Somatoparaphrenia
บทความนี้มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษ เนื่องจากชื่อเป็นศัพท์เฉพาะทาง ราชบัณฑิตยสถานยังไม่บัญญัติภาษาไทย ยังไม่ชัดเจนว่าควรจะใช้คำอะไร |
Somatoparaphrenia เป็นอาการหลงผิดเฉพาะเรื่อง (monothematic delusion) ชนิดหนึ่งที่คนไข้ปฏิเสธว่าเป็นเจ้าของแขนขาหรือร่างกายทั้งซีก ถึงแม้ว่าจะให้หลักฐานที่ปฏิเสธไม่ได้ว่า แขนขาเป็นของคนไข้และสืบเนื่องอยู่กับร่างกาย คนไข้กลับกุเรื่องราวขึ้นว่า เป็นแขนขาของใครจริง ๆ และถึงเรื่องราวที่แขนขานั้นมาติดอยู่กับกายตนได้อย่างไร[1][2] ในบางกรณี ความหลงผิดมีความพิสดารจนกระทั่งว่า คนไข้อาจจะปฏิบัติต่อแขนขานั้นเหมือนกับเป็นบุคคลอื่น[1]
Somatoparaphrenia ต่างจากโรคที่คล้ายกันอีกอย่างหนึ่งคือ asomatognosia ซึ่งกำหนดโดยการสูญเสียการรู้จำซีกหนึ่งของร่างหรือแขนขาข้างหนึ่ง ซึ่งอาจจะมีสาเหตุจากอัมพาตหรือภาวะละเลยกึ่งปริภูมิ (hemispatial neglect)[3] ยกตัวอย่างเช่น คนไข้โรค asomatognosia อาจจะถือเอาแขนของตนผิดว่าเป็นของคุณหมอ แต่ว่า คุณหมอยั้งสามารถชี้แจงให้คนไข้เห็นว่าเป็นแขนของตน ถึงแม้จะเป็นการแก้ความผิดพลาดได้แต่เพียงชั่วคราว[1]
Somatoparaphrenia เกิดขึ้นโดยมากที่แขนซ้าย[4] ซึ่งมักจะมาพร้อมกับอัมพาตด้านซ้ายและภาวะเสียสำนึกความพิการ คือปฏิเสธหรือไม่รู้ถึงความเป็นอัมพาตนั้น มีความสัมพันธ์กันระหว่าง Somatoparaphrenia กับความเป็นอัมพาตในเค้สทางคลินิกหลายกรณี[5] จึงทำให้เกิดคำถามขึ้นว่า ความเป็นอัมพาต หรือความเสียสำนึกความพิการ หรือทั้งสองอย่าง จำเป็นที่จะทำให้อาการ somatoparaphrenia นั้นเกิดขึ้น
เหตุ
[แก้]มีงานวิจัยที่เสนอว่า ความเสียหายต่อสมองด้านหลัง (ที่ส่วนเชื่อมระหว่างสมองกลีบขมับและสมองกลีบข้าง) อาจมีบทบาทสำคัญต่อการเกิดขึ้นของ Somatoparaphrenia[6][7] ถึงอย่างนั้น งานวิจัยหลังจากนั้นกลับบอกเป็นนัยว่า ความเสียหายต่อเขตลึก ๆ ในสมองเช่น insula ด้านหลัง[8] และโครงสร้างใต้เปลือกสมองเช่น basal ganglia[9] ก็อาจมีบทบาทสำคัญในการให้เกิดอาการนี้ด้วย
เชื่อกันว่า โรคนี้มีเหตุจากโรคหลอดเลือดสมองที่ทำความเสียหายแก่สมองกลีบข้างซีกเดียวหรือทั้งสองซีก[ต้องการอ้างอิง] แต่เกิดขึ้นบ่อยในกรณีที่มีความเสียหายต่อด้านหลังของเปลือกสมอง โดยเฉพาะส่วนเชื่อมระหว่างสมองกลีบขมับและสมองกลีบข้าง (temporoparietal junction) ที่สมองซีกขวา[3]
การบำบัดรักษา
[แก้]วิธีการรักษาแบบหนึ่งสามารถเสริมสร้างความตระหนักรู้ คือให้คนไข้ดูแขนขานั้นที่กระจกเงา กรณีที่คนไข้ที่ปฏิเสธว่าแขนขาเป็นของ ๆ ตน คนไข้ก็จะบอกว่า แขนขานั้นจริง ๆ แล้วเป็นของ ๆ ตน แต่ว่าความรู้สึกว่าเป็นเจ้าของนี้ จะไม่ดำรงอยู่หลังจากนำกระจกเงาออกไปแล้ว[10]
ในสื่อ
[แก้]ในตอนที่ 5 ในซีซันที่ 4 ของแพทย์มือใหม่ หัวใจเกินร้อย ชายผู้มีภาวะ somatoparaphrenia แต่รับการวินิจฉัยผิดว่าเป็นโรคคิดว่าตนเองมีรูปร่างหรืออวัยวะผิดปกติ (body dysmorphic disorder) ต้องการให้คุณหมอตัดเท้าของตนออกเพราะว่ามันไม่ใช่ของเขา
ในตอนที่ 5 ในซีซันที่ 7 ของเซาท์พาร์ก กล่าวได้ว่า อีริก คาร์ตแมน มีโรค somatoparaphrenia เกี่ยวกับมือของตน
ดูเพิ่ม
[แก้]- อาการหลงผิดเฉพาะเรื่อง (monothematic delusion)
เชิงอรรถและอ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 Feinberg, T., Venneri, A., Simone, A.M., et al. (2010) . The neuroanatomy of asomatognosia and somatoparaphrenia. Journal of Neurology, Neurosurgery & Psychiatry, 81, 276-281
- ↑ Bottini, Gabriella; Bisiach, Edoardo; Sterzi, Roberto; Vallar, Giuseppe (2002) : “Feeling touches in someone else's hand.” Neuroreport 13 (2), 249–252.
- ↑ 3.0 3.1 Vallar, G. & Ronchi, R. (2009) . Somatoparaphrenia: a body delusion. A review of the neuropsychological literature. Experimental Brain Research, 192:3, 533-551
- ↑ Coltheart, M. (2005) . Delusional belief. Australian Journal of Psychology, 57, 72
- ↑ Vallar, G., & Ronchi, R. (2009) . Somatoparaphrenia: A body delusion. A review of the neuropsychological literature. Experimental Brain Research, 192, 533
- ↑ Feinberg TE, Haber LD, Leeds E (1990) Verbal asomatognosia. Neurology 40:1391–1394
- ↑ Feinberg TE, Roane DM, Ali J (2000) Illusory limb movements in anosognosia for hemiplegia. J Neurol Neurosurg Psychiatry 68:511–513
- ↑ Cereda C, Ghika J, Maeder P, Bogousslavsky J (2002) Strokes restricted to the insular cortex. Neurology 59:1950–1955
- ↑ Healton EB, Navarro C, Bressman S, Brust JC (1982) Subcortical neglect. Neurology 32:776–778
- ↑ Fotopoulou, A., Jenkinson, P.M., Tsakiris, M., Haggard, P., Rudd, A. & Kopelman, M.D. (2011) . Mirror-view reverses somatopharaphrenia: Dissociation between first- and third-person perspectives on body ownership. Neuropsychologia, 49, 3946-3955
- "Sometimes, common sense morality belies what seems like reality". สืบค้นเมื่อ 2 ก.ค. 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)