สัลเลขนา
สัลเลขนา (IAST: sallekhanā, จากสันสกฤต: สฺลลิขิต) หรือชื่ออื่น สังเลหนา (samlehna), สมาธิมรณะ หรือ สันยาสมรณะ[1] เป็นการสาบานเพิ่มเติมในข้อจริยธรรมของศาสนาไชนะ สัลเลขนา หมายถึงการอดอาหารจนถึงแก่ชีวิตโดยสมัครใจ โดยค่อย ๆ ลดการทานอาหารและน้ำลง[2] ในทางไชนะมองว่าการทำเช่นนี้เป็นการลดการยึดมั่นในความเป็นตัวตนลง[3] และเป็นอีกวิธีที่สามารถทำลายกรรมที่ก่อการเวียนว่ายตายเกิดผ่านการเลิกกิจกรรมทางกายและทางจิตไปโดยสิ้นเชิง[2] นักวิชาการไชนะไม่ถือว่าการทำเช่นนี้เป็นการฆ่าตัวตายเพราะการทำ สัลเลขนา ไม่ใช่ทั้งการที่กระทำไปด้วยตัณหา (act of passion) และไม่ได้ใช้ยาพิษหรืออาวุธในการทำ[2] หลังกล่าวสาบานตนทำ สัลเลขนา แล้ว การเตรียมเชิงพิธีกรรมและการกระทำ สัลเลขนา อาจกินระยะเวลาเป็นปี ๆ[1]
สัลเลขนา เป็นการสาบานตนที่สามารถกระทำได้ทั้งนักพรตและคฤหัสถ์[4] หลักฐานทางประวัติศาสตร์เช่นจารึก นิษิธิ (nishidhi) เสนอว่ามีการทำ สัลเลขนา ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง ไปจนถึงราชินีในประวัติศาสตร์ของไชนะ[1] ในขณะที่ปัจจุบันนี้ การเสียชีวิตจาก สัลเลขนา สามารถพบได้ยากมาก[5]
มีการถกเถียงเกี่ยวกับการทำ สัลเลขนา โดยอิงสิทธิในการมีชีวิต และเสรีภาพทางศาสนา ในปี 2015 ศาลสูงรัฐราชสถานสั่งห้ามการทำ สัลเลขนา โดยระบุว่าเป็นการฆ่าตัวตาย กระนั้นในปีถัดมา ศาลสูงสุดอินเดียมีคำสั่งให้ระงับคำสั่งของศาลสูงรัฐราชสถานไว้ และถือเป็นการยกเลิกการห้ามการทำ สัลเลขนา[6]
การสาบาน
[แก้]มีการสาบานตนอันยิ่งใหญ่ห้าประการ (มหวฺรต; Five Great vows) ที่ศาสนิกชนของศาสนาไชนะต้องกระทำ ได้แก่ อหิงสา (ไม่กระทำความรุนแรง), สัตยะ (ไม่โกหก), อสเตยะ (ไม่ลักขโมย), พรหมจรรยะ (การยึดไว้ซึ่งความบริสุทธิ์) และ อปริคฤห์ (การไม่ยึดถือในวัตถุ)[7] นอกจากนี้ยังมีการสาบานตนเพิ่มเติมอีกเจ็ดประการ (อนุวฺรต; seven supplementary vows) ในจำนวนนี้สามข้อเป็น คุณวฺรต (guna vrata; สาบานที่เป็นบุญ) และสี่ข้อเป็น ศึกษาวฺรต (Shiksha vrata; สาบานที่เป็นการประพฤติ) คุณวฺรต สามประการ ได้แก่ ทิควฺรต (Digvrata; ลดการเคลื่อนไหว), โภโคปโภคปริมาณา (Bhogopabhogaparimana; จำกัดทั้งวัตถุที่บริโภคได้และบริโภคไม่ได้) และ อนรฺถ-ทณฺฑฺวิกฺรมฺนา (Anartha-dandaviramana; เลิกทำบาปที่ไร้เป้าหมาย) ส่วน ศึกษาวฺรต ได้แก่ สามยิกะ (Samayika; นั่งสมาธิและจดจ่อเป็นช่วงที่จำกัด), เทสวรฺต (Desavrata; จำกัดการเคลื่อนไหวและพื้นที่ทำกอจกรรมเป็นช่วงที่จำกัด), โปฺรสโธปวาส (Prosadhopavāsa; อดอาหารเผ็นช่วงที่จำกัด) และ อติถิ-สามวิภาค (Atithi-samvibhag; ถวายอาหารแด่นักพรต)[8][9][10] สัลเลขนา เป็นการสาบานเพิ่มเติมจากการสาบานทั้งสิบสองที่กล่าวมาข้างต้น กระนั้น คุรุไชนะบางท่าน เช่น กุนทกุนทะ, เทวเสนา, ปัทมนันทิน และ วสุนันทิน จัดให้ สัลเลขนา เป็นหนึ่งใน ศึกษาวรฺต[11]
เงื่อนไข
[แก้]สัลเลขนา สามารถทำได้ทั้งใน คฤหัสถ์ และ นักพรต และในคัมภีร์ของไชนะมีการระบุถึงเงื่อนไขที่บุคคลหนึ่งจะกระทำได้โดยเหมาะสม[1][12][13] เป็นต้นว่า หากคฤหัสถ์จะกระทำ ต้องมีนักพรตควบคุมประกอบด้วย[14]
สัลเลขนา เป็นการกระทำโดยสมัครใจทุกครั้ง และกระทำหลังการประกาศสาบานตนในสาธารณะ และห้ามมีเครื่องมือหรือสารอื่นมาเกี่ยวข้องในการกระทำ เนื่องจากการทำ สัลเลขนา จะสิ้นสุดที่การตาย ผู้ที่จะทำจะต้องมีมิตรสหายหรือคุรุทางจิตวิญญาณรับรู้ด้วย[15] ในบางกรณี ศาสนิกชนไชนะที่ป่วยด้วยโรคที่อยู่ในระยะสุดท้ายอาจทำ สัลเลขนา ซึ่งจะต้องขออนุญาตจากคุรุของตนก่อน[16][note 1] การกระทำ สัลเลขนา ที่สำเร็จลุล่วงจะต้องเป็นการตายที่ "ทำไปโดยบริสุทธิ์", โดยสมัครใจ, วางแผนไว้ก่อน, กระทำด้วยความสงบ สันติ และสุข และทำไปด้วยการชจัดสิ่งทางโลกออกและเพ่งไปที่จิตวิญญาณ[4][2]
กระบวนการ
[แก้]ระยะเวลาของการทำ สัลเลขนา อาจยาวนานเป็นวันถึงเป็นปี[1][18] ในส่วนที่หกของ รัตนกรันทะ ศราวกาจาระ (Ratnakaranda śrāvakācāra) สาธกถึง สัลเลขนา และขั้นตอนการทำไว้[19] ว่า
พึงละทิ้งอาหารแข็งทีละนิด พึงเปลี่ยนเป็นนมและหางนมแทน จากนั้นละทิ้งเสีย พึงเปลี่ยนเป็นน้ำอุ่นหรือน้ำปรุงกลิ่น [จากนั้น] ละทิ้งน้ำเสียเช่นกัน และอดอาหารด้วยความมานะเต็มที่ พึงละทิ้งร่างกาย[กายหยาบ] ทำทุกวิธีทางเพื่อให้จิตใจคำนึงถึงเพียงปัญจนมัสการมนตร์
— รัตนกรันทะ ศราวกาจาระ (127–128)[19]
นอกจากนี้ยังมีข้อห้ามห้าประการ (อติจาร) ได้แก่: ความต้องการจะเกิดใหม่อีกเป็นมนุษย์, ความต้องการจะเกิดใหม่อีกเป็นเทวดา, ความต้องการที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไป, ความต้องการที่จะตายโดยเร็ว และ ความต้องการที่จะมีชีวิตที่มีความรู้สึก (sensual life) ในชาติหน้า นอกจากนี้ยังมีข้อห้ามอื่น ๆ ได้แก่ การระลึกถึงความเมตตาจากมิตร, การระลึกถึงความสุขที่มี และการยืดยาวความสุขต่อไปในอนาคต[20][21][22]
ในวรรณกรรม
[แก้]อจรงคสูตร (ป. 500 ปีก่อนคริสต์กาล – 100 ปีก่อนคริสต์กาล) สาธกถึงการปฏิบัติ สัลเลขนา สามแบบไว้ คัมภีร์ของเศวตามพรในยุคแรก[note 2] ศราวกปัชญาปตี (Shravakaprajnapti) ระบุว่าการทำ สัลเลขนา กระทำได้รวมถึงผู้ที่ไม่ใช่นักพรตด้วย ใน ภควตีสูตร (2.1) สาธกถึง สัลเลขนา อย่างละเอียด ระบุว่าสกันทกัตยยาน (Skanda Katyayana) นักพรตของมหาวีระก็กระทำ สัลเลขนา คัมภีร์ยุคศตวรรษที่ 4 รัตนกรันทศราวกาจาร และ นวบทปฺรกรณ (Nava-pada-prakarana) ของเศวตามพร มีสาธกถึงรายละเอียดไว้เช่นกัน นวบทปฺรกรณ ระบุสิบเจ็ดวิธีของการ "ตายโดยสมัครใจเลือก" ที่ซึ่งรับรองไว้แค่สามวิธีที่เข้ากันกับคำสอนของไชนะ[11]
Panchashaka ระบุคร่าว ๆ ถึงการทำ สัลเลขนา ส่วน Dharmabindu ไม่มีเขียนถึง ทั้งสองเล่มที่กล่าวมานี้เป็นงานประพันธ์ของหริภัทร (ป. ศตวรรษที่ 5) คัมภีร์จากศตวรรษที่ 9 "อาทิปุราณะ" โดย ชินเสนา มีระบุถึงการทำ สัลเลขนา สามแบบ คัมภีร์จากศตวรรษที่ 10 Yashastilaka โดย โสมเทพ มีสาธกถึงการทำ สัลเลขนา เช่นกัน เหมจันทระ (ป. ศตวรรษที่ 11) บรรยายถึง สัลเลขนา ไว้สั้น ๆ แต่ในขณะเดียวกันก็เล่าถึงการกระทำ สัลเลขนา ในคฤหัสถ์ (ศราวกาจาร) โดยละเอียด[1][11][2]
ในกฎหมาย
[แก้]ในวันที่ 31 สิงหาคม 2015 ศาลสูงสุดอินเดียรับคำอุทธรณ์จาก อขิล ภารัต วรรษิย ทิคัมพร ไชน ปริษัท (Akhil Bharat Varshiya Digambar Jain Parishad) สั่งยกเลิกคำสั่งของศาลสูงรัฐราชสถานที่ให้การทำ สัลเลขนา ผิดกฎหมายไปเมื่อปีก่อน[6][23][24][25]
หมายเหตุ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 Sundara, A. "Nishidhi Stones and the ritual of Sallekhana" (PDF). International School for Jain Studies. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 28 February 2018. สืบค้นเมื่อ 21 April 2017.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Dundas 2002, pp. 179–181.
- ↑ Vijay K. Jain 2012, p. 115.
- ↑ 4.0 4.1 Battin 2015, p. 47.
- ↑ Dundas 2002, p. 181.
- ↑ 6.0 6.1 Ghatwai, Milind (2 กันยายน 2015), "The Jain religion and the right to die by Santhara", The Indian Express, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2016
- ↑ Tukol 1976, p. 4.
- ↑ Vijay K. Jain 2012, p. 87-91.
- ↑ Tukol 1976, p. 5.
- ↑ Pravin K. Shah, Twelve Vows of Layperson เก็บถาวร 11 พฤษภาคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Jainism Literature Center, Harvard University
- ↑ 11.0 11.1 11.2 Williams 1991, p. 166.
- ↑ Wiley 2009, p. 181.
- ↑ Tukol 1976, pp. 7–8.
- ↑ Jaini 1998, p. 231.
- ↑ Jaini 2000, p. 16.
- ↑ Battin 2015, p. 46.
- ↑ Somasundaram, Ottilingam; Murthy, AG Tejus; Raghavan, DVijaya (1 ตุลาคม 2016). "Jainism – Its relevance to psychiatric practice; with special reference to the practice of Sallekhana". Indian Journal of Psychiatry (ภาษาอังกฤษ). 58 (4): 471–474. doi:10.4103/0019-5545.196702. PMC 5270277. PMID 28197009.
- ↑ Mascarenhas, Anuradha (25 สิงหาคม 2015), "Doc firm on Santhara despite HC ban: I too want a beautiful death", The Indian Express, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 ธันวาคม 2015
- ↑ 19.0 19.1 Champat Rai Jain 1917, pp. 58–64.
- ↑ Williams 1991, p. 170.
- ↑ Tukol 1976, p. 10.
- ↑ Vijay K. Jain 2011, p. 111.
- ↑ Anand, Utkarsh (1 กันยายน 2015), "Supreme Court stays Rajasthan High Court order declaring 'Santhara' illegal", The Indian Express, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 กันยายน 2015
- ↑ "SC allows Jains to fast unto death", Deccan Herald, Press Trust of India, 31 สิงหาคม 2015, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 กันยายน 2015
- ↑ Rajagopal, Krishnadas (28 มีนาคม 2016) [1 September 2015], "Supreme Court lifts stay on Santhara ritual of Jains", The Hindu, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2016
บรรณานุกรม
[แก้]- Battin, Margaret Pabst (11 September 2015), The Ethics of Suicide: Historical Sources, ISBN 978-0-19-938582-9
- Braun, Whitny (1 December 2008), "Sallekhana: The ethicality and legality of religious suicide by starvation in the Jain religious community", Medicine and Law, 27 (4): 913–24, ISSN 0723-1393, PMID 19202863
- Chapple, Christopher (1993), Nonviolence to Animals, Earth, and Self in Asian Traditions, ISBN 0-7914-9877-8
- Dundas, Paul (2002) [1992], The Jains (Second ed.), London and New York: Routledge, ISBN 0-415-26605-X
- Flügel, Peter, บ.ก. (2006), Studies in Jaina History and Culture, Routledge, ISBN 978-0-203-00853-9
- Hayes, Patrick J., บ.ก. (2016), Miracles: An Encyclopedia of People, Places, and Supernatural Events from Antiquity to the Present, ABC-CLIO, ISBN 978-1-61069-599-2
- Jain, Champat Rai (1917), The Ratna Karanda Sravakachara, The Central Jaina Publishing House,
บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
- Jain, Champat Rai (1934), Jainism and World Problems: Essays and Addresses, Jaina Parishad,
บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
- Jain, Prof. S. A. (1992) [First edition 1960], Reality (English Translation of Srimat Pujyapadacharya's Sarvarthasiddhi) (Second ed.), Jwalamalini Trust
- Jain, Vijay K. (2011), Acharya Umasvami's Tattvarthsutra (1st ed.), Uttarakhand: Vikalp Printers, ISBN 978-81-903639-2-1
- Jain, Vijay K. (2012), Acharya Amritchandra's Purushartha Siddhyupaya: Realization of the Pure Self, With Hindi and English Translation, Vikalp Printers, ISBN 978-81-903639-4-5
- Jaini, Padmanabh S. (1998) [1979], The Jaina Path of Purification, Delhi: Motilal Banarsidass, ISBN 81-208-1578-5
- Jaini, Padmanabh S. (2000), Collected Papers On Jaina Studies (First ed.), Delhi: Motilal Banarsidass, ISBN 81-208-1691-9
- Kakar, Sudhir (2014), "A Jain Tradition of Liberating the Soul by Fasting Oneself", Death and Dying, Penguin UK, ISBN 978-93-5118-797-4
- Mookerji, Radha Kumud (1988) [first published in 1966], Chandragupta Maurya and his times (4th ed.), Motilal Banarsidass, ISBN 81-208-0433-3
- Olivelle, Patrick (1978), Ritual suicide and the rite of renunciation [Wiener Zeitschrift für die Kunde Südasiens und Archiv für Indische Philosophie Wien], vol. 22, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 พฤษภาคม 2017
- Olivelle, Patrick (1992), The Samnyasa Upanisads: Hindu Scriptures on Asceticism and Renunciation, Oxford University Press, ISBN 978-0-19-536137-7
- Olivelle, Patrick (2011), Ascetics and Brahmins: Studies in Ideologies and Institutions, Anthem Press, ISBN 978-0-85728-432-7,
In spite of the general rule forbidding suicide, Buddhist literature abounds with instances of religious suicide
- Pechilis, Karen; Raj, Selva J. (2013), South Asian Religions: Tradition and Today, Routledge, ISBN 978-0-415-44851-2
- Rice, E.P. (1982) [1921], A History of Kanarese Literature, New Delhi: Asian Educational Services, ISBN 81-206-0063-0
- Sarma, I.K. (1992), Temples of the Gangas of Karnataka, New Delhi: Archaeological Survey of India, ISBN 0-19-560686-8
- Settar, S (1989), Inviting Death, ISBN 90-04-08790-7
- Sharma, Arvind (1988), Sati: Historical and Phenomenological Essays, Delhi: Motilal Banarsidass Publ, ISBN 978-81208-046-47
- Timms, Olinda (2016), Biomedical Ethics, Elsevier, ISBN 978-81-312-4416-6
- Tukol, Justice T. K. (1976), Sallekhanā is Not Suicide (1st ed.), Ahmedabad: L. D. Institute of Indology
- Wiley, Kristi L. (2009) [1949], The A to Z of Jainism, vol. 38, Scarecrow Press, ISBN 978-0-8108-6337-8
- Williams, Robert (1991), Jaina Yoga: A Survey of the Mediaeval Śrāvakācāras, Motilal Banarsidass, ISBN 978-81-208-0775-4
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Sallekhana as a religious right, Whitny Braun, Claremont Graduate University (2014)
- Sallekhana: fasting to death, Taboo Series, National Geographic Video
- Fasting To The Death: Is It A Religious Rite Or Suicide?, National Public Radio (2015)