แมร์แยม มีร์ซอฆอนี
แมร์แยม มีร์ซอฆอนี | |
---|---|
เปอร์เซีย: مریم میرزاخانی | |
มีร์ซอฆอนีขณะเข้ารับรางวัลเหรียญฟีลดส์ที่กรุงโซลใน ค.ศ. 2014 | |
เกิด | 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2520 เตหะราน จักรวรรดิอิหร่าน |
เสียชีวิต | 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 (40 ปี) สแตนฟอร์ด รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา |
สัญชาติ | อิหร่าน[1][2] |
รางวัล |
|
อาชีพทางวิทยาศาสตร์ | |
สาขา | คณิตศาสตร์ |
สถาบันที่ทำงาน |
แมร์แยม มีร์ซอฆอนี (เปอร์เซีย: مریم میرزاخانی; อังกฤษ: Maryam Mirzakhani) เป็นนักคณิตศาสตร์ชาวอิหร่าน[3][4][5][1] และศาสตราจารย์ด้านคณิตศาสตร์ประจำมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด[6][7][8] เธอเป็นผู้หญิงคนแรกและชาวอิหร่านคนแรกที่ได้รับรางวัลเหรียญฟีลดส์
วัยเด็กและการศึกษา
[แก้]เธอเคยเข้าแข่งขันคณิตศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศสองครั้ง ได้แก่ พ.ศ. 2537 ที่ฮ่องกงและ พ.ศ. 2538 ที่นครโตรอนโต ประเทศแคนาดา และได้รับรางวัลเหรียญทองทั้งสองครั้ง โดยในครั้งแรกที่ฮ่องกงเธอทำคะแนนได้ 41 คะแนนจาก 42 คะแนน ส่วนครั้งที่สองที่แคนาดาเธอได้คะแนนเต็ม[9]
พ.ศ. 2542 มีร์ซอฆอนีจบการศึกษาวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาคณิตศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแชรีฟ (Sharif University of Technology) และเดินทางไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกาจนจบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดใน พ.ศ. 2547 โดยมีที่ปรึกษาได้แก่เคอร์ทิส ที. แมกมัลเลนซึ่งเคยได้รับเหรียญฟีลดส์ใน พ.ศ. 2541 [10] ขณะศึกษาที่ฮาร์วาร์ดเธอเป็นที่รู้จักว่าเป็นคนที่มุ่งมั่นและไม่หยุดตั้งคำถาม แม้ว่าภาษาอังกฤษจะไม่ใช่ภาษาแม่ของเธอก็ตาม เธอมักจดบันทึกเป็นภาษาเปอร์เซีย[11]
ผลงานวิชาการ
[แก้]เมื่อจบปริญญาเอก เธอเข้าทำงานเป็นนักวิจัยที่สถาบันคณิตศาสตร์เคลย์และดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยพรินซ์ตันก่อนจะไปดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดใน พ.ศ. 2552[12]
มีร์ซอฆอนีได้รับรางวัลเหรียญฟีลดส์ใน พ.ศ. 2557 จากงานวิจัยเกี่ยวกับผิวรีมันและปริภูมิมอดุลัสของผิวรีมัน[13] ซึ่งเธอเป็นผู้หญิงคนแรกและชาวอิหร่านคนแรกที่ได้รับรางวัลนี้
เธอนิยามตัวเองว่าเป็นนักคณิตศาสตร์ที่ "ช้า" เธอเชื่อว่าต้องทุ่มเทและตั้งใจเพื่อที่จะได้เห็นความงามของคณิตศาสตร์ ขณะที่เธอกำลังขบคิดปัญหา เธอจะวาดรูปการ์ตูนแล้วทดสมการคณิตศาสตร์ที่เธอคิดรอบตัวการ์ตูนที่เธอวาด ลูกสาวของเธอใช้คำว่า "วาดภาพ" เมื่อพูดถึงวิธีการทำงานของมีร์ซอฆอนี[14][15]
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]มีร์ซอฆอนีสมรสกับยัน ว็อนดราก นักวิทยาการคอมพิวเตอร์เชิงทฤษฎีและนักวิทยาศาสตร์ประยุกต์ชาวเช็ก[16][17] และมีลูกสาวหนึ่งคนได้แก่อานาฮิตา[18]
การเสียชีวิต
[แก้]พ.ศ. 2556 แพทย์ได้ตรวจพบว่าเธอเป็นโรคมะเร็งเต้านม[19] ก่อนจะลุกลามไปยังกระดูกและตับในอีก 3 ปีถัดมา[14][20] และเสียชีวิตในวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 ด้วยวัย 40 ปี[14][21][5][22]
ประธานาธิบดีแฮแซน โรว์ฮอนีแห่งสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านได้กล่าวสดุดีและไว้อาลัย โดยมีใจความว่ามีร์ซอฆอนีเป็นนักคณิตศาสตร์ที่ยอดเยี่ยม เป็นผู้ที่ทำให้ชื่อเสียงของอิหร่านในวงการวิชาการเป็นที่รู้จัก และเป็นผู้นำทางให้ผู้หญิงชาวอิหร่านกล้าและมุ่งมั่นที่จะแสดงความสามารถของตนในเวทีสากล[23]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Mirzakhani, Maryam. "Curriculum Vitae" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 24 November 2005. สืบค้นเมื่อ 13 August 2014.
- ↑ Valette, Alain. "The Fields Medalists 2014" (PDF). Neuchâtel, Switzerland: Institut de mathématiques, Université de Neuchâtel. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-07-20. สืบค้นเมื่อ 15 July 2017.
- ↑ "وبسایت رسمی مریم میرزاخانی". mmirzakhani.com (ภาษาเปอร์เซีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-08. สืบค้นเมื่อ 2018-09-06.
- ↑ "Maryam Mirzakhani, first woman to win maths' Fields Medal, dies". BBC News. bbc.com. 2014-08-12. สืบค้นเมื่อ 2017-07-16.
- ↑ 5.0 5.1 Chang, Kenneth (16 July 2017). "Maryam Mirzakhani, only woman to win a Fields Medal, dies at 40". The New York Times.
- ↑ Mirzakhani, Maryam (2007). "Weil-Petersson volumes and intersection theory on the moduli space of curves" (PDF). Journal of the American Mathematical Society. 20 (1): 1–23. Bibcode:2007JAMS...20....1M. doi:10.1090/S0894-0347-06-00526-1. MR 2257394.
- ↑ Mirzakhani, Maryam (January 2007). "Simple geodesics and Weil-Petersson volumes of moduli spaces of bordered Riemann surfaces". Inventiones Mathematicae. 167 (1): 179–222. Bibcode:2006InMat.167..179M. doi:10.1007/s00222-006-0013-2. ISSN 1432-1297.
- ↑ "Report of the President to the Board of Trustees". Stanford University. 9 April 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-26. สืบค้นเมื่อ 12 August 2014.
- ↑ "International Mathematical Olympiad". มูลนิธิคณิตศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ. สืบค้นเมื่อ 6 ธันวาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "Maryam Mirzakhani". The Mathematics Genealogy Project. Genealogy.math.ndsu.nodak.edu. สืบค้นเมื่อ 21 October 2017.
- ↑ "Maryam Mirzakhani, Stanford mathematician and Fields Medal winner, dies". news.stanford.edu. 2017-07-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-11. สืบค้นเมื่อ 21 October 2017.
- ↑ Juris, Yvonne (16 July 2017). "Maryam Mirzakhani, first woman to receive the prestigious Fields Medal, dies at the age of 40 after breast cancer battle". People Magazine.
- ↑ "Fields Medals 2014 | International Mathematical Union (IMU)". สหภาพคณิตศาสตร์ระหว่างประเทศ. สืบค้นเมื่อ 7 ธันวาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ 14.0 14.1 14.2 Myers, Andrew; Carey, Bjorn (15 July 2017). "Maryam Mirzakhani, Stanford mathematician and Fields Medal winner, dies". Stanford News. สืบค้นเมื่อ 17 July 2017.
- ↑ Jacobson, Howard (29 July 2017). "The world has lost a great artist in mathematician Maryam Mirzakhani". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 21 October 2017.
- ↑ "بیوگرافی مریم میرزاخانی؛ ستاره پرفروغ دنیای ریاضیات [Biography Maryam Mirzakhani; the best-selling star of the world of mathematics]" (ภาษาเปอร์เซีย). Zoomit. 24 July 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-20. สืบค้นเมื่อ 2019-12-07.
- ↑ "Jan Vondrák, CV" (PDF). Stanford University. สืบค้นเมื่อ 14 July 2017.
- ↑ "A Tenacious Explorer of Abstract Surfaces", simonsfoundation.org. Retrieved 13 April 2014.
- ↑ "PressTV-Iranian math genius battles cancer at US hospital". Presstv.ir. สืบค้นเมื่อ 16 July 2017.
- ↑ France-Presse, Agence (15 July 2017). "Sorrow as Maryam Mirzakhani, the first woman to win mathematics' Fields Medal, dies aged 40". The Telegraph. สืบค้นเมื่อ 15 July 2017.
- ↑ "Maryam Mirzakhani died" (ภาษาเปอร์เซีย). Mehr news Agancy. 15 July 2017.
- ↑ "مریم میرزاخانی، ریاضیدان برجسته ایرانی درگذشت [Maryam Mirzakhani, a prominent Iranian mathematician, dies]". BBC News فارسی (ภาษาเปอร์เซีย). BBC Persian. 15 July 2017. สืบค้นเมื่อ 15 July 2017.
- ↑ "Iranian math genius Mirzakhani passes away". 15 July 2017.