เตยทะเล
เตยทะเล | |
---|---|
เติบโตบนภูเขาในเกาะโอวาฮู รัฐฮาวาย | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | พืช Plantae |
เคลด: | พืชมีท่อลำเลียง Tracheophyta |
เคลด: | พืชดอก Angiosperms |
เคลด: | พืชใบเลี้ยงเดี่ยว Monocots |
อันดับ: | อันดับเตยทะเล |
วงศ์: | วงศ์เตยทะเล |
สกุล: | สกุลเตยทะเล Parkinson ex Du Roi[2] |
สปีชีส์: | Pandanus tectorius |
ชื่อทวินาม | |
Pandanus tectorius Parkinson ex Du Roi[2] | |
ชื่อพ้อง[2] | |
|
เตยทะเล ชื่อวิทยาศาสตร์: Pandanus tectorius หรือ Pandanus odoratissimus ชื่ออื่น ๆ คือ ลำเจียก ปะหนัน ปะแนะ เตยเล Hala (ภาษาฮาวาย), Bacua (ภาษาสเปน), และ Vacquois (ภาษาฝรั่งเศส) เป็นพืชท้องถิ่นในไทย มาเลเซีย ออสเตรเลียตะวันออก และหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก เป็นไม้ยืนต้น สูง 4-8 เมตร[3] มีหนามสั้น ๆ ทู่ ๆ ที่ผิวของลำต้น ที่โคนต้นมีรากค้ำจุน ใบเดี่ยว ผิวใบเรียบเป็นมัน ดอกเป็นดอกช่อ แยกเพศแยกต้น ดอกตัวผู้เป็นช่อดอกยาว 30 - 60 ซม. มีใบประดับที่ช่อดอกย่อย สีขาว กลิ่นหอม ดอกตัวเมียเป็นช่อออกที่ปลาย เกาะกันคล้ายผล เกือบกลม
ผลเตยทะเลเป็นผลกลุ่ม ผลย่อยยึดกันแน่นจนมองเหมือนผลเดี่ยว คล้ายผลสับปะรด[3] พบตามบริเวณชายหาดหรือป่าชายเลน ใบใช้ทำเครื่องจักสาน โดยเฉพาะชนพื้นเมืองในมหาสมุทรแปซิฟิก[4] รากเป็นยา แก้ไข้ ขับปัสสาวะ รากอากาศเป็นยาแก้หนองในและนิ่ว สารสกัดหยาบจากลำต้นใต้ดินสามารถยับยั้งการเจริญของไมยราบยักษ์ ถั่วผี ถั่วเขียวผิวดำ ผักกาดหอมได้[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Thomson, L.; Thaman, R.; Guarino, L.; Taylor, M.; Elevitch, C. (2019). "Pandanus tectorius". IUCN Red List of Threatened Species. 2019: e.T62335A135987404. doi:10.2305/IUCN.UK.2019-3.RLTS.T62335A135987404.en. สืบค้นเมื่อ 19 November 2021.
- ↑ 2.0 2.1 "Pandanus tectorius". World Checklist of Selected Plant Families (WCSP). Royal Botanic Gardens, Kew. สืบค้นเมื่อ 17 Sep 2016 – โดยทาง The Plant List.
- ↑ 3.0 3.1 Thomson, Lex A.J.; Lois Englberger; Luigi Guarino; R.R. Thaman; Craig R. Elevitch (April 2006). "Pandanus tectorius (pandanus)" (PDF). The Traditional Tree Initiative.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ Kubota, Gary (26 June 2007). "Funds help hala trees strengthen isle roots". Honolulu Star-Bulletin.
- ↑ ศานิต สวัสดิกาญจน์. 2555. การสกัดสารจากลำต้นใต้ดินของลำเจียกและผลของสารสกัดต่อการเจริญของต้นกล้าของพืชทดสอบ 4 ชนิด. เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 50. 31 ม.ค.-2 ก.พ. 2555 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หน้า 356-366
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Pandanus tectorius from Foster Garden, Honolulu, Oahu Island, Hawai'i World plants, visual gallery University of Murcia. Spain
- NSW Department of Environment & Climate Change [1]
- Australian Native Plants - John W. Wrigley & Murray Fagg ISBN 1-876334-90-8
- Christenhusz, M.J.M. (2009). Typification of ornamental plants: Pandanus tectorius (Pandanaceae). Phytotaxa 2: 51–52.
- The World's Best Photos of puhala, Flickr Hive Mind, flickrhivemind.net, related pictures, also the fruits partially dismantled
- มัณฑนา นวลเจริญ และคณะ. 2552. สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ ตำบลเขาคราม อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่. กรุงเทพฯ. สำนักปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ. หน้า 45