ข้ามไปเนื้อหา

Minimocursor

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Minimocursor
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ยุคจูแรสซิกตอนปลาย, Tithonian
แผนภาพโครงกระดูกแสดงตัวอย่างต้นแบบแรก (บน) กับตัวอย่างต้นแบบแรกที่มีการระบุส่วนประกอบ (ล่าง)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
เคลด: ไดโนเสาร์
Dinosauria
เคลด: ออร์นิทิสเกีย
Ornithischia
เคลด: Neornithischia
สกุล: Minimocursor

Manitkoon et al., 2023
ชนิดต้นแบบ
Minimocursor phunoiensis
Manitkoon et al., 2023

มินิโมเคอร์เซอร์ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Minimocursor; หมายถึง "นักวิ่งขนาดเล็กสุด") เป็นสกุลไดโนเสาร์นีโอออร์นิทิสเกียระดับฐานจากหมวดหินภูกระดึงในประเทศไทยช่วงยุคจูแรสซิกตอนปลาย ชนิดต้นแบบมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า มินิโมเคอร์เซอร์ ภูน้อยเอนซิส (Minimocursor phunoiensis)[1]

การค้นพบและตั้งชื่อ

[แก้]
โครงกระดูกตัวอย่างต้นแบบแรกจากซ้ายและขวา

ชนิดตัวอย่างต้นแบบแรก PRC 150 ได้รับการขุดค้นใน ค.ศ. 2012 แล้วเตรยมการอีก 5 ปี ประกอบด้วยตัวอย่างชนิดชิ้นส่วนหลังกะโหลกที่สมบูรณ์มากกว่า 50% ส่วนตัวอย่างชนิดอื่นได้แก่ กระดูกส่วนเดนทารี (dentary) เดี่ยวที่ได้รัีบการอธิบายใน ค.ศ. 2014 และ pes material[2] ส่วนตัวอย่างชนิดเพิ่มเติมยังไม่ได้มีการเตรียมการใน ค.ศ. 2023[1]

กระดูกเหล่านั้นถือเป็นไดโนเสาร์สกุลและชนิดใหม่ที่มีชื่อว่า Minimocursor phunoiensis ใน ค.ศ. 2023 โดยชื่อสกุล "Minimocursor" เป็นรูปประสมภาษาละตินของ "minimus" หมายถึง "เล็กที่สุด" ซึ่งอ้างถึงขนาดตัวอย่างต้นแบบแรกที่เล็ก กับ "cursor" ที่หมายถึง "นักวิ่ง" ส่วนชื่อเฉพาะ "phunoiensis" สื่อถึง ภูน้อย สถานที่ขุดค้น[1]

รายละเอียด

[แก้]

ตัวอย่างต้นแบบแรกที่ยังไม่โตเต็มวัยได้รับการประมษณการว่ามีความยาว 0.6 เมตร (2.0 ฟุต) ซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกับ Agilisaurus ซากที่ใหญ่กว่าบอกเป็นนัยว่ไดโนเสาร์ขนาดโตเต็มที่น่าจะมีความยาว 2 เมตร (6.6 ฟุต)[1]

วิวัฒนาการชาติพันธุ์

[แก้]
แบบจำลองไดโนเสาร์ที่มีชีวิต แสดงขนนกดั้งเดิมที่อิงจาก Kulindadromeus

Manitkoon et al. (2023) เพิ่ม Minimocursor เข้าในการวิเคราะห์วิวัฒนาการชาติพันธุ์ ทั้งสามเคลดอยู่ที่ฐานของนีโอออร์นิทิสเกียที่อยู่นอก Thescelosauridae กับ Cerapoda ทำให้เป็นนีโอออร์นิทิสเกียขั้นฐานชนิดแรกที่มาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แผนภาพวิวัฒนาการชาติพันธุ์ของไดโดเนสาร์ชนิดนี้เป็นไปตามข้างล่าง:[1]

Neornithischia

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Manitkoon, Sita; Deesri, Uthumporn; Khalloufi, Bouziane; Nonsrirach, Thanit; Suteethorn, Varavudh; Chanthasit, Phornphen; Boonla, Wansiri; Buffetaut, Eric (2023). "A New Basal Neornithischian Dinosaur from the Phu Kradung Formation (Upper Jurassic) of Northeastern Thailand". Diversity. 15 (7): 851. doi:10.3390/d15070851.
  2. Buffetaut, Eric; Suteethorn, Suravech; Suteethorn, Varavudh; Deesri, Uthumporn; Tong, Haiyan (2014). "Preliminary note on a small ornithopod dinosaur from the Phu Kradung Formation (terminal Jurassic – basal Cretaceous) of Phu Noi, north-eastern Thailand" (PDF). Journal of Science and Technology, Mahasarakham University. 33 (4): 344–347.