ข้ามไปเนื้อหา

Retinal pigment epithelium

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Retinal pigment epithelium
ภาพตัดของเรตินา ชั้น Pigmented layer อยู่ข้างล่างด้านขวา
แผนผังของเซลล์ประสาทในจอประสาทตา ชั้น Pigmented layer อยู่ข้างล่างด้านขวา
รายละเอียด
ตัวระบุ
ภาษาละตินStratum pigmentosum retinae,
pars pigmentosa retinae
MeSHD055213
TA98A15.2.04.008
TA26782
FMA58627
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์

pigmented layer of retina หรือ retinal pigment epithelium (ตัวย่อ RPE แปลว่า เยื่อบุมีสารรงควัตถุของจอประสาทตา หรือ เยื่อบุมีสารสีของจอประสาทตา) เป็นชั้นเซลล์ประสาทด้านนอก (ไปทางสมอง) ของจอประสาทตา RPE มีหน้าที่ในการหล่อเลี้ยงเซลล์ประสาท และยึดอยู่กับชั้น choroid ที่อยู่ถัดออกไปอีกและกับเซลล์รับแสงที่อยู่ถัดเข้ามา[1][2]

ประวัติ

[แก้]
choroid ตัดออกมาจากลูกวัว แสดง RPE มีสีดำ และ tapetum lucidum (เป็นชั้นสะท้อนแสง) ที่มีสีน้ำเงินเรือง

ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 RPE รู้จักกันว่า pigmentum nigrum (nigrum แปลว่า ดำหรือเข้ม) เพราะ RPE มีสีเข้ม (มีสีดำในสัตว์หลายอย่าง มีสีน้ำตาลในมนุษย์) และ tapetum nigrum เพราะในสัตว์ที่มี tapetum lucidum (เป็นชั้นสะท้อนแสง เช่นในตาแมว) RPE จะไม่มีสารรงควัตถุในเขตของ tapetum lucidum[3]

กายวิภาค

[แก้]

หน้าที่

[แก้]

RPE ป้องกันจอประสาทตาจากแสงที่จ้ามากเกินไป และหล่อเลี้ยงจอตาด้วยกรดไขมันโอเมกา-3 เพื่อสร้างเยื่อหุ้มไวแสงและสร้างน้ำตาลกลูโคสเพื่อเป็นพลังงาน ส่วน retinal[4] นั้นเกิดขึ้นผ่านกระบวนการหมุนเวียนของวิตามินเอ

จะมีการขับน้ำออกจากส่วนของเรตินาไปยังส่วนของ choroid ในอัตรา 1.4-11 ไมโครลิตรต่อตารางเซนติเมตรต่อชั่วโมง RPE ช่วยรักษาความสมดุลของความเป็นกรด และใช้กระบวนการฟาโกไซโทซิสเพื่อกำจัด disc ในส่วน outer segment ของเซลล์รับแสงที่เก่าที่สุด[5] RPE มีระบบภูมิคุ้มกันของตนเอง ซึ่งจะระงับการเชื่อมต่อกับระบบภูมิคุ้มกันสามัญเมื่อมีสภาพปกติ แต่จะทำงานร่วมกับระบบภูมิคุ้มกันสามัญเมื่อมีโรค นอกจากนั้นแล้ว RPE ยังหลั่งสารต่าง ๆ เพื่อสร้างและรักษา choroid และจอประสาทตา[6]

RPE ยังเป็นตัวจำกัดการไหลเหวียนของสารต่าง ๆ ในเรตินาอีกด้วย โดยเป็นผู้นำส่งโมเลกุลเล็ก ๆ เช่นกรดอะมิโน, กรด ascorbic, และ D-glucose ในขณะที่เป็นตัวกั้นสารต่าง ๆ ที่มากับเลือดภายใน choroid ดังนั้น ภาวะธำรงดุลในสิ่งแวดล้อมที่เป็นไอออนจึงเป็นไปได้ด้วยระบบแลกเปลี่ยนที่ละเอียดอ่อนเช่นนี้

ในการทดลองทางคลินิกหลายงาน มีการรักษาบำบัดจอประสาทตาเสื่อมที่จุดเห็นชัด (macular degeneration) ด้วยการเปลี่ยน RPE โดยใช้เซลล์จากตน นอกจากนั้นแล้ว ยังมีการทดลองเพื่อจุดประสงค์เดียวกันโดยใช้ RPE ที่มีการให้แพร่ขยายภายนอกกายอีกด้วย[7]

โรค

[แก้]

ในตาของผู้มีภาวะผิวเผือก เซลล์ใน RPE ไม่มีสารรงควัตถุ นอกจากนั้นแล้ว ความบกพร่องของ RPE ยังพบอีกด้วยในคนไข้ Age-Related Macular Degeneration (AMD คือจุดเห็นชัดเสื่อมสัมพันธ์กับอายุ) และ Retinitis Pigmentosa

เชิงอรรถและอ้างอิง

[แก้]
  1. Cassin, B. and Solomon, S. (2001). Dictionary of eye terminology. Gainesville, Fla: Triad Pub. Co. ISBN 0-937404-63-2.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  2. Boyer MM, Poulsen GL, Nork TM. "Relative contributions of the neurosensory retina and retinal pigment epithelium to macular hypofluorescence." Arch Ophthalmol. 2000 Jan;118 (1) :27-31. PMID 10636410.
  3. Coscas, Gabriel and Felice Cardillo Piccolino (1998). Retinal Pigment Epithelium and Macular Diseases. Springer. ISBN 0-7923-5144-4.
  4. retinal เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า retinaldehyde หรือ vitamin A aldehyde เป็นรูปแบบในหลายรูปแบบของวิตามินเอซึ่งในแต่ละสปีชีส์จะมีจำนวนรูปแบบไม่เท่ากัน เป็น polyene chromophore (คือส่วนกำเนิดสีมีพันธะแบบคู่เป็นจำนวนมาก) รวมอยู่ในโปรตีน opsin เป็นโครงสร้างเคมีพื้นฐานในการเห็นของสัตว์
  5. http://news.wustl.edu/news/Pages/25621.aspx[ลิงก์เสีย]
  6. http://webvision.med.utah.edu/book/part-ii-anatomy-and-physiology-of-the-retina/the-retinal-pigment-epithelium/ Webvision: The retinal pigment epithelium
  7. John S.; และคณะ (2013). "Choice of cell source in cell based therapies for retinal damage due to age related macular degeneration (AMD) : A review". Journal of Ophthalmology.[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]