ข้ามไปเนื้อหา

มาร์ติน ลูเทอร์ คิง จูเนียร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Martin Luther King Jr.)
มาร์ติน ลูเทอร์ คิง จูเนียร์
Portrait of King
ประธานคนแรกแห่ง Southern Christian Leadership Conference
ดำรงตำแหน่ง
10 มกราคม ค.ศ.1957 – 4 เมษายน ค.ศ.1968
ก่อนหน้าเพิ่งก่อตั้ง
ถัดไปราล์ฟ อเบอร์นาธี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
ไมเคิล คิง จูเนียร์

15 มกราคม ค.ศ. 1929(1929-01-15)
แอตแลนตา, รัฐจอร์เจีย, สหรัฐ
เสียชีวิต4 เมษายน ค.ศ. 1968(1968-04-04) (39 ปี)
เมมฟิส, สหรัฐ
ลักษณะการเสียชีวิตถูกลอบสังหาร
ที่ไว้ศพMartin Luther King Jr. National Historical Park
คู่สมรสโคเร็ตตา สก็อตต์ (สมรส 1953)
บุตรโยแลนดา
มาร์ติน
เด็กซ์เตอร์
เบอร์นิซ
บุพการีมาร์ติน ลูเทอร์ คิง ซีเนียร์
อัลเบอร์ตา วิลเลียมส์ คิง
ความสัมพันธ์คริสติน คิง ฟาร์ริส (พี่สาว)
อัลเฟรด แดเนียล วิลเลียม คิง (น้องชาย)
อัลเวดา คิง (หลานสาว)
การศึกษาMorehouse College (BA)
Crozer Theological Seminary (BDiv)
มหาวิทยาลัยบอสตัน (PhD)
อาชีพศาสนาจารย์, activist
เป็นที่รู้จักจากCivil rights movement, Peace movement
รางวัลรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ (1964)
เหรียญอิสรภาพประธานาธิบดี (1977, หลังมรณกรรม)
Congressional Gold Medal (2004, หลังมรณกรรม)
อนุเสาวรีย์Martin Luther King Jr. Memorial
ลายมือชื่อ

มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ (อังกฤษ: Martin Luther King, Jr.; 15 มกราคม พ.ศ. 2472 - 4 เมษายน พ.ศ. 2511) เป็นศาสนาจารย์และนักต่อสู้เพื่อสิทธิพลเมืองชาวแอฟริกัน-อเมริกัน

ประวัติ

[แก้]

มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ เกิดในเมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย ใน พ.ศ. 2472 (1929) เป็นบุตรของศิษยาภิบาลคณะแบปทิสต์ ศาสนาเป็นส่วนสำคัญในชีวิตเขาเสมอมา เนื่องจากทั้งพ่อและปู่ของเขาเป็นนักเทศน์ในนิกายแบปทิสต์ (Baptist) เขาเรียนผ่านชั้นมัธยมปลายได้อย่างง่ายดาย แต่โดนทำร้ายรุนแรง โดยเรียนจบเมื่ออายุได้ 15 ปีเท่านั้น จากนั้นจึงได้เข้าเรียนมหาวิทยาลัยที่ มอร์เฮาส์ คอเลจ (Morehouse College) และใช้เวลาอีกสามปีเพื่อศึกษาด้านเทววิทยาที่ Crozer Seminary เขาเรียนจบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยบอสตัน[1]

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

ขณะที่เรียนปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยบอสตันอยู่ เขาได้พบกับ คอเร็ดดา สกอตต์ ภรรยาของเขาซึ่งภายหลังทั้งคู่มีบุตรด้วยกัน 4 คน คิงและครอบครัวตั้งรกรากกันที่เมืองมอนต์กอเมอรี ในรัฐแอละแบมา (Montgomery, Alabama) ที่ซึ่งเขาได้เป็นนักเทศน์คนที่ 20 ของโบสถ์แบ๊บติสต์บนถนนเด็กซ์เตอร์ เอเวนิว (Dexter Avenue Baptist Church)

การสุนทรพจน์ว่าด้วยการเหยียดสีผิว

[แก้]

เหตุการณ์ในปี 1955 ที่หญิงผิวสี โรซา พาร์คส์ ถูกจับเนื่องจากปฏิเสธที่จะสละที่นั่งบนรถเมล์เมืองมอนต์กอเมอรีให้กับชายผิวขาว เป็นสิ่งที่ทำให้การเรียกร้องสิทธิพลเมืองที่คุกรุ่นอยู่แล้วเกิดร้อนระอุขึ้นมา

“การคว่ำบาตรระบบรถขนส่งมวลชนในมอนกอเมอรี รัฐอะลาแบมา ถือว่าประสบความสำเร็จมาก เพราะเขาได้วางแผนมันอย่างดี และทำงานร่วมกับหลายคน เพื่อให้คนในเมืองมอนต์กอเมอรี อะลาแบมาเข้าใจว่าพวกเขาจะไม่ทนกับเรื่องแบบนี้อีกต่อไป”

ประสบการณ์ ความทุ่มเท และการเป็นที่รู้จักในชุมชนของคิง ทำให้เขามีคุณสมบัติเหมาะสมจะเป็นผู้นำในการคว่ำบาตรรถขนส่งมวลชนของเมืองซึ่งยาวนานถึง 381 วัน ในวันที่ 20 ธันวาคม 1956 ศาลฎีกาได้ตัดสินว่าการแบ่งแยกที่นั่งตามสีผิวบนรถเมล์เป็นเรื่องที่ขัดกับรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นชัยชนะครั้งใหญ่ของการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิพลเมืองของคนผิวสี และเป็นเครื่องยืนยันว่าการประท้วงแบบไร้ความรุนแรงของคิงได้ผล

ถึงตอนนี้ คิงเป็นตัวแทนการเรียกร้องสิทธิพลเมืองที่รู้จักไปทั้งประเทศ เขาถูกคุมขังมากกว่า 20 ครั้ง เคยถูกแทงที่หน้าอก บ้านเคยถูกวางระเบิด นอกจากนี้ ทั้งเขาและครอบครัวก็โดนทำร้ายนับครั้งไม่ถ้วน สำหรับชายที่ต้องการต่อสู้อย่างไร้ความรุนแรง ชีวิตส่วนใหญ่ของเขากลับตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงอย่างไม่ว่างเว้น แต่กระนั้น การคุกคามไม่เคยหยุดเขาได้

“ดร.คิงเป็นแรงบันดาลใจให้คนหลายพัน ผ่านการพูดที่คมคายและความกล้าหาญของเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังบ้านเขาถูกวางระเบิด ทั้งภรรยา ลูกและตัวเขายังแสดงออกว่าพวกเขาพร้อมจะเสี่ยงชีวิตในการเรียกร้องเสรีภาพนี้”

คิงทำงานอย่างไม่เหน็ดเหนื่อยเพื่อส่งเสริมในสิ่งที่เขาเชื่อมั่นอย่างแรงกล้า และตั้งแต่ 1957-1968 เขาเดินทางเป็นระยะทางกว่า 6 ไมล์ กล่าวสุนทรพจน์ 250,000 ครั้ง เขียนหนังสือ 5 เล่ม และบทความอีกมากมาย การทำงานหนักและความสามารถในการสื่อสารของเขาทำให้เขาเป็นที่นับถือมาก จนประธานาธิบดี จอห์น เอฟ. เคเนดี้ ยังยอมให้เขาเข้าพบเป็นการส่วนตัวด้วย

ในจำนวนสุนทรพจน์ทั้งหมดที่ด๊อกเตอร์คิงเคยกล่าว ไม่มีอันใดเป็นอมตะไปกว่า สุนทรพจน์ "ผมมีฝัน" (I Have a Dream) ที่กล่าว ณ ขั้นบันไดของอนุสาวรีย์ลินคอล์นอันเป็นสัญลักษณ์ ในปี 1963 ต่อหน้ามวลชนกว่า 250,000 คน ทั้งผิวขาวและผิวสี

คิงกลายมาเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลทางความคิดมากในสหรัฐ จนกระทั่งนิตยสาร ไทมส์ ยกย่องให้เขาเป็น “บุรุษแห่งปี” ในปี 1963 เป็นรางวัลที่น่าพอใจแน่นอน แต่กลับดูเป็นเรื่องเล็กไปเมื่อในปี 1964 เขาได้เป็นชายอายุน้อยที่สุดที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ

ขณะที่อยู่ในเมืองเมมฟิสเพื่อนำการเดินขบวนประท้วงปกป้องสิทธิของคนงานขนขยะที่สไตรค์หยุดงานเมื่อปี 1968 คิงได้กล่าวสุนทรพจน์ปลุกใจที่มีชื่อว่า “ข้าพเจ้าได้ไปถึงยอดเขา” (I’ve Been to The Mountain Top) ซึ่งจะเป็นสุนทรพจน์สุดท้ายของเขา ขณะที่ยืนอยู่บนระเบียงชั้นสองหน้าห้องที่โรงแรมลอเรน ในเมืองเมมฟิส คิงถูกลอบยิงและเสียชีวิต

ในปี 1983 ประธานาธิบดี โรนัลด์ เรแกน ได้ลงนามในประกาศทางการที่กำหนดให้ทุกวันจันทร์ที่ 3 ของเดือนมกราคมเป็นวัน มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ ซึ่งเป็นวันหยุดราชการเพื่อเฉลิมฉลองให้ชายผู้นี้และทุกสิ่งที่เขายืนหยัดต่อสู้มา

อ้างอิง

[แก้]
  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-24. สืบค้นเมื่อ 2019-02-24.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า มาร์ติน ลูเทอร์ คิง จูเนียร์ ถัดไป
สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์นที่ 23 บุคคลแห่งปีของนิตยสารไทม์
(ค.ศ. 1963)
ลินดอน บี. จอห์นสัน