Smooth pursuit
บทความนี้มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษ เนื่องจากชื่อเป็นศัพท์เฉพาะทาง ราชบัณฑิตยสถานยังไม่บัญญัติภาษาไทย หนังสือเฉพาะทางใช้ศัพท์อังกฤษ |
Smooth pursuit eye movements[1] (หมายความว่า การมองตามโดยไม่หยุด[2][3]) เป็นการเคลื่อนไหวตาโดยมองตามวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ไป เป็นวิธีหนึ่งในการเปลี่ยนการทอดสายตา โดยอีกวิธีหนึ่งก็คือ saccade การมองตามต่างจาก vestibulo-ocular reflex ซึ่งมีจะมีก็ต่อเมื่อในขณะที่มีการเคลื่อนศีรษะเพื่อสร้างเสถียรภาพให้กับภาพของวัตถุที่อยู่นิ่ง ๆ คนโดยมากไม่สามารถเริ่มการมองตามโดยไม่มีวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ไปให้เห็น และถ้าเป้าสายตาเคลื่อนไหวเร็วกว่า 30 องศา/วินาที การมองตามก็จะต้องเกิดขึ้นสลับกับ saccade ด้วย การเคลื่อนไหวแบบนี้ไม่สามารถทำได้เท่ากันทั่วทุกทิศ มนุษย์และสัตว์อันดับวานรโดยมากจะสามารถมองตามโดยแนวนอนได้ดีกว่าแนวตั้ง กำหนดโดยความสามารถในการติดตามเป้าหมายโดยไม่หยุดที่ไม่มี saccade ในระหว่าง นอกจากนั้นแล้ว มนุษย์โดยมากสามารถเคลื่อนไหวตาแบบนี้ในด้านลงได้ดีกว่าด้านขึ้น[4] การมองตามสามารถปรับเปลี่ยนได้โดยใช้ข้อมูลป้อนกลับที่เกิดจากการเห็น ซึ่งไม่เหมือน saccade
เทคนิคการวัด/การตรวจจับ
[แก้]มีวิธีหลักสองอย่างในการวัดการมองตาม หรือแม้แต่การเคลื่อนไหวตาโดยทั่ว ๆ ไป วิธีแรกใช้เครื่องวัดที่เรียกว่า search coil[5] เทคนิคนี้ใช้ในงานวิจัยในสัตว์อันดับวานร และมีความแม่นยำอย่างยิ่ง คือ การเคลื่อนไหวของตาจะเปลี่ยนแนวของคอยล์ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้า ซึ่งสามารถแปลผลเป็นตำแหน่งของตาทั้งในแนวนอนและในแนวตั้ง
วิธีที่สองใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่าเครื่องติดตามตา (eye tracker) อุปกรณ์นี้ แม้จะเสียงดังกว่า แต่ว่าไม่ต้องทำการตัดหรือการเจาะร่างกายเพื่อจะใช้ มักจะใช้ในงานวิจัยทางจิตฟิสิกส์ (psychophysics) และในเร็ว ๆ นี้เริ่มจะใช้ในการสอนวิชาจิตวิทยาอีกด้วย เป็นระบบที่ฉายแสงอินฟราเรดที่รูม่านตาเพื่อที่จะติดตามตำแหน่งของตาด้วยกล้อง
ในงานทดลองเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวตา บ่อยครั้ง การไม่เคลื่อนไหวตาแบบ saccade ในระหว่างที่ผู้รับการทดลองกำลังมองตามวัตถุที่กำลังเคลื่อนไปอยู่โดย smooth pursuit เป็นเรื่องที่สำคัญ saccade ที่ไม่ต้องการให้เกิดขึ้นแบบนี้เรียกว่า catch-up saccade ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นโดยทั่ว ๆ ไปเมื่อมีการมองตามวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ไปอย่างรวดเร็ว นักวิจัยสามารถใช้เทคนิค 2 อย่างดังที่กล่าวมาแล้วเพื่อเว้นข้อมูลเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของตาส่วนที่เป็น saccade เพื่อที่จะสามารถทำการวิเคราะห์ข้อมูลการเคลื่อนไหวตาแบบทั้งสองโดยแยกออกจากกัน การเคลื่อนไหวตาแบบ saccade ต่างจาก smooth pursuit เพราะมีความเร่งระดับสูงทั้งในเบื้องต้น (เชิงบวก) ทั้งในเบื้องปลาย (เชิงลบ) และมีความเร็วระดับสูงสุดที่ต่างกัน
วงจรประสาท
[แก้]วงจรประสาทที่ทำให้เกิด smooth pursuit เป็นประเด็นที่ยังถกเถียงกันอยู่ ขั้นแรกก่อนที่จะเกิด smooth pursuit ก็คือจะต้องเห็นวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ไปอยู่ และสัญญาณประสาท (ที่เกิดจากการเห็น) จากเรตินาจะวิ่งขึ้นไปทาง lateral geniculate nucleus แล้วก่อให้เกิดการทำงานของเซลล์ประสาทในคอร์เทกซ์สายตาปฐมภูมิ (V1) V1 ก็จะส่งสัญญาณเกี่ยวกับเป้าหมายนั้นไปยังคอร์เทกซ์สายตาในสมองกลีบขมับส่วนกลาง ซึ่งทำการตอบสนองต่อทิศทางการเคลื่อนไหวโดยเฉพาะของเป้าหมาย (เช่นพวกหนึ่งตอบสนองต่อการเคลื่อนไหวในแนวนอน และอีกพวกหนึ่ง ในแนวตั้ง) การประมวลผลการเคลื่อนไหวของสมองในเขตนี้ขาดไม่ได้ในการเริ่มการเคลื่อนไหวตาแบบ smooth pursuit[6] คือ เขตรับความรู้สึกนี้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว ซึ่งอาจจะนำไปสู่การเคลื่อนไหวตาแบบ smooth pursuit ต่อมาหรือไม่ก็ได้
ส่วนเขตในสมองกลีบหน้าอีกเขตหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า "frontal pursuit area" จะเกิดการทำงานเมื่อมีการมองตามในทิศทางเฉพาะต่าง ๆ กัน และเมื่อกระตุ้นด้วยไฟฟ้า ก็จะก่อให้เกิดการมองตามแบบ smooth pursuit[7] มีหลักฐานที่พบเร็ว ๆ นี้ด้วยว่า superior colliculus[8] ก็มีการทำงานด้วยในระหว่าง smooth pursuit[9] เขตสมองสองเขตนี้ (คือ frontal pursuit area และ superior colliculus) น่าจะมีบทบาทในการยิงสัญญาณที่เริ่มการมองตามแบบไม่หยุด และในการเลือกเป้าหมายที่จะมองตาม
การยิงสัญญาณจากคอร์เทกซ์และจาก superior colliculus จะส่งไปถึงนิวเคลียสต่าง ๆ ในพอนส์ รวมทั้ง dorsolateral pontine nuclei และ nucleus reticularis tegmenti pontis[10]: 209–11 ซึ่งมีผลต่อความเร็วการเคลื่อนที่ของตา และมีการตอบสนองโดยเฉพาะทิศทาง เพราะฉะนั้น จึงสามารถกระตุ้นด้วยไฟฟ้ามีผลทำให้ความเร็วในการเคลื่อนไหวแบบ Smooth pursuit เปลี่ยนแปลงไป นิวเคลียสในพอนส์ส่งแอกซอนไปยังซีรีเบลลัม โดยเฉพาะในส่วน cerebellar vermis[11] และ paraflocculus คือนิวรอนเหล่านี้ส่งสัญญาณเกี่ยวกับความเร็วของการเคลื่อนตา และเกี่ยวข้องกับความเร็วของ smooth pursuit[10]: 211 ซีรีเบลลัม โดยเฉพาะในส่วน vestibulo-cerebellum มีบทบาทในการปรับเปลี่ยนความเร็วของความเคลื่อนไหวแบบ smooth pursuit ที่กำลังเป็นไปด้วย[12] และซีรีเบลลัมนั้นก็ส่งแอกซอนไปยังนิวรอนสั่งการในระบบการเห็น ที่ควบคุมกล้ามเนื้อตา เป็นเหตุให้ตาเคลื่อนไหวได้
ระยะต่าง ๆ ของ smooth pursuit
[แก้]smooth pursuit แบ่งออกเป็นสองระยะ คือ ระยะ open-loop และ ระยะ closed-loop ระยะ open-loop ประกอบด้วยปฏิกิริยาเบื้องต้นของระบบการเห็นต่อวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ที่ต้องการติดตาม เป็นระยะเวลาประมาณ 100 มิลลิวินาที ดังนั้น ในช่วงนี้ การเคลื่อนไหวจะเป็นไปแบบ ballistic (แบบรวดเร็วเหมือนขีปนาวุธ) คือ ระบบการเห็นยังไม่มีเวลาพอที่จะทำการแก้ไขความเร็วหรือทิศทางในการมองตาม[13]
closed-loop เป็นระยะที่สองของการมองตาม ซึ่งจะเป็นไปจนกระทั่งการเคลื่อนไหวแบบ smooth pursuit ยุติลง ระยะนี้จะมีการแก้ไขความเร็วในการมองตามเพื่อชดเชยความผิดพลาดที่เกิดขึ้น คือระบบการมองตามจะพยายามเพื่อระงับความเร็วที่เกิน ในระยะนี้ ความเร็วเชิงมุมของตาและความเร็วเชิงมุมของเป้าหมายที่มองตาม จะมีค่าเกือบเท่ากัน
Smooth pursuit และการใส่ใจในปริภูมิ
[แก้]มีงานวิจัยหลายงานที่แสดงว่า มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดระหว่างช่วง closed-loop และการใส่ใจในปริภูมิ ยกตัวอย่างเช่น ในระยะ closed-loop จะมีการใส่ใจในเป้าหมายที่กำลังมองดูอยู่อย่างสำคัญ จนกระทั่งว่า วัตถุที่ไม่ใช่เป้าหมายที่กำลังเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวกัน จะไม่ได้รับการแปลผลในระบบสายตา[14]
ส่วนงานวิจัยในปี ค.ศ. 2008 เสนอว่า มีความสัมพันธ์อย่างหลวม ๆ ระหว่างช่วง open loop และการใส่ใจในปริภูมิ ถ้ามีวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่อยู่เพียงแค่วัตถุเดียว[15]
การเคลื่อนไหวแบบ smooth pursuit และ saccade แบบใต้อำนาจจิตใจ มีความต่างกันที่ระยะเวลาในการตอบสนอง คือ smooth pursuit เกิดขึ้นภายใน 90-150 มิลลิวินาที ในขณะที่ saccade แบบใต้อำนาจจิตใจโดยทั่ว ๆ ไปใช้เวลา 200-250 มิลลิวินาที[16]
Smooth pursuit เมื่อไม่มีเป้าหมายทางตา
[แก้]การจะเริ่มการเคลื่อนไหวตาแบบ Smooth pursuit โดยไม่มีวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ให้เห็นเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก[17] และมักจะกลายเป็นการเคลื่อนไหวแบบ saccade เป็นช่วง ๆ ถึงอย่างนั้น การเคลื่อนไหวแบบนี้ก็เป็นไปได้ในบางสถานการณ์ ซึ่งแสดงถึงความสำคัญของสมองในระดับสูงต่อการเคลื่อนไหวแบบ Smooth pursuit ถ้าเรารู้ถึงทิศทางที่วัตถุหนึ่งจะเคลื่อนไป หรือรู้วิถีทางการเคลื่อนไหวของเป้า (เช่นมีวิถีเป็นช่วง ๆ ตามคาบ) เราก็จะสามารถเริ่มการเคลื่อนไหวแบบนี้ได้ก่อนที่เป้านั้นจะเคลื่อนไปทางนั้นจริง ๆ โดยเฉพาะถ้ารู้ด้วยว่า การเคลื่อนไหวจะเริ่มขึ้นเมื่อไร[16][18]
นอกจากนั้นแล้ว การเคลื่อนไหวแบบ Smooth pursuit ยังสามารถดำเนินต่อไปได้แม้ว่า เป้าหมายจะหายไปอย่างชั่วคราว โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีการบังโดยวัตถุที่ใหญ่กว่า[18] และภายใต้สถานการณ์ที่ไม่เห็นอะไรเลย (เช่นในที่มืดสนิท) เราก็ยังสามารถเริ่มการเคลื่อนไหวแบบนี้โดยอาศัยสัญญาณเคลื่อนไหวที่เกิดจากระบบการรับรู้อากัปกิริยา (เช่น การขยับนิ้ว)[19]
การติดตามเป้าจากลานสายตารอบนอก
[แก้]ถ้ามีจุดแสงสว่างปรากฏที่ส่วนรอบนอกของตา ความเร็วในการเคลื่อนไหวแบบ smooth pursuit ที่เร็วที่สุดที่เป็นไปได้ก็คือ 30°/วินาที คือขั้นต้นจะมีการตรึงตาที่เป้าหมายแสงที่รอบนอกนั้น แล้วก็จะมีการติดตามเป้าหมายนั้นได้อย่างไม่ต้องหยุด ถ้าความเร็วไม่เกิน 30°/วินาที แต่ถ้าเป้าหมายมีการเคลื่อนที่ที่เร็วกว่านั้น ตาจะไม่สามารถมองตามได้โดยไม่หยุด แต่จะต้องอาศัยการขยับตาแบบ saccade เพื่อจะแก้ไขความผิดพลาด โดยไม่เหมือนกับ saccade การเคลื่อนตาแบบ smooth pursuit ต้องอาศัยการป้อนสัญญาณกลับที่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง[20]
ความแตกต่างกันระหว่าง smooth pursuit, optokinetic reflex, และ ocular following response
[แก้]แม้ว่าเราจะสามารถแยกแยะ smooth pursuit จาก vestibulo-ocular reflex ได้ แต่ว่าเรายังไม่สามารถแยกแยะ smooth pursuit จากการมองตามวัตถุประเภทอื่น ๆ ในทุก ๆ กรณี เช่น ระยะช้า (slow phase) ของ optokinetic reflex[21] และการเคลื่อนไหวแบบ ocular following response (OFR) ที่ได้รับการค้นพบในปี ค.ศ. 1986 โดยไมล์ส คาวะโน และอ็อปติกัน[22] ซึ่งเป็นการมองตามที่เกิดขึ้นชั่วคราวตอบสนองต่อการเคลื่อนไหวแบบทั้งลาน ทั้งสองล้วนแต่เป็นการเคลื่อนไหวตาแบบช้า ๆ ตอบสนองต่อตัวกระตุ้นที่กำลังเคลื่อนที่ มีจุดประสงค์เพื่อสร้างเสถียรภาพให้กับการเห็น ดังนั้น ก็จะมีการแปลผลในระดับต่าง ๆ ที่ใช้ร่วมกับ smooth pursuit[23] การเคลื่อนไหวตาเหล่านี้ไม่สามารถแยกแยะได้โดยตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหว เพราะว่า แม้ smooth pursuit ก็เกิดขึ้นได้เพื่อติดตามวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ไปเช่นกัน แต่ความแตกต่างกันอาจจะอยู่ที่ความเป็นไปใต้อำนาจจิตใจของ smooth pursuit[24]
ความบกพร่องในการเคลื่อนไหวแบบ smooth pursuit
[แก้]smooth pursuit จะเกิดขึ้นได้ต้องมีการประสานงานกันระหว่างเขตสมองต่าง ๆ ที่อยู่ห่างกัน จึงสามารถเกิดความบกพร่องขึ้นได้ง่ายจากโรคและภาวะต่าง ๆ ในสมอง
โรคจิตเภท
[แก้]มีหลักฐานมีนัยเป็นสำคัญว่า มีความบกพร่องในการเคลื่อนไหวแบบ smooth pursuit ในคนไข้โรคจิตเภทและในญาติของคนไข้ คือคนไข้มักจะมีปัญหาในการติดตามวัตถุที่เคลื่อนไหวไปอย่างเร็วมาก ซึ่งมีสหสัมพันธ์กับระดับการทำงานที่น้อยลงในเขตสมองที่รู้กันว่ามีบทบาทในการเคลื่อนไหวแบบนี้ เช่นที่ frontal eye field[25]
แต่ว่า มีงานวิจัยอื่นที่แสดงว่าคนไข้มีการเคลื่อนไหวตาที่เป็นปกติ เทียบกับกลุ่มควบคุม ถ้าวัตถุที่กำลังจับตาดูเคลื่อนที่ไปอย่างไม่คาดหวัง ความบกพร่องอยู่ในระดับสูงสุดเมื่อคนไข้ติดตามวัตถุที่มีความเร็วที่คาดการได้ที่เริ่มเคลื่อนไหวในเวลาที่คาดการได้[26] งานวิจัยนี้คาดการว่า ความบกพร่องเกี่ยวกับ smooth pursuit ในโรคจิตเภทเกิดจากความที่คนไข้ไม่สามารถเก็บข้อมูลเวกเตอร์การเคลื่อนไหวไว้ได้
โรคออทิซึม
[แก้]คนไข้โรคออทิซึมมีปัญหามากมายเกี่ยวกับการเห็น ซึ่งอย่างหนึ่งก็คือ smooth pursuit เด็กที่มีโรคออทิซึมมีความเร็วใน smooth pursuit ที่ลดลงเทียบกับเด็กปกติ[27] แม้ว่า ปฏิกิริยาในการเริ่ม smooth pursuit จะมีเวลาใกล้เคียงกัน ความบกพร่องนี้ ดูเหมือนจะปรากฏในช่วงกลาง ๆ ระหว่างวัยรุ่นเท่านั้น
การบาดเจ็บในสมอง
[แก้]คนไข้ที่มีความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ ที่ประกอบด้วยอาการทางจิตอย่างอื่น ๆ ก็ปรากฏความบกพร่องทาง smooth pursuit ด้วย[28] คนไข้มักจะมีปัญหาในการทำ smooth pursuit เร็วกว่า 30 องศา/วินาที และก็ยังพบสหสัมพันธ์ระหว่างปัญหาการมองตามวัตถุ กับประวัติการถูกทารุณกรรมทางกายหรือทางใจในวัยเด็กด้วย[29]
ยาเสพติดและสุรา
[แก้]การไม่สามารถทำ smooth pursuit เป็นสิ่งที่ใช้เป็นค่าวัดอย่างหนึ่งในการตรวจสอบความเมาขององค์กรการบริหารความปลอดภัยจราจรทางหลวงแห่งชาติ (NHTSA) ของประเทศสหรัฐอเมริกา ค่าวัดนี้ เมื่อใช้ร่วมกับค่าวัดอื่น ๆ สามารถใช้ในการตรวจสอบว่าบุคคลนั้นเมายาหรือสุราหรือไม่ ยาที่มีผลเป็นการไม่สามารถทำ smooth pursuit รวมทั้งยากดประสาท ยาที่ใช้สูดบางชนิด และยาระงับความรู้สึกประเภท dissociative (เป็นยาที่ทำให้รู้สึกเฉย ๆ ไม่ใยดีต่องสิ่งแวดล้อมหรือกับตนเอง เช่น phencyclidine หรือ ketamine)
ดูเพิ่ม
[แก้]เชิงอรรถและอ้างอิง
[แก้]- ↑ ศ.พญ. ผาสุก มหรรฆานุเคราะห์ (พ.ศ. 2556). ประสาทกายวิภาคศาสตร์พื้นฐาน (ฺBasic neuroanatomy). กรุงเทพมหานคร: ศ.พญ. ผาสุก มหรรฆานุเคราะห์. p. 203. ISBN 978-616-335-105-0.
{{cite book}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|year=
(help) - ↑ "ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ smooth ว่า "เรียบ, ราบเรียบ, ไม่หยุด" และของ pursuit ว่า "การไล่ติดตาม"
- ↑ "Lexitron พจนานุกรมไทย<=>อังกฤษ รุ่น 2.6". หน่วยปฏิบัติการวิจัยวิทยาการมนุษยภาษา, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2546.
pursuit=การไล่ตาม
- ↑ Grasse KL, Lisberger SG. Analysis of a naturally occurring asymmetry in vertical smooth pursuit eye movements in a monkey. J Neurophysiology 1992 Jan;67 (1) :164-79. PMID 1552317
- ↑ search coil (หรือเรียกว่า inductive sensor) เป็นเครื่องรับรู้ที่วัดฟลักซ์แม่เหล็ก สามารถวัดสนามแม่เหล็กได้ตั้งแต่ระดับมิลลิเฮิรตซ์จนถึงเมกะเฮิรตซ์
- ↑ Newsome WT, Wurtz RH, Dursteler MR, Mikami A. Deficits in visual motion processing following ibotenic acid lesions of the middle temporal visual area of the macaque monkey. J Neurosci. 1985 Mar;5 (3) :825-40. PMID 3973698.
- ↑ Tian JR, Lynch JC. Corticocortical input to the smooth and saccadic eye movement subregions of the frontal eye field in Cebus monkeys. J Neurophysiology 1996 Oct;76 (4) :2754-71.PMID 8899643
- ↑ superior colliculus (SC) เป็นโครงสร้างในเทคตัมของสมองส่วนกลาง มีลักษณะเป็นชั้น ๆ โดยที่ชั้นต่าง ๆ รวมกันทำหน้าที่เป็นแผนที่ภูมิลักษณ์ของเรตินา SC มีบทบาทในการเคลื่อนไหวตาอย่างเร็ว ๆ ที่เรียกว่า saccades
- ↑ Krauzlis RJ. Neuronal activity in the rostral superior colliculus related to the initiation of pursuit and saccadic eye movement. J Neuroscience 2003 May 15;23 (10) :4333–44.PMID 12764122
- ↑ 10.0 10.1 Leigh, RJ.; Zee, DS. The Neurology of Eye Movements, 4th Edition. Oxford University Press.
- ↑ cerebellar vermis เป็นส่วนด้านใน (medial) ที่อยู่ในเขต cortico-nuclear ของซีรีเบลลัม ร่องหลักของ vermis โค้งไปตามทาง ventrolateral ไปสู่ผิวด้านบนของซีรีเบลลัม แบ่งซีรีเบลลัมออกเป็นกลีบหน้าและกลีบหลัง vermis มีหน้าที่เกี่ยวกับท่าทาง และการเคลื่อนไหวของร่างกาย
- ↑ Coltz JD, Johnson MT, Ebner TJ. Population code for tracking velocity based on cerebellar Purkinje cell simple spike firing in monkeys. Neurosci Lett. 2000 Dec 15;296 (1) :–-4. PMID 11099819
- ↑ Krauzlis RJ, Lisberger SG. Temporal properties of visual motion signals for the initiation of smooth pursuit eye movements in monkeys. J Neurophysiol. 1994 Jul;72 (1) :150–62. PMID 7965001
- ↑ Khurana, B., & Kowler, E. (1987) . Shared attentional control of smooth eye movement and perception. Vision Research, 27, 1603–1618.
- ↑ Souto, D., & Kerzel, D. (2008) . Dynamics of attention during the initiation of smooth pursuit eye movements. Journal of Vision, 8 (14) :3, 1-16, http://journalofvision.org/8/14/3/, doi:10.1167/8.14.3.
- ↑ 16.0 16.1 Joiner WM., Shelhamer M. Pursuit and saccadic tracking exhibit a similar dependence on movement preparation time. Exp Brain Research 2006 Sep;173 (4) :572-86 PMID 16550393
- ↑ Krauzlis, RJ. The control of voluntary eye movements: new perspectives. เก็บถาวร 2009-06-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The Neuroscientist. 2005 Apr;11 (2) :124-37. PMID 15746381
- ↑ 18.0 18.1 Barnes GR. Cognitive processes involved in smooth pursuit eye movements.Brain Cogn. 2008 Dec;68 (3) :309-26.PMID 18848744
- ↑ Berryhill ME, Chiu T, Hughes HC. Smooth pursuit of nonvisual motion. J Neurophysiology 2006 Jul;96 (1) :461-5. PMID 16672304
- ↑ "Sensory Reception: Human Vision: Structure and function of the Human Eye" vol. 27, p. 179 Encyclopaedia Britannica, 1987
- ↑ optokinetic reflex เป็นรีเฟล็กซ์ที่มีการเคลื่อนไหวตาแบบ smooth pursuit สลับกับ saccade ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อบุคคลนั้นตามมองวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ไปอยู่ด้วยตา และเมื่อวัตถุนั้นเคลื่อนพ้นไปจากลานสายตาแล้ว ตาก็จะเคลื่อนกลับมาที่ที่เป็นที่เห็นวัตถุนั้นเป็นครั้งแรก รีเฟล็กซ์นี้เริ่มมีเมื่อมีอายุ 6 เดือน
- ↑ Miles, F. A., Kawano, K. & Optican, L. M. Short-latency ocular following responses of monkey. I. Dependence on temporospatial properties of visual input. J Neurophysiol 56, 1321-1354 (1986) .PMID 3794772
- ↑ PMID 9364615 (PMID 9364615)
Citation will be completed automatically in a few minutes. Jump the queue or expand by hand - ↑ Krauzlis, RJ. Recasting the Smooth Pursuit Eye Movement System. เก็บถาวร 2009-06-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Journal of Neurophysiology. 2004 Apr;J Neurophysiol 91: 591-603. PMID 14762145
- ↑ Hong LE, Tagamets M, Avila M, Wonodi I, Holcomb H, Thaker GK. Specific motion processing pathway deficit during eye tracking in schizophrenia: a performance-matched functional magnetic resonance imaging study. Biol Psychiatry 2005 Apr 1;57 (7) :726-32. PMID 15820229
- ↑ Avila MT, Hong LE, Moates A, Turano KA, Thaker GK. Role of anticipation in schizophrenia-related pursuit initiation deficits.J Neurophysiology 2006 Feb;95 (2) :593-601. PMID 16267121
- ↑ Takarae Y, Minshew NJ, Luna B, Krisky CM, Sweeney JA. Pursuit eye movement deficits in autism. Brain. 2004 Dec;127. PMID 15509622
- ↑ Cerbone A, Sautter FJ, Manguno-Mire G, Evans WE, Tomlin H, Schwartz B, Myers L. Differences in smooth pursuit eye movement between posttraumatic stress disorder with secondary psychotic symptoms and schizophrenia. Schizophr Research 2003 Sep 1;63 (1-2) :59-62. PMID 12892858
- ↑ Irwin HJ, Green MJ, Marsh PJ.Dysfunction in smooth-pursuit eye movement and history of childhood trauma.Percept Mot Skills. 1999 Dec;89 (3 Pt 2) :1230-6. PMID 10710773
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Pursuit, Smooth ในหอสมุดแพทยศาสตร์แห่งชาติอเมริกัน สำหรับหัวข้อเนื้อหาทางการแพทย์ (MeSH)
- Krauzlis, RJ. Recasting the Smooth Pursuit Eye Movement System. เก็บถาวร 2009-06-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Journal of Neurophysiology. 2004 Apr;J Neurophysiol 91: 591-603. PMID 14762145
- Leigh, RJ., Zee, DS. The Neurology of Eye Movements, pp. 209–11. Oxford University Press, 4th Edition.
- Thier P, Ilg UJ. The neural basis for smooth-pursuit eye movements. Curr Opin Neurobiology. 2005 Dec;15 (6) :645-52. PMID 16271460