ข้ามไปเนื้อหา

กองทัพเรือโซเวียต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Soviet Navy)
กองทัพเรือโซเวียต
Военно-морской флот СССР
Voyenno-morskoy flot SSSR
ประจำการ1918
ปลดประจำการ1991
ประเทศ สหภาพโซเวียต
เหล่า กองทัพสหภาพโซเวียต
รูปแบบกองทัพเรือ
กำลังรบ467,000 นาย (1984)[1]
เรือรบ 895 ลำ (1990)
อากาศยาน 1,172 ลำ (1990)
เรือบรรทุกอากาศยาน 5 ลำ
เรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ 2 ลำ
เรือประจัญบาน 3 ลำ
เรือลาดตระเวน 30 ลำ
เรือพิฆาต 45 ลำ
เรือฟริเกต 113 ลำ
เรือคอร์เวต 124 ลำ
เรือดำน้ำติดขีปนาวุธ 63 ลำ
เรือดำน้ำติดขีปนาวุธแบบร่อน 72 ลำ
เรือดำน้ำโจมตีพลังงานนิวเคลียร์ 64 ลำ
เรือดำน้ำโจมตีพลังงานดีเซล-ไฟฟ้า 65 ลำ
เรือดำน้ำสนับสนุน 9 ลำ
เรือตรวจการณ์ขนาดเล็ก 425 ลำ
สมญากองเรือแดง
ปฏิบัติการสำคัญการปฏิวัติรัสเซีย
สงครามกลางเมืองรัสเซีย
สงครามโปแลนด์–โซเวียต
สงครามชายแดนญี่ปุ่น-โซเวียต
การบุกครองโปแลนด์
สงครามฤดูหนาว
สงครามต่อเนื่อง
สงครามโลกครั้งที่สอง
การบุกครองแมนจูเรียของสหภาพโซเวียต
สงครามเวียดนาม
การเดินทางรอบโลกด้วยเรือดำน้ำของโซเวียตปี 1966
สงครามเย็น
ผู้บังคับบัญชา
ผู้บัญชาการปัจจุบันจอมพลเรือ วลาดีมีร์ เอ็น. เชียร์นาวิน (ผู้บัญชาการคนสุดท้ายของกองทัพเรือ)
ผบ. สำคัญจอมพลเรือ เซียร์เกย์ กอร์ชคอฟ
จอมพลเรือ นีโคไล คูซเนตซอฟ
พลเรือโท อะเลคซันดร์ เนมิทซ์
พลเรือโท เยฟเกนี บีเรนส์
จอมพลเรือ วาซีลี อัทฟาเตอ
พลเรือเอก อีวาน ยูมาเชฟ
เครื่องหมายสังกัด
ธงฉาน
ธงรัฐนาวีเกียรติยศเครื่องอิสริยาภรณ์ธงแดง

กองทัพเรือโซเวียต (รัสเซีย: Военно-морской флот СССР (ВМФ), อักษรโรมัน: Voyenno-morskoi flot SSSR (VMF), แปลตรงตัว'Military Maritime Fleet of the USSR', VMF) เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อการปฏิบัติการทางทหารในทะเลของกองทัพโซเวียต มักจะเรียกกันว่า กองเรือแดง กองทัพเรือโซเวียตนั้นส่วนใหญ่ของการวางแผนทางยุทธศาสตร์ของสหภาพโซเวียตในกรณีที่เกิดความขัดแย้งกับมหาอำนาจฝ่ายตรงข้ามอย่างสหรัฐอเมริกาในช่วงสงครามเย็นระหว่างสองประเทศ อิทธิพลของกองทัพเรือโซเวียตมีบทบาทอย่างมากในเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสงครามเย็น(ค.ศ. 1945 - ค.ศ. 1991) ในขณะที่ความขัดแย้งส่วนใหญ่ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่ฝ่ายพันธมิตรภายใต้การนำโดยอเมริกันในยุโรปตะวันตกหรือประเมินอำนาจเพื่อรักษาขอบเขตของอิทธิพลในยุโรปตะวันออก

โครงสร้างของกองทัพเรือโซเวียตได้แบ่งออกเป็นสี่กองเรือใหญ่ประกอบด้วยกองเรือเหนือ, กองเรือแปซิฟิก, กองเรือทะเลดำ และกองเรือบอลติก ซึ่งอยู่ภายใต้กองบัญชาการแยกต่างหากคือฐานทัพเรือเลนินกราด นอกจากนี้ กองทัพเรือโซเวียตได้มีกองเรือขนาดเล็ก ได้แก่ กองเรือเล็กแคสเปียน ซึ่งปฏิบัติการอยู่ในทะเลแคสเปียน และตามด้วยกองเรือขนาดใหญ่คือ กองเรือที่ 5 ในตะวันออกกลาง กองทัพเรือโซเวียตได้รวมถึงกองบินนาวี กองนาวิกโยธิน และกองกำลังปืนใหญ่ป้องกันชายฝั่ง

ภายหลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี ค.ศ. 1991 สหพันธรัฐรัสเซียได้สืบทอดส่วนที่ใหญ่ที่สุดของกองทัพเรือโซเวียต และเปลี่ยนให้กลายเป็นกองทัพเรือรัสเซีย โดยมีส่วนขนาดเล็กที่กลายเป็นพื้นฐานของกองทัพเรือของรัฐใหม่ที่เป็นอิสระจากอดีตโซเวียต

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]