เนเวอร์ไมนด์
เนเวอร์ไมนด์ | ||||
---|---|---|---|---|
สตูดิโออัลบั้มโดย | ||||
วางตลาด | 24 กันยายน ค.ศ. 1991 | |||
บันทึกเสียง | 2–28 พฤษภาคม ค.ศ. 1991[1][2] 1–9 มิถุนายน ค.ศ. 1991 (ผสมเสียง)[3] เมษายน ค.ศ. 1990 ("พอลลี") | |||
สตูดิโอ | ||||
แนวเพลง | ||||
ความยาว | 42:36 (49:07 รวมเพลงซ่อน) | |||
ค่ายเพลง | ดีจีซี | |||
โปรดิวเซอร์ |
| |||
ลำดับอัลบั้มของเนอร์วานา | ||||
| ||||
ซิงเกิลจากเนเวอร์ไมนด์ | ||||
|
เนเวอร์ไมนด์ (อังกฤษ: Nevermind) เป็นสตูดิโออัลบั้มชุดที่สองของวงร็อกอเมริกัน เนอร์วาน่า ออกจำหน่ายใน 24 กันยายน ค.ศ. 1991 ผลิตโดย Butch Vig เนเวอร์ไมนด์ ออกจำหน่ายในค่ายดีจีซีเรเคิดส์ นักร้องนำ เคิร์ต โคเบน ที่ค้นหาแนวดนตรีที่นอกเหนือไปจากขอบเขตของกรันจ์แบบซีแอตเทิล โดยพวกเขาได้รับอิทธิพลจากวงดนตรีอย่างพิกซีส์ และใช้แนวเพลงในแบบพลังดัง/ค่อย ของพวกเขา
พวกเขาไม่ได้คาดหวังกับความประสบความสำเร็จด้านยอดขายมาก ทั้งจากวงและค่ายเพลง แต่ เนเวอร์ไมนด์ ก็สร้างความประหลาดใจด้วยความสำเร็จในปลายปี ค.ศ. 1991 เพราะเหตุจากซิงเกิลแรกที่โด่งดังอย่าง "สเมลส์ไลก์ทีนสปิริต" และในเดือนมกราคม 1992 อัลบั้มนี้ขึ้นอันดับ 1 บนชาร์ตบิลบอร์ดแทนที่อัลบั้มของไมเคิล แจ็กสัน ชุด เดนเจอรัส และอาร์ไอเอเอยืนยันยอดขายแผ่นเสียงทองคำขาว 10 แผ่น (10 ล้านชุด) นอกจากนี้ เนเวอร์ไมนด์ ยังทำให้กระแสของอัลเทอร์เนทีฟร็อกกว้างขวางขึ้นสู่ผู้ฟัง นักวิจารณ์ต่างยกย่องว่าเป็น 1 ในอัลบั้มร็อกที่ดีที่สุดตลอดกาล
รายชื่อเพลง
[แก้]เนื้อเพลงทั้งหมดประพันธ์โดยเคิร์ต โคเบน[note 1] และเพลงทั้งหมดประพันธ์ทำนองโดยโคเบน, ยกเว้นเพลงที่ 1 และ 13 ประพันธ์ร่วมกับ คริสต์ โนโวเซลิชและเดฟ โกรล[note 2]
ลำดับ | ชื่อเพลง | ยาว |
---|---|---|
1. | "สเมลส์ไลก์ทีนสปิริต" | 5:01 |
2. | "อินบลูม" | 4:14 |
3. | "คัมแอสยูอาร์" | 3:39 |
4. | "บรีด" | 3:03 |
5. | "ลิเทียม" | 4:17 |
6. | "พอลลี" | 2:57 |
7. | "เทอร์ริทอเรียลพิสซิงส์" ([note 3]) | 2:22 |
8. | "เดรนยู" | 3:43 |
9. | "เลาจ์แอกต์" | 2:36 |
10. | "สเตย์อเวย์" | 3:32 |
11. | "ออนอะเพลน" | 3:16 |
12. | "ซัมทิงอินเดอะเวย์" | 3:52 |
13. | "เอนด์เลสส์, เนทเลสส์" (เพลงซ่อน[note 4]) | 6:43 |
ความยาวทั้งหมด: | 49:07 |
หมายเหตุ
- ↑ มาร์ค ลาเนแกน อดีตนักร้องนำวง สกรีมมิงทรีส์ อ้างว่าเขาได้ประพันธ์เนื้อร้องโดยไม่ได้รับการลงเครดิตให้กับเพลง "ซัมทิงอินเดอะเวย์"[4]
- ↑ เพลงทั้งหมดในอัลบั้มที่วางจำหน่ายครั้งแรก ให้เครดิตคือเนอร์วานา แม้ว่าอัลบั้มที่วางจำหน่ายในภายหลังจะระบุไว้เป็นอย่างอื่น
- ↑ อินโทรของ "เทอร์ริทอเรียลพิสซิงส์" มี คริสต์ โนโวเซลิช ร้องเพลงคอรัสของเพลง "เก็ตทูเกเทอร์" โดยวง เดอะยังบลัดส์ ที่ประพันธ์โดย เชต พาวเวอร์ส อย่างประชดประชัน[5]
- ↑ โคเบนไม่พอใจอย่างมากเมื่อพบว่าเพลง "เอนด์เลสส์, เนทเลสส์" ที่ไม่ได้รวมอยู่ในแผ่นซีดีชุดแรก จากนั้นเขาจึงเรียกร้องให้มีการนำเพลงนี้มาใส่ไว้ในแผ่นซีดีชุดถัดไป โดยเพลงดังกล่าวปรากฏอยู่ในแผ่นซีดีชุดต่อมา หลังจากผ่านไป 10 นาทีที่ไม่มีเสียงใด ๆ เลยหลังจากเพลง "ซัมทิงอินเดอะเวย์" ทำให้เพลงที่ 12 มีความยาวทั้งหมด 20:35 นาที อย่างไรก็ตาม เพลงนี้ไม่ได้รวมอยู่ในแผ่นไวนิล
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Live Nirvana | Sessions History | Studio Sessions | May 2–28, 1991 - Sound City Studios, Van Nuys & Devonshire Studios, Burbank, CA, US". Livenirvana.com. สืบค้นเมื่อ May 25, 2023.
- ↑ "This Day in Music Spotlight: Nirvana Begins Recording 'Nevermind'". .gibson.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ เมษายน 7, 2014. สืบค้นเมื่อ เมษายน 5, 2014.
- ↑ Borzillo-Vrenna, Carrie (2003). Nirvana - The Day to Day Illustrated Journals (1st ed.). Barnes & Noble. p. 71. ISBN 0-7607-4893-4.
- ↑ Prato, Greg (15 February 2023). Lanegan. pp. 182–183.
NICK OLIVERI: Mark said he wrote some lyrics on "Something in the Way" with Kurt on Nevermind. But Kurt had played on some of Mark’s solo stuff, The Winding Sheet. So, instead of getting paid, they just did this thing where, "Hey man, I added a lyric on your song and you added a lyric on my song. Let’s just call it even. Whatever happens, happens." Little did Mark know, if he would have had publishing on "Something in the Way" on Nevermind, he would have had a lot of money. I remember him kicking himself in the butt a little bit about that – "If I had that 'Something in the Way' publishing…
- ↑ Golsen, Tyler (August 1, 2022). "The Nirvana song that references a hippie classic". Far Out. Retrieved March 11, 2023.