ข้ามไปเนื้อหา

ปลาสะนาก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Raiamas guttatus)

สำหรับปลานางอ้าวชนิดอื่น ดูได้ที่ ปลาซิวอ้าว หรือปลาน้ำหมึก

ปลาสะนาก
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Cypriniformes
วงศ์: Cyprinidae
สกุล: Raiamas
สปีชีส์: R.  guttatus
ชื่อทวินาม
Raiamas guttatus
(Day, 1870)
ชื่อพ้อง[1]
  • Barilius guttatus (Day, 1870)
  • Bola harmandi Sauvage, 1880
  • Luciosoma fasciata Yang & Hwang, 1964
  • Opsarius guttatus Day, 1870

ปลาสะนาก (อังกฤษ: Burmese trout, Giant barilius[2]) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Raiamas guttatus อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae)

ลักษณะ

[แก้]

มีลักษณะ ลำตัวยาวทรงกระบอก หัวและปากแหลม ปากกว้างมาก จะงอยปากล่างงุ้มคล้ายตะขอ ไม่มีหนวด เกล็ดเล็ก ลำตัวสีเงินวาว ข้างลำตัวมีประสีน้ำเงินคล้ำ หางเว้าเป็นแฉกลึกสีแดงมีแถบสีดำใกล้ขอบบนและขอบล่าง ครีบหลังสีเหลืองอ่อนมีแต้มคล้ำ ในตัวผู้มีตุ่มข้างแก้มแตกต่างจากตัวเมียโดยเฉพาะในฤดูผสมพันธุ์ และสีลำตัวจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูอมส้ม ขนาดประมาณ 15–45 เซนติเมตร

เป็นปลากินเนื้อ มักอยู่รวมเป็นฝูงเล็ก ๆ หากินบริเวณผิวน้ำ ล่าเหยื่อได้แก่ ปลาขนาดเล็ก กุ้ง ปู ต่าง ๆ เป็นปลาที่มีความว่องไว ปราดเปรียวมากและว่ายน้ำเคลื่อนไหวตลอดเวลา มีรูปร่างคล้ายปลาแซลมอน ที่พบในต่างประเทศ จึงได้ฉายาจากนักตกปลาว่า "แซลมอนเมืองไทย"

ที่อยู่

[แก้]

อาศัยอยู่ตามแม่น้ำสายใหญ่ในภาคเหนือ, ภาคกลางและอีสาน มีชื่อเรียกต่างออกไปเช่น "มะอ้าว" ในภาษาไทใหญ่, "น้ำหมึกยักษ์", "นางอ้าว", "อ้าว", "ดอกหมาก", "ปากกว้าง" และ"จิ๊กโก๋" ในภาษาอีสาน

เป็นปลาเศรษฐกิจที่พบบ่อยในบางฤดูกาล บริโภคโดยการปรุงสด และมีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงามที่มีพบขายในตลาดปลาสวยงามบางครั้งด้วย[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Vishwanath, W. 2010. Raiamas guttatus. The IUCN Red List of Threatened Species 2010: e.T168219A6468141. https://dx.doi.org/10.2305/IUCN.UK.2010-4.RLTS.T168219A6468141.en. Downloaded on 26 September 2017.
  2. สุรศักดิ์ วงศ์กิตติเวชสกุล. สารานุกรมปลาไทย. กรุงเทพฯ : บริษัทเอม ซัพพลาย, 2540. 170 หน้า. หน้า 101. ISBN 9748990028
  3. สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์. สาระน่ารู้ ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2547. 264 หน้า. หน้า 155. ISBN 974-00-8701-9

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]