อุปาทานหมู่
อุปาทานหมู่ /อุปา- หรือ อุบปา-/ (อังกฤษ: collective hysteria, collective obsessional behavior, mass hysteria หรือ mass psychogenic illness) เป็นปรากฏการณ์ทางจิตสังคมอย่างหนึ่ง มีลักษณะเป็นการแสดงออกอย่างเดียวกับโรคฮิสเตอเรีย หรือโรคผีเข้า (อังกฤษ: hysteria) แต่อุปาทานหมู่นั้นเป็นอาการสมดังชื่อ คือ เกิดขึ้นในคนหมู่ โดยมักมีสาเหตุจากการที่คนกลุ่มหนึ่งเชื่อว่าตนกำลังประสบภาวะเจ็บป่วยหรืออาการอื่นอย่างเดียวกัน
คำ "อุปาทานหมู่" นั้นอาจเขียนผิดเป็น "อุปทานหมู่" ซึ่งคำ "อุปทาน" นั้นเป็นศัพท์ทางเศรษฐศาสตร์ ตรงกับภาษาอังกฤษว่า "supply" คู่กับ "demand" หรือ "อุปสงค์"
ลักษณะ
[แก้]ปรากฏการณ์อุปาทานหมู่นั้นเกิดขึ้นเมื่อบุคคลหนึ่งเกิดป่วยหรือมีอาการของโรคฮิสเตอเรียอันเป็นผลมาจากภาวะเครียด[1] และเมื่อผู้ป่วยคนนั้นเริ่มแสดงอาการ คนอื่น ๆ รอบข้างก็เริ่มแสดงอาการด้วยเพราะเชื่อว่าตัวเองก็ประสบภาวะอย่างเดียวกัน อาการที่แสดงเช่นว่ามักได้แก่ อาการคลื่นไส้ (nausea), อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง (muscle weakness) การชัก (fit) หรืออาการปวดศีรษะ (headache)[2]
อุปาทานหมู่มีลักษณะเด่นตรงที่ไม่อาจหาสาเหตุแน่ชัดได้ อาการที่เกิดก็มักมีความคลุมเครือ แต่มักเชื่อกันว่ามีสาเหตุมาจากอำนาจเหนือธรรมชาติหรือเป็นทางทางศาสนา[2] โดยว่ากันทางประชากรศาสตร์ อุปาทานหมู่เกิดมากในเพศเมีย และในหมู่ผู้ที่รับบริการทางการแพทย์บ่อย ๆ คือพวกที่รับประทานยาหรือใช้ยามาก ๆ เป็นต้น
อาการตื่นตระหนกทางใจ (moral panic) มีอาการแสดงคล้ายกับอุปาทานหมู่มาก
ข้อวิจารณ์
[แก้]เจอโรม คลาร์ก (Jerome Clark) นักวิจัยเรื่องเหลือเชื่อและจานผี ชาวอเมริกัน กล่าวว่า[3] อุปาทานหมู่เป็นคำอธิบายอันไร้มูลฐานเมื่อเจ้าหน้าที่หรือผู้เชี่ยวชาญไม่อาจหาคำอธิบายกรณียุ่งเหยิงหรือน่าตระหนกใจได้
เหตุการณ์อุปาทานหมู่ที่โด่งดังสองเหตุการณ์ ได้แก่ กรณีการเสียชีวิตของกลอเรีย รามิเรซ และกรณีอุกกาบาตที่ประเทศเปรู พ.ศ. 2550
ดูเพิ่ม
[แก้]- ผลของกิจกรรมหมู่ (อังกฤษ: bandwagon effect)
- พฤติกรรมร่วม (อังกฤษ: collective behaviour)
- ความกระตือรือร้นร่วม (อังกฤษ: collective effervescence)
- จิตวิทยาฝูงชน (อังกฤษ: crowd psychology)
- ฟอลีอาเดอ (อังกฤษ: folie à deux)
- พฤติกรรมแบบกลุ่ม (อังกฤษ: group behaviour)
- โรคติดต่อแบบฮิสเตอเรีย (อังกฤษ: hysterical contagion)
- Mean world syndrome (อังกฤษ: collective effervescence)
- อาการตื่นตระหนกทางใจ (อังกฤษ: moral panic)
- การล่าแม่มด (อังกฤษ: witch hunting)
กรณีตัวอย่าง
[แก้]- โรคชอบเต้น (อังกฤษ: dancing mania) - เช่น การระบาดของโรคชอบเต้น พ.ศ. 2060 (Dancing Plague of 1518)
- อสุรกายแห่งลอนดอน
- มนุษย์ลิงแห่งกรุงนิวเดลี
- โรคจู๋
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Doubts raised over Melbourne airport scare". (2005, 27 April). ABC News Online. [Online]. Available: <http://www.abc.net.au/news/newsitems/200504/s1353989.htm>. (Accessed: 15 April 2009).
- ↑ 2.0 2.1 Glenn Swogger, Jr. (1999, 1 August). Rumble in the Bronx: Mass Hysteria and the "Chemicalization" of Demonology. [Online]. Available: <http://www.acsh.org/healthissues/newsID.155/healthissue_detail.asp เก็บถาวร 2012-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน>. (Accessed: 15 April 2009).
- ↑ Clark, Jerome (1993). Unexplained! 347 Strange Sightings, Incredible Occurrences, and Puzzling Physical Phenomena. Canton, Milwaukee: Visible Ink Press. ISBN 0-8103-9436-7.