เนปาลแอร์ไลน์
| |||||||
ก่อตั้ง | ค.ศ. 1958 | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
AOC # | 003/2000 | ||||||
ท่าหลัก | กาฐมาณฑุ | ||||||
ท่ารอง | พิรัตนคร เนปาลกันจ์ โปขรา | ||||||
เมืองสำคัญ | กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ เดลี | ||||||
ขนาดฝูงบิน | 6 | ||||||
จุดหมาย | 36 | ||||||
บริษัทแม่ | รัฐบาลเนปาล | ||||||
สำนักงานใหญ่ | กาฐมาณฑุ, ประเทศเนปาล | ||||||
บุคลากรหลัก | Ubaraj Adhikari (ประธาน)[1] Dim Prasad Poudel (CMO)[2] | ||||||
พนักงาน | 1,400 คน | ||||||
เว็บไซต์ | www |
เนปาลแอร์ไลน์ (เนปาล: नेपाल वायुसेवा निगम, อักษรโรมัน: Nepāl Vāyusevā Nigam, แปลตรงตัว 'บริษัท การบินเนปาล จำกัด') หรือชื่อเดิม รอยัลเนปาลแอร์ไลน์ เป็นสายการบินประจำชาติของประเทศเนปาล มีสำนักงานใหญ่ในกรุงกาฐมาณฑุ[3][4] มีฐานการบินหลักอยู่ที่ ท่าอากาศยานนานาชาติตริภูวัน ชานกรุงกาฐมาณฑุ ก่อตั้งในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1958 ภายใต้ชื่อ รอยัลเนปาลแอร์ไลน์ วันเดียวกันกับที่การบินไทยเปิดเที่ยวบินมายังเนปาลครั้งแรก เครื่องบินลำแรกคือดักลาส ดีซี-3 ถูกใช้เป็นเที่ยวบินภายในประเทศ และเที่ยวบินไปอินเดีย ส่วนเครื่องบินไอพ่นลำแรกคือโบอิง 727 เริ่มต้นในงานในปี ค.ศ. 1972 ต่อมาปี ค.ศ. 2004 ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น เนปาลแอร์ไลน์ สถิติเดือนเมษายน ค.ศ. 2014 สายการบินมีเครื่องบิน 7 ลำ และยังได้แอร์บัส เอ 320-200 ลำใหม่ มีจุดหมายปลาย 39 แห่ง (ต่างประเทศ 5 แห่ง) เนปาลแอร์ไลน์ เป็นหนึ่งในสายการบินที่ถูกห้ามไม่ให้บินเข้าไปในน่านฟ้าของสหภาพยุโรป[5]
ประวัติ
[แก้]การให้บริการช่วงแรก (คริสต์ทศวรรษ 1950–1960)
[แก้]สายการบินก่อตั้งในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1958 ภายใต้ชื่อ รอยัลเนปาลแอร์ไลน์ พร้อมเครื่องบินรุ่นแรก ดักลาส ดีซี-3 ให้บริการเที่ยวบินไปยังเมือง Simara, Pokhara, Biratnagar และบางเมืองในประเทศอินเดีย ได้แก่ ปัฏนา, โกลกาตาและเดลี ต่อมาปี ค.ศ. 1961 ได้ซื้อเครื่องบิน ปิลาตุส ปอร์เตอร์ และในปี ค.ศ. 1963 ได้ซื้อเครื่องบิน Fong Shou-2 Harvester จากประเทศจีน[6]
เครื่องบินอันทันสมัยได้ถูกนำเพิ่มเข้ามาเรื่อย ๆ ระหว่างปี ค.ศ. 1959-1964 ได้สั่งซื้อเครื่องบินดักลาส ดีซี-3 อีกเจ็ดลำ นอกจากนี้ จีนยังให้เครื่องบินอานโตนอฟ อาน-2 อีกสองลำ และยังเช่าเบลเฮลิคอปเตอร์ จากสิงคโปร์ด้วย เที่ยวบินระหว่างประเทศได้ขยายไปเรื่อย ๆ จนมีเที่ยวบินไปถึงกรุงธากา เมืองหลวงของปากีสถานตะวันออก (ปัจจุบันคือประเทศบังกลาเทศ)[7]
ช่วงเศรษฐกิจรุ่งเรือง (คริสต์ทศวรรษ 1970–1980)
[แก้]ต่อมา สายการบินยังได้สั่งซื้อเครื่องบินเพิ่ม ดังนี้บีเออี เอวโรว์-748 (ค.ศ. 1970), ทวิน ออตเตอร์ (ค.ศ. 1971), โบอิง 727 (ค.ศ. 1972; ต่อมาถูกแทนที่ด้วยโบอิง 757 สองลำ ในปี ค.ศ. 1987) [6]
ส่งผลให้เนปาลมีนักท่องเที่ยวเข้ามาประมาณ 181,000 คน (สถิติ ค.ศ. 1985) โดยร้อยละ 80 เดินทางทางอากาศ และร้อยละ 38 เดินทางกับสายการบินรอยัลเนปาลแอร์ไลน์ แต่จำนวนนี้ได้ลดลงจากสถิติเดิม (ค.ศ. 1979) ร้อยละ 50 คู่แข่งของสายการบินนี้คืออินเดียนแอร์ไลน์ สายการบินใหม่ ๆ อาทิเช่น ลุฟต์ฮันซาของเยอรมนี ก็ได้เปิดเที่ยวบินตรง กาฐมาณฑุ-แฟรงก์เฟิร์ต ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1987
ในเวลานั้น รอยัลเนปาลแอร์ไลน์ มีจุดหมายปลายทางในประเทศ 38 แห่ง ระหว่างประเทศ 10 แห่ง ต่อมาได้เปิดเที่ยวบินไปฮ่องกงในปี ค.ศ. 1988 (ใช้โบอิง 757) ต่อมาเดือนเมษายน ค.ศ. 1988 ได้เปิดเที่ยวบินไปกรุงลาซาในเขตปกครองตนเองทิเบต[7]
รอยัลเนปาลแอร์ไลน์ มีรายได้ 54.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงปี ค.ศ. 1988—89 ทำกำไรได้ 17 ล้านดอลลาร์สหรัฐ พร้อมลูกเรือ 2,200 คน และได้กลายบริษัทที่มีอิทธิพลมากที่สุดในเนปาล ผู้โดยสารร้อยละ 75 เป็นนักท่องเที่ยว จากผลความสำเร็วนี้ ทำให้มีการเปิดเที่ยวบินใหม่ไปยังลอนดอน, ดูไบ และการาจี[7]
ช่วงตกต่ำ (คริสต์ทศวรรษ 1990–2000)
[แก้]ในช่วงปี ค.ศ. 1992 มีสายการบินในประเทศเกิดขึ้นมาก อาทิเช่น Necon Air, เนปาลแอร์เวย์, เอเวอเรสต์แอร์, บุดด้าแอร์, เยติแอร์ไลน์, สีดาแอร์ และในปี ค.ศ. 1997 ร้อยละ 70 ของเที่ยวบินในประเทศ มาจากสายการบินคู่แข่งเหล่านี้[8] การก่อตั้งของสายการบินใหม่ ๆ ทำให้เกิดช่องว่างที่เป็นปัญหาของรอยัลเนปาลแอร์ไลน์ คือคอรัปชัน[7]
ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2000 มีเรื่องอื้อฉาวจากการเช่าโบอิง 767จากออสเตรีย ซึ่งแฝงด้วยการประท้องของเหล่าลูกจ้างกับรัฐบาล ทำให้เกิดการกล่าวหาว่า สายการบินไม่ยอมใช้เครื่องบินโบอิง 757 ให้เกิดประโยชน์เพียงพอ ผู้บริหารได้ถูกพักงานระหว่างสอบสวน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการบินได้ถูกปลดเกษียณ[7] และในปี ค.ศ. 2004 มีการรายงานว่า รัฐบาลเนปาล ได้แบ่งงาน 49% ของเนปาลแอร์ไลน์ ให้เอกชนดำเนินการ ส่งผลให้เกิดหนี้สินจำนวนหนึ่ง[9] ต่อมา ผู้บริหารเก่าของสายการบิน Ramagya Chaturvedi ถูกจับในข้อหาคอรัปชันในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2005.[10]
ในปี ค.ศ. 2009 ที่งานดูไบแอร์โชว์ สายการบินเนปาลแอร์ไลน์ ได้สั่งซื้อเครื่องบิน แอร์บัส เอ 320-200 สองลำ ซึ่งจะใช้ในเที่ยวบินไปยังตะวันออกกลาง และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[11]
จุดหมายปลายทาง
[แก้]สายการบินเนปาลแอร์ไลน์ มีเที่ยวบินระหว่างประเทศไปยัง เดลี, โดฮา, กัวลาลัมเปอร์, ฮ่องกง และกรุงเทพมหานคร ส่วนจุดหมายปลายทางที่ยกเลิกไปแล้วอย่าง ดูไบ, บังคาลอร์ และมุมไบ จะกลับมาบินใหม่อีกครั้งพร้อมกับเครื่องบินแอร์บัส เอ 320[12]
นับตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 2013 เป็นต้นมา สหภาพยุโรปได้สั่งห้ามไม่ให้สายการบินใด ๆ ของเนปาลบินเข้าไปเหนือน่านฟ้าของยุโรป[13]
ข้อตกลงการทำการบินร่วม
[แก้]เนปาลแอร์ไลน์ได้ทำข้อตกลงการทำการบินร่วมกันกับสายการบินดังต่อไปนี้:
ฝูงบิน
[แก้]ณ เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2022 เนปาลแอร์ไลน์มีเครื่องบินประจำการในฝูงบินดังนี้:[15]
เครื่องบิน | ประจำการ | คำสั่งซื้อ | จำนวนที่นั่ง | หมายเหตุ | ||
---|---|---|---|---|---|---|
C | Y | รวม | ||||
แอร์บัส เอ320-200 | 2 | — | 8 | 150 | 158 | |
แอร์บัส เอ330-200 | 2 | — | 18 | 256 | 274 | |
ดีเอชซี-6 ทวินออตเตอร์ | 2 | — | — | 19 | 19 | |
รวม | 6 | — |
ฝูงบินในอดีต
[แก้]เนปาลแอร์ไลน์เคยมีเครื่องบินประจำการในอดีต ดังนี้:
เครื่องบิน | เริ่มประจำการ | ปลดประจำการ |
---|---|---|
แอร์บัส เอ310-300 | ค.ศ. 1993 | ค.ศ. 1996 |
โบอิง 707 | ค.ศ. 1983 | ค.ศ. 1983 |
โบอิง 727-200 | ค.ศ. 1972 | ค.ศ. 1993 |
โบอิง 757-200 | ค.ศ. 1987 | ค.ศ. 2017 |
โบอิง 757-200M | ค.ศ. 1987 | ค.ศ. 2019 |
โบอิง 767-300 | ค.ศ. 2000 | ค.ศ. 2001 |
ดักลาส ดีซี-3 | ค.ศ. 1958 | ค.ศ. 1973 |
ฟอกเกอร์ เอฟ-27 | ค.ศ. 1966 | ค.ศ. 1970 |
อานโตนอฟ อาน-2 | ค.ศ. 1963 | ค.ศ. 1965 |
ฮาร์บิน วาย-12 | ค.ศ. 2014 | ค.ศ. 2020 |
ฮ็อคเกอร์-ซิดเดลี่ย์ เอชเอส-148 | ค.ศ.1970 | ค.ศ. 1996 |
บีเออี เอวโรว์-748 | ค.ศ. 1970 | ค.ศ. 1996 |
ปิลาตุส ปอร์เตอร์ | ค.ศ. 1961 | ค.ศ. 1998 |
ซีอาน เอ็มเอ-60 | ค.ศ. 2014 | ค.ศ. 2020 |
อุบัติเหตุและอุบัติการณ์
[แก้]- 5 พฤศจิกายน ค.ศ. 1960 – เครื่องบินดักลาส C-47A-80-DL (9N-AAD) ตกลงขณะยกระดับที่ท่าอากาศยาน Bhairawa ทำให้เกิดเพลิงไหม้ ลูกเรือ 4 คนเสียชีวิตทั้งหมด[17]
- 1 สิงหาคม ค.ศ. 1962 – เครื่องบินดักลาส C-47A-DL (9N-AAH) ม่งหน้าสู่เดลี สูญเสียการติดต่อ และตกลงไปบริเวณ Tulachan Dhuri ซากถูกพบเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1962 ที่ความสูง 11,200 ฟุต ผู้โดยสาร 6 คน และลูกเรือ 4 คน เสียชีวิตทั้งหมด[17]
- 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1969 – เครื่องบินดักลาส DC-3D (9N-AAP) ชนต้นไม้ขณะบินอยู่ที่ระดับ 7,300 ฟุต ใกล้กับเมือง Hitauda ผู้โดยสาร 31 คน ลูกเรือ 4 คน เสียชีวิตทั้งหมด[17]
- 25 มกราคม ค.ศ. 1970 – เครื่องบินฟอกเกอร์ เอฟ-27 (9N-AAR) มุ่งหน้าสู่เดลี ติดอยู่ในพายุ ทำให้กัปตันไม่สามารถควบคุมเครื่องได้ ลูกเรือ 1 คนเสียชีวิต[17]
- 10 มิถุนายน ค.ศ. 1973 – เครื่องบิน 9N-ABB จากเมือง Biratnagar ถูกโจรกรรม ผู้ก่อการร้ายได้หลบหนีเข้าไปในรัฐพิหาร ประเทศอินเดีย ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ[17]
- 15 ตุลาคม ค.ศ. 1973 – เครื่องบิน De Havilland Canada DHC-6 Twin Otter 300 (9N-ABG) เกิดความเสียหายหลังจากซ่อมแซมที่ท่าอากาศยาน Lukla Airport ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ[17]
- 22 ธันวาคม ค.ศ. 1984 – เครื่องบิน De Havilland Canada DHC-6 Twin Otter 300 (9N-ABH) ตกลงไปในบริเวณ Bhojpur เนื่องจากสภาพอากาศที่ไม่ค่อยดี ผู้โดยสาร 12 จาก 20 คน ลูกเรือ 3 คน เสียชีวิต[17]
- 9 มิถุนายน ค.ศ. 1991 – เครื่องบิน De Havilland Canada DHC-6 Twin Otter 300 (9N-ABA) ตกขณะลงจอดที่ท่าอากาศยาน Lukla เนื่องจากสภาพอากาศที่ไม่ค่อยดี ผู้โดยสาร 14 คน ลูกเรือ 3 คน เสียชีวิตทั้งหมด[17]
- 5 กรกฎาคม ค.ศ. 1992 – เครื่องบิน De Havilland Canada DHC-6 Twin Otter 300 (9N-ABB) สูญเสียการติดต่อขณะยกระดับจากท่าอากาศยาน Jumla ทำให้เครื่องบินไถลออกนอกรันเวย์ ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ[17]
- 17 มกราคม ค.ศ. 1995 – เครื่องบิน De Havilland Canada DHC-6 Twin Otter 300 (9N-ABI) เที่ยวบินที่ 133 มุ่งหน้าสู่ Rumjatar ไถลออกนอกรันเวย์ ผู้โดยสารและลูกเรือ 1 คน เสียชีวิต[17]
- 25 เมษายน ค.ศ. 1996 – เครื่องบิน BAe Avro-748 (9N-ABR) ไถลออกนอกรันเวย์ที่ท่าอากาศยาน Meghauli ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ[17]
- 27 กรกฎาคม ค.ศ. 2000 – เครื่องบิน De Havilland Canada DHC-6 Twin Otter 300 (9N-ABP) จาก Bajhang มุ่งสู่ Dhangadhi ชนต้นไม้ที่ระดับ 4,300 ฟุต บนภูเขา Churia ผู้โดยสาร 22 คน ลูกเรือ 3 คน เสียชีวิตทั้งหมด[17]
- 19 เมษายน ค.ศ. 2010 – เครื่องบิน De Havilland Canada DHC-6 Twin Otter 300 (9N-ABX) มุ่งหน้าสู่ท่าอากาศยาน Phaplu Airport (PPL) ได้รับความเสียหายเล็กน้อย เนื่องจากสภาพอากาศที่ไม่ค่อยจะดี[17]
- 16 พฤษภาคม ค.ศ. 2013 – เครื่องบิน De Havilland Canada DHC-6 Twin Otter 300 (9N-ABO) เที่ยวบินที่ 555 จาก Pokhara (PKR) มุ่งหน้าสู่ Jomsom (JMO) ไถลออกนอกรันเวย์ที่ท่าอากาศยาน Jomsom ทำให้เครื่องตกลงไปในแม่น้ำ ผู้โดยสาร 4 คน ลูกเรือ 3 คน บาดเจ็บสาหัส[18]
- 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2014 – เนปาลแอร์ไลน์ เที่ยวบิน 183 โดยเครื่องบิน de Havilland Canada DHC-6 Twin Otter (9N-ABB) หายไปอย่างลึกลับขณะบินสู่ Jumla ภายหลังพบว่าเครื่องตกที่ Argakhachi[19]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Sushil Ghimire appointed Nepal Airlines executive chairman". The Kathmandu Post. 16 April 2020. สืบค้นเมื่อ 22 October 2020.
- ↑ Prasain, Sangam (10 October 2020). "With a new managing director, Nepal Airlines looks set to fly into turbulence". The Kathmandu Post. สืบค้นเมื่อ 22 October 2020.
- ↑ "Contact Information." เนปาลแอร์ไลน์. Retrieved on 31 ธันวาคม ค.ศ. 2011. "Head Office Contact Information NAC Building, Kantipath กาฐมาณฑุ, Nepal"
- ↑ "World Airline Directory." Flight International. 23–29 มีนาคม ค.ศ. 1994. 114. "Head office: PO Box 401, RNAC Building, Kantipath, กาฐมาณฑุ 711000, Nepal."
- ↑ Paylor, Anne (5 ธันวาคม 2556). "Nepal carriers added to EU blacklist". Air Transport World. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-10. สืบค้นเมื่อ 2015-05-03.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 Brief History of เนปาลแอร์ไลน์ retrieved 28 สิงหาคม ค.ศ. 2010
- ↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 "History of Royal Nepal Airline Corporation – FundingUniverse". Fundinguniverse.com. สืบค้นเมื่อ 2014-02-16.
- ↑ R.E.G. Davies, Airlines of Asia Since 1920
- ↑ Tribune India 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 2004
- ↑ The Himalayan Times เก็บถาวร 2014-03-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2005
- ↑ ATW Daily News Dubai Airshow News เก็บถาวร 2009-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 2009
- ↑ Litt, Live. "เนปาลแอร์ไลน์, an introduction". Livelitt.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-27. สืบค้นเมื่อ 2015-05-03.
- ↑ "EU bans all airlines from Nepal to fly into the 28 nation bloc – Times Of India". Timesofindia.indiatimes.com. 2013-12-05. สืบค้นเมื่อ 2014-02-16.
- ↑ "NAC, Druk Air signs codesharing pact". สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน ค.ศ. 2015.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Aircraft and Fleet Lists - ch-aviation.com". ch-aviation. สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน ค.ศ. 2015.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ [1] เก็บถาวร 2015-10-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน retrieved 3 Jan 2015
- ↑ 17.00 17.01 17.02 17.03 17.04 17.05 17.06 17.07 17.08 17.09 17.10 17.11 17.12 Aviation Safety Network retrieved 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 2006
- ↑ "Accident: Nepal DHC6 at Jomsom on พฤษภาคม ค.ศ. 16th 2013, runway excursion". AVHerald. 16 พฤษภาคม ค.ศ. 2013. สืบค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม ค.ศ. 2013.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "Crash: Nepal DHC6 near Khidim on Feb 16th 2014, aircraft impacted terrain". Avherald.com. สืบค้นเมื่อ 2014-02-16.