ข้ามไปเนื้อหา

พลาสโมเดสมาตา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Plasmodesma)
ชีววิทยาเซลล์
เซลล์พืช
องค์ประกอบทั่วไปของเซลล์พืช:
a. พลาสโมเดสมาตา
b. เยื่อหุ้มเซลล์
c. ผนังเซลล์
1. คลอโรพลาสต์
d. เยื่อหุ้มไทลาคอยด์
e. แป้ง
2. แวคิวโอล
f. แวคิวโอล
g. โทโนพลาสต์
h. ไมโทคอนเดรีย
i. เพอรอกซิโซม
j. ไซโทพลาสซึม
k. Small membranous vesicles
l. ร่างแหเอนโดพลาซึมแบบขรุขระ
3. นิวเคลียส
m. นิวเคลียร์พอร์
n. เยื่อหุ้มนิวเคลียส
o. นิวคลีโอลัส
p. ไรโบโซม
q. ร่างแหเอนโดพลาซึมแบบเรียบ
r. กอลไจเวสิเคิล
s. กอลไจแอพพาราตัส (กอลไจบอดี)
t. ไซโทสเกเลตอน

พลาสโมเดสมาตา (Plastmodesmata) เป็นช่องว่างเล็กจำนวนมาก (ในรูปเอกพจน์เรียกว่า พลาสโมเดสมา : plasmodesma) ที่อยู่บนผนังเซลล์ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 50-60 นาโนเมตร ช่วยทำหน้าที่เชื่อมเซลล์ที่อยู่ใกล้เคียงกัน เพื่อช่วยในการขนถ่ายสิ่งๆต่างๆระหว่างเซลล์พืช (แบบ apoplast) เช่น น้ำ สารอาหาร ฮอร์โมน (Epel, 1994) ซึ่งอาจจะอยู่รวมกันอย่างหนาแน่น ถึง 1 ล้านช่องต่อตารางมิลลิเมตร ซึ่งจะกินพื้นที่ประมาณ 1% ของพื้นที่ผิวของผนังเซลล์เท่านั้น (Salisbury and Ross, 1992)

โครงสร้าง

[แก้]

ในเซลล์พืชปกติจะมีพลาสโมเดสมาประมาณ 103 and 105 รู เชื่อมต่อระว่างเซลล์ต่างๆ ที่ติดกัน. โดยมีโครงสร้าง 3 ชั้น อันได้แก่, ชั้นพลาสมาเมมเบรน, ชั้นปลอกหุ้มไซโตพลาสมิก, และ เดสโมทิวบูล [1] ในพืช C4 เซลล์มีโซฟิลล์และเซลล์บันเดิลชีทที่อยู่ติดกัน จะมีพลาสโมเดสมาตาเชื่อมระหว่างเซลล์ทั้งสอง และทำหน้าที่เป็นทางผ่านและลำเลียงสารจากกระบวนการเมแทบอลิซึม ระหว่างเซลล์มีโซฟิลล์และเซลล์บันเดิลชีทอีกด้วย

พลาสมาเมมเบรนของพลาสโมเดสมาตา

[แก้]

ลักษณะของพลาสมาเมมเบรนของพลาสโมเดสมาตา (Plasmodesmatal plasma membrane) นั้นเป็นส่วนต่อขยายมาจากเยื่อหุ้มเซลล์ (cell membrane) หรือเรียกว่า พลาสมาเลมมา [2] ซึ่งมีลักษณะเหมือนกับโครงสร้างภายในเซลล์ที่เรียกว่า ฟอสโฟไลปิดไบเลเยอร์.

ปลอกหุ้มไซโตพลาสมิก

[แก้]

ปลอกหุ้มไซโตพลาสมิก (Cytoplasmic sleeve) เป็นช่องว่างที่เต็มไปด้วยของเหลวที่ถูกปิดโดยพลาสมาเลมมาและเป็นส่วนที่ต่อเนื่องของไซโตซอล. การเคลื่อนที่ของโมเลกุลและอิออนต่างๆผ่านพลาสโมเดสมาตานั้น สันนิษฐานว่าเกิดจากการรอดปลอกหุ้มนี้. โมเลกุลที่เล็กกว่า (เช่นน้ำตาลและกรดอะมิโน) และอิออนต่างๆ สามารถผ่านพลาสโมเดสมาตา โดยวิธีการแพร่โดยมิต้องใช้พลังงานทางเคมีในการขับเคลื่อนแต่อย่างใดเลย. แต่อย่างไรก็ดียังไม่แน่ชัดว่าการขนถ่ายแบบเลือกสรรในโมเลกุลที่ใหญ่กว่ากระทำได้อย่างไร อาทิ การขนถ่ายโมเลกุลของโปรตีนเป็นต้น. หนึ่งในสมมติฐานนั่นคือการที่โพลีแซคคาไรด์แคลโรสได้สะสมรอบคอพลาสโมเดสมาตาเพื่อสร้างปลอกเพื่อลดเส้นผ่าศูนย์กลางของโมเลกุลพวกนั้น อันเป็นการควบคุมให้สามารถซึมเข้าสู่สารภายในไซโตพลาสซึมได้ [2]

เดสโมทิวบูล

[แก้]

การขนส่ง

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. AW Robards (1975) Plasmodesmata. Annual Review of Plant Physiology 26, 13-29
  2. 2.0 2.1 AW Robards (1976) Plasmodesmata in higher plants. In: Intercellular communications in plants: studies on plasmodesmata. Edited by BES Gunning and AW Robards Springer-Verlag Berlin pps 15-57.