น้ำตกวิกตอเรีย
น้ำตกวิกตอเรีย | |
---|---|
Mosi-oa-Tunya | |
ที่ตั้ง | ชายแดนแซมเบีย (ลิฟวิงสโตน) กับซิมบับเว (วิกตอเรียฟอลส์) |
พิกัดภูมิศาสตร์ | 17°55′28″S 25°51′24″E / 17.92444°S 25.85667°E |
ชนิด | Waterfall |
ความสูงทั้งหมด | 108 เมตร |
จำนวนสายน้ำตก | 2 |
สายน้ำต้นทาง | แม่น้ำแซมบีซี |
อัตราการไหลเฉลี่ย | 1,088 m3/s |
ชื่อที่ขึ้นทะเบียน | โมซิ-โอวา-ทุนยา / น้ำตกวิกตอเรีย |
ประเภท | มรดกทางธรรมชาติ |
เกณฑ์ | vii, viii |
ขึ้นเมื่อ | ค.ศ. 1989 (วาระที่ 13) |
เลขอ้างอิง | 509 |
รัฐภาคี | แซมเบียและซิมบับเว |
ภูมิภาค | แอฟริกา |
น้ำตกวิกตอเรีย (อังกฤษ: Victoria Falls) หรือในชื่อท้องถิ่นว่า โมซิ-โอวา-ทุนยา (Mosi-oa-Tunya; ควันที่ส่งเสียงร้องคำราม) หรือในซิมบับเวเรียกว่าน้ำตกมูกาบี (Mugabe Falls) [1] ตั้งอยู่บริเวณรอยต่อของประเทศแซมเบีย และ ประเทศซิมบับเว เป็นน้ำตกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ถูกค้นพบครั้งแรกโดย เดวิด ลิฟวิงสโตน ในปี ค.ศ. 1855 ซึ่งเป็นผู้ตั้งชื่อน้ำตกนี้เพื่อเป็นเกียรติแก่สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย[2]
น้ำตกวิกตอเรียเกิดจากแม่น้ำซัมเบซีซึ่งเป็นแม่น้ำกั้นพรมแดนของสองประเทศ ตกลงมาสู่แอ่งลึก น้ำตกมีขนาดกว้างกว่า 1690 เมตร สูงประมาณ 60-100 เมตร น้ำตกวิกตอเรียสามารถแบ่งเป็น 4 ส่วนย่อย ได้แก่ น้ำตกปีศาจ น้ำตกหลัก น้ำตกสายรุ้ง และน้ำตกตะวันออก ไอน้ำจากน้ำตกวิกตอเรียสามารถมองเห็นได้จากระยะทาง 20 กิโลเมตร[3]
น้ำตกวิกตอเรียได้รับเลือกให้เป็นแหล่งมรดกโลกในปี ค.ศ. 1989 ปัจจุบันน้ำตกวิกตอเรียเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและแหล่งสร้างรายได้ที่สำคัญของประเทศแซมเบียและประเทศซิมบับเว จึงมีการสร้างโรงแรมและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวในทั้งสองประเทศ[4] แต่การพัฒนาเหล่านี้ขาดการควบคุมจัดการที่ดีองค์การยูเนสโกจึงเคยพิจารณาจะถอนน้ำตกวิกตอเรียออกจากการเป็นมรดกโลก[5]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ https://www.voicetv.co.th/watch/ehW2FJ3Bx
- ↑ "Victoria Falls". World Digital Library. 1890–1925. สืบค้นเมื่อ 2013-06-01.
- ↑ "Mosi-oa-Tunya / Victoria Falls". Unesco. (อังกฤษ)
- ↑ "Victoria Falls threatened by massive hotel complex". The Independent. November 14, 2006.(อังกฤษ)
- ↑ "Victoria Falls 'at risk', UN warns". The Independent. January 7, 2008.(อังกฤษ)