สตาร์ วอร์ส 3 ชัยชนะของเจได
สตาร์ วอร์ส 3 ชัยชนะของเจได | |
---|---|
ใบปิดภาพยนตร์โดยคาซูฮิโกะ ซาโนะ | |
กำกับ | ริชาร์ด มาร์ควานด์ |
บทภาพยนตร์ | |
เนื้อเรื่อง | จอร์จ ลูคัส |
อำนวยการสร้าง | ฮาเวิร์ด คาแซนเจียน |
นักแสดงนำ | |
กำกับภาพ | แอลัน ฮูม |
ตัดต่อ |
|
ดนตรีประกอบ | จอห์น วิลเลียมส์ |
บริษัทผู้สร้าง | |
ผู้จัดจำหน่าย | ทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์ |
วันฉาย |
|
ความยาว | 132 นาที[1] |
ประเทศ | สหรัฐ |
ภาษา | อังกฤษ |
ทุนสร้าง | 32.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[2][3] |
ทำเงิน | 475.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[4][5] |
สตาร์วอร์ส 3 ชัยชนะของเจได (อังกฤษ: Return of the Jedi) หรือรู้จักในชื่อ สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 6 การกลับมาของเจได (อังกฤษ: Star Wars: Episode VI – Return of the Jedi) เป็นภาพยนตร์อเมริกันแนวมหากาพย์บันเทิงคดีอวกาศ ฉายเมื่อปี ค.ศ. 1983 กำกับโดย ริชาร์ด มาร์ควานด์ เขียนบทโดย ลอว์เรนซ์ แคสแดนและจอร์จ ลูคัส จากเนื้อเรื่องโดยลูคัส และเขายังทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการสร้างฝ่ายบริหาร สร้างโดยลูคัสฟิล์ม เป็นภาพยนตร์เรื่องที่สามของแฟรนไชส์และใน สตาร์ วอร์ส ไตรภาคเดิม ภาคต่อของ สตาร์วอร์ส 2 (1980) และเป็นตอนที่หกใน "มหากาพย์สกายวอล์คเกอร์" และเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่ใช้เทคโนโลยี THX ภาพยนตร์ดำเนินหลังเหตุการณ์ใน สตาร์วอร์ส 2 หนึ่งปี[6] นักแสดงประกอบด้วย มาร์ก แฮมิลล์, แฮร์ริสัน ฟอร์ด, แคร์รี ฟิชเชอร์, บิลลี ดี วิลเลียมส์, แอนโทนี แดเนียลส์, เดวิด พราวส์, เคนนี เบเกอร์, ปีเตอร์ เมย์ฮิวและแฟรงค์ ออซ
จักรวรรดิกาแลกติก ภายใต้การนำของจักรพรรดิผู้โหดเหี้ยม ได้สร้างดาวมรณะดวงที่สองขึ้น เพื่อกำจัดเหล่าพันธมิตรกบฏให้หมดสิ้น เมื่อจักรพรรดิเดินทางมาตรวจดูการก่อสร้างขั้นตอนสุดท้ายด้วยตัวเอง เหล่าพันธมิตรกบฏจึงวางแผนโจมตีดาวมรณะเต็มกำลังเพื่อยับยั้งการก่อสร้างและสังหารจักรพรรดิและคืนเสรีภาพกลับสู่กาแลกซี ขณะเดียวกัน ลุค สกายวอล์คเกอร์ ซึ่งเป็นอัศวินเจไดแล้ว พยายามโน้มน้าวให้ ดาร์ธ เวเดอร์ ผู้เป็นพ่อของเขา กลับคืนสู่ด้านสว่างของพลัง
สตีเวน สปีลเบิร์ก, เดวิด ลินจ์และเดวิด โครเนนเบิร์ก เคยได้รับพิจารณาให้เป็นผู้กำกับโครงการ ก่อนที่จะเซ็นสัญญาให้มาร์ควานด์เป็นผู้กำกับ ทีมสร้างอาศัยสตอรีบอร์ดของลูคัสในช่วงก่อนการสร้าง ขณะที่กำลังเขียนบทถ่ายทำ ลูคัส, แคสแดน, มาร์ควานด์และผู้อำนวยการสร้าง ฮาเวิร์ด คาแซนเจียน ใช้เวลาสองสัปดาห์ในการประชุมเรื่องแนวคิดในการสร้างภาพยนตร์ ตารางงานของคาแซนเจียนทำให้ต้องมีการถ่ายทำก่อนกำหนดไม่กี่สัปดาห์ ทำให้ อินดัสเทียลไลต์แอนด์แมจิก มีเวลาทำงานให้กับเทคนิคพิเศษของภาพยนตร์มากขึ้นในช่วงหลังการสร้าง มีการถ่ายทำที่อังกฤษ, แคลิฟอร์เนียและแอริโซนา ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงพฤษภาคม ค.ศ. 1982 การถ่ายทำมีการเก็บเป็นความลับอย่างเข้มงวด
ภาพยนตร์ฉายในโรงภาพยนตร์เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1983 ได้รับการตอบรับที่ดี ภาพยนตร์ทำเงิน 374 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการฉายครั้งแรก กลายเป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในปี ค.ศ. 1983 มีการฉายใหม่หลายครั้งและมีการปรับปรุงภาพยนตร์เรื่อยมาอีกหลายทศวรรษ จนทำให้ภาพยนตร์ทำเงินทั้งหมด 475 ล้านดอลลาร์สหรัฐทั่วโลก
โครงเรื่อง
[แก้]อัศวินเจได ลุค สกายวอล์คเกอร์ ได้เดินทางกลับทาทูอีนดาวบ้านเกิดเพื่อช่วยฮาน โซโลจากเงื้อมมือมหาจอมโจรแจบบา เดอะ ฮัทท์ ส่วนเจ้าหญิงเลอาได้ช่วยฮานออกมาจากคาร์บอนไนต์ได้ แต่โชคร้ายกลับถูกแจบบาจับตัวไว้ เมื่อลุคมาต่อรองให้ปล่อยตัวทั้งสองแต่ก็โดนแจบบาใช้เล่ห์กลจับไว้อีกคน และถูกนำตัวไปประหารชีวิต
สถานการณ์กลับผลิกผันเมื่อลุคที่ได้รับกระบี่แสงที่ซ่อนอยู่ในหุ่นยนต์อาร์ทูดีทู ได้แสดงพลังที่แท้จริงของเจไดทำให้เขาทำลายพวกของแจบบาลงและช่วยเหลือฮานและเลอาออกมาได้สำเร็จ ลุคแยกตัวไปหาอาจารย์โยดาเพื่อฝึกวิชาเจไดให้บรรลุ แต่โยดาก็ได้บอกว่าเขาสำเร็จวิชาแล้ว รวมทั้งบอกความจริงเกี่ยวกับตระกูลสกายวอล์คเกอร์อีกคน ก่อนที่เขาจะจากไป ทำให้ลุครู้จากจิตใต้สำนึกของเขาว่าว่าสกายวอล์คเกอร์อีกคนก็คือเลอา ซึ่งแท้จริงแล้วคือน้องสาวฝาแฝดของเขานั่นเอง
ฝ่ายฮานที่ไปรวมกับกองกำลังกบฏที่รออยู่ จึงได้รู้ถึงการสร้างดาวมรณะดวงที่สอง และรู้ว่าจักรพรรดิพัลพาทีนจะเสด็จไปดูการก่อสร้างด้วยตัวเอง ฝ่ายกบฏจึงถือเอาโอกาสนี้จัดการกับดาวมรณะและจักรพรรดิไปพร้อม ๆ กันแต่ปัญหาคือดาวมรณะมีเกราะป้องกันที่สร้างโดยเครื่องกำเนิดพลังงานบนดวงจันทร์เอนดอร์ พวกฮานและลุคที่เดินทางมาสมทบจึงอาสาไปทำลายมันลง โดยขโมยยานขนส่งของฝ่ายจักรวรรดิ ลอบเข้าไปในดวงจันทร์เอนดอร์ แต่ดาร์ธ เวเดอร์ ก็ได้รู้ถึงการกลับมาของลุคและบอกกับจักรรพรรดิว่าจะเป็นคนไปนำตัวลุคมาเอง
ฝ่ายฮานและเลอาเมื่อติดกับของฝ่ายจักรวรรดิจนเกือบเสียที แต่ก็ได้อีว็อคหรือพวกหมีแคระ ชนเผ่าพื้นเมืองบนดวงจันทร์ช่วยเหลือจึงสามารถทำลายเครื่องกำเนิดพลังงานได้ ส่วนลุคก็แยกไปเผชิญหน้ากับดาร์ธ เวเดอร์เพียงลำพังเพื่อกล่อมเขาให้กลับสู่ด้านสว่าง ลุคต่อสู้จนชนะและตัดมือขวาของเวเดอร์ขาด แต่ไม่ยอมกำจัดเวเดอร์ซึ่งเป็นบิดาของตน จักรพรรดิทรงเห็นว่าลุคไม่ยอมตกอยู่ใต้อำนาจของด้านมืด จึงหมายจะสังหารลุคโดยใช้พลังสายฟ้าซึ่งเป็นอาวุธสำคัญของพวกซิธ
แต่ว่าดาร์ธ เวเดอร์ ซึ่งทนเห็นลูกชายตายไปต่อหน้าต่อตามิได้ จึงคิดได้และกลับมาเป็นอนาคิน สกายวอล์คเกอร์เข้าช่วยเหลือลูกชาย โดยสังหารจักรพรรดิด้วยมือของตนเอง เขายกร่างของจักรพรรดิขึ้น พลังสายฟ้าจึงหันพุ่งมายังอนาคินเขาทุ่มจักรพรรดิลงไปในช่องอากาศ เขากล่าวขอบคุณลุคที่ช่วยให้เขากลับสู่ด้านสว่างได้สำเร็จ อนาคินให้ลุคถอดหน้ากากสีดำของเขาออก เขาได้มองหน้าลูกชายด้วยตาตนเองเป็นครั้งแรก และครั้งสุดท้าย บัดนี้คำทำนายโบราณของเจไดได้เป็นจริงแล้ว อนาคิน ผู้ถูกเลือก ผู้สังหารซิธคนสุดท้าย และนำสมดุลกลับคืนสู่พลัง ได้กลับมาแล้ว
ส่วนฝ่ายกบฏก็สามารถเข้าไปทำลายดาวมรณะ รวมทั้งโค่นล้มจักรวรรดิได้สำเร็จจึงได้เฉลิมฉลองในชัยชนะอย่างยิ่งใหญ่ที่สามารถนำความสงบสุขกลับคืนสู่จักรวาลได้อีกครั้ง
ตัวละคร
[แก้]- มาร์ก แฮมิลล์ เป็น ลุค สกายวอล์คเกอร์
- แฮร์ริสัน ฟอร์ด เป็น ฮัน โซโล
- แคร์รี ฟิชเชอร์ เป็น เลอา ออร์กานา
- บิลลี่ ดี. วิลเลี่ยม เป็น แลนโด คาลริสเซียน
- อเล็ก กินเนส เป็น โอบีวัน เคโนบี
- ปีเตอร์ เมย์ฮิว เป็น ชิวแบคคา
- แอนโธนี แดเนียลส์ เป็น ซีทรีพีโอ
- เคนนี่ เบเกอร์ เป็น อาร์ทูดีทู
- แฟรงค์ ออซ เป็น โยดา
- เอียน แมคเดียร์มิด, นิค เจมสัน (เสียง) เป็น จักรพรรดิ
- เดวิด พราวส์ เป็น ดาร์ธ เวเดอร์
- จอหน์ มอร์ตัน เป็น โบบา เฟทท์
- แลร์รี่ วาร์ด เป็น แจบบา เดอะ ฮัทท์
การสร้าง
[แก้]ภาพยนตร์เรื่องนี้ เดิมใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า Revenge of the Jedi แต่จอร์จ ลูคัส ตัดสินใจเปลี่ยนชื่อเป็น Return of the Jedi ไม่กี่วันก่อนออกฉาย ด้วยเหตุผลว่า เจได ไม่ แก้แค้น ใคร การเปลี่ยนชื่อภาพยนตร์ก่อนออกฉายอย่างกะทันทัน ทำให้ผู้จัดจัดหน่ายต้องสูญเสียอุปกรณ์ประชาสัมพันธ์ที่จัดเตรียมไว้แล้วเป็นจำนวนมาก
การออกฉาย
[แก้]การกลับมาของเจไดออกฉายในโรงภาพยนตร์เมื่อ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1983 ซึ่งเดิมเคยมีการกำหนดไว้เป็นวันที่ 27 พฤษภาคม แต่ถูกเลื่อนมาเพื่อให้เป็นวันเดียวกันกับวันออกฉายของภาพยนตร์สตาร์ วอร์สภาคแรกเมื่อปี ค.ศ. 1977[7]
ค.ศ. 1997 ซึ่งเป็นปีครบรอบ 20 ปีของการออกฉายของภาพยนตร์สตาร์ วอร์สภาคแรก จอร์จ ลูคัสได้ผลิตสตาร์ วอร์ส ไตรภาค ฉบับพิเศษออกฉายในเวลาไล่เลี่ยกันทั้ง 3 ภาค โดยการกลับมาของเจไดฉบับพิเศษออกฉายเมื่อ 14 มีนาคม ค.ศ. 1997 โดยมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงจากฉบับเดิม ได้แก่ ฉากวงดนตรีมนุษย์ต่างดาวร้องเพลงในวังของแจบบาที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ การเพิ่มจงอยปากของหนอนทรายซาร์แลกก์ การเปลี่ยนดนตรีประกอบในฉากจบเรื่อง และฉากเฉลิมฉลองการล่มสลายของจักรวรรดิบนดาวเคราะห์ต่างๆ ในตอนจบ[8] ลูคัสให้สัมภาษณ์ว่าภาพยนตร์เรือ่งนี้มีฉากที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงน้อยกว่าภาคอื่นๆ เนื่องจากเป็นภาคที่เดินเรื่องด้วยอารมณ์โดดเด่นกว่าภาคอื่นๆ[9]
การเปลี่ยนชื่อเรื่อง
[แก้]ใบปิดแรก (teaser) ของภาพยนตร์เรื่องนี้ ระบุชื่อเรื่องไว้ว่า Revenge of the Jedi (การแก้แค้นของเจได)[10] ต่อมาเดือนธันวาคม ค.ศ. 1982 ลูคัสตัดสินใจใหม่ว่า "Revenge" (การแก้แค้น) เป็นคำที่ไม่เหมาะสม เนื่องจากเจไดไม่ควรจะผูกใจแค้น หรือแสวงหาการแก้แค้น จึงได้เปลี่ยนชื่อเรื่องเป็น Return of the Jedi ซึ่งกว่าตัดสินใจได้ ใบปิดที่มีชื่อเรื่องว่า Revenge (วาดโดยดรูว์ สตรูซาน) ก็ได้รับการผลิต และเผยแพร่ไปแล้วหลายพันใบ บริษัทลูคัสฟิล์มยุติการผลิตใบปิดดังกล่าวทันที มีเหลืออีกราว 6,800 ใบ ก็ถูกขายให้กับสมาชิกแฟนคลับสตาร์ วอร์ส ในราคาใบละ 9.50 ดอลลาร์สหรัฐ[11]
ต่อมาในปี ค.ศ. 2005 สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 3: ซิธชำระแค้น ก็ออกฉาย ชื่อภาค (Revenge of the Sith) จึงมีนัยเกี่ยวโยงกับชื่อภาค Revenge of the Jedi ที่ถูกยกเลิกไปนั่นเอง[12]
กระแสตอบรับ
[แก้]ภาพยนตร์ได้รับรางวัลเกียรติยศออสการ์ (รางวัลนี้จะมีการมอบต่อเมื่อมีภาพยนตร์ที่ดีที่สุดจริง ๆ เท่านั้น ไม่ใช่มอบทุกปีเหมือนรางวัลสาขาอื่น ๆ ปีใดไม่มีภาพยนตร์เรื่องใดที่คุณภาพถึง จะไม่มีการมอบรางวัลนี้) จากเทคนิคพิเศษยอดเยี่ยม
อ้างอิง
[แก้]เชิงอรรถ
[แก้]- ^ Walt Disney Studios Motion Pictures จะได้สิทธิ์ในการจัดจำหน่ายในเดือนพฤษภาคม 2020.[13]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "STAR WARS EPISODE VI: RETURN OF THE JEDI (U)". British Board of Film Classification. May 12, 1983. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 5, 2015. สืบค้นเมื่อ May 4, 2015.
- ↑ Aubrey Solomon, Twentieth Century Fox: A Corporate and Financial History, Scarecrow Press, 1989 p260
- ↑ J.W. Rinzler, The Making of Return of the Jedi, Aurum Press, ISBN 978 1 78131 076 2, 2013 p336
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อmojo
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อnumbers
- ↑ "Star Wars: Episode VI Return of the Jedi". Lucasfilm. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 12, 2010. สืบค้นเมื่อ March 4, 2010.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อProdDir1
- ↑ "Episode VI: What Has Changed?". StarWars.com. September 8, 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 29, 2008. สืบค้นเมื่อ March 10, 2008.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อDVDcom
- ↑ ตัวอย่างภาพยนตร์ Revenge of the Jedi จากดีวีดีโบนัสดิสก์ ในชุด Star Wars Trilogy Box Set [2004]
- ↑ Sansweet & Vilmur (2004). The Star Wars Poster Book. Chronicle Books. p. 124.
- ↑ Greg Dean Schmitz. "Star Wars Episode III: Revenge of the Sith — Greg's Preview". Yahoo! Movies. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 19, 2007. สืบค้นเมื่อ March 5, 2007.
- ↑ Masters, Kim (October 30, 2012). "Tangled Rights Could Tie Up Ultimate 'Star Wars' Box Set (Analysis)". The Hollywood Reporter. สืบค้นเมื่อ November 12, 2012.
บรรณานุกรม
[แก้]Arnold, Alan. Once Upon a Galaxy: A Journal of Making the Empire Strikes Back. Sphere Books, London. 1980. ISBN 978-0-345-29075-5.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ภาพยนตร์ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2526
- สตาร์ วอร์ส
- ภาพยนตร์ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2540
- ภาพยนตร์โดยลูคัสฟิล์ม
- ภาพยนตร์สตาร์ วอร์ส
- ภาพยนตร์เทคนิคพิเศษยอดเยี่ยม รางวัลออสการ์
- ภาพยนตร์โดยทเวนตีธ์เซนจูรีฟอกซ์
- ภาพยนตร์หุ่นยนต์
- ภาพยนตร์ผจญภัยในอวกาศ
- ภาพยนตร์ที่ถ่ายทำในประเทศอังกฤษ
- ภาพยนตร์ที่ถ่ายทำในรัฐแคลิฟอร์เนีย
- ภาพยนตร์ผจญภัยบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์
- ภาพยนตร์เกี่ยวกับเด็กกำพร้า