ข้าวสาลี
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ข้าวสาลี | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
หมวด: | Magnoliophyta |
ชั้น: | Liliopsida |
อันดับ: | Poales |
วงศ์: | Poaceae |
สกุล: | Triticum L. |
Species | |
T. aestivum |
ข้าวสาลี (Triticum spp.) [1] เป็นพืชจำพวกธัญพืช ปลูกมากในแถบประเทศตะวันออกกลาง เหนือเส้นศูนย์สูตร หรือในเขตอบอุ่น หรือเขตหนาวบางเขต เมล็ดข้าวสาลีจะมีแป้งเป็นส่วนประกอบอยู่ประมาณ 70% และมีแร่ธาตุอื่น ๆ อีกเป็นองค์ประกอบ 30% ต้นข้าวสาลีประกอบไปด้วยธาตุอาหารมากกว่า 100 ชนิด ซึ่งรวมทั้งแร่ธาตุหลัก ๆ ที่ร่างกายต้องการทุกตัว แร่ธาตุรองที่ร่างกายต้องการในปริมาณเล็กน้อย วิตามินในกลุ่มบีคอมเพล็กซ์ครบถ้วน นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งในเรื่องของแหล่งโปร – วิตามินเอ ที่สูงที่สุดในบรรดาอาหารต่าง ๆ รวมทั้งมีวิตามินซี อี และเค เป็นจำนวนมาก น้ำต้นข้าวสาลีมีโปรตีนอยู่ 25 % ซึ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ที่สูงมากกว่าเมื่อเทียบกับเนื้อปลา ไข่ ผลิตภัณฑ์นม หรือถั่วต่าง ๆ มากไปกว่านี้ยังมีสารต้าน เชื้อรา สารต้านพิษจากเชื้อราที่เรียกว่า laetrile อีกด้วย
ข้าวสาลี เป็นธัญพืชอย่างดีที่มีการบริโภคกันอย่างแพร่หลายทั่วโลก สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคกระเพาะ สำหรับผู้ป่วยระหว่างพักฟื้น ในทางยาใช้เมล็ดแก่ในขนาด 15-30 g. ต้มกินน้ำเป็นยาบำรุงหัวใจ ช่วยให้นอนหลับ และลดความดันโลหิตสูง[2]
แหล่งผลิตข้าวสาลีรายใหญ่ในประเทศไทย ได้แก่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน[3]
โภชนาการ
[แก้]แม้ว่าข้าวสาลีจะมีคุณค่าทางโภชนาการสูง แต่ข้าวสาลีก็มีโปรตีนกลูเต็นที่ผู้ป่วยโรคผิดปกติเกี่ยวกับช่องท้อง (Coeliac disease) ไม่สามารถรับโปรตีนชนิดนี้ได้เช่นกัน ซึ่งโปรตีนชนิดนี้สามารถพบได้ใน ข้าวสาลี ข้าวไรย์ ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโอ๊ตและข้าวทริทิเคลี[4]
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์) | |
---|---|
พลังงาน | 1,506 กิโลจูล (360 กิโลแคลอรี) |
51.8 g | |
ใยอาหาร | 13.2 g |
9.72 g | |
23.15 g | |
วิตามิน | |
ไทอามีน (บี1) | (164%) 1.882 มก. |
ไรโบเฟลวิน (บี2) | (42%) 0.499 มก. |
ไนอาซิน (บี3) | (45%) 6.813 มก. |
(1%) 0.05 มก. | |
วิตามินบี6 | (100%) 1.3 มก. |
โฟเลต (บี9) | (70%) 281 μg |
แร่ธาตุ | |
แคลเซียม | (4%) 39 มก. |
เหล็ก | (48%) 6.26 มก. |
แมกนีเซียม | (67%) 239 มก. |
ฟอสฟอรัส | (120%) 842 มก. |
โพแทสเซียม | (19%) 892 มก. |
สังกะสี | (129%) 12.29 มก. |
Footnote text here | |
ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐสำหรับผู้ใหญ่ แหล่งที่มา: USDA FoodData Central |
ผลผลิตและการบริโภค
[แก้]ในปี 2011 การบริโภคข้าวสาลีเฉลี่ย 65 กิโลกรัมต่อคน และพบว่าประเทศอาเซอร์ไบจานมีการบริโภคข้าวสาลีเฉลี่ย 210 กิโลกรัมต่อคน ในปี 1997 มีการข้าวสาลีเฉลี่ยสูงถึง 110 กิโลกรัมต่อคน และประเทศเดนมาร์กบริโภคสูงถึง 623 กิโลกรัมต่อคน แต่ร้อยละ 80 เป็นอาหารสัตว์ ข้าวสาลีเป็นอาหารหลักหลักในแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลางและได้รับความนิยมในเอเชีย การผลิตข้าวสาลีเป็นที่แพร่หลายมากขึ้นทั่วโลก โดยประเทศจีนสามารถผลิตข้าวสาลีได้เกือบจะเป็นหนึ่งในหกของโลก
Rank | Country | 2010 | 2011 | 2012 | 2013 |
---|---|---|---|---|---|
1 | จีน | 115 | 117 | 126 | 122 |
2 | อินเดีย | 80 | 86 | 95 | 94 |
3 | สหรัฐอเมริกา | 60 | 54 | 62 | 58 |
4 | รัสเซีย | 41 | 56 | 38 | 52 |
5 | ฝรั่งเศส | 40 | 38 | 40 | 39 |
6 | แคนาดา | 23 | 25 | 27 | 38 |
7 | เยอรมนี | 24 | 22 | 22 | 25 |
8 | ปากีสถาน | 23 | 25 | 24 | 24 |
9 | ออสเตรเลีย | 22 | 27 | 30 | 23 |
11 | ยูเครน | 16 | 22 | 16 | 23 |
10 | ตุรกี | 19 | 21 | 20 | 22 |
12 | อิหร่าน | 13 | 13 | 14 | 14 |
13 | คาซัคสถาน | 9 | 22 | 13 | 14 |
14 | สหราชอาณาจักร | 14 | 15 | 13 | 12 |
15 | โปแลนด์ | 9 | 9 | 9 | 9 |
— | World | 651 | 704 | 675 | 713 |
Source: UN Food & Agriculture Organization [5] |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Belderok, Bob & Hans Mesdag & Dingena A. Donner. (2000) Bread-Making Quality of Wheat. Springer. p.3. ISBN 0-7923-6383-3.
- ↑ คุณประโยชน์จากข้าวสาลี (Wheat)[ลิงก์เสีย]
- ↑ บ่อเกลือพลิกวิกฤติต่อยอดข้าวสาลี[ลิงก์เสีย]
- ↑ "จมูกข้าวสาลีสำหรับผิวและผม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-08. สืบค้นเมื่อ 2013-01-17.
- ↑ "Production of Wheat by countries". UN Food & Agriculture Organization (FAO). 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-13. สืบค้นเมื่อ 26 January 2015.