ข้ามไปเนื้อหา

ข้าวทริติเคลี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ข้าวทริทิเคลี)
ข้าวทริติเคลี
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Angiosperms
ชั้น: Monocots
อันดับ: Poales
วงศ์: Poaceae
สกุล: × Triticosecale
ชื่อทวินาม
× Triticosecale
Wittm. ex A. Camus.
Species

× Triticosecale

ข้าวทริติเคลี (อังกฤษ: triticale) เป็นธัญพืชชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างข้าวสาลี (Triticum) กับ ข้าวไรย์ (Secale) โดยมีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศสกอตแลนด์และเยอรมนี[1]

การใช้ชื่อ ทริติเคลี เกิดจากการผสมคำของภาษาละตินระหว่างคำว่า Triticum (ข้าวสาลี) กับคำว่าSecale ( ข้าวไรย์) ซึ่งมีที่มาจากการใช้เกสรตัวผู้ของข้าวสาลีผสมพันธุ์กันกับเกสรตัวเมียของข้าวไรย์ ดังนั้นจึงเลือกที่จะใช้สองพยางค์แรกของคำว่าTriticum มานำหน้าพยางค์สุดท้ายของคำ Secale

ผู้ผลิตข้าวทริติเคลีหลักได้แก่ประเทศ โปแลนด์, เยอรมนี, เบลารุส, ฝรั่งเศส และรัสเซีย โดยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ระบุว่าในปี ค.ศ. 2014 มีการเก็บเกี่ยวผลผลิต 17.1 ล้านตันใน 37 ประเทศทั่วโลก[2]

การเปรียบเทียบลักษณะของข้าวสาลี (ซ้าย),ข้าวทริติเคลี (กลาง),ข้าวไรย์ (ขวา)

การเพาะปลูกในประเทศไทย

[แก้]

แม้ในปัจจุบันยังมิได้มีการเพาะปลูกข้าวทริติเคลีในเชิงพาณิชย์ในประเทศไทย แต่อย่างไรก็ตามทางศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ร่วมกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ได้มีการสนับสนุนการศึกษาและวิจัยศักยภาพในการปลูกข้าวชนิดนี้อยู่เช่นกัน[3][4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Stace, C. A. (1987). "Triticale: A Case of Nomenclatural Mistreatment". Taxon. 36 (2): 445–452. doi:10.2307/1221447. JSTOR 1221447.
  2. "Food and Agricultural commodities production". FAO Statistics Division. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-07. สืบค้นเมื่อ 2016-04-05.
  3. ฐานข้อมูลรายชื่อธัญพืชที่อยู่ในการวิจัยของศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
  4. "รายชื่อผลงานการศึกษาเกี่ยวกับข้าวทริติเคลี่". มหาวิทยาลัยแม่โจ้. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-17. สืบค้นเมื่อ 2022-05-02.

อ่านเพิ่มเติม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ข้าวทริติเคลี
  • งามชื่น รัตนดิลก (1989). ความก้าวหน้าในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ และทริติเคลี. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.