ข้ามไปเนื้อหา

มาร์วิน เกย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Marvin Gaye)
มาร์วิน เกย์
Marvin Gaye
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อเกิดมาร์วิน เพนต์ซ เกย์ จูเนียร์[1]
รู้จักในชื่อ"เจ้าชายแห่งโมทาวน์"
เกิด2 เมษายน ค.ศ. 1939(1939-04-02)
เสียชีวิต1 เมษายน ค.ศ. 1984(1984-04-01) (44 ปี)
แนวเพลงดนตรีโซล, โมทาวน์, ฟังก์, อาร์แอนด์บี, ร็อกแอนด์โรล, ดู-ว็อป, ไควเอ็ตสตรอม, ไซเคเดลิกโซล, ป็อป
อาชีพนักร้อง, นักแต่งเพลง, โปรดิวเซอร์
เครื่องดนตรีเปียโน, กลอง, เครื่องสังเคราะห์เสียง
ช่วงปี1958–1984
ค่ายเพลงMotown (Tamla-Motown), Columbia

มาร์วิน เพนต์ซ เกย์ จูเนียร์ (อังกฤษ: Marvin Pentz Gaye, Jr.) [1] (2 เมษายน ค.ศ. 1939 - 1 เมษายน ค.ศ. 1984) เป็นนักร้อง นักแต่งเพลง ชาวอเมริกัน สามารถเล่นดนตรีได้หลายประเภทอย่างเช่น กลอง เปียโน เขามีเสียงร้อง 3 อ็อกเทฟ[2] เริ่มต้นอาชีพจากการเป็นสมาชิกวงแนวดู-ว็อป ที่ชื่อ เดอะ มูนโกลว์ส ในช่วงปลายทศวรรษ 1950 จากนั้นออกผลงานเดี่ยวหลังจากวงแตกในปี 1960 เขาเซ็นสัญญากับค่ายโมทาวน์ ร่วมกับแทมรา หลังจากนั้น เกย์ติดอันดับศิลปินเดี่ยวขายดีที่สุดของค่ายในช่วงทศวรรษ 1960

ในฐานะศิลปินเดี่ยวเขามีเพลงฮิตอย่างเช่น "How Sweet It Is (To Be Loved by You) ", "Ain't That Peculiar", "I Heard It Through the Grapevine" และซิงเกิลร้องคู่กับนักร้องหลายคนอย่าง แมรี เวลส์ และ แทมมี เทอร์เรลล์ เขาได้รับฉายาว่าเป็น "เจ้าชายแห่งโมทาวน์"[3] และ "เจ้าชายแห่งโซล"[4]

แต่ด้วยกระบวนการ ขั้นตอนของค่ายเพลงโมทาวน์ ที่จะแยกนักร้องและนักเขียนเพลงออกจากกันอย่างชัดเจน[5] แต่เกย์ก็พิสูจน์ในอัลบั้มของเขาที่ชื่อ What's Going On (1971) และ Let's Get It On (1973) ที่เขาแสดงให้เห็นว่าเขาสามารถผลิตผลงานเพลงเองได้โดยปราศจากกระบวนการแบบเดิมของค่าย ซึ่งก็เป็นอิทธิพลให้ศิลปินรุ่นหลังในค่ายอย่าง สตีวี วันเดอร์[6] และ ไมเคิล แจ็กสัน[7]

ในช่วงกลางยุคทศวรรษ 1970 ผลงานของเขา รวมถึงอัลบั้ม Let's Get It On และ I Want You เป็นอัลบั้มที่สร้างอิทธิพลให้กับเพลงแนวไควเอ็ตสตรอม, เพลงเออร์เบิร์นร่วมสมัย และแนวเพลงจำพวกสโลว์แจม หลังจากนั้นเขาเนรเทศตัวเองออกไปสู่ตลาดยุโรปในช่วงปลายยุค 1970 ถึงกระนั้นเขาก็กลับมาอเมริกาในปี 1982 และได้รับรางวัลแกรมมี่กับเพลง "Sexual Healing" และออกผลงานชุด Midnight Love

มาร์วิน เกย์ เสียชีวิตด้วยกระสุนปืนจากน้ำมือของพ่อเขาเอง หลังจากทั้งคู่มีปากเสียงกัน เมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1984 เพียงหนึ่งวันก่อนที่เกย์จะมีอายุครบ 45 ปี

ชื่อของมาร์วิน เกย์ ได้รับการจัดอยู่ในร็อกแอนด์โรลฮอลล์ออฟเฟม ในปี 1987 ต่อมาในปี 2008 นิตยสารโรลลิงสโตน จัดอันดับให้ มาวินเกย์ ติดอยู่อันดับที่ 1ของนักร้องที่เยี่ยมที่สุดตลอดกาล[8] และยังติดอันดับ 18 ของการจัดอันดับ 100 ศิลปินที่เยี่ยมที่สุดตลอดกาล[9]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Simmonds, Jeremy (2008). The Encyclopedia of Dead Rock Stars: Heroin, Handguns, and Ham Sandwiches. Chicago Review Press. p. 190. ISBN 1-556-52754-3.
  2. Billboard: Marvin Gaye
  3. Edmonds, Ben (2003). What's Going On?: Marvin Gaye and the Last Days of the Motown Sound. Canongate U.S. p. 12. ISBN 184-195314-8.
  4. Ritz, David (1991). Divided Soul: The Life of Marvin Gaye. Da Capo Press. ISBN 9780306804434.
  5. Garofalo, pgs. 261–262
  6. "Marvin Gaye - Singer/Songwriter". BBC - h2g2. 2007-06-05. สืบค้นเมื่อ 2008-08-23. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  7. "Marvin Gaye's talent lives on in his musical accomplishments". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-11. สืบค้นเมื่อ 2008-10-28.
  8. "Rolling Stone: 100 Greatest Singers Of All Time, Page 6". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-29. สืบค้นเมื่อ 2009-01-15.
  9. "Rolling Stone: The Immortals, The first 50". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-30. สืบค้นเมื่อ 2009-01-15.