ข้ามไปเนื้อหา

ศักติปีฐ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Shakti Peetha)
ศรีหิงคลัชมาตามนเทียรศักติปีฐเป็นแหล่งแสวงบุญฮินดูที่ใหญ่ที่สุดในประเทศปากีสถาน[1]
นรติยังทุรคามนเทียรศักติปีฐในเมฆาลัยเชื่อกันว่าเป็นที่ประทับของพระทุรคา

ศักติปีฐ หรือ ศักติบิฐ (สันสกฤต: शक्ति पीठ, Śakti Pīṭha, ที่ประทับของศักติ[2]) เป็นหมู่แหล่งแสวงบุญหรือมณเฑียรซึ่งเป็นที่สถิตของพระศักติในลัทธิศักติของศาสนาฮินดูที่นับถือเทวีต่าง ๆ เป็นหลัก ศักติปีฐประกอบไปด้วยศาสนสถานกว่า 51 หรือ 108 แห่ง ขึ้นอยู่กับแหล่งข้อมูลที่แตกต่างกัน[3][4]

ในงานเขียนยุคกลางของฮินดู[3] มณเฑียรส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ปัจจุบันอยู่ในอาณาเขตของประเทศอินเดีย แต่มีเจ็ดแห่งในประเทศบังกลาเทศ, สามแห่งในประเทศปากีสถาน, สามแห่งในประเทศเนปาล และหนึ่งแห่งในประเทศจีน กับประเทศศรีลังกา[4]

ตำนานของศักติปีฐมีรากฐานจากการสิ้นพระชนม์ของพระแม่สตี ในพิธียัญชญะของพระทักษะประชาบดีบิดาของพระนาง ซึ่งภายใต้ความเศร้าโศกนั้น พระศิวะทรงแบกร่างของพระแม่สตีขึ้นและเดินไปรอบจักรวาลเพื่อรำลึกถึงพระนาง ต่อมาพระวิษณุได้ทรงตัดร่างของพระแม่ออกเป็น 51 ส่วนโดยใช้สุทรรศนจักร (Sudarshana Chakra) และได้หล่นลงมาตามจุดต่าง ๆ บนโลกมนุษย์

อ้างอิง

[แก้]
  1. https://tribune.com.pk/story/1088366/mata-hinglaj-yatra-to-hingol-a-pilgrimage-to-reincarnation/?amp=1
  2. Fuller, Christopher John (2004). The Camphor Flame: Popular Hinduism and Society in India. Princeton: Princeton University Press. p. 44. ISBN 978-0-691-12048-5.
  3. 3.0 3.1 Vanamali (2008). Shakti: Realm of the Divine Mother. Inner Traditions. pp. 83–84, 143–144. ISBN 978-1-59477-785-1.
  4. 4.0 4.1 Kunal Chakrabarti; Shubhra Chakrabarti (2013). Historical Dictionary of the Bengalis. Scarecrow. p. 430. ISBN 978-0-8108-8024-5.