รถยาตรา
รถยาตรา | |
---|---|
![]() | |
จัดขึ้นโดย | ชาวฮินดู |
ประเภท | ศาสนา |
เริ่ม | อศธ ศุกล ทวิติยะ |
สิ้นสุด | อศธ ศุกล ทัศมิ |
วันที่ในปี 2024 | 7 กรกฎาคม |
วันที่ในปี 2025 | 27 มิถุนายน |
วันที่ในปี 2026 | 16 กรกฎาคม |
ความถี่ | รายปี |
รถยาตรา (อักษรโรมัน: Ratha Yatra) เป็นคำเรียกการใช้ราชรถ ("รถ"; ratha) ในขบวน[1][2] ปรากฏในเทศกาลประจำปีต่าง ๆ ในพื้นที่ประเทศอินเดีย, เนปาล และศรีลังกา[3] หรืออาจหมายถึงรถยาตราแห่งนครปุรีโดยเฉพาะ[4] ซึ่งเป็นขบวนราชรถที่ประดิษฐานพระชคันนาถ อวตารของพระวิษณุ, พระพลราม, พระสุภัทร และ สุทรรศนจักร บน "รถ" ซึ่งหมายถึงราชรถทรงเทวุฬะ[5][6]
รถยาตราเป็นที่พบปฏิบัติเป็นพิเศษในธรรมเนียมของศาสนาฮินดูที่เกี่ยวข้องกับพระวิษณุ (รวมถึงอวตารของพระวิษณุ เช่น พระชคันนาถ, พระราม, พระกฤษณะ),[7] พระศิวะ,[8] ในธรรมเนียมของศาสนาฮินดูในเนปาล,[9] ตีรถังกรในศาสนาไชนะ[10] ไปจนถึงในศาสนาพื้นบ้านของบรรดารัฐภาคตะวันออกของอินเดีย[11] รถยาตราที่สำคัญ เช่น รถยาตราที่ปุรี, ธมราอีรถยาตราที่บังกลาเทศ และ รถยาตราแห่งมเหศ ในชุมชนฮินดูนอกอินเดียยังมีการเฉลิมฉลองรถยาตรากับเทพเจ้าฮินดูองค์อื่น ๆ เพิ่มเติมมาจากที่กล่าวมาข้างต้น เช่น พระมริอัมมันในประเทศสิงคโปร์[12] และในประเทศไทย นักวิชาการ นุต ยาเคิบเซน (Knut Jacobsen) ระบุว่า รถยาตรา มีที่มาและความหมายเชิงศาสนา แต่ในขณะเดียวกันก็มีสถานะเป็นมรดกสำคัญของชุมชน มีความสำคัญในแง่สังคมและวัฒนธรรมต่อทั้งผู้จัดและผู้เข้าร่วมขบวนยาตรา[13]
ชาวตะวันตกในอดีตประทับใจในความยิ่งใหญ่ของรถยาตราในปุรีซึ้งแห่พระชคันนาถ จนกลายมาเป็นที่มาของคำภาษาอังกฤษ จักเกอร์นอต (juggernaut) แทนความหมายของสิ่งที่ทรงพลังและยิ่งใหญ่
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Lavanya Vemsani (2016). Krishna in History, Thought, and Culture: An Encyclopedia of the Hindu Lord of Many Names. ABC-CLIO. p. 135. ISBN 978-1-61069-211-3.
- ↑ Christophe Jaffrelot (1999). The Hindu Nationalist Movement and Indian Politics: 1925 to the 1990s. Penguin Books. pp. 416–421. ISBN 978-0-14-024602-5.
- ↑ Michaels; Cornelia Vogelsanger; Annette Wilke (1996). Wild Goddesses in India and Nepal: Proceedings of an International Symposium, Berne and Zurich, November 1994. P. Lang. pp. 270–285. ISBN 978-3-906756-04-2.
- ↑ Peter J. Claus; Sarah Diamond; Margaret Ann Mills (2003). South Asian Folklore: An Encyclopedia : Afghanistan, Bangladesh, India, Nepal, Pakistan, Sri Lanka. Taylor & Francis. pp. 515–. ISBN 978-0-415-93919-5.
- ↑ Lavanya Vemsani (2016). Krishna in History, Thought, and Culture: An Encyclopedia of the Hindu Lord of Many Names. ABC-CLIO. p. 135. ISBN 978-1-61069-211-3.
- ↑ Mandai, Paresh Chandra (2012). "Rathajatra". ใน Islam, Sirajul; Jamal, Ahmed A. (บ.ก.). Banglapedia: National Encyclopedia of Bangladesh (Second ed.). Asiatic Society of Bangladesh.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Bruce M. Sullivan (2001). The A to Z of Hinduism. Rowman & Littlefield. pp. 100, 166, 209. ISBN 978-0-8108-4070-6.
- ↑ Pratapaditya Pal; Stephen P. Huyler; John E. Cort; และคณะ (2016). Puja and Piety: Hindu, Jain, and Buddhist Art from the Indian Subcontinent. University of California Press. pp. 72–74 with Figures 23–25. ISBN 978-0-520-28847-8.
- ↑ J.P. Losty (2004). David M. Waterhouse (บ.ก.). The Origins of Himalayan Studies: Brian Houghton Hodgson in Nepal and Darjeeling, 1820-1858. Routledge. pp. 93–94 with Figure 5.11. ISBN 978-0-415-31215-8.
- ↑ Virendra Kumar Sharma (2002). History of Jainism: With Special Reference to Mathurā. DK. p. 162. ISBN 978-81-246-0195-2.
- ↑ Ajit K. Singh (1982). Tribal Festivals of Bihar: A Functional Analysis. Concept. pp. 30–33.
- ↑ Vineeta Sinha (2008). Knut A. Jacobsen (บ.ก.). South Asian Religions on Display: Religious Processions in South Asia and in the Diaspora. Routledge. pp. 159–174. ISBN 978-1-134-07459-4.
- ↑ Knut A. Jacobsen (2008). Knut A. Jacobsen (บ.ก.). South Asian Religions on Display: Religious Processions in South Asia and in the Diaspora. Routledge. pp. 8–11, 200–201. ISBN 978-1-134-07459-4.