้นเคย) เพื่อทำงานพัฒนาชุมชน โดยนำความรู้หลายด้านมาผสมผสาน ทำงานในหลายพื้นที่[4] องค์กรทำงานเพื่อสังคม เช่น ออกแบบห้องน้ำให้กับชุมชนสลัมในเคนยา ต่อมาปี 2560 เธอก่อตั้งองค์กรประกอบการทางสังคม (SE) ปฏิบัติการเมืองพรุน (Porous City Network) ที่มุ่งรับมือปัญหาน้ำและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ[14]
กชกรยังได้รณรงค์การเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมืองและเป็นส่วนหนึ่งของการประชุมว่าด้วยเทคโนโลยี การบันเทิง และการออกแบบ (TED) เป็นคนไทยคนแรกที่ได้เป็นสมาชิก TED Fellows[8] หนึ่งในโครงการของ TED ที่ให้การสนับสนุนผู้ที่เป็นกำลังสำคัญที่ขับเคลื่อนความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นบนโลกใบนี้ กชกรเป็นผู้พูด (speaker) ใน 2018 TED WOMAN (จัดขึ้นที่สหรัฐ)[15] ขึ้นเวทีของ NAP (National Adaptation Plan) UN Climate Change ขององค์การสหประชาชาติที่เกาหลีใต้
ปี 2562 ขึ้นพูดเปิดบนเวที Movin’On ที่ประเทศแคนาดา งานประชุมสุดยอดว่าด้วยการสัญจรที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Mobility ที่ใหญ่ที่สุดในโลก[16] กชกรติด 1 ใน 15 Women Leading the Fight Against Climate Change ของนิตยสาร ไทม์[17] และติดอันดับหนึ่งใน 100 ดาวรุ่งแห่งปีของ ไทม์ ประจำปี 2019 ในสาขานักนวัตกรรม[18]
ผลงานออกแบบ
[แก้]- Thailand Pavillion Expo 2015, Milan
- สวนเกษตรลอยฟ้าใจกลางสยามสแควร์ Siam Green Sky
- โครงการออกแบบการสร้างสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เป็นสากล สี่แยกราชประสงค์
- ภูมิทัศน์ของสยามสแควร์วัน
- สระว่ายน้ำสำหรับผู้พิการทางสายตา มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์
- อุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- สวนบำบัดลอยฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ณ อาคารสมเด็จพระเทพรัตน์ โรงพยาบาลรามาธิบดี[19]
- อุทยานการเรียนรู้ป๋วย 100 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
- โครงการสร้างทางเดินคนข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งดัดแปลงโครงสร้างเดิมของโครงการรถไฟฟ้าลาวาลิน[8]
- สวนสาธารณะคลองช่องนนทรี
- โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์สวนลุมพินี
ระเบียงภาพ
[แก้]-
อุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
-
ภูมิทัศน์ของสยามสแควร์วัน
-
อุทยานการเรียนรู้ป๋วย 100 ปี
อ้างอิง
[แก้]- ↑ กชกร วรอาคม เป็นภูมิสถาปนิกไทยซึ่งติด 1 ใน 15 Women Leading the Fight Against Climate Change ของนิตยสาร TIME เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา, Website:https://readthecloud.co/ .สืบค้นเมื่อ 07-10-2562
- ↑ ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย (9 สิงหาคม 2561). "กชกร วรอาคม : ภูมิสถาปนิกผู้ใช้ 'พื้นที่' บำบัดความป่วยไข้". สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ Scott, Bruce. "Landscape Architect Kotchakorn "Kotch" Voraakhom on the Beauty of Public Spaces". prestigeonline.com. PRESTIGE. สืบค้นเมื่อ 6 November 2021.
- ↑ 4.0 4.1 เพ็ญลักษณ์ ภักดีเจริญ (23 มิถุนายน 2558). "กชกร วรอาคม บอกรัก...ด้วยงานศิลป์". กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "กชกร วรอาคม ด้วยรักในฐานะภูมิสถาปนิก". โพสต์ทูเดย์. 8 มิถุนายน 2560. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "กชกร วรอาคม". ArtBangkok. 13 กุมภาพันธ์ 2556. สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ The Association of Siamese Architects. (2018). ASA ARCHITECTURAL DESIGN AWARDS 2018 | The Association of Siamese Architects. [online] Available at: http://asa.or.th/news/asa-architectural-design-awards-2018/ [Accessed 2 May 2018].
- ↑ 8.0 8.1 8.2 "น่าฟัง! ดร.กชกร วรอาคม ภูมิสถาปนิกหญิงกับการเปลี่ยนเมืองที่กำลังจมเป็นภูมิสถาปัตยกรรมที่พร้อมสู้น้ำท่วมได้". 3 มิถุนายน 2562. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-06. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "อุทยานการเรียนรู้ป๋วย 100 ปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-07-01. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ ธารริน อดุลยานนท์ (7 กันยายน 2560). "อุทยานเรียนรู้ป๋วย 100 ปี : สวนใหม่ล่าสุดของธรรมศาสตร์ที่มีอาคารเรียนใต้เนินดินและพื้นที่สีเขียวสำหรับทุกคน". เดอะคลาวด์. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ มิ่งขวัญ รัตนคช (7 ธันวาคม 2562). "อุทยานเรียนรู้ป๋วย 100 ปี สวนแห่งใหม่ของธรรมศาสตร์ที่เป็น Green Roof Urban Farm ใหญ่สุดในเอเชีย". เดอะคลาวด์. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "เนรมิต!! สวนผักออร์แกนิกลอยฟ้าใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชีย ณ อาคารอุทยานเรียนรู้ ป๋วย 100 ปี". ผู้จัดการออนไลน์. 17 ธันวาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "เปิดตัว "ผู้ออกแบบ" คลองช่องนนทรี "ฟรี" ธุรกิจ 4 แห่ง-คู่สัญญารัฐ 59 ล้าน". กรุงเทพธุรกิจ.
- ↑ ธารริน อดุลยานนท์ (10 กรกฎาคม 2560). "Make Bangkok Porous Again". เดอะคลาวด์. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "กชกร วรอาคม : ภูมิสถาปนิกหญิงไทย". มิกซ์. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ ทรงกลด บางยี่ขัน (5 กรกฎาคม 2562). ""Movin'On Summit 2019 ประชุมสุดยอดว่าด้วยการสัญจรที่ยั่งยืน ณ มอนทรีออล ประเทศแคนาดา ซึ่งรวมไอเดียพัฒนายานพาหนะในยุคน้ำมันใกล้หมด"". เดอะคลาวด์. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ ทรงกลด บางยี่ขัน (2 ตุลาคม 2562). "หญิงไทย 1 ใน 15 Women Leading the Fight Against Climate Change จากทั่วโลกที่เป็นนักสร้างสรรค์สวน ทั้งสวนเก็บน้ำ สวนคลุมตึก สวนเยียวยาเมือง และสวนบนสะพานร้าง". เดอะคลาวด์. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "ไทม์ ยก ธนาธร-แบล็กพิงก์-กชกร วรอาคม ติดดาวรุ่ง Time 100 Next 2019". ไทยรัฐ. 14 พฤศจิกายน 2562. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ ธารริน อดุลยานนท์. "The Healing Garden". เดอะคลาวด์. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help)