พิงเคอร์ตัน
พิงเคอร์ตัน | ||||
---|---|---|---|---|
สตูดิโออัลบั้มโดย | ||||
วางตลาด | 24 กันยายน ค.ศ. 1996 | |||
บันทึกเสียง | กันยายน ค.ศ. 1995, มกราคม – มิถุนายน ค.ศ. 1996 ที่ซาวด์ซิตี ลอสแอนเจลิส; ฟอร์ตอาพาเชสตูดิโอส์, บอสตัน; ฮอลลีวูดซาวด์เรคอเดอส์, ลอสแอนเจลิส; รัมโบเรคอเดอส์, แคโนกาพาร์ก ลอสแอนเจลิส; อีเลกทริกเลดีสตูดิโอ, นิวยอร์ก | |||
แนวเพลง | ออลเทอร์เนทิฟร็อก, พาวเวอร์ป็อป, อีโม[1][2] | |||
ความยาว | 34:36 | |||
ค่ายเพลง | ดีจีซี | |||
โปรดิวเซอร์ | วีเซอร์ | |||
ลำดับอัลบั้มของวีเซอร์ | ||||
| ||||
ซิงเกิลจากพิงเคอร์ตัน | ||||
|
พิงเคอร์ตัน (อังกฤษ: Pinkerton) เป็นสตูดิโออัลบั้มชุดที่ 2 ของวงอัลเทอร์เนทีฟร็อกอเมริกัน วงวีเซอร์ ออกขายเมื่อวันที่ 24 กันยายน ค.ศ. 1996 กับค่ายดีจีซีเรเคิดส์ เดิมทีวางแผนว่าจะทำอัลบั้มธีมอวกาศแนวร็อกโอเปรา โดยจะใช้ชื่ออัลบั้มว่า ซองส์ฟรอมเดอะแบล็กโฮล (Songs from the Black Hole) วงบันทึกเสียงอัลบั้มนี้ในขณะที่ นักร้อง/มือกีตาร์ ของวง ริเวอส์ โควโม กำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เพลงส่วนใหญ่ประพันธ์โดยโควโม เพื่อให้ได้เสียงแบบสด ๆ วงตัดสินใจไม่จ้างโปรดิวเซอร์ในอัลบั้มชุดนี้
ดนตรีมีโทนมืดลง และกัดกร่อนกว่าเดิม เมื่อเทียบกับอัลบั้มเปิดตัว ชุด วีเซอร์ มีธีมที่เขียนโดยโควโมจากความผิดหวังในการใช้วิถีชีวิตแบบร็อก ชื่ออัลบั้ม พิงเคอร์ตัน ตั้งตามตัวละคร บี.เอฟ. พิงเคอร์ตัน ซึ่งเป็นตัวละครจากอุปรากรเรื่อง มาดามบัตเตอร์ฟลาย ประพันธ์โดย จาโกโม ปุชชีนี และอัลบั้มยังใช้แนวคิดคร่าว ๆ จากเพลงอุปรากร เช่นเดียวกับในอุปรากร เพลงยังมีการอ้างอิงถึงประเทศญี่ปุ่นและวัฒนธรรมญี่ปุ่น
พิงเคอร์ตัน เปิดตัวเข้าชาร์ตสัปดาห์แรกในบิลบอร์ด 200 ที่อันดับ 19 และยอดขายก็ตกลงในเวลาอันรวดเร็วตามที่คาด หลังจากที่อัลบั้มแรกประสบความสำเร็จ อัลบั้มมี 3 ซิงเกิ้ล โดย 2 ซิงเกิ้ลตัดขายเพื่อพยายามช่วยด้านการตลาดให้อัลบั้ม ได้แก่ซิงเกิ้ล "เอลสกอร์โช" (El Scorcho), "เดอะกูดไลฟ์" (The Good Life) และ "พิงก์ไทรแองเกิล" (Pink Triangle) ถึงแม้ว่าจะได้รับเสียงวิจารณ์ด้านลบจากนักวิจารณ์เมื่อออกขาย แต่อัลบั้มก็ประสบความสำเร็จกลุ่มคนที่ชื่นชอบและได้รับเสียงตอบรับด้านบวกหลังจากนั้นอีกออกขายแล้วหลายปี จนในปี ค.ศ. 2010 ออก "ดีลักซ์เอดิชัน" (Deluxe Edition) ได้คะแนนสมบูรณ์แบบในเว็บไซต์ เมทาคริติก และอัลบั้มชุดนี้เป็นอัลบั้มสุดท้ายที่มีมือเบส แมตต์ ชาร์ป ร่วมทำงานชุดนี้
ภูมิหลัง
[แก้]ในปี ค.ศ. 1994 หลังจากวีเซอร์ประสบความสำเร็จกับอัลบั้มเปิดตัวชื่อเดียวกับวง ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำขาวหลายรางวัล วีเซอร์ได้หยุดพักจากทัวร์ในช่วงเทศกาลคริสต์มาส[3] ที่รัฐคอนเนตทิคัต บ้านเกิดของนักแต่งเพลง ริเวอส์ โควโม เขาได้เริ่มเตรียมวัตถุดิบสำหรับอัลบั้มชุดถัดไปของวีเซอร์ โดยได้ใช้เครื่องบันทึกเสียง 8 แทร็ก[4] แนวคิดดั้งเดิมคือ เป็นร็อกโอเปราแนวนวนิยายวิทยาศาสตร์ ที่ใช้ชื่ออัลบั้มว่า ซองส์ฟรอมเดอะแบล็กโฮล (Songs from the Black Hole) ที่แสดงออกถึงหลากหลายความรู้สึกเกี่ยวกับความสำเร็จ วีเซอร์ได้พัฒนาผลงาน ซองส์ฟรอมเดอะแบล็กโฮล จากการบันทึกเสียงเป็นช่วง ๆ ตลอดปี ค.ศ. 1995[5]
ในเดือนมีนาคม โควโม ที่เกิดมาขาไม่เท่ากัน ได้เข้าผ่าตัดยืดขาข้างขวาให้เท่าข้างซ้าย ซึ่งก็ต้องทำกายภาพบำบัดอย่างเจ็บปวด เป็นผลกระทบต่อการเขียนเพลง ซึ่งเขาใช้เวลาระยะยาวในการรักษาตัว ไม่สามารถเดินได้โดยปราศจากไม้เท้า และต้องใช้ยาแก้ปวด[6] ในช่วงเวลานี้เอง โควโมสมัครเรียนการประพันธ์เพลงคลาสสิกที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ด้วยจดหมายสมัครเรียนพรรณาถึงความผิดหวังจากวิถีดนตรีร็อก ดังนี้
แฟนเพลงถามผมตลอดเวลาว่าการเป็นร็อกสตาร์ทำอย่างไร ผมอาจพูดได้ว่า พวกเขากำลังฝันเหมือนกันที่ผมเคยฝัน เมื่อผมยังเป็นเด็ก หวังว่าสักวันจะครองโลกด้วยวงดนตรีร็อก ผมก็บอกกับเขาในสิ่งเดียวกันนี้ ผมจะบอกคนที่อยากเป็นร็อกสตาร์ ว่า คุณจะโดดเดี่ยว คุณจะพบคน 200 คนทุก ๆ คืน แต่บทสนทนาที่คุณคุยด้วยจะยาวเพียงแค่ราว 30 วินาที ที่อาจรวมถึงการพยายามโน้มน้าวพวกเขาว่า ไม่! คุณไม่ได้ต้องการกางเกงในพวกเขา จากนั้นคุณก็จะโดดเดี่ยวอีกครั้ง ในห้องโมเต็ล หรือไม่คุณก็อยุ่บนรถบัส ในห้องเล็ก ๆ ฆ่าเวลา 9 ชั่วโมง เพื่อไปยังเมืองต่อไป นี่แหละชีวิตร็อกสตาร์[7]
โควโมรู้สึกผิดหวังกับ "ความจำกัดของดนตรีร็อก" ทุกคืนหลังจากแสดงกับวีเซอร์ เขาจะฟังเพลงโอเปราในปี ค.ศ. 1904 ของจาโกโม ปุชชีนี ที่ชื่อเพลง มาดามบัตเตอร์ฟลาย ด้วย "การดิ่งสู่ลงอารมณ์ ความเศร้า และ โศกนาฏกรรม" เป็นแรงบันดาลใจทางดนตรีให้เขามากกว่าเดิม[8] เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1996 การเขียนเพลงของโควโมเริ่ม "หม่นลง เข้าถึงอารมณ์และเปิดเผย มีลูกเล่นน้อยลง" และเขาทิ้งแนวคิดการทำอัลบั้ม ซองส์ฟรอมเดอะแบล็กโฮล ไป[9] เพลงต่าง ๆ จากอัลบั้มชุดที่ 2 ของวงวีเซอร์ ก็ถูกเขียนใหม่ขณะที่โควโมเรียนที่ฮาร์วาร์ด เป็นบันทึกถึงความเหงา ความผิดหวัง หรือที่โควโมเรียกว่า "ด้านมืด" ของตน[4]
การบันทึกเสียง
[แก้]ในปี ค.ศ. 1996 ไม่นานก่อนที่โควโมจะเรียนจบที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด วีเซอร์ได้รวมตัวกันเป็นเวลา 2 อาทิตย์เพื่อบันทึกเสียงที่อีเล็กทริกเลดีสตูดิโอส์ ในนครนิวยอร์ก พวกเขาบันทึกเสียงเพลง "วายบาเทอร์?" (Why Bother?), "เกตชู" (Getchoo), "โนอาเทอร์วัน" (No Other One) และ "ไทด์ออฟเซกซ์" (Tired of Sex)[10][11] โดยวีเซอร์หวังที่จะค้นพบอะไรที่ "ลึกกว่า หม่นกว่า และเป็นการทดลองมากกว่า"[11] ทีน่าจะดูดีกว่าวงแสดงสดที่คล้ายคลึงกัน[12] หลังจากจบการบันทึกเสียงครั้งนี้ วงตัดสินใจไม่จ้างโปรดิวเซอร์ เพราะรู้สึกว่า "จะเป็นการที่ดีที่สุดสำหรับเราหากเราบันทึกเสียงด้วยตัวเอง"[13] เพื่อที่จะทำให้อัลบั้มดูสด ดิบ โดยโควโม, ไบรอัน เบลล์ มือกีตาร์ และมือเบส แมตต์ ชาร์ป บันทึกเสียงร้อง ด้วยไมโครโฟน 3 อันที่เรียงตามกัน แทนที่จะบันทึกซ้ำ (overdub) แยกออกไป[14]
ขณะที่โควโมศึกษาที่ฮาร์วาร์ด สมาชิกคนอื่นของวงได้ทำโครงการเพลงอื่นอยู่[15] ชาร์ปได้ประชาสัมพันธ์อัลบั้มแรกของวงของเขาที่ชื่อ เดอะเรนทอลส์ ส่วนเบลล์และมือกลอง แพทริก วิลสัน ทำงานกับวงของพวกเขาที่ชื่อ สเปซทวินส์ และ สเปเชียลกูดเนสส์ ตามลำดับ[10][15] ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1996 ระหว่างที่โควโมพักผ่อนช่วงฤดูหนาว วีเซอร์ได้รวมตัวกันอีกครั้งเป็นระยะเวลา 2 อาทิตย์ เพื่อบันทึกเสียงที่ซาวด์ซิตีสตูดิโอส์ ในแวนนายส์ รัฐแคลิฟอร์เนีย เพื่อทำเพลงให้เสร็จในเพลงที่เขาบันทึกเสียงเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา[16] หลังจากบันทึกเพลงใหม่ "เอลสกอร์โช" (El Scorcho) และ "พิงก์ไทรแองเกิล" (Pink Triangle) วีเซอร์ก็ได้แยกย้ายกันอีกครั้ง ขณะที่โควโมกลับไปศึกษาต่อที่ฮาร์วาร์ด[16]
ระหว่างโควโมพักผ่อนในช่วงฤดูใบไม้ผลิ วีเซอร์รวมตัวกันที่ซาวด์ซิตีสตูดิโอส์ และบันทึกเพลงใหม่ 3 เพลงคือเพลง "เดอะกูดไลฟ์" (The Good Life), "อะครอสส์เดอะซี" (Across the Sea) และ "ฟอลลิงฟอร์ยู" (Falling for You) ก่อนที่โควโมจะกลับไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเพื่อศึกษาให้จบ[17] วีเซอร์ทำผลงานสุดท้ายในช่วงฤดูร้อนปี ค.ศ. 1996 ในลอสแอนเจลิส ส่วนอีก 2 เพลง "ไอสแวร์อิตส์ทรู" (I Swear It's True) และ "เกตติงอัปแอนด์ลีฟวิง" (Getting Up and Leaving) ก็ถูกตัดออกไปก่อนขั้นตอนการผสมเสียง[18]
การประพันธ์เพลง
[แก้]อัลบั้ม พิงเคอร์ตัน มีความหม่นกว่า และฟังดูเกรี้ยวกราดกว่า อัลบั้มเปิดตัวของวีเซอร์[19] โดยเขียนจากมุมมองส่วนตัวมากขึ้น[20] โควโมประพันธ์เพลงจากความสัมพันธ์ที่ไม่สมบูรณ์ ความผิดหวังทางเพศ และการต่อสู้ต่ออัตลักษณ์ของเขา[14][21][22][23][24] อัลบั้มนี้ทำให้เขาต้องวางแผนเป็นวัฏจักรไปมาระหว่าง 'คนงี่เง่ากับกลุ่มคนเข้าสังคม'[25] และด้วยความยาวอัลบั้มไม่ถึง 35 นาที โควโมนิยามอัลบั้ม พิงเคอร์ตัน นี้ว่า "สั้นจากการออกแบบ"[14]
เพลงแรกของอัลบั้มคือเพลง "ไทด์ออฟเซกซ์" (Tired of Sex) เขียนก่อนออกอัลบั้มชุดเปิดตัว[26] โดยโควโมได้อธิบายไว้ว่าเป็น การได้มีเพศสัมพันธ์อย่างไร้ค่ากับหญิงวัยรุ่นผู้คลั่งไคล้ดารา โดยได้สาธยายถึงการมีเพศสัมพันธ์และสงสัยว่าทำไมรักแท้ถึงไม่มาหาเขา[14] เพลง "อะครอสเดอะซี" (Across the Sea) ได้รับแรงบันดาลใจจากจดหมายที่โควโมได้จากแฟนเพลงชาวญี่ปุ่น "เมื่อผมได้รับจดหมาย ผมรู้สึกตกหลุมรักเธอ มันช่างเป็นจดหมายที่ยอดเยี่ยมเหลือเกิน ตอนนั้นผมเหงามาก แต่ในเวลาเดียวกันผมก็รู้สึกเศร้าที่ผมจะไม่ได้พบเจอเธอ"[23]
ซิงเกิ้ลที่ 2 "เดอะกูดไลฟ์" เป็นเหตุการณ์การเดใหม่ของโควโมหลังจากวิกฤตการณ์อัตลักษณ์ของเขาในฐานะนักศึกษาไอวีลีกที่โดดเดี่ยว โควโมที่รู้สึกโดดเดี่ยวจากการเรียนที่ฮาร์วาร์ด เขาเขียนเพลงนี้หลังจาก "ท้อแท้จากชีวิตสันโดษ ผมได้นำชีวิตสู่สันโดษแบบนักพรต และผมคิดว่า ผมเริ่มจากเข้าสู่ความเศร้า กับความฝันเกี่ยวกับการทำให้ตนเองบริสุทธิ์ และพยายามใช้ชีวิตแบบพระหรือผู้มีปัญญา และไปโรงเรียนและยืนกรานที่จะค้นหาหญิงในอุดมคติ ผมจึงเขียนเพลงและเริ่มหันกลับและกลับไปทางอื่นแทน"[22][23] ซิงเกิ้ลเปิดตัว "เอลสกอร์โช" ได้กล่าวถึงความขี้อายและไร้สมรรถภาพในการเข้าหาผู้หญิงของโควโมขณะที่เขาอยู่ที่ฮาร์วาร์ด เขาอธิบายถึงเพลงนี้ว่า "มันเป็นอะไรที่มากไปกว่าตัวผม เพราะ ณ จุดนั้น ผมไม่คิดที่จะพูดคุยกับผู้หญิง ผมไม่รู้อะไรมากเกี่ยวกับตัวเธอ"[23] และซิงเกิ้ลสุดท้ายของอัลบั้ม "พิงก์ไทรแองเกิล" อธิบายถึงผู้ชายที่ตกหลุมรักและต้นการที่จะแต่งงาน แต่ค้นพบว่าหญิงคนนั้นเป็นเลสเบี้ยน[24]
แนวคิด
[แก้]จดหมายของโควโมถึงแฟนคลับ (10 กรกฎาคม ค.ศ. 1996)[27]
อัลบั้ม พิงเคอร์ตัน ตั้งชื่อตามตัวละคร บีเอฟ พิงเคอร์ตัน จากอุปรากร มาดามบัตเตอร์ฟลาย ตัวละครที่สมรสกับหญิงชาวญี่ปุ่น มีนามว่า บัตเตอร์ฟลาย[27] ที่เรียกเขาว่า "กะลาสีอเมริกันที่โง่เง่า ซึ่งคล้ายกับร็อกสตาร์ที่ออกทัวร์คอนเสิร์ต" โควโมรู้สึกว่าตัวละครนี้ "เป็นสัญลักษณ์อันยอดเยี่ยมสำหรับส่วนหนึ่งของผมที่ผมพยายามจะตั้งชื่อเป็นอัลบั้มชุดนี้"[28] ส่วนชื่ออื่นที่พิจารณาเช่น เพลย์บอย (Playboy) และ ไดวิงอินทูเดอะเรก (Diving into the Wreck) ตามชื่อบทกลอนของเอเดรียน ริช)[28]
เช่นเดียวกับ มาดามบัตเตอร์ฟลาย มุมมองของพิงเคอร์ตัน มีมุมมองด้านวัฒนธรรมญี่ปุ่นผ่านมุมมองคนนอกที่ถือว่าญี่ปุ่นนั้นบอบบางและมุมมองตัณหาราคะ[29] อัลบั้มมีผลต่อการอุปมาของชาวญี่ปุ่นที่บรรยายความผิดหวังด้านความรักและความสับสนทางเพศ[19] โควโมเขียนเกี่ยวกับ พิงเคอร์ตัน ว่า "เป็นการชนกันระหว่างตะวันออกและตะวันตก ฮินดู เซน เคียวคุชิน การปฏิเสธตัวเอง การสละตนเอง ความไร้ความรู้สึก ด้านเจ๋ง ๆ ปะทะกับมุมมองเฮฟเวเมทัลแบบอิตาลี-อเมริกัน"[30] เขายังพูดว่า "ทั้ง 10 เพลง เรียงลำดับตามเวลาที่ผมเขียน ดังนั้นอัลบั้มนี้จึงเล่าเรื่องเกี่ยวกับการต่อสู้ภายในของ พิงเคอร์ตัน"[31]
งานศิลป์
[แก้]ภาพปกอัลบั้มคือภาพ คัมบะระโยะรุโนะยุคิ (คำแปลคือ คืนวันหิมะในคัมบะระ) ผลงานพิมพ์หมายเลข 16 ภาพอุกิโยะของฮิโระชิเงะ หนึ่งในภาพชุด สถานี 53 สถานีบนเส้นทางโทไกโด[32] เนื้อเพลงจาก มาดามบัตเตอร์ฟลาย พิมพ์ไว้บนแผ่นซีดีในภาษาอิตาลี ที่มีเนื้อความว่า "ทุกที่ในโลก ชาวอเมริกันที่ไร้จุดหมายรู้สึกยินดี ไม่สนใจในอันตรายทุกชนิด เขาหยุดทอดสมอแบบไม่มีแบบแผน..."[33]
ด้านหลังซีดีเป็นแผนที่ที่ชื่อ "Isola della farfalla e penisola di cane" (แปลจากภาษาอิตาลีได้ว่า "เกาะแห่งผีเสื้อและคาบสมุทรของสุนัข")[33] บนแผนที่มีเรือชื่อว่า ยูเอสเอส พิงเคอร์ตัน และเกาะไมเคลและคาร์ลี ที่อ้างถึงผู้ก่อตั้งแฟนคลับวีเซอร์ แผนที่ยังมีชื่อต่าง ๆ ที่โควโมได้รับอิทธิพลมาเช่น ฮาเวิร์ด สเติร์น, อิงเว มาล์มสทีน, ไบรอัน วิลสัน, ลู บาร์โลว์, โจ แมตต์, คาไมล์ พาเลีย และเอซ เฟรเลย์[33][34][35]
การออกและการประชาสัมพันธ์
[แก้]ฝ่ายคัดสรรและพัฒนาศิลปินของค่ายเกฟเฟนเรเคิดส์ ทอดด์ ซุลลิแวน อธิบายถึงอัลบั้ม พิงเคอร์ตัน ไว้ว่า "เป็นอัลบั้มที่กล้าหาญมาก" แต่ก็กังวลว่า "อะไรที่จุดประกายให้วงทำงานเช่นนี้ มันอาจอธิบายว่าจะสิ้นสุดจากการเป็นวงป็อป"[24] ค่ายเพลงรู้สึกพอใจกับอัลบั้มนี้และรู้สึกว่า "จะไม่มีใครผิดหวัง"[24]
วีเซอร์ปฏิเสธการทำวิดีโอเพลงเปิดตัว "เอลสกอร์โช" จากสไปก์ จอนซ์ ที่ก่อนหน้านี้เคยทำให้วงเป็นที่รู้จักจากการทำวิดีโอ "อันดัน – เดอะสเวตเตอร์ซอง" (Undone – The Sweater Song) และ "บัดดีฮอลลี" (Buddy Holly) โควโมอธิบายว่า "ผมไม่ต้องการให้เพลงเกิดขึ้นอย่างไม่มีจุดด่างพร้อยในเวลานี้ ผมต้องการสื่อสารความรู้สึกโดยตรงและเพราะผมเขียนเพลงอย่างระมัดระวัง ผมจะไม่ชอบถ้าวิดีโอสื่อสารเพลงผิดพลาด หรือเกินจริง"[20] วิดีโอที่ออกมามีลักษณะวงเล่นในโถงแห่งหนึ่งในลอนแอนเจลิส ที่มีแสงวูบวาบในมิวสิกวิดีโอ[23] มาร์ก โรมาเนก ผู้กำกับมิวสิกวิดีโอลาออกไปหลังจากถกเถียงกับโควโมหลายครั้ง ปล่อยให้โควโมเป็นผู้ตัดต่อมิวสิกวิดีโอเอง[36] วิดีโอเปิดครั้งแรกในรายการ 120 มินิตส์ ทางช่องเอ็มทีวี และได้เปิดออกอากาศพอสมควร[20]
1 วันก่อนวันออกขายของอัลบั้ม พิงเคอร์ตัน ในวันที่ 24 กันยายน ค.ศ. 1996 มีคำสั่งยับยั้งการจองมาจากวงและเกฟเฟน โดยบริษัทรักษาความปลอดภัยในแคลิฟอร์เนีย ที่ชื่อ พิงเคอร์ตัน ได้ฟ้องร้องวีเซอร์และเกฟเฟนในการละเมิดตราสินค้า โดยกล่าวว่า พวกเขาพยายามหาประโยชน์จากการละเมิดนี้[37] ในขณะที่อยู่ระหว่างการยับยั้งการสั่ง บริษัทพิงเคอร์ตันเรียกร้องค่าเสียหาย 2 ล้านเหรียญสหรัฐ และวีเซอร์ไม่สามารถจัดจำหน่าย แจกจ่าย หรือโฆษณาอัลบั้มที่ใช้ชื่อว่า พิงเคอร์ตัน ได้[38] โฆษกของเกฟเฟน เดนนิส เดนนีไฮ ได้ออกมาโต้แย้งว่า "วีเซอร์ได้ใช้ชื่อพิงเคอร์ตันจาก ตัวละครอุปรากรของจาโกโม ปุชชีนี เรื่อง มาดามบัตเตอร์ฟลาย ซึ่งไม่ได้มีเจตนาจะเกี่ยวข้องกับเอกลักษณ์ของบริษัท"[39] โควโมได้เขียนเอกสาร 6 หน้าเกี่ยวกับการเลื่อกชื่ออัลบั้มนี้ ว่า "ทำไมผมถึงเลือกชื่อนี้ และมันได้ผล และมันสำคัญอย่างไร"[40] ศาลยกฟ้องหลังผู้พิพากษาตัดสินว่า "ความเสียหายจากการไม่จำหน่ายพิงเคอร์ตันของเกฟเฟน มีมากกว่าความเสียหายของบริษัทพิงเคอร์ตัน หรือผู้ถือหุ้นอาจได้รับความเสียหายจากการที่ผู้บริโภคอาจเข้าใจผิดกับบริษัทที่ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับอัลบั้มนี้"[40]
เห็นได้ว่าอัลบั้ม พิงเคอร์ตัน ไม่ได้คาดหวังด้านยอดชาย วีเซอร์รู้สึกกดดันในการทำมิวสิกวิดีโออีกเพลงให้ได้รับความชื่นชอบทางเอ็มทีวี[41] มิวสิกวิดีโอเพลง "เดอะกูดไลฟ์" กำกับโดยโจนาทาน เดย์ตันและแวเลรี ฟาริส แสดงโดยลิน รัชส์คับ ในบทสาวส่งพิซซา โดยได้ใช้มุมกล้องหลายมุมพร้อมกันบนจอภาพแบ่งเป็นส่วน ๆ[41] เกฟเฟนได้รีบเร่งให้ออกวิดีโอเพื่อไม่ให้ยอดขายอัลบั้มแย่ลง แต่ก็ไม่สำเร็จ[42]
ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1996 วงออกทัวร์ทางตะวันออกไกลรวมถึงแสดงในออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และญี่ปุ่น[43] หลังจากนั้นไม่นานวงกลับมายังบ้านเกิด ลอสแอนเจลิส โดยแพทริก วิลสันและแมตต์ ชาร์ปได้ประชาสัมพันธ์ทางวิทยุในรายการ โมเดิร์นร็อกไลฟ์ เพื่อพยายามให้ยอดขายเข้าชาร์ตอัลบั้มในสหรัฐอเมริกา[43] หลังจากนั้นไม่กี่วัน ในวันที่ 1 พฤศจิกายน วีเซอร์ปล่อยรายชื่อทัวร์ในอเมริกาเหนือที่เวนทูราเทียเตอร์ที่เมืองเวนทูรา รัฐแคลิฟอร์เนีย[43] วันที่ 6 พฤศจิกายน วีเซอร์แสดงเพลงอะคุศติกที่โรงเรียนชอร์เครสต์ไฮสกูล ในซีแอตเทิล เนื่องจากมีการประกวดรางวัลที่ชนะโดยเด็กนักเรียน[42] มีหลายเพลงที่แสดงครั้งนี้ออกขายในปี ค.ศ. 1997 ในอีพีกูดไลฟ์[44] วีเซอร์ยังคงทัวร์ต่อไปจนถึงคริสต์มาส ค.ศ. 1996[45]
ฉบับดีลักซ์และเดโม
[แก้]เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2009 คาร์ล คอช เว็บมาสเตอร์ของเว็บไซต์วีเซอร์ เปิดเผยว่าวีเซอร์เตรียมจะออกอัลบั้ม พิงเคอร์ตัน ฉบับดีลักซ์[46] ต่อมา 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 2010 อัลบั้มที่มีการผลิตซ้ำนี้ได้เข้าชาร์ตที่อันดับ 6 ของชาร์ตบิลบอร์ดแคตาลอกอัลบั้มส์[47]
เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม ค.ศ. 2011 โควโมออกผลงานชุดเดโมชุดที่ 3 ของเขา ที่ชื่อ อะโลนทรี: เดอะพิงเคอร์ตันเยียส์ (Alone III: The Pinkerton Years) มีเพลงโดโมที่บันทึกเสียงระหว่างปี 1993 ถึง 1996 ขณะที่โควโมศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และกำลังเขียน พิงเคอร์ตัน และบางเพลงที่เกือบบรรจุอยู่ในงาน ซองส์ฟรอมเดอะแบล็กโฮล์ อัลบั้มนี้ออกขายพร้อมหนังสือ ตั้งชื่อว่า เดอะพิงเคอร์ตันไดอารีส์ (The Pinkerton Diaries) ที่รวบรวมงานเขียนของโควโมในช่วงที่เขียนเพลงอัลบั้มนี้[48]
การตอบรับ
[แก้]ผลคะแนน | |
---|---|
ที่มา | ค่าประเมิน |
เมทาคริติก | 100/100[58] |
คะแนนคำวิจารณ์ | |
ที่มา | ค่าประเมิน |
ออลมิวสิก | |
เอนเตอร์เทนเมนต์วีกลี | B[49] |
ลอสแอนเจลิสไทมส์ | [50] |
เมโลดีเมกเกอร์ | ทั้งบวกและลบ[51] |
เอ็นเอ็มอี | 7/10[52] |
พิตช์ฟอร์ก | 10/10[53] |
คิว | [54] |
โรลลิงสโตน | 1996[55] |
โรลลิงสโตน | 2004[56] |
สปิน | 7/10[57] |
ช่วงแรก
[แก้]อัลบั้ม พิงเคอร์ตัน ขึ้นอันดับสูงสุดอันดับ 19 บนชาร์ต บิลบอร์ด[59] ยอดการขายน้อยกว่าอัลบั้มก่อนหน้านี้อย่างมาก[60] คำวิจารณ์ในช่วงแรกมีทั้งด้านดีและด้านเสีย[61][62] เจฟฟ์ กอร์ดิเนียร์แห่ง เอนเตอร์เทนเมนต์วีกลี วิจารณ์ว่า วีเซอร์เลือกที่จะผลิตอัลบั้มเอง และได้ลืมเพลงจำพวกปาร์ตี้สังสรรค์สำหรับพวกกลัวการอยู่คนเดียว[49] ส่วนร็อบ โอคอนเนอร์ แห่ง โรลลิงสโตน เรียกผู้แต่งเพลงว่าทำตัวเหมือนเด็ก และบรรยายเพลง "ไทด์ออฟเซกซ์" (Tired of Sex) ว่า "ไม่มีจุดหมาย"[55] ส่วนผู้อ่านนิตยสาร โรลลิงสโตน ให้คะแนนอัลบั้มนี้เป็นอัลบั้มยอดแย่อันดับ 3 ของปี ค.ศ. 1996[63]
เมโลดีเมกเกอร์ ชื่นชมดนตรีอัลบั้ม พิงเคอร์ตัน แต่แนะนำให้ผู้ฟังว่า "อย่าสนใจเนื้อเพลง"[64] เอ็นเอ็มอี ชืนชมอัลบั้มนี้ เขียนไว้ว่า "ในขณะที่ผลของเสียงของ 'ผีเสื้อ' เศร้า ๆ ได้โบยบินอย่างกับดาวดวงใหญ่ ณ จุดนัดพบของชีวิตสัตว์ป่าที่ถูกคุ้มครอง พิงเคอร์ตัน ก็เหมิอนเป็นอัลบั้มที่เคลื่อนที่อย่างแท้จริง"[65] พิตช์ฟอร์กให้คะแนน 7.5 จาก 10 และเขียนว่า "พิงเคอร์ตัน อาจจะดูมากเกินไปสำหรับแฟนเพลงที่เสาะหางานที่ดูสะอาดและดนตรีที่ดูเข้าถึงง่าย แต่โปรดให้โอกาส เพราะอาจสร้างความประหลาดใจจากพวกต่อต้านวีเซอร์ก็ได้"[66]
โควโมรู้สึกลำบากใจกับกระแสตอบรับทั้งบวกและลบ ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1997 เขาเขียนว่า "นี่เป็นปีที่ยากสำหรับผม ไม่ใช่แค่โลกได้บอกมาว่า อัลบั้ม พิงเคอร์ตัน ไม่มีค่าอะไร แต่อัลบั้มปกสีน้ำเงินก็เช่นกัน มันเป็นแค่เรื่องบังเอิญ มันเป็นเพราะมิวสิกวิดีโอ บัดดีฮอลลี ผมเป็นนักแต่งเพลงที่แย่"[67] ในปี ค.ศ. 2001 เขาได้บอกกับ เอนเตอร์เทนเมนต์วีกลี ว่า "มันเป็นผลงานที่น่าเกลียด มันเป็นความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นต่อหน้าคนนับร้อยนับพันและยังคงเกิดขึ้นมากขึ้นและจะไม่ไปไหน มันเหมือนเราเมาในงานปาร์ตี้และแสดงความกล้าหาญต่อหน้าทุกคน แล้วรู้สึกดีเยี่ยม จากนั้นเมื่อเราตื่นในเช้าวันต่อมาก้พบว่าเราทำเรื่องโง่ ๆ ลงไป"[68][69]
ช่วงหลัง
[แก้]ทั้ง ๆ ที่อัลบั้มได้รับเสียงวิจารณ์ทั้งด้านบวกและลบ แต่จากยอดขายเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2009 ขายได้ 852,000 ชุดในสหรัฐอเมริกา[70] ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำ[71] ในหลายปีถัดมายังได้รับคำชื่นชมและมีกลุ่มผู้ชื่นชม ผ่านคำพูดปากต่อปากทางอินเทอร์เน็ต[72][73] หรือแม้กระทั่ง ถือเป็นอัลบั้มที่ดีที่สุดจัดอันดับโดยแฟนเพลงและนักวิจารณ์[74][75]
ในปี ค.ศ. 2002 ผู้อ่านจาก โรลลิงสโตน ลงคะแนนให้อัลบั้ม พิงเคอร์ตัน เป็นอัลบั้มยอดเยี่ยมที่สุดตลอดกาลในอันดับ 16[76] ในปี ค.ศ. 2004 ได้วิจารณ์ครั้งใหม่ ให้ 5 ดาว (จาก 5 ดาว) และลงอัลบั้มนี้อยู่ใน "หอเกียรติยศโรลลิงสโตน"[56] ในปี ค.ศ. 2005 สปิน ให้อัลบั้มนี้อยู่อันดับ 61 ของรายชื่อ 100 อัลบั้มที่ดีที่สุด จากปี ค.ศ. 1985 ถึง 2005[77] ในปี ค.ศ. 2003 พิตช์ฟอร์ก ให้อัลบั้มนี้อยู่ลำดับ 53 ของ 100 สุดยอดอัลบั้มในคริสต์ทศวรรษ 1990 และได้ให้ระดับอัลบั้มว่า สมบูรณ์แบบ[78] และในปี ค.ศ. 2007 ดราวด์อินซาวด์ ชื่นชมว่า "เป็นอัลบั้มที่รักอย่างไม่มีเงื่อนไข และเป็นสิ่งสะสมที่ยอดเยี่ยมแห่งอารมณ์ที่สับสนในจักรวาล เท่าที่เคยมีมา!"[79]
นิตยสาร กีตาร์เวิลด์ ให้อยู่ในรายชื่ออันดับ 76 ของ "100 อัลบั้มกีตาร์ยอดเยี่ยมที่สุดตลอดกาล"[80] เดอะมูฟเมนต์ จากนิวซีแลนด์ ให้อยู่อันดับ 12 ของ "101 อัลบั้มที่ดีที่สุดในคริสต์ทศวรรษ 1990"[81] และ พิวร์ป็อป จากเม็กซิโก ให้อยู่อันดับ 21 ของรายชื่อ "50 อัลบั้มที่ดีที่สุดในคริสต์ทศวรรษ 1990"[82] และได้คะแนนสมบูรณ์แบบจากทั้งออลมิวสิก และ ไทนีมิกซ์เทปส์ โดยสื่อหลังวิจารณ์ว่า "หนึ่งในอัลบั้มที่ดีที่สุดในศตวรรษที่ 20"[19] จากการออกใหม่ในรูปแบบดีลักซ์ในปี ค.ศ. 2010 ได้คะแนนเต็ม 100 จากเว็บไซต์เมทาคริติก[58]
ในปี ค.ศ. 2008 โควโมได้กลับมาพูดถึงอัลบั้มนี้อีกครั้งว่า "อัลบั้ม พิงเคอร์ตัน นั้นยอดเยี่ยม หยั่งลึก กล้าหาญ และเป็นของจริง การได้ฟัง ผมสามารถบอกได้ว่า ผมเข้าถึงมันเมื่อผมเขียนและบันทึกเสียงเพลงพวกนี้"[83] ในปี ค.ศ. 2010 ไบรอัน เบลล์ บอก ดิอาควาเรียนวีกลีว่า "พิงเคอร์ตัน นำชีวิตของมันได้อย่างแท้จริงและประสบความสำเร็จมากขึ้น จนได้รับการยอมรับมากขึ้น ในฐานะศิลปินคนหนึ่ง คุณแค่ทำในสิ่งที่คุณเชื่อ ณ เวลานั้น ไม่ว่ามันจะได้รับการยอมรับหรือไม่ คุณแค่ทำมันต่อไป"[84] ในปี ค.ศ. 2015 หลังจากออกขายใหม่และหลังทัวร์ "เมโมรีส์" ที่วีเซอร์แสดงเพลงจากอัลบั้มชุดเปิดตัวและ พิงเคอร์ตัน ทั้งหมด โควโมกล่าวว่า
ประสบการณ์จากการเรียนรู้เพลงเหล่านี้อีกครั้ง ได้ร้องเพลงเหล่านี้ในทุกคืน ได้ทำงานร่วมกับพวกเขา และได้อยู่ในงานเล็ก ๆ กับแฟนพันธุ์แท้ของวีเซอร์ 1,000 คน และได้ยินพวกเขาร้องในทุกเพลง ได้เห็นพวกเขาตีกลองกลางอากาศ มันเป็นประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมและแตกต่างจากที่เราเคยทำมาในหลายปีที่ผ่านมา มันเป็นความรู้สึกที่ยอดเยี่ยมจากแฟนเพลง สำหรับอัลบั้มนี้ที่ค่อนข้างเป็นอัลบั้มส่วนตัวสำหรับผม และมันค่อนข้างเป็นปีที่ค่อนข้างเจ็บปวดในตอนนั้น[8]
อัลบั้ม พิงเคอร์ตัน มีอิทธิพลต่อศิลปินอย่าง แมนเชสเตอร์ออร์เครสตา,[85] เยลโลว์คาร์ด, เซฟส์เดอะเดย์, เทกกิงแบ็กซันเดย์, ดิอาทาริส, เทิร์สเดย์, เดอะยูสด์, เดอะโบรเบกส์, แดชบอร์ดคอนเฟชชันนอล, เดอะพรอมิสริง,[86] เดอะลองกูดบาย และ เรย โคลิชัน[87][2][88]
รางวัล
[แก้]พิงเคอร์ตัน อยู่ในรายชื่ออัลบั้มที่ดีที่สุดจากหลายสื่อ ได้แก่[89]
สื่อ | ประเทศ | รางวัล | ปี | อันดับ |
---|---|---|---|---|
แมกเนต | สหรัฐอเมริกา | 60 อัลบั้มที่ดีที่สุดระหว่างปี ค.ศ. 1993–2003[90] | 2003 | #17 |
สปิน | 100 อัลบั้มยอดเยี่ยม, 1985–2005[77] | 2005 | #61 | |
The Movement | นิวซีแลนด์ | 101 อัลบั้มที่ดีที่สุดในคริสต์ทศวรรษ 1990[81] | 2004 | #12 |
พิตช์ฟอร์กมีเดีย | สหรัฐอเมริกา | 100 อัลบั้มที่ยอดเยี่ยมที่สุดในคริสต์ทศวรรษ 1990[78] | 2003 | #53 |
กีตาร์เวิลด์ | 100 อัลบั้มกีตาร์ที่ดีที่สุดตลอดกาล[80] | 2005 | #76 | |
โรลลิงสโตน | 100 อัลบั้มยอดเยี่ยมที่สุดในคริสต์ทศวรรษ 1990 | 2010 | #48 | |
ออลเทอร์เนทิฟเพรส | 1 ใน 10 อัลบั้มสำคัญใน ค.ศ. 1996 | 2006 |
รายชื่อเพลง
[แก้]เพลงทั้งหมดประพันธ์โดยริเวอร์ โควโม ยกเว้นตามหมายเหตุ
ลำดับ | ชื่อเพลง | ยาว |
---|---|---|
1. | "Tired of Sex" | 3:01 |
2. | "Getchoo" | 2:52 |
3. | "No Other One" | 3:01 |
4. | "Why Bother?" | 2:08 |
5. | "Across the Sea" | 4:32 |
6. | "The Good Life" | 4:17 |
7. | "El Scorcho" | 4:03 |
8. | "Pink Triangle" | 3:58 |
9. | "Falling for You" | 3:47 |
10. | "Butterfly" | 2:53 |
ความยาวทั้งหมด: | 34:36 |
ฉบับดีลักซ์
[แก้]ลำดับ | ชื่อเพลง | ยาว |
---|---|---|
11. | "You Gave Your Love to Me Softly" | 1:57 |
12. | "Devotion" | 3:11 |
13. | "The Good Life" (radio remix) | 4:08 |
14. | "Waiting on You" | 4:13 |
15. | "I Just Threw out the Love of My Dreams" | 2:39 |
16. | "The Good Life" (live and acoustic) | 4:40 |
17. | "Pink Triangle" (radio remix) | 4:02 |
18. | "I Swear It's True" | 3:19 |
19. | "Pink Triangle" (live and acoustic) | 4:18 |
20. | "Interview – 107.7 The End – Blue vs. Pinkerton" (unlisted track) | 1:32 |
ลำดับ | ชื่อเพลง | ประพันธ์ | ยาว |
---|---|---|---|
1. | "You Won't Get With Me Tonight" | 3:29 | |
2. | "The Good Life" (live at Y100 Sonic Session) | 4:37 | |
3. | "El Scorcho" (live at Y100 Sonic Session) | 4:07 | |
4. | "Pink Triangle" (live at Y100 Sonic Session) | 4:10 | |
5. | "Why Bother?" (live at Reading Festival 1996) | 2:18 | |
6. | "El Scorcho" (live at Reading Festival 1996) | 4:09 | |
7. | "Pink Triangle" (live at Reading Festival 1996) | 4:52 | |
8. | "The Good Life" (live at X96) | 4:13 | |
9. | "El Scorcho" (live and acoustic) | 4:26 | |
10. | "Across the Sea Piano Noodles" | 0:38 | |
11. | "Butterfly" (alternate take) | 2:48 | |
12. | "Long Time Sunshine" | 4:17 | |
13. | "Getting Up and Leaving" | โควโม, แพตริก วิลสัน | 3:28 |
14. | "Tired of Sex" (tracking rough) | 2:58 | |
15. | "Getchoo" (tracking rough) | 2:57 | |
16. | "Tragic Girl" | 5:26 |
ยอดขายและอันดับ
[แก้]อัลบั้ม
[แก้]ชาร์ต | อันดับสูงสุด |
---|---|
สหรัฐอเมริกา/ บิลบอร์ด 200 | 19[59] |
ออสเตรเลีย | 41[92] |
แคนาดา/ อาร์พีเอ็ม อัลบั้มชาร์ต | 15[93] |
นิวซีแลนด์ | 11[94] |
นอร์เวย์ | 18[95] |
ฟินแลนด์ | 35[96] |
สวีเดน | 4[97] |
ซิงเกิ้ล
[แก้]ปี | เพลง | อันดับสูงสุด | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ยูเอสมอเดิร์นร็อก [98] |
สวีเดน [99] |
ฟินแลนด์ [100] | |||||||
1996 | "El Scorcho" | 19 | 10 | 18 | |||||
1996 | "The Good Life" | 32 | – | – | |||||
1997 | "Pink Triangle" | – | – | – |
คณะผู้สร้างอัลบั้ม
[แก้]- ข้อมูลทั้งหมดมาจากหนังสือแนบจากอัลบั้ม[33]
- วีเซอร์
- ริเวอส์ โควโม – กีตาร์, ร้อง, คีย์บอร์ด, ไซโลโฟน
- แพทริก วิลสัน – กลอง
- ไบรอัน เบลล์ – กีตาร์, ร้องประสาน
- แมตต์ ชาร์ป – เบส, ร้องประสาน
- คาร์ล คอช – เครืองเคาะในเพลง "Butterfly"
- ผลิต
- โจ บาร์เรซี– วิศวกร
- บิลลี โบเวอส์– วิศวกร
- จิม แคมเปญ – วิศวกร
- เดวิด โดมิงเกซ – วิศวกร
- เกรก ฟิเดลแมน – วิศวกร
- เดฟ ฟริดแมนน์ – วิศวกร
- ฮิโระชิเงะ – ปก
- ร็อบ เจคอปส์ – วิศวกร
- สไปก์ จอนซ์ – ช่างภาพ
- แอดัม แคสเปอร์ – วิศวกร
- คาร์ล คอช – เว็บมาสเตอร์
- จอร์จ มาริโน – มาสเตอริง
- แดน แม็กลอลิน – วิศวกร
- ชอว์น เอเวอเรตต์ – วิศวกร, ผสมเสียง
- คลิฟ นอร์เรลล์ – วิศวกร
- แจ็ก โจเซฟ พุยก์ – วิศวกร, ผสมเสียง
- จิม รอนดิเนลลี – วิศวกร
- แจเน็ต วอลส์บอร์น – ผู้ช่วยฝ่ายศิลป์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Vozick-Levinson, Simon (November 3, 2010). "Pinkerton: Deluxe Edition (2010)". EW.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-07. สืบค้นเมื่อ 2011-04-06.
- ↑ 2.0 2.1 Montgomery, James. "Weezer Are The Most Important Band Of The Last 10 Years". MTV.com. MTV Networks. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-08. สืบค้นเมื่อ 2011-04-06.
- ↑ Luerssen 2004, p. 137.
- ↑ 4.0 4.1 "Weezer Record History Page 7". weezer.com. March 2006. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-15. สืบค้นเมื่อ June 4, 2013.
- ↑ Luerssen 2004, p. 139.
- ↑ Luerssen 2004, pp. 148–149.
- ↑ Cuomo 2011, p. 41.
- ↑ 8.0 8.1 Cohen, Ian (9 February 2015). "Rivers Cuomo". Pitchfork. สืบค้นเมื่อ 15 February 2015.
- ↑ Pinkerton Deluxe liner notes
- ↑ 10.0 10.1 Luerssen 2004, p. 158.
- ↑ 11.0 11.1 Luerssen 2004, p. 157.
- ↑ Luerssen 2004, p. 191.
- ↑ Luerssen 2004, p. 190.
- ↑ 14.0 14.1 14.2 14.3 Luerssen 2004, p. 192.
- ↑ 15.0 15.1 Luerssen 2004, p. 159.
- ↑ 16.0 16.1 Luerssen 2004, p. 176.
- ↑ Luerssen 2004, p. 187.
- ↑ Luerssen 2004, p. 189.
- ↑ 19.0 19.1 19.2 "Tiny Mix Tapes Reviews: Weezer – Pinkerton". Tiny Mix Tapes. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-18. สืบค้นเมื่อ June 4, 2013.
- ↑ 20.0 20.1 20.2 Luerssen 2004, p. 202.
- ↑ Luerssen 2004, p. 193.
- ↑ 22.0 22.1 Luerssen 2004, p. 194.
- ↑ 23.0 23.1 23.2 23.3 23.4 Luerssen 2004, p. 195.
- ↑ 24.0 24.1 24.2 24.3 Luerssen 2004, p. 196.
- ↑ Edwars, Gavin. Rivers' Edge. Details Magazine, 1997, Volume 15, number nine.
- ↑ Luerssen 2004, p. 105.
- ↑ 27.0 27.1 Latimer, Lori. "Weezer: Pinkerton ---Ink Blot Magazine". inkblotmagazine.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ June 4, 2013.
- ↑ 28.0 28.1 Cuomo 2011.
- ↑ "Reviews Madame Butterfly". japanreview.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-30. สืบค้นเมื่อ June 4, 2013.
- ↑ Cuomo 2011, p. 158.
- ↑ ":::The =W= Story:::". home.pacbell.net. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-22. สืบค้นเมื่อ June 4, 2013.
- ↑ "Hiroshige / Evening Snow at Kambara (Kambara yoru no yuki), no. 16 from the Series Fifty-Three Stations of the Tokaido (Tokaido gosantsugi no uchi) / 1832 – 1833". daviddrumsey.com. สืบค้นเมื่อ June 4, 2013.
- ↑ 33.0 33.1 33.2 33.3 Pinkerton. Weezer. DGC Records. 1996.
{{cite AV media notes}}
: CS1 maint: others (ลิงก์) - ↑ "Howard Stern.com". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-24. สืบค้นเมื่อ June 4, 2013.
- ↑ Luerssen 2004, p. 215.
- ↑ Luerssen 2004, p. 200.
- ↑ Luerssen 2004, p. 203.
- ↑ Andrade, Dereck (September 24, 1996). "Pinkerton obtains temporary restraining order against major U.S. record company; suit alleges trademark infringement by Los Angeles-based Geffen Records". Business Wire. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-20. สืบค้นเมื่อ 2007-09-24.
- ↑ Luerssen 2004, p. 204.
- ↑ 40.0 40.1 Luerssen 2004, p. 205.
- ↑ 41.0 41.1 Luerssen 2004, p. 221.
- ↑ 42.0 42.1 Luerssen 2004, p. 222.
- ↑ 43.0 43.1 43.2 Luerssen 2004, p. 219.
- ↑ "Pinkerton era releases (1996–1999)". Weezer. com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-03-15. สืบค้นเมื่อ 2007-09-24.
- ↑ Luerssen 2004, p. 223.
- ↑ Koch, Karl (2009-07-17). "2009/07/17 You Shoulda Seen It In Color". Weezer.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-24. สืบค้นเมื่อ 2010-01-27.
- ↑ "Pinkerton – Weezer". Billboard. สืบค้นเมื่อ 2011-01-10.
- ↑ Pelly, Jenn (November 11, 2011). "Rivers Cuomo Releasing Pinkerton Diaries Book and Demos Comp Alone III". Pitchfork Media. สืบค้นเมื่อ July 13, 2014.
- ↑ 49.0 49.1 Gordinier, Jeff (September 27, 1996). "Sugar Bare: Weezer's 'Pinkerton' Could Use The Sweet Relief of Their Debut". Entertainment Weekly. No. 346. p. 78. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-06. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2550.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Pinkerton Review". Los Angeles Times. November 6, 1996. p. 4, Calendar F: Entertainment.
- ↑ "Pinkerton Review". Melody Maker. October 5, 1996. p. 78.
- ↑ "Pinkerton Review". NME. September 28, 1996. p. 57.
- ↑ "Pinkerton [deluxe edition] / Death to False Metal". Pitchfork.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-05. สืบค้นเมื่อ 2016-04-01.
- ↑ "Pinkerton Review". Q. November 1996. p. 138.
- ↑ 55.0 55.1 O'Connor, Rob (October 31, 1996). Fricke, David (บ.ก.). "Recordings: Pinkerton Weezer". Rolling Stone. No. 746. p. 66. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-01-06. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2548.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) Posted on February 2, 1998. - ↑ 56.0 56.1 Edwards, Gavin (December 9, 2004). "The Rolling Stone Hall of Fame: Weezer Pinkerton". Rolling Stone. No. 963. p. 185. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-10-05. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2549.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Berrett, Jesse (November 1996). "Spins Platter du Jour: Weezer Pinkerton". Spin. 12 (8): 120–121. สืบค้นเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2552.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 58.0 58.1 "Weezer: Pinkerton (Deluxe Edition) (2010): Reviews". Metacritic. สืบค้นเมื่อ 2010-11-11.
- ↑ 59.0 59.1 "Billboard 200". Billboard. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 23, 2007. สืบค้นเมื่อ 2007-09-19.
- ↑ "For The Statistically Minded". Glorious Noise. สืบค้นเมื่อ 2007-02-06.
- ↑ "Pinkerton". Tower Records. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-24. สืบค้นเมื่อ 2007-09-25.
- ↑ Luerssen 2004, p. 206.
- ↑ Luerssen 2004, p. 228.
- ↑ Melody Maker October 1996, p.52"
- ↑ NME September 1996, p.57"
- ↑ Schreiber, Ryan. "Review: Pinkerton". Pitchfork Media. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-07. สืบค้นเมื่อ 9 October 2009.
- ↑ Cuomo 2011, p. 232.
- ↑ Brunner, Rob (May 25, 2001). "Older & Weezer". Entertainment Weekly. No. 597. pp. 40–43. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-22. สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2554.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Luerssen 2004, p. 348.
- ↑ Ayers, Michael D. (2009-08-21). "Weezer Filled With 'Raditude' This Fall". Billboard. สืบค้นเมื่อ 2010-01-27.
- ↑ "Gold & Platinum". RIAA. สืบค้นเมื่อ 2007-03-08.
- ↑ Ramirez, Ramon. "5 more college rock albums for your inner indie snob". The Daily Texan. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-23. สืบค้นเมื่อ 2007-10-01.
- ↑ Luerssen 2004, p. 307.
- ↑ "Pinkerton by Weezer: Reviews and Ratings". Rate Your Music. สืบค้นเมื่อ 2007-10-01.
- ↑ Donohue, Mark. "Nude as the News: Weezer: Pinkerton". Nude as the News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-11-15. สืบค้นเมื่อ 2007-10-01.
- ↑ "2002 Rolling Stone Readers' 100". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-18. สืบค้นเมื่อ 2007-03-08.
- ↑ 77.0 77.1 "100 Greatest Albums, 1985-2005". Spin. 21 (7): 87. July 2005. สืบค้นเมื่อ 2007-02-06.
- ↑ 78.0 78.1 Mitchum, Rob (November 17, 2003). "Top 100 Albums of the 1990s: 053: Weezer Pinkerton". Pitchfork. Pitchfork Media. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-28. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2550.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Adams, Sean. "Drowned in Sound — Reviews — Weezer — Pinkerton". Drowned in Sound. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-08. สืบค้นเมื่อ 2007-09-25.
- ↑ 80.0 80.1 "Top 100 Guitar Albums of All-Time". Guitar World. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-23. สืบค้นเมื่อ 2007-03-08.
- ↑ 81.0 81.1 "The 101 Best Albums of the 90s". The Movement. สืบค้นเมื่อ 2007-02-06.
- ↑ "The 50 Best Albums of the 90s". Pure Pop. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-23. สืบค้นเมื่อ 2007-09-25.
- ↑ Crock, Jason (January 28, 2008). "Interview: Rivers Cuomo". pitchfork.com. Pitchfork Media. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-18. สืบค้นเมื่อ 2008-02-01.
- ↑ "Interview with Weezer: They Want You To | The Aquarian Weekly". Theaquarian.com. 2010-04-29. สืบค้นเมื่อ 2011-08-16.
- ↑ "Manchester Orchestra". First Avenue. สืบค้นเมื่อ 2012-12-03.
- ↑ Tedder, Michael. "Revenge of the Nerds". Pitch. สืบค้นเมื่อ 2016-04-05.
- ↑ Luerssen 2004, p. 210.
- ↑ Luerssen 2004, p. 349.
- ↑ "List of Pinkerton Accolades". Acclaimed Music. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-23. สืบค้นเมื่อ 2007-09-19.
- ↑ "Top 60 Albums 1993–2003". Magnet. สืบค้นเมื่อ 2007-02-06.
- ↑ 91.0 91.1 Paul, Aubin (September 27, 2010). "Weezer's deluxe "Pinkerton" reissue detailed". Punknews.org. สืบค้นเมื่อ September 27, 2010.
- ↑ "Austria album chart archives". austriancharts.at. สืบค้นเมื่อ 2007-09-19.
- ↑ "Top Albums/CDs – Volume 64, No. 8, October 07 1996". RPM. สืบค้นเมื่อ 2010-09-30.
- ↑ "New Zealand album chart archives". charts.org.nz. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-05. สืบค้นเมื่อ 2007-09-19.
- ↑ "Norway Chart Archives". norwegiancharts.com. สืบค้นเมื่อ 2007-09-19.
- ↑ "Finnish Chart Archives". finnishcharts.com. สืบค้นเมื่อ 2007-09-19.
- ↑ "Sweden Chart Archives". swedishcharts.com. สืบค้นเมื่อ 2007-09-19.
- ↑ "Weezer Artist Chart History". Billboard. สืบค้นเมื่อ 2007-09-19.
- ↑ "Swedish album chart archives". hitparad.se. สืบค้นเมื่อ 2007-09-19.
- ↑ "Finland Charts". finnishcharts.com. สืบค้นเมื่อ 2007-09-19.
- บรรณานุกรม
- Luerssen, John D. (2004). Rivers' Edge: The Weezer Story. ECW Press. ISBN 1-55022-619-3.
{{cite book}}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help) - Cuomo, Rivers (2011). The Pinkerton Diaries.
{{cite book}}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help)