ปลาไบเคอร์
ปลาไบเคอร์ ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ครีเตเชียส-ปัจจุบัน | |
---|---|
ปลาวีคส์ไบเคอร์ (Polypterus weeksii) | |
ปลารีดฟิช (Erpetoichthys calabaricus) ซึ่งเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Erpetoichthys และมีลำตัวที่เรียวยาวที่สุด | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
ชั้นย่อย: | Chondrostei |
อันดับ: | Polypteriformes |
วงศ์: | Polypteridae |
สปีชีส์: | ดูในเนื้อหา |
สกุล | |
ปลาไบเคอร์ หรือ ปลาบิเชียร์ (อังกฤษ: Bichir) ซึ่งเป็นชื่อที่นิยมเรียกกันในประเทศไทย เป็นปลากระดูกแข็งในอันดับ Polypteriformes
จัดเป็นปลาน้ำจืดที่มีโครงร่างแตกต่างไปจากปลากระดูกแข็งและปลากระดูกอ่อนทั่วไป โดยเป็นปลาที่มีพัฒนาการมาจากยุคก่อนประวัติศาสตร์ คือ ในส่วนของกระดูกแข็งนั้นพบว่ามีกระดูกอ่อนเป็นจำนวนมาก มีช่องน้ำออก 1 คู่ และภายในลำไส้มีลักษณะขดเป็นเกลียว ซึ่งจะเป็นลักษณะเฉพาะของปลาในกลุ่มฉลามและกระเบน ทั้งยังมีเหงือกแบบพิเศษอยู่หลังตาแต่ละข้าง เกล็ดเป็นแบบกานอยด์ ซึ่งเป็นเกล็ดที่พบในปลามีกระดูกสันหลังในยุคแรก มีรูปทรงเป็นสี่เหลี่ยมรูปว่าวและมีส่วนยื่นรับกับข้อต่อ ระหว่างเกล็ดแต่ละชิ้น ซึ่งปัจจุบันจะพบปลาที่มีลักษณะเช่นนี้ ได้แก่ ปลาในอันดับปลาเข็ม, ปลาฉลามปากเป็ดและปลาสเตอร์เจียน เป็นต้น หัวมีขนาดเล็กแต่กว้าง ช่วงลำตัวรวมกับส่วนอก ลำตัวมีลักษณะเรียวยาวคล้ายกับงูมากกว่าจะเหมือนปลาทั่วไป ส่วนอกนั้น มีครีบที่ค่อนข้างแข็งแรง มีลักษณะเป็นฐานพูเนื้อคลุมด้วยเกล็ด คอยช่วยยึดเส้นครีบทั้งหลายที่แผ่ออกมาเป็นแฉก ๆ เหมือนจานพังผืด ซึ่งช่วยในการเคลื่อนไหวในพื้นน้ำเหมือนกับการเดินคล้ายกับปลาซีลาแคนท์ ในส่วนท้องจะมีถุงลม 2 ถุง ช่วยในการหายใจทำหน้าที่คล้ายกับปอด ถุงลมด้านซ้ายมีการพัฒนาน้อยกว่าด้านขวา เช่นเดียวกับปลาปอด ตั้งอยู่บริเวณช่องท้องโดยยึดติดกับหลอดอาหาร โดยที่ทำงานร่วมกับเหงือก ทำให้สามารถอยู่โดยปราศจากน้ำได้เป็นเวลาหลายชั่วโมงมีท่อจมูก สำหรับดมกลิ่น 2 ท่อ เนื่องจากเป็นปลาที่สายตาไม่ดี ต้องใช้การดมกลิ่นในการหาอาหาร ส่วนหลังจะมีชุดครีบ ประกอบไปด้วย 5-18 ครีบ ซึ่งรวมกันเป็นครีบหลัง แต่ละครีบนั้นจะมีแกนครีบเดี่ยว 1 แกน รองรับด้วยพังผืดเล็ก ๆ ในแต่ละครีบ ครีบหางมีลักษณะกลมใหญ่ปลายแหลม
นับได้ว่าปลาไบเคอร์เป็นรอยต่อที่สำคัญที่แสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการจากปลาขึ้นมาจากน้ำมาใช้ชีวิตอยู่บกอีกจำพวกหนึ่ง ซึ่งในช่วงฤดูแล้งหรือฤดูร้อน ที่แหล่งน้ำที่อยู่อาศัยเหือดแห้ง ปลาไบเคอร์สามารถที่จะขุดรูเข้าไปจำศีลในใต้พื้นดินเพื่อรอให้ถึงฤดูฝน เช่นเดียวกับปลาปอด[1] [2]
การจำแนก
[แก้]ปลาไบเคอร์เป็นปลาน้ำจืด พบกระจายพันธุ์อยู่ในแหล่งน้ำจืดของทวีปแอฟริกา พบทั้งหมด 1 วงศ์ คือ Polypteridae แบ่งออกได้เป็น 2 สกุล ได้แก่
สกุล Erpetoichthys Smith, 1865[3]
- Erpetoichthys calabaricus Smith, 1865
สกุล Polypterus Lacepède, 1803
- Polypterus ansorgii Boulenger, 1910
- Polypterus bichir (แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดย่อย)
- Polypterus delhezi Boulenger, 1899
- Polypterus enlicheri (แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดย่อย)
- Polypterus endlicheri congicus Boulenger, 1898
- Polypterus endlicheri endlicheri Heckel, 1847
- † Polypterus faraou Otero et al., 2006 (สูญพันธุ์ไปตั้งแต่ยุคไมโอซีน)[4]
- Polypterus mokelembembe Schliewen & Schafer, 2006.[5]
- Polypterus ornatipinnis Boulenger, 1902
- Polypterus palmas (แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดย่อย)
- Polypterus palmas buettikoferi Steindachner, 1891
- Polypterus palmas palmas Ayres, 1850
- Polypterus palmas polli Gosse, 1988
- Polypterus retropinnis Vaillant, 1899
- Polypterus senegalus (แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดย่อย)
- Polypterus senegalus meridionalis Poll, 1941
- Polypterus senegalus senegalus Cuvier, 1829
- Polypterus teugelsi Britz, 2004
- Polypterus weeksii Boulenger, 1898
นิเวศวิทยาและความสัมพันธ์กับมนุษย์
[แก้]ปลาไบเคอร์ทุกชนิด มีความยาวโดยเฉลี่ยประมาณ 1-2 ฟุต ที่มีขนาดยาวที่สุด คือ Erpetoichthys calabaricus ที่มีความยาวได้ถึง 90 เซนติเมตร แต่ก็เป็นชนิดที่มีลำตัวเรียวผอมมากที่สุดด้วย อีกทั้งยังไม่มีครีบท้อง
จัดเป็นปลาที่มีนิสัยไม่ก้าวร้าว ชอบอยู่นิ่ง ๆ หลบซ่อนตัวตามโขดหินใต้น้ำเพื่อหาอาหารใต้น้ำกิน ซึ่งสามารถกินได้หลากหลาย ในช่วงที่ยังเป็นวัยอ่อน เหงือกจะโผล่ออกมาเป็นกิ่งก้านสาขาคล้ายต้นไม้ให้เห็นออกมาภายนอกบริเวณแผ่นปิดเหงือกด้านข้างลำตัว และจะค่อย ๆ หายไปเมื่อโตเต็มที่
การแยกเพศสามารถแยกได้โดยดูลักษณะครีบก้น โดยตัวผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย ตัวเมียจะออกไข่ครั้งละ 300 ฟอง และตัวอ่อนจะออกจากไข่ภายในระยะเวลา 4 วัน นับจากแม่ปลาวางไข่
ปลาไบเคอร์ทุกชนิด เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม ด้วยอุปนิสัยที่ไม่ดุร้ายก้าวร้าว ซ้ำยังมักจะหากินบริเวณใต้น้ำ จึงทำให้นิยมเลี้ยงเป็นปลาร่วมตู้กับจำพวกอื่น ซึ่งจะกินอาหารจำพวก เศษอาหารที่ตกค้างจากการกินเหลือของปลาอื่น หรือแม้แต่อาหารเม็ดก็สามารถกินได้เช่นกัน
รายการอ้างอิง
[แก้]- ↑ "Ropefish and Bichirs, Family Polypteridae". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-15. สืบค้นเมื่อ 2011-01-10.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ Home > ฐานข้อมูล > Polypteriformes > Polypteridae > (ไทย)
- ↑ ITIS
- ↑ Otero, Likius, Vignaud & Brunet (2006). "A new polypterid fish: Polypterus faraou sp. nov. (Cladistia, Polypteridae) from the Late Miocene, Toros-Menalla, Chad". Zoological Journal of the Linnean Society. 146 (2): 227. doi:10.1111/j.1096-3642.2006.00201.x.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Schliewen & Schafer (2006). "Polypterus mokelembembe, a new species of bichir from the central Congo River basin (Actinopterygii: Cladistia: Polypteridae)" (PDF). Zootaxa. 1129: 23.