ข้ามไปเนื้อหา

เจิ้งโจว

พิกัด: 34°45′50″N 113°41′02″E / 34.764°N 113.684°E / 34.764; 113.684
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจิ้งโจว

郑州市
郑州市 • นครเจิ้งโจว
สถานที่ต่าง ๆ ในเจิ้งโจว
สมญา: 
เมืองธุรกิจ, เมืองสีเขียว
คำขวัญ: 
Partnership, Openness, Innovation, and Harmony (博大、开放、创新、和谐)
แผนที่
ที่ตั้งของนครเจิ้งโจว ในมณฑลเหอหนาน
ที่ตั้งของนครเจิ้งโจว ในมณฑลเหอหนาน
เจิ้งโจวตั้งอยู่ในที่ราบจีนตอนเหนือ
เจิ้งโจว
เจิ้งโจว
เจิ้งโจวตั้งอยู่ในประเทศจีน
เจิ้งโจว
เจิ้งโจว
เจิ้งโจว (ประเทศจีน)
พิกัด (ศาลาว่าการมณฑลเหอหนาน): 34°45′50″N 113°41′02″E / 34.764°N 113.684°E / 34.764; 113.684
ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
มณฑลเหอหนาน
ศูนย์กลางการปกครองเขตจงเยฺหวียน
จำนวนเขตการปกครอง6 เขต
5 นครระดับอำเภอ
1 อำเภอ
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีหวาง ซินเหว่ย์ (王新伟)
พื้นที่
 • นครระดับจังหวัด7,507 ตร.กม. (2,898 ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง1,024 ตร.กม. (395 ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล1,979 ตร.กม. (764 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2018)[1]
 • นครระดับจังหวัด10,120,000 คน
 • ความหนาแน่น1,300 คน/ตร.กม. (3,500 คน/ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง5,810,000 คน
 • ความหนาแน่นเขตเมือง5,700 คน/ตร.กม. (15,000 คน/ตร.ไมล์)
GDP (2018)
 • GDP รวม1.014 ล้านล้านเหรินหมินปี้
(144 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)
 • ต่อหัว100,200 เหรินหมินปี้
(14,000 ดอลลาร์สหรัฐ)
เขตเวลาUTC+8 (เวลามาตรฐานจีน)
รหัสไปรษณีย์450000
รหัสพื้นที่371
รหัส ISO 3166CN-HA-01
ป้ายทะเบียนรถA
เว็บไซต์www.zhengzhou.gov.cn
เจิ้งโจว
"เจิ้งโจว" เขียนด้วยตัวอักษรจีนตัวย่อ (บน) และอักษรจีนตัวเต็ม (ล่าง)
อักษรจีนตัวย่อ郑州
อักษรจีนตัวเต็ม鄭州
ความหมายตามตัวอักษร"ถิ่นฐานของเจิ้ง"

เจิ้งโจว (จีนตัวย่อ: 郑州; จีนตัวเต็ม: 鄭州; พินอิน: Zhèngzhōu) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของมณฑลเหอหนาน ในภาคกลางของสาธารณรัฐประชาชนจีน[2] ตั้งอยู่ทางกึ่งกลางค่อนไปทางเหนือของมณฑลเหอหนาน เป็นหนึ่งในนครศูนย์กลางแห่งชาติ [zh][3] เป็นเมืองศูนย์กลางของที่ราบภาคกลางของจีน และเป็นศูนย์กลางทางการเมือง เศรษฐกิจ เทคโนโลยี และการศึกษาของมณฑล[4] เจิ้งโจวเป็นส่วนหนึ่งของเขตมหานครเจิ้งโจว ซึ่งประกอบด้วยเจิ้งโจวเองและไคเฟิง ทั้งสองแห่งนับว่าเป็นศูนย์กลางของเขตเศรษฐกิจจงยฺเหวียน[5][6]

นครเจิ้งโจวตั้งอยู่ทางฝั่งใต้ของแม่น้ำเหลือง[7] เป็นศูนย์กลางหลักในโครงข่ายการคมนาคมขนส่งของจีน โดยมีทางรถไฟที่เชื่อมเจิ้งโจวไปยังยุโรป[8] รวมทั้งยังมีท่าอากาศยานนานาชาติ[9] ณ ค.ศ. 2020 เจิ้งโจวมีแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม 2 แห่ง ได้แก่ โบราณสถานแห่งเติงเฟิง และคลองใหญ่ (ต้า-ยฺวิ่นเหอ) เจิ้วโจวเป็นที่ตั้งของตลาดกลางสินค้าโภคภัณฑ์เจิ้งโจว (ZCE) ซึ่งเป็นตลาดซื้อขายล่วงหน้าแห่งแรกของประเทศจีน รวมทั้งยังมีเขตเศรษฐกิจท่าอากาศยานเจิ้งโจว ซี่งเป็นเขตเศรษฐกิจท่าอากาศยานแห่งแรกของประเทศจีนด้วยเช่นกัน[10]

จากข้อมูลสำมะโนประชากรจีน ค.ศ. 2020 นครเจิ้งโจวมีประชากรอาศัยอยู่จำนวน 12,600,574 คน โดยในจำนวนนี้มี 10,260,667 คนที่อาศัยอยู่ในเขตสิ่งปลูกสร้าง (built-up area) ซึ่งประกอบด้วยเขตที่อยู่ในตัวเมือง 6 เขต บวกกับอำเภอจงมู่ นครซินเจิ้ง และนครสิงหยาง ซึ่งในปัจจุบันเริ่มมีความเป็นเมืองมากขึ้น[11][12] เจิ้งโจวมีจีดีพีรวม 1.014 ล้านล้านเหรินหมินปี้ใน ค.ศ. 2018[13][14] มหานครเจิ้งโจวได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งใน 13 นครขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นใหม่ในประเทศจีน จากการรายงานโดยอีโคโนมิสต์อินเทลลิเจนซ์ยูนิต (Economist Intelligence Unit) เมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2012[15] และได้รับเลือกให้เป็นนครศูนย์กลางแห่งชาติแห่งที่แปดอย่างเป็นทางการ[16] เมื่อ ค.ศ. 2017 โดยรัฐบาลกลางในกรุงปักกิ่ง[17]

เจิ้งโจวเป็นเมืองหลักด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ โดยปรากฏอยู่ในรายชื่อเมือง 130 อันดับแรกของโลกตามดัชนีคุณภาพงานวิจัย (Nature Index) [18] เจิ้งโจวเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยระดับประเทศหลายแห่ง ที่สำคัญเช่น มหาวิทยาลัยเจิ้งโจว มหาวิทยาลัยเหอหนาน มหาวิทยาลัยเกษตรเหอหนาน มหาวิทยาลัยการแพทย์จีนเหอหนาน และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเหอหนาน[19]

ประวัติศาสตร์

[แก้]

ราชวงศ์ซาง ตั้ง Aodu หรือ Bodu ในเจิ้งโจว ส่วนชื่อเจิ้งโจว นั้นมีมาตั้งแต่ราชวงศ์สุยแต่ตั้งให้กับอีกเมืองหนึ่ง ถึงสมัยราชวงศ์ถังจึงมีการย้ายเมืองเจิ้งโจวมายังสถานที่ตั้งปัจจุบัน

เขตการปกครองและประชากร

[แก้]

เจิ้งโจวแบ่งการปกครองออกเป็น 6 เขต, 5 นครระดับอำเภอ และ 1 อำเภอ เขตการปกครองต่าง ๆ เหล่านี้มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงในอนาคตอันใกล้นี้อันเนื่องมาจากการขยายตัวของเมืองและการวางผังเมืองที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

เทศบาลนครเจิ้งโจวมีประชากร 8,626,505 คน (สำมะโนปี 2010) โดยจำนวนนี้มี 6.35 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในเขตสิ่งปลูกสร้าง (built up area) ซึ่งประกอบด้วยเขตที่อยู่ในตัวเมืองและชานเมืองรวม 6 เขต ส่วนนครสิงหยาง นครซินเจิ้ง และอำเภอจงมู่ เริ่มมีความเป็นเมืองมากขึ้น ทำให้นครเจิ้งโจวเป็นหนึ่งในเขตสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่ของมณฑล[20]

แผนที่
ชื่อ จีนตัวย่อ ฮันยฺหวี่พินอิน ประชากร
(2010)
พื้นที่ (ตร.กม.)
ตัวเมือง
เขตจินฉุ่ย 金水区 Jīnshuǐ Qū 1,588,611 242
เขตเอ้อร์ชี 二七区 Èrqī Qū 712,597 159
เขตฮุ่ยจี้ 惠济区 Hùijì Qū 269,561 206
เขตชนชาติหุยกว่านเฉิง 管城回族区 Guǎnchéng Huízú Qū 645,888 204
เขตจงยฺเหวียน 中原区 zhōngyuán Qū 905,430 195
ชานเมือง
เขตชั่งเจีย 上街区 Shàngjiē Qū 131,540 64.7
เมืองบริวาร
นครสิงหยาง 荥阳市 xíngyáng Shì 613,761 908
นครซินเจิ้ง 新郑市 Xīnzhèng Shì 758,079 873
นครเติงเฟิง 登封市 Dēngfēng Shì 668,592 1220
นครซินหมี 新密市 Xīnmí Shì 797,200 1001
นครก่งอี้ 巩义市 Gǒngyì Shì 807,857 1041
ชนบท
อำเภอจงมู่ 中牟县 Zhōngmù Xiàn 727,389 1393

การเกษตร

[แก้]

เจิ้งโจวมีผลิตภัณฑ์หลัก เช่น แอปเปิล ยาสูบ ข้าวโพด ฝ้าย และข้าวสาลี นอกจากนี้ เจิ้งโจวยังผลิตปลาไนแม่น้ำเหลือง แตงโม

อุตสาหกรรม

[แก้]

เจิ้งโจว คือหนึ่งในเมืองแห่งอุตสาหกรรมหลักในจีนตั้งแต่ พ.ศ. 2492 อุตสาหกรรมหลักของเมืองคือสิ่งทอ ผลิตผลอื่นๆของเมืองได้แก่ รถแทรกเตอร์ หัวรถจักร บุหรี่ ปุ๋ย เนื้อสัตว์ที่ผ่านกรรมวิธี เครื่องจักรกลทางการเกษตร และอุปกรณ์ไฟฟ้า

ปัจจุบัน มีเขตเศรษฐกิจพิเศษอากาศยานเจิ้งโจว ( Zhengzhou Airport Economy Zone : ZEAZ )

ภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 郑州常住人口937.8万人 (ภาษาจีนตัวย่อ). Zhengzhou Bureau of Statistics. สืบค้นเมื่อ 2016-03-13.[ลิงก์เสีย]
  2. "Illuminating China's Provinces, Municipalities and Autonomous Regions". PRC Central Government Official Website. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-05. สืบค้นเมื่อ 2014-05-17.
  3. 国家发展改革委关于支持郑州建设国家中心城市的复函 (ภาษาChinese (China)). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-05. สืบค้นเมื่อ 2018-09-13.
  4. 郑州定位国际性综合交通枢纽 年内实施52个交通项目-新华网. Xinhua News (ภาษาจีน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-28. สืบค้นเมื่อ 2018-03-28.
  5. "China's Central Plains Region". Stratfor (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-13. สืบค้นเมื่อ 2018-03-27.
  6. 刘云中, 国务院发展研究中心发展战略和区域经济研究部部长、研究员 侯永志. 中原经济区规划逻辑 – 国务院发展研究中心. www.drc.gov.cn. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-27. สืบค้นเมื่อ 2018-03-27.
  7. 郑州市情. shangdu.com (ภาษาจีน). 2009-05-25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-15. สืบค้นเมื่อ 2011-09-26.
  8. 第1000班郑欧班列满载"中国造"驰往汉堡_新华丝路. silkroad.news.cn (ภาษาจีน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-27. สืบค้นเมื่อ 2018-03-27.
  9. 郑州将开3条国际航线 直达五大洲将成为现实 _大豫网_腾讯网. qq.com Henan (ภาษาChinese (China)). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-28. สืบค้นเมื่อ 2018-03-28.
  10. "The Diplomat". The Diplomat (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-28. สืบค้นเมื่อ 2018-03-28.
  11. "China Urban Construction Statistical Yearbook 2019". Ministry of Housing and Urban-Rural Development. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-28. สืบค้นเมื่อ 22 July 2021.
  12. "住建部公布最新数据!郑州城区常住人口670万,跻身"特大城市"". china.com.cn. สืบค้นเมื่อ 22 July 2021.
  13. 2018年郑州市经济运行基本情况 – 郑州市统计局. Zhengzhou Bureau of Statistics. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-28. สืบค้นเมื่อ 2019-02-20.
  14. 郑州市16个县(市)、区2017年GDP公布 金水区GDP最高 超1200亿元-大河网. news.dahe.cn. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-24. สืบค้นเมื่อ 2018-03-27.
  15. "Supersized cities: China's 13 megalopolises". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-21. สืบค้นเมื่อ 2012-07-23.
  16. "国家发展改革委关于 支持郑州建设国家中心城市的复函" [About the National Development and Reform Commission. Reply to support Zhengzhou's construction of a national central city. Development and Reform Planning (2017) No. 154] (ภาษาจีน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 December 2017.
  17. 关于支持郑州建设国家中心城市的复函(发改规划[2017]154号). ghs.ndrc.gov.cn (ภาษาChinese (China)). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-05. สืบค้นเมื่อ 2018-03-27.
  18. "Nature Index 2021 Science Cities | Supplements | Nature Index". www.natureindex.com. สืบค้นเมื่อ 2021-10-06.
  19. "2021 China university rankings in Zhengzhou". www.shanghairanking.cn. สืบค้นเมื่อ 2021-10-06.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  20. 素芳, 焦 (18 พฤษภาคม 2011). 郑州常住人口860多万 这是个啥概念. 河南商报 (ภาษาจีนตัวย่อ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 กรกฎาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]