ความเปล่งรังสี
ความเปล่งรังสี (radiant exitance หรือ radiant emittance) เป็นปริมาณทางกายภาพที่แสดงความเข้มพลังงานจากการแผ่รังสีบนพื้นผิวของแหล่งกำเนิดรังสี นั่นคือ เป็นปริมาณของพลังงานต่อหน่วยเวลาและพื้นที่ หน่วย SI ที่ใช้คือวัตต์ต่อตารางเมตร (สัญลักษณ์: W m-2)
ความรับอาบรังสี ก็มีหน่วยเหมือนกันกับความเปล่งรังสี แต่ความรับอาบรังสีเป็นการวัดที่ตัววัตถุที่ถูกส่องสว่าง ส่วนความเปล่งรังสีเป็นการวัดที่แหล่งกำเนิดแสง เมื่อวัตถุที่ถูกส่องสว่างเกิดการสะท้อนหากความสะท้อนเท่ากับ 1 ความรับอาบรังสีจะมีค่าเท่ากับความเปล่งรังสี ตัวอย่างเช่น เมื่อใช้เสาอากาศแบบพาราโบลาเป็นเครื่องส่งสัญญาณ พลังงานที่แผ่ออกมาจะกระทบกับแผ่นสะท้อนแสงหนึ่งครั้งและถูกแผ่ออกจากตรงนั้น ความเปล่งรังสีและความรับอาบรังสีอาจถูกเรียกรวมกันว่า ความหนาแน่นฟลักซ์รังสี (radiant flux density)
ภาพรวม
[แก้]เมื่อ Φ(Δσ) เป็นฟลักซ์การแผ่รังสีที่ปล่อยออกมาจากพื้นที่ขนาดเล็ก Δσ บนพื้นผิวของแหล่งกำเนิดรังสี ความเปล่งรังสีจะนิยามโดย
ให้เวกเตอร์แนวฉาก ณ จุดหนึ่งบนพื้นผิวของแหล่งกำเนิดรังสีเป็น n' และให้ความแผ่รังสีจากจุดนั้นในทิศทาง r เป็น L แล้วความเปล่งรังสีจะคำนวณได้เป็น
โดย ω คือมุมตันในซีกด้านนอกของพื้นผิวแหล่งกำเนิด ในกรณีที่ความแผ่รังสี L ไม่ขึ้นอยู่กับทิศทาง จะได้ว่า R=πL