Mermaids: The Body Found
บทความนี้มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษ เนื่องจากยังไม่มีชื่อภาษาไทยที่กระชับ เหมาะสม, ไม่ปรากฏคำอ่านที่แน่ชัด หรือไม่ปรากฏคำแปลที่ใช้ในทางวิชาการ |
Mermaids: The Body Found | |
---|---|
กำกับ | Sid Bennett Director of Animation - Steve Gomez |
เขียนบท | Charlie Foley Vaibhav Bhatt |
เนื้อเรื่อง | Charlie Foley Vaibhav Bhatt |
อำนวยการสร้าง | Darlow Smithson, Tom Brisley |
ผู้จัดจำหน่าย | ดิสคัฟเวอรี่ คอมมูนิเคชั่นส์ แอนิมอลแพลนเน็ต |
ความยาว | 90 นาที |
ภาษา | อังกฤษ |
Mermaids: The Body Found เป็นสารคดีที่ออกอากาศทางช่องแอนิมอลแพลนเน็ต โดยดิสคัฟเวอรีแชนแนล แพร่ภาพออกอากาศทางแอนิมอลแพลนเน็ตเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 2012 และทางดิสคัฟเวอรีแชนแนลในวันที่ 17 มิถุนายน ปีเดียวกัน
เนื้อเรื่อง
[แก้]ในปี ค.ศ. 1997 องค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ (NOAA) ได้บันทึกเสียงลึกลับที่เรียกว่า "บลุป" ได้ที่นอกชายฝั่งด้านมหาสมุทรแปซิฟิคของอเมริกาใต้ ซึ่งไม่มีใครตอบได้ว่านั่นคือ เสียงของอะไร ?
ในปี ค.ศ. 2004 มีฝูงวาฬตายเกยตื้นที่ชายฝั่งของอเมริกากับออสเตรเลียอย่างไม่ทราบสาเหตุ โดยเชื่อว่าเป็นผลมาจากการใช้คลื่นโซนาร์ใต้น้ำเป็นอาวุธของกองทัพเรือสหรัฐ ทีมนักวิทยาศาสตร์ของ NOAA นำโดย ดร.ไบรอัน แมคคอร์มิค และ ดร.พอล โรเบิร์ตสัน เดินทางไปตรวจสอบ ปรากฏว่าพบหลักฐานอะไรบางอย่างที่ผิดแปลกไปจากความรู้เดิม ๆ โดยหลักฐานทั้งหมดบ่งไปว่าในใต้ทะเลลึกนั้นมีสิ่งมีชีวิตบางอย่างที่มนุษย์ไม่รู้จักมาก่อน
พร้อมกันนั้น ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2004 ที่ชายฝั่งรัฐวอชิงตัน มีเหตุการณ์วาฬเกยตื้น มีเด็กผู้ชาย 2 คน ถ่ายวิดีโอคลิปของตัวเองถึงเหตุการณ์ครั้งนี้ และได้พบอะไรบางอย่างนอกเหนือจากซากวาฬ ซึ่งสิ่งนั้นถูกอธิบายว่าเป็นนางเงือกบนชายหาด รวมทั้งได้มีการบันทึกเสียงลึกลับคล้ายกับเสียงบลุป ที่ปะปนมาพร้อมกับเสียงของโลมาและวาฬ เสมือนการสื่อสารกัน แต่นักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเสียงโลมาลงความเห็นว่านี่ไม่ใช่เสียงของโลมา
พร้อมกับหลักฐานอื่น ๆ เช่น ปลาฉลามขาวตัวหนึ่งที่ถูกจับได้ที่ชายฝั่งแอฟริกาใต้ มีบาดแผลเต็มตัว ที่สำคัญในรอยแผลเหล่านั้นมีวัสดุบางอย่างที่ดูเหมือนว่าจะเป็นอาวุธคล้ายหอกหรือฉมวกที่ใช้ทิ่มแทงปลาฉลามตัวนี้ ตลอดจนคำให้สัมภาษณ์ของชาวประมงบางรายที่นอกชายฝั่งเยอรมนีอ้างว่า ตนสามารถถ่ายรูปและเชื่อว่า "เจ้าสิ่งนี้" เป็นผู้ใช้หอก
และยังไม่เคยเห็นมาก่อน นักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้ได้ค้นพบชิ้นส่วนเศษซากของสิ่งมีชีวิตบางอย่างในท้องของปลาฉลามตัวที่พบในแอฟริกาใต้ เศษซากนั้นเหลือเพียงร้อยละ 30 เท่านั้น แต่จากการได้ศึกษาดูพบว่า มันคล้ายครีบปลา แต่ไม่ใช่ปลา รวมถึงพบอวัยวะบางอย่างที่เมื่อศึกษาลงไปแล้วพบว่า คล้ายมือของมนุษย์ด้วย จึงมีทฤษฎีเกี่ยวกับบรรพบุรุษของมนุษย์เมื่อหลายล้านปีก่อนกลุ่มหนึ่งที่ลงทะเลและวิวัฒนาการตัวเองให้เป็นกึ่งมนุษย์กึ่งปลาอาศัยอยู่ในทะเล โดยเป็นมิตรกับโลมาด้วย
Mermaids: The New Evidence
[แก้]ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2013 ทางช่องแอนิมอลแพลนเน็ต ได้เผยแพร่คลิปวิดีโอที่อ้างว่าถ่ายโดยนักชีววิทยาทางทะเล ในทะเลลึกของเกาะกรีนแลนด์ พบมีบางสิ่งคล้ายมือของมนุษย์มาแปะกระทบกับกระจกของเรือดำน้ำ โดยมือนั้นคล้ายกับมือของมนุษย์แต่มีนิ้วแหลมตอนปลายและมีพังผืดคล้ายกบ และคลิปวิดีโอของนักท่องเที่ยวที่ชายฝั่งอิสราเอล สามารถถ่ายภาพของนางเงือกที่ขึ้นมาบนโขดหินและกระโดดหนีลงน้ำไว้ได้ ซึ่งทางนายกเทศมนตรีประจำเมืองของอิสราเอลตั้งรางวัลไว้ถึง 1 ล้านดอลลาร์ สำหรับผู้ที่สามารถจับตัวนางเงือกนี้ไว้ได้
ผลกระทบ
[แก้]คลิปวิดีโอทั้ง 2 ชุดนี้ เป็นที่ฮือฮาอย่างมากเมื่อถูกเผยแพร่และตกเป็นข่าวโด่งดัง โดยมีเรตติ้งสูงสุดของทางช่อง มีจำนวนผู้ชมมากถึง 3.6 ล้านครัวเรือนในสหรัฐอเมริกา นับว่าสูงที่สุดตั้งแต่มีการก่อตั้งช่องขึ้นมา
แต่ทาง NOAA ได้ปฏิเสธถึงเรื่องราวนี้ และยืนยันว่า ดร.พอล โรเบิร์ตสัน ไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์ของหน่วยงาน และไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์ตัวจริงด้วย แต่เป็นนักแสดง ซึ่งเรื่องราวของสารคดีทั้ง 2 ชุดนี้เป็นเรื่องแต่งหรือหลอกลวงทั้งสิ้น ซึ่งทางทีมงานผู้สร้างก็ยอมรับว่าเป็นเรื่องแต่งขึ้นมาให้ดูสมจริง โดยอาศัยจากความเชื่อต่าง ๆ ในอดีตมาปะติดปะต่อกัน มีการตั้งข้อสังเกตว่าสารคดีทั้ง 2 ชุดนี้ ต้องการนำเสนอทฤษฎีของมนุษย์วานรที่อาศัยอยู่ในทะเล[1] [2] [3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สารคดีเมืองนอกแฉข้อมูลใหม่ ระบุ "เงือก" อาจมีจริง (ชมคลิป) ทางข่าวสด
- ↑ "Mermaid hoax drowns Animal Planet's ratings record (อังกฤษ)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-21. สืบค้นเมื่อ 2013-09-13.
- ↑ How HOAX Mermaid 'mockumentary' gave Animal Planet its biggest audience EVER (อังกฤษ)