ข้ามไปเนื้อหา

เพลย์สเตชัน 5

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก PlayStation 5)
เพลย์สเตชัน 5
ผู้พัฒนาโซนี่อินเตอร์แอ็กทีฟเอ็นเตอร์เทนเมนต์
ผู้ผลิตโซนี่ คอร์ปอเรชั่น
ตระกูลPlayStation
ชนิดเครื่องเล่นวีดีโอเกมภายในบ้าน
วางจำหน่าย12 พฤศจิกายน 2020 (ออสเตเรีย, ญี่ปุ่น, นิวซีแลนด์, อเมริกาเหนือ, เกาหลีใต้)
19 พฤศจิกายน 2020 (ส่งออกทั่วโลก)
11 ธันวาคม 2020 (ฟิลิปปินส์)[1]
22 มกราคม 2021 (อินโดนิเซีย)
2 กุมภาพันธ์ 2021 (อินเดีย)
5 กุมภาพันธ์ 2021 (ไทย)
19 มืนาคม 2021 (เวียดนาม)
10 เมษายน 2021 (สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์)
15 พฤษภาคม 2021 (จีน)
สื่อUltra HD Blu-ray, Blu-ray, DVD (เฉพาะรุ่น Standard Edition เท่านั้น)
หน่วยประมวลผล8-core AMD Zen 2 หลากความถี่ สูงสุดถึง 3.5 GHz
ความจุSSD ขนาด 825 GB
หน่วยความจำ16 GB GDDR6 SDRAM
การแสดงผลฟอร์แมตของวีดีโอเอาต์พุต HDMI: 480p, 720p, 1080i, 1080p, 4K UHD, 8K UHD
กราฟฟิกAMD RDNA 2 หลากความถี่ สูงสุดถึง 2.23 GHz
ระบบเสียง
การรับเข้าHDMI 2.1
ควบคุมผ่านDualSense
บริการออนไลน์PlayStation Network
รุ่นก่อนหน้าเพลย์สเตชัน 4
เว็บไซต์www.playstation.com/ps5/

เพลย์สเตชัน 5 หรือ PS5 (PlayStation 5) เป็นเครื่องเล่นวิดีโอเกมตระกูลเพลย์สเตชันรุ่นที่ 5 ของบริษัทโซนี่อินเตอร์แอ็กทีฟเอ็นเตอร์เทนเมนต์ ประกาศเปิดตัวต่อจากเพลย์สเตชัน 4 ในปี 2019[2] และมีกำหนดวางจำหน่ายครั้งแรกในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2020

เพลย์สเตชัน 5 ยังคงใช้ชิปประมวลผลยี่ห้อ AMD เหมือนกับเพลย์สเตชัน 4 แต่ใช้หน่วยบันทึกข้อมูลแบบโซลิดสเตตไดรฟ์ซึ่งเขียนอ่านข้อมูลด้วยความเร็วสูง นี่เป็นพัฒนาการที่เอื้อให้ขุมพลังด้านกราฟิกดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ภายในเครื่องยังใช้หน่วยประมวลผลกราฟิกส์ของ AMD ที่สามารถแปลภาพแสงเงา, รองรับความคมชัดระดับ 4K ที่เฟรมเรตสูง, ชิปเสียงแบบใหม่ที่รองรับระบบเสียงแบบสามมิติ ตลอดจนความสามารถในการเล่นเกมของเครื่องเกมเพลย์สเตชันยุคก่อนๆ

กำเนิด

[แก้]

ข่าวคราวแรกเกี่ยวกับโครงการเครื่องเกมยุคถัดไปของโซนี่มาจากนายมาร์ก เซอร์นี หัวหน้าทีมสถาปัตยกรรม ในการให้สัมภาษณ์นิตยสาร Wired เมื่อเดือนเมษายน 2019[3] และในช่วงต้นปี 2019 นั้นเอง ในรายงานทางการเงินสิ้นสุดไตรมาสแรกของบริษัทโซนี่ ก็ได้ยืนยันแผนวางจำหน่ายฮาร์ดแวร์เครื่องเกมยุคถัดไปที่กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนา ซึ่งในรายงานเดียวกันระบุว่าจะมีกำหนดวางตลาดได้ไม่เกินเดือนเมษายน 2020 การให้สัมภาษณ์นิตยสาร Wired ครั้งที่สองในเดือนตุลาคม 2019 บริษัทโซนี่ระบุว่าพยายามจะเร่งรัดการวางตลาดทั่วโลกของเครื่องเกมยุคต่อไปไม่เกินสิ้นปี 2020[4] ซึ่งในเดือนเดียวกันนี้เอง ก็ได้มีการเปิดเผยสเปกแรกบางส่วนของเครื่องเกมนี้ออกมา[5][6]

ในงาน CES 2020 ที่ลาสเวกัส บริษัทโซนี่ได้เปิดเผยโลโก้ของเครื่องเกมยุคถัดไป ซึ่งมีรูปแบบสอดคล้องกับโลโก้ของเครื่องเกมยุคก่อนๆ[7] รายระเอียดสเปกฉบับเต็มถูกเผยแพร่ทางออนไลน์โดยนายเซอร์นีและโดยบริษัทโซนี่เมื่อ 18 มีนาคม 2020[8][9]

ฮาร์ดแวร์

[แก้]

เพลย์สเตชัน 5 ใช้หน่วยประมวลผลกลาง AMD Zen 2 สถาปัตยกรรมขนาด 7nm จำนวนแปดคอร์ มีความถี่สัญญาณนาฬิกาสูงถึง 3.5 GHz[10] ขณะที่หน่วยประมวลผลกราฟิกส์ใช้สถาปัตยกรรมเหมือน RDNA 2 ของ AMD รองรับการประมวลผลกราฟิกส์ที่หลายความถี่สูงถึง 2.23 GHz สามารถคำนวณทศนิยมลอยได้ถึง 10.28 เทระฟล็อปส์[10] หน่วยประมวลผลทั้งสองอย่างถูกกำกับโดยเทคโนโลยี SmartShift ของ AMD ซึ่งคอยปรับการถ่ายเทพลังงานไปยังส่วนที่สำคัญกว่าระหว่าง CPU หรือ GPU โดยไม่กระทบกับพลังงานที่ใช้ขับระบบระบายความร้อน[10] นอกจากนี้ยังใช้เทคโนโลยีเสียงแบบใหม่ที่เรียกว่า Tempest Engine สัญญาณเสียงต้นทางที่ออกจากเครื่องเกมจะแปรเปลี่ยนไปตามคุณภาพของอุปกรณ์เครื่องเสียงที่ปลายทางและการตั้งค่าของผู้ใช้[10] ตัวเครื่องมาพร้อมกับหน่วยความจำ GDDR6 SDRAM ขนาด 16 GB ที่แบนด์วิธ 448 GB/วินาที[10] ทั้งยังรองรับบลูทูธ 5.1 และมาตรฐานไวไฟ 802.11ax (Wi-Fi 6)[11]

ระบบ Backward Compatibility

[แก้]

ฮิเดอากิ นิชิโนะ รองประธานอาวุโสฝ่ายวางแผนและจัดการแพลตฟอร์มของ Sony ได้กล่าวว่า PS5 จะมีการรองรับการเล่นเกมจากระบบ PS4 ในไลบรารี่เกมมากถึง 4,000+ เกม (หรือราวๆ 99% ของเกมที่รองรับการเล่น PS4 ทั้งหมด) ซึ่งสามารถเล่นได้ตั้งแต่ที่วันออกจำหน่ายและยังสามารถใช้งานร่วมกับเพลย์สเตชั่น VR ด้วยการใช้ที่จัดเก็บประเภท SSD ที่มีความเร็วสูงใน PS5 และพลังในการประมวลผลที่เพิ่มขึ้นทำให้เกม PS4 หลายเกมได้รับประโยชน์จากเวลาในการโหลดที่รวดเร็วขึ้น ส่งผลให้ได้อัตราเฟรมที่สูงขึ้นหรือคงที่มากยิ่งขึ้นจากการเล่นด้วย PS4 จากเดิมที่ใช้ที่จัดเก็บประเภท HDD

ในด้านของการบันทึกเกม ผู้เล่นสามารถซิงค์ไฟล์บันทึกเกม PS4 ไปยังที่เก็บข้อมูลบนคลาวด์หรือถ่ายโอนโดยใช้อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล USB โดยที่ข้อมูลจะไม่สูญหาย

อ้างอิง

[แก้]
  1. "เพลย์สเตชัน 5 เปิดตัวในฟิลิปปินส์ในวันที่ 11 ธันวาคม 2020". PlayStation (ภาษาอังกฤษ). 2020-12-11. สืบค้นเมื่อ 2020-12-11.
  2. Warren, Tom (2019-04-26). "Sony: PlayStation 5 won't launch in the next 12 months". The Verge (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-03. สืบค้นเมื่อ 2020-03-07. The next-gen battle is set for 2020
  3. Rubin, Peter (April 16, 2019). "Exclusive: What to Expect From Sony's Next-Gen PlayStation". Wired. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 21, 2019. สืบค้นเมื่อ April 16, 2019.
  4. Rubin, Peter (October 8, 2019). "Exclusive: A Deeper Look at the PlayStation 5". Wired. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 8, 2019. สืบค้นเมื่อ October 8, 2019.
  5. 次世代コンソールゲーム機 「プレイステーション 5」に名称決定 [Next generation game console named "PlayStation 5"] (press release) (ภาษาญี่ปุ่น), Sony Interactive Entertainment, October 8, 2019, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 20, 2019, สืบค้นเมื่อ January 13, 2020
  6. "PS5の気になるポイントをソニーに直撃! PS4互換は検証中。Ultra HD Blu-rayの再生&新コントローラーの詳細も". Famitsu. October 10, 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 22, 2019. สืบค้นเมื่อ December 9, 2019.
  7. Makuch, Eddie Makuch (January 6, 2020). "PS5 Logo Revealed At CES 2020". gamespot.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 7, 2020. สืบค้นเมื่อ January 13, 2020.
  8. "The Road to PS5". PlayStation. March 18, 2020. สืบค้นเมื่อ April 3, 2020 – โดยทาง YouTube.
  9. Nishino, Hideaki (March 18, 2020). "Unveiling New Details of PlayStation 5: Hardware Technical Specs". PlayStation Blog. สืบค้นเมื่อ March 20, 2020.
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 Leadbetter, Richard (March 18, 2020). "Inside PlayStation 5: the specs and the tech that deliver Sony's next-gen vision". Eurogamer. สืบค้นเมื่อ March 18, 2020.
  11. Barker, Sammy (August 26, 2020). "PS5 Uses Bluetooth 5.1, Wi-Fi 6 for Improved Performance". PushSquare. สืบค้นเมื่อ August 27, 2020.