ข้ามไปเนื้อหา

นาจิบ ราซัก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Najib Razak)
ยังเบอร์ฮอร์มัต ดาโตะก์ ซรี
นาจิบ ราซัก
نجيب رزاق‎‎
นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย คนที่ 6
ได้รับเกียรติเป็น
บิดาแห่งการเปลี่ยนแปลง
Bapa Transformasi
باڤ ترنسفورماسي
ดำรงตำแหน่ง
3 เมษายน พ.ศ. 2552 – 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
กษัตริย์ตวนกู ซัยยิด ซีรอญุดดีน
สุลต่าน มีซาน ไซนัล อาบิดีน
มูฮัมมัดที่ 5 แห่งกลันตัน
ก่อนหน้าอับดุลละฮ์ อะฮ์มัด บาดาวี
ถัดไปมาฮาดีร์ โมฮามัด
รองนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย
ดำรงตำแหน่ง
7 มกราคม พ.ศ. 2547 – 3 เมษายน พ.ศ. 2552
นายกรัฐมนตรีอับดุลละฮ์ อะฮ์มัด บาดาวี
ก่อนหน้าอับดุลละฮ์ อะฮ์มัด บาดาวี
ถัดไปมุฮ์ยิดดิน ยัซซิน
มุขมนตรีรัฐปะหัง คนที่ 12
ดำรงตำแหน่ง
4 พฤษภาคม 2525 – 14 สิงหาคม 2529
ก่อนหน้าอับดุล ราซิด อับดุล ระฮ์มัน
ถัดไปฆอลี ญากอบ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด23 กรกฎาคม พ.ศ. 2496 (71 ปี)
ศาสนาอิสลาม
พรรคการเมืองพรรคอัมโน
คู่สมรสปูเตอรี ไซนะฮ์ เอ็ซกันดาร์ (1976–1987)
รซมะฮ์ มันโซร์ (1987–ปัจจุบัน)
ลายมือชื่อ

ดาโตะก์ ซรี ฮาจี โมฮัมมัด นาจิบ บิน ตุน ฮาจี อับดุล ราซัก[1] (มลายู: Dato' Sri Haji Mohammad Najib bin Tun Haji Abdul Razak, ยาวี: ‏محمد نجيب بن عبد الرزاق‎‎) หรือ นาจิบ ราซัก เป็นนักการเมืองมาเลเซียจากพรรคอัมโน เป็นอดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย โดยดำรงตำแหน่งมาตั้งแต่ พ.ศ. 2552 ถึง พฤษภาคม พ.ศ. 2561 โดยได้ดำรงตำแหน่งต่อจากอับดุลละฮ์ อะฮ์มัด บาดาวี เขาเป็นบุตรชายของอับดุล ราซัก ฮุซเซน นายกรัฐมนตรีคนที่ 2

ประวัติ

[แก้]

นาจิบ ราซัก เกิดเมื่อ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2496 ภายในทำเนียบรัฐปะหัง[2] เขาเป็นบุตรคนโตในจำนวนบุตร 6 คนของนายกรัฐมนตรีมาเลเซียคนที่ 2 อับดุล ราซัก ฮุซเซน และเขายังมีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกับนายกรัฐมนตรีคนที่ 3 ฮุซเซน อน น้องชายของนาจิบเป็นผู้บริหารบริษัทภูมิบุตราคอมเมิร์ช ซึ่งเป็นบริษัทโฮลดิ้งที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศ นาจิบถือเป็นหนึ่งในสี่อำมาตย์ของราชสำนักปะหัง และสืบทอดบรรดาศักดิ์เป็น โอรังกายาอินเดราชาบันดา (اورڠ كاي ايندرا شهبندر)

นาจิบ ราซัก จบการศึกษาจากสถาบันเซนต์จอห์นในกรุงกัวลาลัมเปอร์ และจบการศึกษาระดับมัธยาจากวิทยาลัยมัลเวิร์นในประเทศอังกฤษ[3] และจบสาขาเศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรมจากมหาวิทยาลัยนอตทิงแฮมในปีพ.ศ. 2517 ในปีเดียวกันนั้นเขากลับมายังมาเลเซียและเข้าทำงานที่ธนาคารแห่งชาติมาเลเซีย และต่อมาไปทำงานในบริษัทเปโตรนาส[4]

ข้อกล่าวหาการทุจริต

[แก้]

ในปี 2552 หลังจากที่พึ่งเข้ารับตำแหน่งใหม่ ๆ รัฐบาลของราซัก ได้จัดตั้งกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติที่ชื่อว่า 1Malaysia Development Berhad หรือกองทุน 1MDB ขึ้น โดยเป็นกองทุนของรัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อแสวงหากำไรโดยเฉพาะ รัฐบาลของราซักแถลงว่ากองทุนนี้จะทำให้กรุงกัวลาลัมเปอร์เป็นศูนย์กลางทางการเงินของภูมิภาค และหวังให้มาเลเซียเป็นประเทศรายได้สูงภายในปี 2563 อย่างไรก็ตาม กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาตินี้แตกต่างจากกองทุนความมั่งคั่งฯ ของประเทศอื่น ๆ คือใช้เงินกู้แทนที่จะเป็นเงินจากทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ กองทุนนี้ได้กู้ยืมเงินจากต่างประเทศและสร้างหนี้มหาศาลแก่รัฐบาลมาเลเซีย โดยยอดหนี้ในปี 2558 คิดเป็นมูลค่ากว่า 4.2 หมื่นล้านริงกิต[5]

ในปี 2558 กองทุนได้ผิดนัดชำระหนี้มูลค่า 1.1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐแก่เจ้าหนี้ต่างชาติ และในปีต่อมา Wall Street Journal ได้เปิดเผยว่า โครงการส่วนใหญ่ที่กองทุน 1MDB ไปลงทุน ซึ่งรวมถึงแหล่งน้ำมันและเหมืองแร่ในต่างประเทศนั้น ไม่สร้างผลกำไร หลังจากที่ได้มีการเปิดเผยเรื่องนี้ อัยการสูงสุด อับดุล ปาลาอิล เริ่มสืบสวนเชิงลึกว่าเงินจากกองทุนนี้ได้ไปยังที่ใดบ้าง และได้ปรากฏหลักฐานว่าตั้งแต่มีนาคม 2556 ถึงกุมภาพันธ์ 2558 มีเงินจำนวนรวมกว่า 681 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2,672 ล้านริงกิต) ได้ถูกโอนจาก 1MDB ไปยังบัญชีส่วนตัวของนาจิบ[6][7]

การเปิดเผยดังกล่าวได้ก่อให้เกิดการประท้วงครั้งใหญ่ในกัวลาลัมเปอร์เรียกร้องให้นาจิบลาออก แม้แต่คนในคณะรัฐมนตรีของเขาก็ออกมาวิพากษ์วิจารณ์เขา ซึ่งบุคคลเหล่านั้นได้ถูกนาจิบปรับออกในการปรับคณะรัฐมนตรีกลางวาระ โดยนาจิบให้เหตุผลในการปรับออกว่า เขาต้องการทีมที่มีเอกภาพมากกว่านี้[8] ต่อมาในวันที่ 3 สิงหาคม 2558 สำนักงานป.ป.ช.ของมาเลเซียได้ออกมาแถลงว่า เงินโอนดังกล่าวเป็นเงินบริจาค ไม่ใช่เป็นเงินจากกองทุนฯ แต่ไม่ได้ระบุว่าใครเป็นผู้บริจาคและบริจาคทำไม[9][10] หลังจากนั้นไม่กี่วัน สมาชิกพรรคอัมโนได้ออกมาแถลงว่า เงินบริจาคดังกล่าวเป็นเงินจากซาอุดีอาระเบียเพื่อเป็นการตอบแทนที่ช่วยสู้กับกลุ่มรัฐอิสลาม และยังเสริมอีกว่าชุมชนมุสลิมในประเทศฟิลิปปินส์และในภาคใต้ของไทยก็ได้รับเงินบริจาคดังกล่าวเช่นกัน[11]

ในเดือนกันยายน 2558 สำนักข่าว New York Times รายงานว่า ทางการสหรัฐกำลังสืบสวนข้อกล่าวหาการทุจริตดังกล่าวเช่นกัน และมุ่งเป้าไปที่ทรัพย์สินในสหรัฐอเมริกาที่นาจิบได้ซื้อผ่านบริษัทนอมินีในตลอดหลายปีที่ผ่านมา[12] นาจิบยังได้ปลดอัยการสูงสุด อับดุล ปาตาอิล ออกและแต่งตั้งคนใหม่ คือนายโมฮัมเหม็ด อาลี เข้ามาแทน โดยอัยการสูงสุดคนใหม่ได้แถลงว่า "ผมขอยืนยันโดยอิงตามหลักฐาน...ว่าเงินจำนวน 681 ล้านดอลลาร์ที่ได้ถูกโอนไปยังบัญชีส่วนตัวของนายกฯ นาจิบ ราซัก นั้น เป็นเงินบริจาคส่วนตัว...จากราชวงศ์ซาอุดีอาระเบีย" ในขณะที่รัฐมนตรีต่างประเทศและการคลังของซาอุดีอาระเบียกล่าวว่าไม่พบข้อมูลการส่งเงินของขวัญดังกล่าว[13] แหล่งข่าวที่ไม่สามารถเปิดเผยชื่อ[14] ได้ออกมาเปิดเผยว่านาจิบได้คืนเงินจำนวน 620 ล้านดอลลาร์แก่ราชวงศ์ซาอุแล้วในปี 2556 แต่ไม่มีคำอธิบายว่านาจิบได้ทำอะไรกับเงิน 61 ล้านดอลลาร์ที่ไม่ได้คืนไป[15]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Najib Razak: Malaysian ex-PM gets 12-year jail term in 1MDB corruption trial https://www.bbc.com/news/world-asia-53563065
  2. Vivien, Ann (21 February 2016). "Midwife proud to have cared for Najib". Sayang Sabah. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-23. สืบค้นเมื่อ 2020-02-24.
  3. Bell, Thomas (3 April 2009). "Profile: Najib Razak : To Najib Razak the Malaysian premiership may feel like a birthright". London: The Daily Telegraph, 3 April 2009. สืบค้นเมื่อ 15 March 2010.
  4. “How Najib and Abdullah rose to nation’s top post”. เก็บถาวร 21 มิถุนายน 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Daily Express, 4 April 2009
  5. Malaysian leader faces risk of criminal charges over fund. ABC News, 5 July 2015. Retrieved 7 July 2015.
  6. Wright, Tom; Clark, Simon (2 July 2015). "Investigators Believe Money Flowed to Malaysian Leader Najib's Accounts Amid 1MDB Probe". The Wall Street Journal. Dow Jones & Company. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 July 2015. สืบค้นเมื่อ 5 July 2015.
  7. Zaid: Najib's finest hour when he steps down เก็บถาวร 2015-07-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Free Malaysia Today, 6 July 2015. Retrieved 7 July 2015.
  8. "1MDB scandal: Malaysia PM Najib Razak sacks deputy, attorney-general as corruption allegations mount". ABC News (Australia). 29 July 2015. สืบค้นเมื่อ 31 July 2015.
  9. "MACC: RM2.6bil in Najib's account from donors, not 1MDB's".
  10. "Malaysia's anti-graft unit says funds in PM's account a 'donation', not from state fund". Reuters. 3 August 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-08-06. สืบค้นเมื่อ 2016-12-29.
  11. "Najib's RM2.6 billion is from Saudi Arabia as thanks for fighting Isis, claims Umno leader". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-08-17. สืบค้นเมื่อ 2016-12-29.
  12. "Malaysia's Leader, Najib Razak, Faces U.S. Corruption Inquiry".
  13. York, Bradley Hope in New; Kong, Tom Wright in Hong; Lumpur, Yantoultra Ngui in Kuala (27 January 2016). "Doubts Raised About Claim of Saudi 'Donation' to Malaysia Prime Minister Najib Razak". สืบค้นเมื่อ 9 September 2016 – โดยทาง Wall Street Journal.
  14. http://www.thestar.com.my/news/nation/2016/02/06/saudi-minister-believes-funds-given-to-najib-was-investment-not-donation/ was identified as the Saudi royal family.
  15. Fuller, Thomas (26 January 2016). "Malaysia Closes Investigation Into Prime Minister Najib Razak's Funds". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 30 January 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]