ข้ามไปเนื้อหา

หีบสามกษัตริย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Shrine of the Three Kings)
หีบสามกษัตริย์
หีบสามกษัตริย์ในอาสนวิหารโคโลญ
ศิลปินนีกอลาแห่งแวร์เดิง
ปีค.ศ. 1180 – 1225
หมวดหมู่ศิลปะโมซัน
สื่อหีบวัตถุมงคล
มิติ153 cm × 110 cm × 220 cm (60 นิ้ว × 43 นิ้ว × 87 นิ้ว)
สถานที่อาสนวิหารโคโลญ โคโลญ

หีบสามกษัตริย์ (เยอรมัน: Dreikönigsschrein, อังกฤษ: Shrine of the Three Kings) เป็นหีบวัตถุมงคลที่เชื่อกันว่าเป็นหีบที่บรรจุกระดูกของโหราจารย์หรือที่บางครั้งเรียกกันว่า “สามกษัตริย์” หรือ “สามนักปราชญ์” หีบดังกล่าวเป็นหีบปิดทองขนาดใหญ่ที่ตกแต่งเป็นทรงโลงศพสามโลงซ้อนกัน “หีบสามกษัตริย์” ที่ในปัจจุบันตั้งอยู่หลังแท่นบูชาเอกภายในมหาวิหารโคโลญในเยอรมนีถือกันว่าเป็นงานฝีมือชิ้นเอกของศิลปะโมซันและเป็นหีบวัตถุมงคลที่ใหญ่ที่สุดในโลกตะวันตก

ประวัติ

[แก้]

“เรลิกของโหราจารย์” ที่เชื่อกันเดิมอยู่ที่คอนสแตนติโนเปิล แต่ถูกอัญเชิญมายังมิลาน โดยยูสทอร์เจียสที่ 1 บิชอปแห่งมิลาน ในปี ค.ศ. 344 ต่อมาเรลิกดังกล่าวก็ได้รับการอัญเชิญจากมิลานโดยจักรพรรดิฟรีดริชที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์มาถวายแก่ไรนัลด์แห่งดัสเซิล อาร์ชบิชอปแห่งโคโลญในปี ค.ศ. 1164 ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา “หีบสามกษัตริย์” ก็เป็นสิ่งดึงดูดนักแสวงบุญมายังโคโลญ

ในสมัยของฟีลิปป์ที่ 1 อาร์ชบิชอปแห่งโคโลญ หีบสามกษัตริย์ก็ถูกสร้างขึ้น เรื่องนี้ข้าได้รับการบอกเล่าโดยพยานผู้เห็นเหตุการณ์ ผู้ที่เข้าร่วมในพิธีการบรรจุกษัตริย์ทั้งสามในหีบ

บางส่วนของหีบออกแบบโดยช่างทองผู้มีชื่อเสียงของยุคกลางนีกอลาแห่งแวร์เดิง ผู้เริ่มสร้างในราวปี ค.ศ. 1180/1181 เป็นงานที่สร้างอย่างวิจิตรเป็นภาพผู้เผยพระวจนะและอัครทูต และฉากชีวิตของพระเยซู หีบสร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1225

ราวปี ค.ศ. 1199 จักรพรรดิออทโทที่ 4 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์พระราชทานมงกุฎทองสามองค์ที่สร้างสำหรับกษัตริย์ทั้งสามเป็นของขวัญแก่มหาวิหารโคโลญ[2] เนื่องจากความสำคัญของ “หีบสามกษัตริย์” และ มหาวิหารต่อการพัฒนาของเมืองโคโลญต่อมา ตราอาร์มของเมืองโคโลญจึงยังคงมีภาพมงกุฎสามองค์ที่เป็นสัญลักษณ์ของกษัตริย์ทั้งสามองค์

การก่อสร้างมหาวิหารโคโลญปัจจุบันเริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1248 เพื่อเป็นสถานที่สำหรับการรักษา “หีบสามกษัตริย์” การก่อสร้างใช้เวลา 632 ปีจึงสร้างเสร็จ และในปัจจุบันเป็นคริสต์ศาสนสถานแบบกอธิคที่ใหญ่ที่สุดของตอนเหนือของยุโรป

เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1864 ก็ได้มีการเปิด “หีบสามกษัตริย์” และภายในพบว่ามีซากของกษัตริย์ทั้งสามองค์ และเหรียญของฟีลิปป์ที่ 1 อาร์ชบิชอปแห่งโคโลญ พยานผู้เห็นเหตุการณ์บันทึกว่า:

ในช่องที่สร้างพิเศษในหีบมี - พร้อมกับซากผ้าห่อศพที่เก่าแก่เป็นราที่อาจจะเป็นผ้าบิสซัส ข้างๆ ชิ้นเรซินและชิ้นส่วนประเภทเดียวกัน - แล้วก็เป็นกระดูกหลายชิ้นของบุคคลสามคน ที่จากการแนะนำของผู้เชี่ยวชาญหลายคนในสมัยนั้นสามารถประกอบกันขึ้นเกือบเป็นรูปร่างที่สมบูรณ์ได้: ร่างหนึ่งเป็นชายที่ยังหนุ่ม, ร่างที่สองเป็นชายวัยฉกรรจ์ และ ร่างที่สามเป็นชายสูงอายุ เหรียญบางสองเหรียญทำด้วยเงินและตีตราเพียงด้านเดียวที่ติดกัน: เหรียญหนึ่งอาจจะมาจากสมัยฟีลิปป์ที่ 1 อาร์ชบิชอปแห่งโคโลญที่เป็นภาพคริสต์ศาสนสถาน อีกเหรียญหนึ่งเป็นภาพกางเขนพร้อมด้วยดาบอานุภาพประกบด้วยคทาสังฆราชสองข้าง[3]

ส่วนที่เป็นกระดูกได้รับการห่อด้วยผ้าไหมสีขาวและบรรจุลงไปในหีบตามเดิม

ลักษณะของหีบ

[แก้]

ขนาดและการสร้าง

[แก้]

“หีบสามกษัตริย์” มีขนาดกว้าง 110 เซนติเมตร สูง 153 เซนติเมตร และ ยาว 87 เซนติเมตร ทรงของหีบเป็นทรงเหมือนบาซิลิกา เป็นโลงหินสองโลงข้างเคียงกันโดยมีโลงที่สามตั้งอยู่บนหลังคาระหว่างโลงสองโลงด้านล่าง ตอนปลายหีบปิดทำให้ไม่สามารถมองเห็นได้ว่ามีช่องระหว่างโลงสามโลง โครงสร้างหลักทำด้วยไม้หุ้มด้วยทองและเงินตกแต่งด้วยลวดลายทองถัก, เครื่องเคลือบลงยา และ อัญมณีกว่าหนึ่งพันชิ้น และ ลูกปัด ส่วนหลังนี้เป็นลูกปัดที่นูนและเว้าที่บางชิ้นมาจากสมัยก่อนคริสเตียน

การตกแต่ง

[แก้]

ด้านนอกของหีบทั้งหมดหุ้มด้วยงานตกแต่งอันวิจิตร เป็นภาพนูนสูงของตัวแบบ 74 ตัวที่เป็นงานเคลือบเงินที่ไม่นับจุลประติมากรรมของตัวแบบที่ตกแต่งในฉากหลังอีก ด้านข้างเป็นภาพประกาศกด้านล่าง และอัครสาวก และ อีแวนเจลลิสทั้งสี่ ด้านบน

ปลายด้านหนึ่งเป็นภาพ (จากด้านล่าง, จากซ้ายไปขวา) การนมัสการของโหราจารย์ แม่พระและพระกุมารบนบัลลังก์ และพระเยซูทรงรับบัพติศมา ตอนบนเป็นภาพพระเยซูบนบัลลังก์ในภาพการพิพากษาครั้งสุดท้าย ปลายอีกด้านหนึ่งเป็นฉากพระทรมานของพระเยซู: พระเยซูถูกเฆี่ยน, ตรึงกางเขน และการคืนพระชนม์ของพระเยซู และ ตรงกลางเป็นภาพครึ่งตัวของไรนัลด์แห่งดัสเซิล

อ้างอิง

[แก้]
  1. Latin original:
    "Temporibus domini Philippi episcopi, qui successit Reinoldo, fabricata est eis capsa ... sicut nobis narraverunt qui presentes erant eorum translatoni ... " (Floss, Dreikoenigenbuch, 1864, page 116-122 (Latin); copy in MGH 25, 108)
  2. "Otto rex coloniensis curiam celebrans tres coronas de auro capitibus trium magorum imposuit"; MGSS 17, 292
  3. German original:
    "In einer besonderen Abteilung des Schreins zeigten sich nun mit den Resten uralter vermoderter Binden, wahrscheinlich Byssus, nebst Stuecken aromatischer Harze und aehnlicher Substanzen die zahlreichen Gebeine dreier Personen, die mit Beihilfe der anwesenden Sachverstaendigen sich zu fast vollstaendigen Koerpern ordnen liessen: der eine aus erster Jugendzeit, der zweite im ersten Mannesalter, der dritte bejahrt. Zwei Muenzen, Bracteaten von Silber und nur auf einer Seite gepraegt, lagen bei; die eine, erweislich aus den Tagen Philipps von Heinsberg, zeigt eine Kirche (See Note), die andere ein Kreuz, das Jurisdictionsschwert an der einen, den Bischofsstab an der anderen Seite. (Floss, Dreikoenigenbuch, 1864, page 108)

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ หีบสามกษัตริย์