ข้ามไปเนื้อหา

แวน มอร์ริสัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Van Morrison)
แวน มอร์ริสัน
Van Morrison at Marin Civic Center, 2007
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อเกิดจอร์จ ไอแวน มอร์ริสัน
รู้จักในชื่อVan the Man
The Belfast Cowboy
เกิด (1945-08-31) 31 สิงหาคม ค.ศ. 1945 (79 ปี)
ที่เกิดไอร์แลนด์เหนือ เบลฟาสต์, ไอร์แลนด์เหนือ
แนวเพลงบลูส์, ริทึมแอนด์บลูส์, โฟล์ก, บลูอายด์โซล, เคลติก, ร็อกแอนด์โรล, แจ๊ซ, คันทรี
อาชีพนักร้อง-นักดนตรี นักแต่งเพล
เครื่องดนตรีร้อง, กีตาร์, ฮาร์โมนิกา, แซกโซโฟน, คีย์บอร์ด, กลอง, แทมบูรีน, ukelele
ช่วงปี1958–ปัจจุบัน
ค่ายเพลงDecca, Bang, Warner Bros., London, Mercury, Exile/Polydor, Lost Highway Records, Listen to the Lion/EMI
เว็บไซต์www.vanmorrison.com

แวน มอร์ริสัน, โอบีอี (อังกฤษ: Van Morrison, OBE) เกิดเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1945 ในเบลฟาสต์ ไอร์แลนด์เหนือ เป็นนักร้อง นักแต่งเพลง มีชื่อเสียงในพฤติกรรมดื้อรั้น[1][2] นิสัยแปลก[3] และสุดขีด[4] การแสดงสดของเขาเป็นแรงบันดาลที่ดีเยี่ยมและยอดเยี่ยม[5][6] ขณะที่ผลงานเพลงของเขาอย่างเช่นผลงานสตูดิโออัลบั้มชุด Astral Weeks และ Moondance และผลงานอัลบั้มแสดงสด It's Too Late to Stop Now ที่ได้รับเสียงตอบรับยอดเยี่ยม

เขามีผลงานระดับอาชีพเมื่อตอนเขายังเป็นวัยรุ่น ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1950 เขาเล่นเครื่องดนตรีได้หลายประเภทอย่าง กีตาร์ ฮาร์โมนิกา คีย์บอร์ด แซกโซโฟน กับวงที่ทำเพลงเก่ามาทำใหม่ ก่อนที่จะมาโดดเด่นในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1960 ในฐานะนักร้องนำวงเด็ม ที่เป็นวงการาจมีเพลงฮิตอย่าง "Gloria" เขาออกผลงานเดี่ยวมีผลงานซิงเกิ้ลดังอย่าง "Brown Eyed Girl" ในปี 1967 ของเบิร์ต เบิร์นส หลังจากที่เบิร์นสเสียชีวิต วอร์เนอร์ บรอส. เรเคิดส์ได้ซื้อสัญญาของเขาและให้เขามีผลงานแสดงในชุด Astral Weeks ในปี 1968[7] ถึงแม้ว่าอัลบั้มนีได้รับคำชมเชยอย่างมาก แต่ในช่วงแรกกระแสตอบรับไม่ค่อยดี อย่างไรก็ตาม อัลบั้มถัดมา Moondance ทำให้มอร์ริสันถือเป็นศิลปินใหญ่[8] และเมื่อผ่านยุคคริสต์ทศวรรษ 1970 เขามีผลงานที่ได้รับเสียงวิจารณ์ที่ดีหลายอัลบั้มรวมถึงการแสดงสด มอร์ริสันก็ยังออกผลงานเพลงและออกทัวร์ และยังร่วมงานกับศิลปินอื่นอย่าง จอร์จี เฟม และเดอะชีฟเทนส์ และในปี 2008 เขาแสดงสด Astral Weeks ครั้งแรกหลังปี 1968

ดนตรีของเขามีรูปแบบเป็นดนตรีโซล อาร์แอนด์บี อย่างเช่นซิงกิ้ลเพลงดังอย่าง "Brown Eyed Girl", "Moondance", "Domino" และ "Wild Night" ทั้งดนตรีที่มีความยาว การเชื่อมโยงหลวม ๆ ดนตรีการเดินทาง ที่ได้รับอิทธิพลดนตรีเคลติกพื้นถิ่น แจ๊ซ กระแสสำนึกเรื่องบอกเล่า อย่างเช่นผลงาน Astral Weeks และผลงานที่เป็นที่รู้จักน้อยกว่าอย่าง Veedon Fleece และ Common One[9][10] ในบางครั้งสองอัลบั้มนี้เรียกว่า แนวเคลติกโซล[11]

มอร์ริสันได้รับรางวัลแกรมมี่ 6 ครั้งและยังมีชื่ออยู่ทั้งใน ร็อกแอนด์โรลฮอลออฟเฟมและซองไรเตอร์สฮอลออฟเฟม

อ้างอิง

[แก้]
  1. The word curmudgeonly is commonly used. "BBC – Music – Review of Van Morrison – Tupelo Honey". www.bbc.co.uk. สืบค้นเมื่อ 2009-04-18.
  2. The great rock discography[ลิงก์เสีย], page 551, M. C. Strong, Giunti, 1998, ISBN 8809215222
  3. "Van Morrison: No Guru, No Method, No Teacher : Music Reviews : Rolling Stone". rollingstone.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-22. สืบค้นเมื่อ 2009-04-18.
  4. Collis (1996), page 185.
  5. Selvin, Joel. San Francisco Chronicle Van Morrison's transcendent 'Astral' at Greek, Monday, May 4, 2009. Retrieved 26 May 2009
  6. Colt, Jonathan. "Back to a shadow in the night". books.google.com. สืบค้นเมื่อ 2009-05-12.
  7. Turner (1993). pages 86 – 90
  8. Eskow, Gary (2005-04-01). "Classic Tracks: Van Morrison's Moondance". mixonline.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-04-19. สืบค้นเมื่อ 2009-05-26.
  9. SHOF: Van Morrison biography. songwritersshalloffame.org. Retrieved on 2008-07-07.
  10. Ballon, John. Musthear review: Veedon Fleece. musthear.com. Retrieved on 2008-06-30.
  11. Levy, Joe (2007-08-07). Alternate Takes: Van the Journeyman. rollingstone.com. Retrieved on 2009-06-02.