มูลนิธิวิกิมีเดีย
37°47′21″N 122°24′12″W / 37.7891838°N 122.4033522°W
ก่อตั้ง | 20 มิถุนายน พ.ศ. 2546 เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก รัฐฟลอริดา สหรัฐ |
---|---|
ผู้ก่อตั้ง | จิมมี เวลส์ |
ประเภท | 501 (c) (3), องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร |
Tax ID no. | 20-0049703[1] |
ที่ตั้ง |
|
พื้นที่ให้บริการ | ทั่วโลก |
วิธี | วิกิพีเดีย, วิกิพจนานุกรม, วิกิคำคม, วิกิตำรา, วิกิซอร์ซ, วิกิมีเดียคอมมอนส์, วิกิสปีชีส์, วิกิข่าว, วิกิวิทยาลัย, วิกิสนเทศ, วิกิท่องเที่ยว |
สมาชิก | คณะกรรมการเท่านั้น |
บุคลากรหลัก | นาตาลียา ตึมกิว, ประธานคณะกรรมการ[2] มารยานา อิสกันดัร, กรรมการบริหาร[3] |
รายได้ |
|
รายจ่าย |
|
ลูกจ้าง | บุคลากร/ผู้รับเหมา ~280 คน (ข้อมูลเมื่อตุลาคม 2558)[5] |
เว็บไซต์ | wikimediafoundation |
บริษัทมูลนิธิวิกิมีเดีย (อังกฤษ: Wikimedia Foundation, Inc.; WMF) หรือ วิกิมีเดีย เป็นองค์การไม่แสวงหาผลกำไรและองค์กรการกุศลสัญชาติอเมริกัน มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย[6] ส่วนใหญ่เป็นที่รู้จักจากการเข้าร่วมในขบวนการวิกิมีเดีย และเป็นเจ้าของชื่อโดเมนอินเทอร์เน็ตของโครงการส่วนใหญ่ของขบวนการ เช่น วิกิพีเดีย มูลนิธินี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2546 โดยจิมมี เวลส์ เพื่อให้เป็นหนทางหนึ่งในการหาเงินทุนให้แก่วิกิพีเดียและโครงการพี่น้องด้วยวิธีการที่ไม่แสวงหาผลกำไร[7][8]
ณ พ.ศ. 2558 มูลนิธิมีพนักงานกว่า 280 คน และมีรายได้ประจำปีเกินกว่า 75 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[9] ปัจจุบันนาตาลียา ตึมกิว (Nataliia Tymkiv) เป็นประธานคณะกรรมการบริษัท[2] มารยานา อิสกันดัร (Maryana Iskander) ได้เป็นกรรมการบริหารตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2565[3][10]
เป้าหมาย
[แก้]มูลนิธิวิกิมีเดียมีเป้าหมายในการพัฒนาและคงสภาพโครงการเนื้อหาเปิดบนฐานของวิกิ และในการเปิดให้เข้าถึงเนื้อหาของโครงการเหล่านี้อย่างเต็มรูปแบบโดยไม่มีค่าใช้จ่าย[11] อีกเป้าหมายหลักของมูลนิธิวิกิมีเดียคือการสนับสนุนทางการเมือง (political advocacy)[12] ใน พ.ศ. 2548 มูลนิธิวิกิมีเดียได้รับสถานะหมวด 501 (c) (3) โดย Internal Revenue Code สหรัฐอเมริกา ว่าเป็นสาธารณกุศล[13] โดยมีโค้ด National Taxonomy of Exempt Entities (NTEE) ที่ B60 (การศึกษาแบบต่อเนื่องในผู้ใหญ่)[14][15] ตามกฎหมาย มูลนิธิแจ้งว่ามีจุดประสงค์ในการรวบรวมและพัฒนาเนื้อหาทางการศึกษาและในการเผยแพร่เนื้อหาเหล่านั้นอย่างมีประสิทธิภาพไปยังทั่วโลก[16]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "2014 Return of Organization Exempt From Income Tax (form 990)" (PDF). WMF (Public Inspection Copy). 11 May 2016. สืบค้นเมื่อ 13 December 2016.
- ↑ 2.0 2.1 "Board of Trustees". Wikimedia Foundation. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2023.
- ↑ 3.0 3.1 "Leadership Team". Wikimedia Foundation. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2023.
- ↑ 4.0 4.1 "Wikimedia Foundation, Inc. Financial Statements June, 2016 and 2015" (PDF). Wikimedia Foundation. สืบค้นเมื่อ November 15, 2016.
- ↑ "Staff and contractors page (Wikimedia Foundation website)". Wikimedia Foundation. สืบค้นเมื่อ August 7, 2015.
- ↑ Jarice Hanson (2016). The Social Media Revolution: An Economic Encyclopedia of Friending, Following, Texting, and Connecting. ABC-CLIO. p. 375. ISBN 978-1-61069-768-2.
- ↑ Neate, Rupert (October 7, 2008). "Wikipedia founder Jimmy Wales goes bananas". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ October 25, 2009.
The encyclopedia's huge fan base became such a drain on Bomis's resources that Mr Wales, and co-founder Larry Sanger, thought of a radical new funding model – charity.
- ↑ Jimmy Wales (June 20, 2003). "Announcing Wikimedia Foundation". mail:wikipedia-l. สืบค้นเมื่อ November 26, 2012.
- ↑ "Wikimedia Foundation, Inc. Financial Statements June, 2016 and 2015" (PDF). Wikimedia Foundation. สืบค้นเมื่อ November 15, 2016.
- ↑ Lima, Cristiano (14 กันยายน 2021). "Wikimedia taps leader of South African nonprofit as its next CEO". The Washington Post (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0190-8286. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 กันยายน 2021. สืบค้นเมื่อ 14 กันยายน 2021.
- ↑ Devouard, Florence. "Mission statement". Wikimedia Foundation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-06. สืบค้นเมื่อ January 28, 2008.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ Jackson, Jasper (12 Feb 2017). "'We always look for reliability': why Wikipedia's editors cut out the Daily Mail". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 13 Feb 2017.
Another core job for the foundation – and Maher – is political advocacy. While copyright and press freedom are important issues for Wikipedia, there is one area even more fundamental to its operation - the rules that protect web firms from full liability for what their users post.
- ↑ Charity Navigator Charity Navigator IRS (Forms 990) Tab. Page accessed January 31, 2016
- ↑ "NTEE Classification System". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กุมภาพันธ์ 2, 2008. สืบค้นเมื่อ มกราคม 28, 2008.
- ↑ "NCCS definition for Adult Education". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 26, 2007. สืบค้นเมื่อ January 28, 2008.
- ↑ Jd. "Wikimedia Foundation bylaws". Wikimedia Foundation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-06. สืบค้นเมื่อ January 28, 2008.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)