ข้ามไปเนื้อหา

สมเด็จพระราชาธิบดีมูฮัมมัดที่ 5 แห่งกลันตัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระราชาธิบดีมูฮัมมัดที่ 5
ยังดีเปอร์ตวนอากง
สุลต่านแห่งรัฐกลันตัน
สมเด็จพระราชาธิบดีมูฮัมมัดที่ 5 ในปี พ.ศ. 2556
ยังดีเปอร์ตวนอากง พระองค์ที่ 15
ครองราชย์13 ธันวาคม พ.ศ. 2559 – 6 มกราคม พ.ศ. 2562
ราชาภิเษก24 เมษายน พ.ศ. 2560
ก่อนหน้าอับดุล ฮาลิมแห่งเกอดะฮ์
ถัดไปอัลดุลละฮ์แห่งปะหัง
สุลต่านแห่งรัฐกลันตัน
ครองราชย์13 กันยายน พ.ศ. 2553 – ปัจจุบัน
ก่อนหน้าสุลต่านอิสมาอิล เปตรา
พระราชสมภพ6 ตุลาคม พ.ศ. 2512 (55 พรรษา)
โกตาบารู รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย
คู่อภิเษก
ราชวงศ์กลันตัน
พระราชบิดาสุลต่านอิสมาอิล เปตรา
พระราชมารดาเติงกูอานิซ
ศาสนาอิสลาม
ลายพระอภิไธย

สมเด็จพระราชาธิบดีมูฮัมมัดที่ 5 (พระนามเดิม เติงกู มูฮัมมัด ฟาริส เปตรา) (ยาวี: ‏سلطان محمد کليما‎‎; พระราชสมภพ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2512) เป็นยังดีเปอร์ตวนอากงองค์ที่ 15 และสุลต่านแห่งรัฐกลันตัน องค์ที่ 29 ซึ่งเป็นองค์ปัจจุบัน พระองค์ได้รับการราชาภิเษกเป็นสุลต่านแห่งกลันตันเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553 ก่อนหน้านี้ทรงเป็นมกุฎราชกุมารแห่งรัฐกลันตัน ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ ของ สุลต่านอิสมาอิล เปตราแห่งกลันตัน กับเติงกูอานิส พระราชมารดา พระองค์มีพระอนุชาและพระขนิษฐาคือ

  1. เติงกู มูฮัมมัด ฟาอิซ เปตรา
  2. เติงกู มูฮัมมัด ฟาหร์กี เปตรา
  3. เติงกู อมาลิน อาอีชะห์ ปุตรี

อย่างไรก็ตามทนายความที่ทำหน้าที่แทนสุลต่านอิสมาอิล เปตรา ได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐบาลกลางเพื่อให้การแต่งตั้งมกุฎราชกุมารของสุลต่านแห่งกลันตันเป็นโมฆะโดยอ้างว่าเป็นผลมาจากการยกเลิกรัฐธรรมนูญ[1]

พระชนม์ชีพในวัยเด็กและการสำเร็จราชการ

[แก้]

เติงกูมูฮัมมัด ฟาริส เปตราเป็นพระโอรสของสุลต่านอิสมาอิล เปตรา พระราชสมภพที่โกตาบารู รัฐกลันตันเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2512 พระองค์เข้ารับการศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนอนุบาลฟาติมะห์คอนแวนต์ (Fatima Convent) โรงเรียนสุลต่านอิสมาอิลแห่งชาติ (Sultan Ismail National School) เมืองโกตาบารู และโรงเรียนอลิซสมิทธ์ (Alice Smith School) กรุงกัวลาลัมเปอร์ หลังจากนั้นทรงเดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษเพื่อทรงศึกษาต่อที่โรงเรียนโอ๊คแฮม รูทแลนด์ (Oakham School Ruthland) จนถึงปี พ.ศ.2532 พระองค์ศึกษาต่อที่วิทยาลัยเซนต์ครอสส์ มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด (St Cross College, Oxford) และศูนย์อิสลามศึกษาออกซฟอร์ด (Oxford Centre for Islamic) ศึกษาทางการทูต และจบการศึกษาในปี พ.ศ.2534

บทบาทและหน้าที่

พระองค์ยังทรงมีส่วนร่วมในองค์กรสวัสดิการและกีฬาต่างๆ และยังทรงมีบทบาทอย่างแข็งขันในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงและการทหารอีกด้วย ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการทหารรักษาดินแดน จำนวน 506 นาย โดยมียศเป็น พลจัตวา (กิตติมศักดิ์)

เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ.2565 พระองค์ทรงได้รับการประกาศให้เป็นอธิการบดีของ Universiti Malaysia Kelantan (UMK) ที่ UMK Chancellor, Pro-Chancellor

รัชทายาท

เต็งกูมูฮัมหมัด ฟาริส เปตรา เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นมกุฎราชกุมารแห่งกลันตัน(Tengku Makkota) เมื่อพระชนมพรรษา 16 พรรษา คือวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2528

ความขัดแย้งในราชวงศ์

[แก้]

ในเดือนพฤษภาคมปี พ.ศ.2552 พระราชบิดาของพระองค์ สุลต่านอิสมาอิล เปตราได้รับบาดเจ็บสาหัส สุลต่านอิสมาอิล เปตราทรงเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเมาท์ เอลิซาเบธในสิงคโปร์และพระองค์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม[2] เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2552 เติงกู มูฮัมมัด ฟาริสทรงปลดพระอนุชา เติงกูมูฮัมมัด ฟาหร์กี เปตรา (Tengku Temenggong) แห่งกลันตันออกจากสภาสันตติวงศ์ซึ่งมีอำนาจที่จะกำหนดให้บัลลังก์สุลต่านไร้เสถียรภาพอย่างถาวร[2]

เติงกูมูฮัมมัด ฟาหร์กียื่นคำร้องต่อศาลสูงแห่งมาลายาเพื่อประท้วงการไล่พระองค์ออกในเดือนธันวาคม[3] และได้ส่งจดหมายไปยังเลขาธิการรัฐโดยอ้างว่าสุลต่านได้ยกเลิกการกระทำทั้งหมด และการตัดสินใจของผู้สำเร็จราชการเติงกูฟาริส[2] ในเดือนมกราคมพ.ศ. 2553 ศาลสูงปฏิเสธคำร้องของเติงกูมูฮัมมัด ฟาหร์กี[4]

ในอีกแง่หนึ่งเลขานุการส่วนพระองค์ของสุลต่านอิสมาอิล เปตราได้ประกาศว่าประธานสภาสันตติวงศ์ เติงกู อับดุล อาซิซ เติงกู โมห์ด ฮัมซา เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ การแต่งตั้งนั้นถูกคัดค้านโดย เติงกูมูฮัมมัด ฟาริสในศาล[5]

สุลต่านแห่งรัฐกลันตัน

[แก้]

เมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553[6] เติงกูมูฮัมมัด ฟาริส เปตราได้สืบราชบัลลังค์เป็นสุลต่านแห่งรัฐกลันตันพระองค์ที่ 29 ตามมาตราที่ 29A ของรัฐธรรมนูญของรัฐ ระบุว่าสุลต่านจะไม่สามารถเป็นกษัตริย์ได้ถ้าพระองค์ยังไม่ครองบัลลังก์ได้เกินกว่าหนึ่งปี[7] พระองค์ใช้พระนามว่า มูฮัมมัดที่ 5[8] อย่างไรก็ตามพระราชบิดาของพระองค์สุลต่านอิสมาอิล เปตราได้ทรงยื่นคำร้องต่อศาลรัฐบาลกลางว่าการดำรงตำแหน่งขัดต่อรัฐธรรมนูญ[9] สุลต่านอิสมาอิล เปตรายังคงฟื้นตัวจากพระโรคหลอดเลือดสมองที่พระองค์ประสบในปีพ.ศ. 2552[10]

สมเด็จพระราชาธิบดีมูฮัมมัดที่ 5 ทรงเข้าร่วมการประชุมครั้งที่ 222 ในการประชุมเจ้าผู้ปกครอง เป็นครั้งแรกในฐานะสมาชิกเต็มรูปแบบในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งเป็นเครื่องหมายของการเข้าเป็นภาคีของสุลต่านโดยผู้ปกครองพระองค์อื่น ๆ[11]

ติมบาลันยังดีเปอร์ตวนอากง

[แก้]

เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2554 พระองค์ทรงได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองยังดีเปอร์ตวนอากง แห่งมาเลเซีย ในขณะเดียวกันเติงกูอับดุล ฮาลิม มูอัดซัม ชาห์ สุลต่านแห่งเกดะห์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นยัง ดีเปอร์ตวนอากงองค์ที่ 14 แห่งมาเลเซีย พิธีสาบานตนจัดขึ้นในกรุงกัวลาลัมเปอร์ จนกระทั่งเลือกตั้งยังดีเปอร์ตวนอากงเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2559[12]

ยังดีเปอร์ตวนอากง

[แก้]

สุลต่านมูฮัมมัดที่ 5 ได้รับการเลือกตั้งจากการประชุมเจ้าผู้ปกครองเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เพื่อจะเป็นยังดีเปอร์ตวนอากง ผู้เป็นประมุขแห่งรัฐมาเลเซียพระองค์ต่อไป รัชกาลของพระองค์เริ่มเมื่อ 13 ธันวาคม 2559 ต่อจากสมเด็จพระราชาธิบดี ตวนกู อับดุล ฮาลิม สุลต่านแห่งรัฐเกอดะฮ์พระองค์ที่ 47[13]

เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2560 พระองค์ทรงได้รับการสถาปนาเป็นยัง ยังดีเปอร์ตวนอากงองค์ที่ 15 แห่งมาเลเซีย ในพระราชพิธีซึ่งจัดขึ้นที่อิสตานา เนการา จาลัน ดูตา กรุงกัวลาลัมเปอร์ ขณะมีพระชนมายุ 47 พรรษา สุลต่านมูฮัมมัดที่ 5 ทรงเป็นยังดีเปอร์ตวนอากงที่มีพระชนมายุน้อยที่สุดถัดจาก สมเด็จพระราชาธิบดีตวนกู ซัยยิด ปุตราแห่งปะลิส สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านมีซัน ไซนัล อาบีดินแห่งตรังกานู และสมเด็จพระราชาธิบดี ตวนกู อับดุล ฮาลิมแห่งเกอดะฮ์[14]

พระองค์เป็นยังดีเปอร์ตวนอากงพระองค์แรกในประวัติศาสตร์ที่จะปกครองโดยไม่มีสมเด็จพระราชินีหรือรายา ประไหมสุหรี อากง[15]

พระอนุชาของพระองค์ เติงกู มูฮัมมัด ฟาอิส เปตรา เติงกู มาห์โกตา จะทรงทำหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการแห่งกลันตัน ตลอดระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของสุลต่านมูฮัมมัดที่ 5 ขณะที่ทรงเป็นยังดีเปอร์ตวนอากง[16]

ในฐานะที่เป็นยังดีเปอร์ตวนอากง พระองค์มีพระราชอำนาจเต็มที่ในฐานะผู้บัญชาการกองทัพมาเลเซีย[17] นอกจากนี้พระองค์ยังมีหน้าที่ในฐานะ พันเอก - หัวหน้ากองปืนใหญ่กองทัพมาเลเซีย และทรงเข้าร่วมกิจกรรมและพิธีการทุกครั้ง[18]

เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ.2561 สุลต่านมูฮัมมัดที่ 5 แจ้งว่าพระองค์จะทรงพักรักษาตัวจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2561 ดังนั้น รองยังดีเปอร์ตวนอากง คือ สุลต่านนัซริน มูอิซซัดดิน ชาห์ จึงเข้ารับหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตามมาตรา 33 ของรัฐธรรมนูญมาเลเซียในระหว่างที่พระองค์ไม่อยู่

เมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2562 พระองค์ทรงสละราชบัลลังก์ของรัฐบาลกลางในฐานะยังดีเปอร์ตวนอากงพระองค์ที่ 15 แห่งมาเลเซีย และนั่นทำให้พระองค์สละราชบัลลังก์ของรัฐบาลกลางเป็นพระองค์แรกในประวัติศาสตร์ของมาเลเซีย

พงศาวลี

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Proclamation Of Tuanku Muhammad Faris Petra As Sultan Unconstitutional, Says Former Sultan
  2. 2.0 2.1 2.2 "Younger prince downplays talk of discord in Kelantan palace". The Star. 4 January 2010. สืบค้นเมื่อ 12 May 2011.
  3. "Kelantan royal 'tussle': Prince to know Friday". The Star. 27 January 2010. สืบค้นเมื่อ 13 May 2011.
  4. "Tengku Fakhry loses case against Regent". The Star. 30 January 2010. สืบค้นเมื่อ 13 May 2011.
  5. "Tengku Faris files to declare Regent's appointment invalid". The Star. 31 March 2010. สืบค้นเมื่อ 13 May 2011.
  6. "Genealogy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-03. สืบค้นเมื่อ 2017-04-14.
  7. "Tuanku Muhammad Faris Petra is new Sultan of Kelantan". Sin Chew Daily. 13 September 2010. สืบค้นเมื่อ 22 September 2010.
  8. "Sultan Muhammad V Official Name of New Kelantan Sultan". Bernama. 22 September 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-21. สืบค้นเมื่อ 23 September 2010.
  9. "Proclamation of Tuanku Muhammad Faris Petra As Sultan Unconstitutional, Says Former Sultan". Bernama. 20 September 2010. สืบค้นเมื่อ 22 September 2010.
  10. A. Letchumanan (21 September 2010). "Kelantan's Tuanku Ismail wants court to declare him rightful Sultan". The Star. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-23. สืบค้นเมื่อ 22 September 2010.
  11. "Conference of Rulers welcomes Sultan Muhammad V". New Straits Times. Bernama. 14 October 2010. สืบค้นเมื่อ 13 April 2011.
  12. User, Super. "Pejabat Penyimpan Mohor Besar Raja-Raja – Senarai Timbalan Yang di-Pertuan Agong". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-10. สืบค้นเมื่อ 2017-04-14. {{cite web}}: |last= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  13. "Kelantan Sultan will be new King". The Star. 14 October 2016. สืบค้นเมื่อ 14 October 2016.
  14. "Youngest Ruler selected". The Star Online. 15 October 2016. สืบค้นเมื่อ 15 October 2016.
  15. Aina Nasa (16 October 2016). "Having a consort not compulsory to become Yang di-Pertuan Agong, says expert". New Straits Times. สืบค้นเมื่อ 3 April 2017.
  16. "Tengku Dr Muhammad Faiz Petra appointed as Regent of Kelantan". 8 December 2016.
  17. The Federal Constitution of Malaysia เก็บถาวร 2016-05-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – Article 41
  18. "Kelantan's Sultan Muhammad V begins his reign as Agong". Free Malaysia Today. 13 December 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-20.
ก่อนหน้า สมเด็จพระราชาธิบดีมูฮัมมัดที่ 5 แห่งกลันตัน ถัดไป
สมเด็จพระราชาธิบดี ตวนกู อับดุล ฮาลิม
ยังดีเปอร์ตวนอากง
(13 ธันวาคม 2559 – 6 มกราคม 2562)
สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลเลาะห์ ชาห์
สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่าน ตวนกู อิสมาอีล อิบนี อัลมาร์ฮูม สุลต่าน ยะห์ยา เปตรา
สุลต่านแห่งรัฐกลันตัน
(13 กันยายน พ.ศ. 2553 - ปัจจุบัน)
ยังอยู่ในราชสมบัติ