Plecturocebus aureipalatii
ลิงโกลเดนพาเลซ | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอตา Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม Mammalia |
อันดับ: | อันดับวานร |
อันดับย่อย: | ฮาพลอไรนิ Haplorhini |
อันดับฐาน: | Simiiformes |
วงศ์: | Pitheciidae |
สกุล: | Plecturocebus (Wallace, Gómez, A. M. Felton, & A. Felton, 2006)[2] |
สปีชีส์: | Plecturocebus aureipalatii |
ชื่อทวินาม | |
Plecturocebus aureipalatii (Wallace, Gómez, A. M. Felton, & A. Felton, 2006)[2] | |
ชื่อพ้อง | |
Callicebus aureipalatii Wallace, Gómez, A. M. Felton, & A. Felton, 2006[2] |
ทีทีมาดีดี (อังกฤษ: Madidi titi) หรือ ลิงโกลเดนพาเลซดอทคอม (อังกฤษ: GoldenPalace.com monkey) หรือ ลิงโกลเดินพาเลซ เป็นทีที กลุ่มย่อยของลิงโลกใหม่ซึ่งพบเจอในประเทศโบลิเวีย ที่อุทยานแห่งชาติมาดีดี ในปี ค.ศ. 2004[3] ชื่อวิทยาศาสตร์ของทีทีมาดีดีคือ Plecturocebus aureipalatii[2] โดยคำแสดงคุณลักษณะในชื่อทวินามนี้แปลว่า "ของวังทอง" (Golden palace) ชื่อของโกลเดนพาเลซในชื่อลิงมาจากคาสิโนออนไลน์ โกเดนพาเลซดอทคอม ผู้ซึ่งจ่ายเงินมูลค่า 650,000 ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อให้ตั้งชื่อชนิดตามบริษัท เงินส่วนนี้ต่อมาถูกนำไปอุดหนุนหน่วยงานที่ดูแลอุทยานแห่งชาติซึ่งพบลิงนี้ครั้งแรก[3][4]
หลังการค้นคว้าเป็นเวลาหลายปี ในปี ค.ศ. 2006 ทีทีมาดีดีกลายเป็นเป็นไพรเมทชนิดแรกที่ค้นพบในโบลิเวียในรอบ 60 ปี[5][6]
การแพร่กระจาย
[แก้]สปีซีส์นี้สามารถพบในพื้นที่ราบลุ่มต่ำในโบลิเวียทางตะวันตกเฉียงเหนือ, ในป่าเชิงเทือกเขาแอนดีส การค้นคว้าพบว่าพวกมันอยู่อาศัยในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำเบนี ส่วนพื้นที่อยู่อาศัยขยายในทางเหนือยังไม่ทราบ การศึกษาขั้นต้นระบุว่าชนิดนี้ไม่ได้เป็นสัตว์เฉพาะถิ่นแต่ในโบลิเวีย และอาจมีพื้นที่อยู่อาศัยขยายถึงประเทศเปรู (หรืออย่างน้อยถึงแม่น้ำทามโบปาตา)[1][7]
ลักษณะ
[แก้]ทีทีมาดีดีมีลักษณะเด่นคือ ขนสีส้ม-น้ำตาล, มงกุฎสีทอง (golden crown), ปลายหางสีขาว, มือและตีนสีแดงเข้ม เช่นเดียวกับทีทีชนิดอื่น ๆ ทีทีมาดีดีเป็นสัตว์ผัวเดียวเมียเดียวและมีคู่เดียวตลอดชีวิต โดยทั่วไปตัวผู้มีหน้าที่ในการแบกเอาลูกอ่อนติดตัวจนกว่ามันจะสามารถออกไปใช้ชีวิตเองได้
การค้นพบ
[แก้]นักชีววิทยาชาวอังกฤษ โรเบิร์ท วอลเลซ (Robert Wallace) สมาชิกของสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่าและนักชีววิทยาชาวโบลิเวีย ฮัมแบร์โต โกมเมซ (Humberto Gómez) รายงานว่าพบเห็นลิงนี้ครั้งแรกในปี ค.ศ. 2000 ขณะกำลังศึกษาเกี่ยวกับสัตว์ในอุทยานแห่งชาติมาดีดี[8][5] และได้รับการประกาศยืนยันเป็นชนิดที่ถูกค้นพบใหม่ในปี ค.ศ. 2006[5] ทีมสำรวจภาคพื้นประกอบด้วย Annika M. Felton, Adam Felton และ Ernesto Cáceres เป็นนักวิจัยกลุ่มแรกที่สามารถบันทึกภาพเคลื่อนไหวของทีทีชนิดนี้ วอลเลซและทีมงานของเขา รวมถึงสมาคมฯ ตัดสินใจนำเอาชื่ออกประมูลแทนที่จะตั้งชื่อชนิดด้วยตนเอง สิทธิในการตั้งชื่อถูกนำออกประมูลโดยเงินที่ได้รับจะนำไปมอบให้กับ FUNDESNAP (Fundación para el Desarrollo del Sistema Nacional de Áreas Protegidas) องค์การไม่แสวงผลกำไรที่มีหน้าที่ในการดูแลอุทยานแห่งชาติมาดีดี[3] ธุรกิจคาสิโนออนไลน์ GoldenPalace.com หนึ่งในมากกว่าหลายสิบผู้ประมูลชนะการประมูลไปด้วยมูลค่า 650,000 ดอลลาร์สหรัฐ และใช้สิทธิ์การตั้งชื่อในการตั้งชื่อลิงตามชื่อธุรกิจของตน[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Wallace, R. B.; de la Torre, S. & Veiga, L. M. (2008). "Callicebus aureipalatii". IUCN Red List of Threatened Species. 2008: e.T136815A4342993. doi:10.2305/IUCN.UK.2008.RLTS.T136815A4342993.en.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Byrne, Hazel; Rylands, Anthony B.; Carneiro, Jeferson C.; Alfaro, Jessica W. Lynch; Bertuol, Fabricio; da Silva, Maria N. F.; Messias, Mariluce; Groves, Colin P.; Mittermeier, Russell A. (2016-03-01). "Phylogenetic relationships of the New World titi monkeys (Callicebus): first appraisal of taxonomy based on molecular evidence". Frontiers in Zoology. 13: 10. doi:10.1186/s12983-016-0142-4. ISSN 1742-9994. PMC 4774130. PMID 26937245.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 "Madidi Titi Monkey". Wildlife Conservation Society. สืบค้นเมื่อ 16 November 2011.
- ↑ 4.0 4.1 "Internet casino buys monkey naming rights". MSNBC. สืบค้นเมื่อ 25 March 2019.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 Ricardo Herrera Farell (May 2005). "BOL-71: El Aureipalatii: Bautizaron al Callicebus del Madidi" (ภาษาสเปน). Biodiversity Reporting Award. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 July 2011. สืบค้นเมื่อ 15 November 2011.
- ↑ Wallace, Robert B.; Gómez, Humberto; Felton, Annika; Felton, Adam M. (2006). "On a New Species of Titi Monkey, Genus Callicebus Thomas (Primates, Pitheciidae), from Western Bolivia with Preliminary Notes on Distribution and Abundance" (PDF). Primate Conservation. 20: 36. doi:10.1896/0898-6207.20.1.29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 25 April 2012.
- ↑ van der Speld, R. F.; Bello, R.; Hebard, L. (2017). "Activity budget and ranging of a group of Madidi titis (Plecturocebus aureipalatii) in Reserva Ecologica Taricaya, with preliminary notes on diet composition, habitat usage and additional sightings" (PDF). Neotropical Primates. 23 (2): 33–40.
- ↑ Henry Fountain (8 February 2005). "Have Your Very Own Species, for a Price". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 16 November 2011.