ข้ามไปเนื้อหา

สุทรรศนจักร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Sudarshana Chakra)
สุทรรศนจักรในหัตถ์ของพระวิษณุ เทวรูปจากศตวรรษที่ 13

สุทรรศนจักร (สันสกฤต: सुदर्शन चक्र, แปล: "จักรแห่งการเห็นที่เป็นมงคลยิ่ง", IAST: Sudarśana Chakra) เป็นจักรมงคล 108 ซี่ ที่มีความเกี่ยวข้องกับพระวิษณุ และ พระกฤษณะ ในเอกสารของฮินดู สุทรรศนจักรมักปรากฏบนหัตถ์ขวาของพระวิษณุ ในขณะที่หัตถ์ที่เหลือ ทรงปัญจชันย์ (สังข์), เกาโมฑกี (คฑา) และปัทม์ (ดอกบัว)[1]

ในฤคเวทเขียนถึงจักรว่าเป็นสัญลักษณ์ของพระวิษณุ และเป็นสัญลักษณ์แทนกงล้อของเวลา[2] เช่นเดียวกับในอิติหาสะกับปุราณะ ส่วนในมหาภารตะ พระกฤษณะ ซึ่งเป็นอวตารของพระวิษณุ ใช้จักรเป็นอาวุธ

รูปมนุษย์ (anthropomorphic form) ของสุทรรศนจักรมีมาตั้งแต่อินเดียยุคกลาง ในฐานะผู้ติดตามผู้ซื่อสัตย์ของเพทเจ้าบางองค์ โดยเฉพาะพระวิษณุ[3] จักรบุรุษ (Chakra-Purusha) สองแขนนี้มีลักษณะคล้ายมนุษย์ นอกจากนี้ยังมีแบบหลายแขน เรียกว่า จักรเปรุมัล (Chakraperumal) ซึ่งพบมาตั้งแต่ยุคกลางเข้าใจกันว่าเป็นภาพแทนพลังการทำลายล้าง ของจักรวาล หรือเมื่อจักรแห่งกาลเวลานี้รวมกับอาวุธไฟแล้ว ยังเป็นสัญลักษณ์แทนการทำลายล้างจักรวาลเช่นกัน[3][4]

ศัพทมูล

[แก้]

ที่มาของคำว่า สุทรรศน ประกอบขึ้นมาจาก สุ(सु) แปลว่า "ดี, เป็นมงคล" และ ทรรศน (दर्शन) ตรงกับคำว่า "ทัศน์" ส่วน "จักร" มีความหมายถึงกงล้อ อาจหมายถึงแทนล้อของราชรถ หรือเป็นเชิงเปรียบเปรยถึงกงล้อของกาลเวลา[5][6] และกงล้อของสังสารวัฏ

อ้างอิง

[แก้]
  1. Gopal, Madan (1990). K.S. Gautam (บ.ก.). India through the ages. Publication Division, Ministry of Information and Broadcasting, Government of India. p. 80.
  2. Agarwala, Vasudeva Sharana (1965). Indian Art: A history of Indian art from the earliest times up to the third century A.D, Volume 1 of Indian Art. Prithivi Prakashan. p. 101.
  3. 3.0 3.1 von Stietencron, Heinrich; Flamm, Peter (1992). Epic and Purāṇic bibliography: A-R. Otto Harrassowitz Verlag. ISBN 3447030283.
  4. Wayne Edison Begley. (1973). Viṣṇu's flaming wheel: the iconography of the Sudarśana-cakra, pp. 18, 48, 65–66, 76–77. Volume 27 of Monographs on archaeology and fine arts. New York University Press
  5. Monier Monier-Williams (1871). A Sanskrit-English Dictionary, p. 310.
  6. Monier-Williams, Leumann E, Cappeller C, บ.ก. (2002). "Chakra". A Sanskrit-English Dictionary: Etymologically and Philologically Arranged with Special Reference to Cognate Indo-European Languages, p. 380. Motilal Banarsidass Publications. ISBN 9788120831056.