ปลาหวีเกศพรุ
ปลาหวีเกศพรุ | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Siluriformes |
วงศ์: | Schilbeidae |
สกุล: | Pseudeutropius |
สปีชีส์: | P. indigens |
ชื่อทวินาม | |
Pseudeutropius indigens Ng & Vidthayanon, 2011 |
ปลาหวีเกศพรุ เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก ในอันดับปลาหนัง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pseudeutropius indigens อยู่ในวงศ์ปลาหวีเกศ (Schilbeidae)
ปลาหวีเกศพรุนับเป็นปลาน้ำจืดชนิดใหม่ของโลก ที่เพิ่งจะได้รับการค้นพบเมื่อปี ค.ศ. 2011 มีลักษณะไปทั่วคล้ายกับปลาแขยงทอง หรือปลาอิแกลาเอ๊ะ (P. moolenburghae) มาก โดยตั้งชื่อชนิดเป็นภาษาละตินมีความหมายว่า "มีน้อยกว่า" จากลักษณะของจำนวนซี่กรองเหงือกและก้านครีบเมื่อเทียบกับปลาอีแกลาเอ๊ะ โดยลักษณะเด่นที่ใช้สำหรับการจำแนก คือ มีส่วนหัวที่มีความกว้างมากกว่าปลาอิแกลาเอ๊ะ ประมาณ 10.5-11.0 % ของความยาวมาตรฐาน ซี่กรองเหงือกมีจำนวน 33-35 อันที่โครงแรก มีก้านครีบก้น 37-41 ก้าน ขากรรไกรบนและล่างเท่ากัน มีฟันเป็นซี่เล็กแหลม จำนวนมาก หนวดเส้นยาวเรียวทั้งหมด 4 คู่ ยาวอย่างน้อยที่สุดยาวไปจนถึงครีบท้อง มีขนาดใหญ่สุดที่พบความยาวลำตัว
มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 7 เซนติเมตร มีการกระจายพันธุ์อยู่ในแหล่งน้ำรอบ ๆ ป่าพรุโต๊ะแดง ของจังหวัดนราธิวาส และในแม่น้ำสุโหง-โกลก และยังพบบริเวณต้นน้ำของแม่น้ำตาปี
ปลาหวีเกศพรุเป็นปลาที่พบน้อย แต่ก็ถูกจับไปขายเป็นปลาสวยงามเป็นครั้งคราวรวมกับปลาที่พบในป่าพรุชนิดอื่น ๆ หรือถูกจับปนไปกับปลาที่กินได้ขนาดเล็กต่าง ๆ โดยมักจะถูกเรียกรวม ๆ กันกับปลาก้างพระร่วง (Kryptopterus macrocephalus) ซึ่งเป็นปลาต่างวงศ์กัน[1]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ชวลิต วิทยานนท์ ดร., หวีเกศพรุ ชนิดใหม่ของโลก คอลัมน์ Aqua Survey หน้า 98-99 นิตยสาร Aquarium Biz ฉบับที่ 20 ปีที่ 2: กุมภาพันธ์ 2011
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- รูปและข้อมูลปลาหวีเกศพรุ (อังกฤษ) เก็บถาวร 2011-11-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน