นครระดับจังหวัด
นครระดับจังหวัด | |||||||||||||||
ชื่อภาษาจีน | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 地级市 | ||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 地級市 | ||||||||||||||
ความหมายตามตัวอักษร | นครระดับภูมิภาค | ||||||||||||||
| |||||||||||||||
ชื่อภาษาทิเบต | |||||||||||||||
อักษรทิเบต | ས་ཁུལ་རིམ་པ་གྲོང་ཁྱེར། | ||||||||||||||
| |||||||||||||||
ชื่อภาษาอุยกูร์ | |||||||||||||||
ภาษาอุยกูร์ | ۋىلايەت دەرىجىلىك شەھەر | ||||||||||||||
|
นครระดับจังหวัด (จีน: 地级市) หรือเดิมเรียกว่า นครภายใต้การปกครองของมณฑล (จีน: 省辖市) (ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1949 ถึง ค.ศ. 1983) เป็นเขตการปกครองของสาธารณรัฐประชาชนจีน ระดับเล็กลงมาจากมณฑล และใหญ่กว่าอำเภอ นครระดับจังหวัดเป็นเขตการปกครองระดับที่สองของในโครงสร้างการปกครองของประเทศจีน เทียบเท่ากับจังหวัด, แอมัก (จังหวัดของมองโกเลียใน), และจังหวัดปกครองตนเอง ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา จังหวัดส่วนมากของประเทศจีนได้เปลี่ยนฐานะเป็นนครระดับจังหวัด
นครระดับจังหวัดมักจะไม่ใช่ "เมือง" ในความรู้สึกตามความเป็นจริง (กล่าวคือ ไม่ได้เป็นเมืองที่มีพื้นที่ต่อเนื่องขนาดใหญ่) แต่เป็นการประกอบเขตการปกครองหลายแห่งเข้าด้วยกัน ได้แก่ พื้นที่ใจกลางเมือง (เมืองในความเป็นจริง ซึ่งมักมีชื่อเดียวกันกับชื่อของนครระดับจังหวัด) และพื้นที่ชนบทขนาดใหญ่ที่ล้อมรอบใจกลางเมือง ซึ่งประกอบไปด้วยเมืองขนาดเล็กหลายแห่ง ตำบล และหมู่บ้าน นครระดับจังหวัดในประเทศจีนที่มีขนาดใหญ่มีพื้นที่ที่ห่างไกลถึง 100 กิโลเมตร (62 ไมล์)
นครระดับจังหวัดประกอบไปด้วยอำเภอ นครระดับอำเภอ และเขตการปกครองย่อยอื่น ๆ เป็นผลมาจากความจริงที่ว่า เขตการปกครองที่เรียกว่าจังหวัดแต่ก่อนหลายแห่ง ได้ถูกแทนที่ให้เรียกเป็นนครระดับจังหวัดแทน แต่ในพื้นที่นั้นก็ยังคงประกอบไปด้วยเมือง เมืองขนาดเล็ก และพื้นที่ชนบทอยู่ เพื่อลดความสบสนของนครระดับจังหวัดกับพื้นที่เขตเมืองจริง ๆ ในประเทศจีน จะใช้คำว่า 市区 shìqū (ฉีชู) ซึ่งหมายถึง "เขตเมือง"
นครระดับจังหวัดแห่งแรกก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน ค.ศ. 1983 หลังจากนั้นกว่าสองทศวรรษ นครระดับจังหวัดก็ได้ก่อตั้งขึ้นแทนที่จังหวัดเป็นจำนวนมาก และยังคงเป็นเช่นนี้เรื่อยไป
เกือบทุกมณฑลจะมีนครระดับจังหวัดเป็นเขตปกครองย่อยแทนจังหวัดทั้งมณฑล หรือเกือบทั้งมณฑล ในบรรดา 22 มณฑล และ 5 เขตปกครองตนเองของสาธารณรัฐประชาชนจีน มีเพียง 9 มณฑล (อันได้แก่ มณฑลยูนนาน มณฑลกุ้ยโจว มณฑลชิงไห่ มณฑลเฮย์หลงเจียง มณฑลเสฉวน มณฑลกานซู่ มณฑลจี๋หลิน มณฑลหูเป่ย์ และมณฑลหูหนาน) และ 3 เขตปกครองตนเอง (อันได้แก่ เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ เขตปกครองตนเองทิเบต และเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน) เท่านั้นที่มีเขตการปกครองระดับที่สองที่ไม่ใช่นครระดับจังหวัดจำนวนไม่กี่แห่ง
เกณฑ์ในการแต่งตั้งจังหวัดให้เป็นนครระดับจังหวัด มีดังต่อไปนี้
- พื้นที่ใจกลางเมืองมีประชากรที่ไม่เป็นเกษตรกรจำนวน 250,000 คนขึ้นไป
- มีมูลค่าการผลิตภาคอุตสาหกรรม 200,000,000 หยวน (32 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
- มีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศร้อยละ 35 ขึ้นไป[1]
มีนครระดับจังหวัด 15 แห่งที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในสถานะนครระดับกิ่งมณฑล ซึ่งจะได้รับสิทธิ์ในการปกครองตนเองมากขึ้น ฉือเจียจวงและเจิ้งโจวเป็นนครระดับจังหวัดที่ใหญ่ที่สุดที่มีประชากรเข้าใกล้หรือเกินกว่านครระดับกิ่งมณฑลบางแห่ง และยังมีนครระดับกิ่งจังหวัด ซึ่งเป็นนครระดับอำเภอที่มีอำนาจเกือบเทียบเท่านครระดับจังหวัด
การจำแนกประเภท
[แก้]นครระดับจังหวัดมีทั้งหมด 3 ประเภท ได้แก่
- นครระดับจังหวัดปกติ ซึ่งแบ่งการปกครองออกเป็นอำเภอ นครระดับอำเภอ และเขต
- นครระดับจังหวัดที่มีเฉพาะเขต ซึ่งแบ่งการปกครองออกเป็นเขตเพียงอย่างเดียว
- นครระดับจังหวัดที่ไม่มีเขตการปกครองระดับอำเภอ เป็นนครที่ไม่มีการปกครองระดับอำเภอใด ๆ อยู่เลย ทั้งอำเภอ นครระดับอำเภอ หรือเขต
- ปัจจุบันมีเพียงนคร 4 แห่ง ที่จัดอยู่ในประเภทนี้ ได้แก่ ตานโจว, ตงกว่าน, เจียยฺวี่กวาน, จงชาน