ข้ามไปเนื้อหา

วินโดวส์ไลฟ์ เมสเซนเจอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก WLM)
Windows Live Messenger
นักพัฒนาไมโครซอฟท์
วันที่เปิดตัว22 กรกฎาคม 1999 (ในชื่อ MSN Messenger)
13 ธันวาคม 2005 (ในชื่อ Windows Live Messenger)
รุ่นเสถียร
2012 (v16.4.3505.912) / 2 ตุลาคม ค.ศ. 2012 (2012-10-02)
ระบบปฏิบัติการวินโดวส์เอกซ์พี หรือสูงกว่า
แมคโอเอสเท็น
วินโดวส์โมบาย
วินโดวส์โฟน
ซิมเบียน โอเอส 9.x
แบล็กเบอร์รี่โอเอส
ไอโอเอส
วินโดวส์ ซีอี
เอกซ์บอกซ์ 360
ภาษา50 ภาษา
ประเภทเมสเซนเจอร์ เครื่องลูกข่าย
สัญญาอนุญาตฟรีแวร์
เว็บไซต์http://messenger.live.com

วินโดวส์ไลฟ์ เมสเซนเจอร์ (Windows Live Messenger หรือ WLM) เป็นโปรแกรมประเภทเมสเซนเจอร์ ซึ่งเป็นฟรีแวร์ จากไมโครซอฟท์ สำหรับวินโดวส์ เอกซ์พี วินโดวส์ วิสตา และวินโดวส์โมบาย ซึ่งก่อนหน้านี้จะรู้จักกันในชื่อของ "เอ็มเอสเอ็นเมสเซนเจอร์" (MSN Messenger) และยังเป็นที่นิยมอย่างสูงในประเทศไทย ผู้ใช้มักยังเรียกสั้น ๆ ว่า "เอ็มเอสเอ็น"หรือ"เอ็ม" ตามชื่อเก่า วินโดวส์ไลฟ์เมสเซนเจอร์ เป็นส่วนหนึ่งของชุดบริการออนไลน์วินโดวส์ไลฟ์ สามารถรองรับระบบปฏิบัติการ วินโดวส์เอ็กพี ขึ้นไป

รุ่นเสถียรล่าสุดคือ 14.0.8117.416 ซึ่งออกเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 เป็นรุ่นที่รองรับทั้งหมด 34 ภาษา และเป็นรุ่นแรกที่รองรับการแสดงผลภาษาไทย ซึ่งประเทศไทยมีผู้ใช้ วินโดวส์ไลฟ์ เมสเซนเจอร์อยู่ประมาณ 2.5 ล้านคน โดยส่งข้อความโดยเฉลี่ย 70 ล้านข้อความต่อวัน หรือประมาณ 2.2 พันล้านข้อความต่อเดือน[1]

ในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2556 วินโดวส์ไลฟ์เมสเซนเจอร์ได้ปิดตัวลงอย่างเป็นทางการและได้ย้ายบัญชีผู้ใช้ทั้งหมดไปที่โปรแกรมสไกป์แทน[2]

ประวัติ

[แก้]

ชื่อแรกที่ออกมาคือ เอ็มเอสเอ็น เมสเซนเจอร์ เซอร์วิซ ออกเมื่อปี 1999 ที่ให้บริการขั้นพื้นฐาน เช่น การส่งข้อความโต้ตอบ รายชื่อผู้คนที่ติดต่อ ที่รองรับภาษาอังกฤษเท่านั้น จากนั้นจึงเพิ่มแบนเนอร์โฆษณาและฟีเจอร์ต่างๆ และปรับหน้าตาโปรแกรมให้สอดคล้องกับการใช้งานของผู้ใช้ ต่อมาได้ออก เอ็มเอสเอ็น เวอร์ชัน 3 ในปี 2000 สามารถส่งไฟล์ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ และจากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปยังโทรศัพท์ รวมทั้งเพิ่มความสามารถของด้านไฟล์เสียง ปีถัดมาได้เปลี่ยนแปลงทางด้านยูสเซอร์ อินเทอร์เฟซ และการการแบ่งกลุ่มของรายชื่อผู้ติดต่อ มีการเปลี่ยนชื่อจาก เอ็มเอสเอ็น เมสเซนเจอร์ เซอร์วิซ เป็น เอ็มเอสเอ็น เมสเซนเจอร์

ในปี 2003 เพิ่มฟีเจอร์ต่างๆ เช่น อิโมติคอน ภาพแทนตัว และภาพพื้นหลัง และในปี 2005 เพิ่มฟีเจอร์ อย่างเช่น วิงค์ รูปภาพเคลื่อนไหว อิโมติคอน และแบ๊คกราวด์ และยังเพิ่มการใช้งานของ Voice Clip ที่สามารถอัดเสียงได้นาน 15 วินาที และสามารถส่งต่อไปยังผู้อื่นได้ ต่อมาในปี 2006 เอ็มเอสเอ็น เมสเซนเจอร์ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น วินโดวส์ ไลฟ์ เมสเซนเจอร์ โดยได้เพิ่มลูกเล่นต่างๆ เช่น การโทรศัพท์จากคอมพิวเตอร์ไปยังเครื่องโทรศัพท์ และ วินโดวส์ ไลฟ์ ทูเดย์ และยังรองรับการใช้งานภาษาไทย

ในปี 2007 ได้เปิดตัวโปรแกรมเวอร์ชัน 8.5 ได้ปรับปรุงเพิ่มอย่างเช่น ชื่อและรูปภาพของผู้ใช้งานจะปรากฏบนคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เข้าใช้งาน และยังสามารถ ส่งเอสเอ็มเอสผ่านทางเอ็มเอสเอ็น และเพิ่มเมนู report abuse ด้วย

โครงการ i'm
โครงการ i'm

i'm เป็นโครงการที่ริเริ่มจากวินโดวส์ไลฟ์ เมสเซนเจอร์ ซึ่งออกแบบเพื่อให้รายได้จากการโฆษณาไปยังมูลนิธิ หรือองค์กร ที่ไม่หวังผลกำไร โดยผู้ใช้สามารถเลือกองค์กรที่ต้องการได้ตามที่แสดงในตารางด้านล่าง ด้วยการใส่โค้ดที่ต้องการนำหน้าชื่อในวินโดวส์ไลฟ์ เมสเซนเจอร์ 8.1 หรือสูงกว่า

โค้ดขึ้นต้น องค์กร
*red+u American Red Cross
*bgca Boys & Girls Club
*naf National AIDS Fund
*mssoc National Multiple Sclerosis Society
*9mil NineMillion.org
*sierra Sierra Club
*help StopGlobalWarming.org เก็บถาวร 2007-01-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
*komen Susan G. Komen for the Cure
*unicef กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ
*oxfam Oxfam International
*wwf มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าของโลก
*hsus Humane Society of the United States
*acs American Cancer Society
*one ONE Campaign

โพรโทคอล

[แก้]

เอ็มเอสเอ็นเมสเซนเจอร์ใช้ โปรโตรคอล Mobile Status Notification (MSNP) บน TCP (และบางครั้งก็ใช้ HTTP เพื่อจัดการกับพร็อกซี่) ในการเชื่อมต่อไปยังบริการดอตเน็ตเมสเซนเจอร์ โดยผ่านพอร์ต 1863 ของ messenger.hotmail.com ปัจจุบันโพรโทคอลนี้ได้พัฒนามาถึงรุ่นที่ 13 แล้ว (MSNP13) ซึ่งเอ็มเอสเอ็นเมสเซนเจอร์ 7.5 และไคลเอนต์อื่นๆก็ใช้โพรโทคอลรุ่นนี้อยู่ โพรโทคอลรุ่นนี้ถูกเปิดเผยเพียงบางส่วนเท่านั้น ไมโครซอฟท์เคยเปิดเผยโพรโทคอลรุ่นที่ 2 (MSNP2) สำหรับนักพัฒนาในปี ค.ศ. 1999 ที่ Internet Draft แต่ไม่เคยเปิดเผยรุ่นที่ 8, 9, 10, 11 หรือ 12 ต่อสาธารณชนเลย บริการดอตเน็ตเมสเซนเจอร์อนุญาตให้ใช้โพรโทคอลรุ่นที่ 8 ขึ้นไปในการเชื่อมต่อเท่านั้น คำสั่งต่างๆในโปรโตรคอลรุ่นที่ 8, 9, 10, 11, 12 จะสามารถรู้ได้โดยใช้โปรแกรมดักจับเช่น Ethereal. MSNP13 จะยังคงใช้เป็นโพรโทคอลใน Windows Live Messenger 8


วินโดวส์ไลฟ์เมสเซนเจอร์ใช้โพรโทคอล Microsoft Status Notification (MSNP) บน TCP (และบางครั้งก็ใช้ HTTP เพื่อจัดการกับพร็อกซี่) ในการเชื่อมต่อไปยังบริการดอตเน็ตเมสเซนเจอร์ โดยผ่านพอร์ต 1863 ของ messenger.hotmail.com ปัจจุบันโพรโทคอลนี้ได้พัฒนามาถึงรุ่นที่ 14 แล้ว (MSNP14) ซึ่งวินโดวส์ไลฟ์เมสเซนเจอร์ และไคลเอนต์อื่นๆ ก็ใช้โพรโทคอลรุ่นนี้อยู่. MSNP14 เพิ่มส่วนในการใช้งานร่วมกันในแบบ interoperability กับ Yahoo Messenger โพรโทคอลรุ่นนี้ถูกเปิดเผยเพียงบางส่วนเท่านั้น ไมโครซอฟท์เคยเปิดเผยโพรโทคอลรุ่นที่ 2 (MSNP2) สำหรับนักพัฒนาในปี พ.ศ. 2542 ที่ Internet Draft แต่ไม่เคยเปิดเผยรุ่นที่ 8, 9, 10, 11, 12, 13 หรือ 14 ต่อสาธารณชนเลย บริการดอตเน็ตเมสเซนเจอร์ในขณะนี้อนุญาตให้ใช้โพรโทคอลรุ่นที่ 8 ขึ้นไปในการเชื่อมต่อเท่านั้น คำสั่งต่างๆในโปรโตรคอลรุ่นที่ 8, 9, 10, 11, 12, 13 และ 14 จะสามารถรู้ได้โดยใช้โปรแกรมดักจับเช่น Wireshark.

อ้างอิง

[แก้]
  1. "THAILAND: MSN to launch a Thai-language blogging service". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-10. สืบค้นเมื่อ 2007-02-13.
  2. มติชนออนไลน์ โปรแกรมแชท MSN อำลาวงการแล้ววันนี้ พร้อมปิดให้บริการอย่างถาวร เรียกดูวันที่ 2013-04-14

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]