ข้ามไปเนื้อหา

มาร์กาเรต แทตเชอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Margaret Thatcher)
บารอเนสแทตเชอร์
นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร
ดำรงตำแหน่ง
4 พฤษภาคม ค.ศ. 1979 – 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1990
(11 ปี 177 วัน)
กษัตริย์เอลิซาเบธที่ 2
ก่อนหน้าเจมส์ คัลลาฮาน
ถัดไปจอห์น เมเจอร์
ผู้นำฝ่ายค้านในสภาสามัญชน
ดำรงตำแหน่ง
11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1975 – 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1979
กษัตริย์เอลิซาเบธที่ 2
นายกรัฐมนตรีฮาโรลด์ วิลสัน
เจมส์ คัลลาฮาน
ก่อนหน้าเอ็ดเวิร์ด ฮีธ
ถัดไปไมเคิล ฟุต
หัวหน้าพรรคอนุรักษนิยม
ดำรงตำแหน่ง
11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1975 – 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1990
ก่อนหน้าเอ็ดเวิร์ด ฮีธ
ถัดไปจอห์น เมเจอร์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
20 มิถุนายน ค.ศ. 1970 – 4 มีนาคม ค.ศ. 1974
นายกรัฐมนตรีเอ็ดเวิร์ด ฮีธ
ก่อนหน้าเอ็ดเวิร์ด ชอร์ท
ถัดไปเรจินัลด์ เพรนไทซ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด13 ตุลาคม ค.ศ. 1925(1925-10-13)
แกรนเทม ลิงคอล์นเชอร์ ประเทศอังกฤษ
เสียชีวิต8 เมษายน ค.ศ. 2013(2013-04-08) (87 ปี)
นครเวสต์มินสเตอร์ ลอนดอน ประเทศอังกฤษ
ศาสนาคริสตจักรแห่งอังกฤษ
พรรคการเมืองพรรคอนุรักษนิยม
คู่สมรสเดนิส แทตเชอร์
บุตรมาร์ก แทตเชอร์
แครอล แทตเชอร์
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด

มาร์กาเรต ฮิลดา แทตเชอร์ บารอเนสแทตเชอร์ (อังกฤษ: Margaret Hilda Thatcher, Baroness Thatcher; ชื่อเดิม มาร์กาเรต ฮิลดา รอเบิตส์; 13 ตุลาคม ค.ศ. 1925–8 เมษายน ค.ศ. 2013) นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรตั้งแต่ ค.ศ. 1979 ถึง ค.ศ. 1990 และเป็นผู้นำพรรคอนุรักษนิยมตั้งแต่ ค.ศ. 1975 ถึงปี ค.ศ. 1990 โดยเป็นผู้หญิงคนแรก ที่ดำรงทั้งสองตำแหน่งพร้อมกันในประวัติศาสตร์สหราชอาณาจักร และเป็นนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดในช่วงศตวรรษที่ 20 ของสหราชอาณาจักร และอยู่ในตำแหน่งติดต่อกันยาวนานที่สุดนับตั้งแต่สมัยของลอร์ดลิเวอร์พูล และเป็นสตรีคนแรกในจำนวนเพียงสามคนที่ได้ดำรงหนึ่งในสี่ตำแหน่งสำคัญของประเทศ นักข่าวโซเวียตขนานนามเธอว่า "หญิงเหล็ก" จากการดำเนินงานและลักษณะความเป็นผู้นำที่แน่วแน่ของเธอ และเธอยังได้ดำเนินนโยบายที่กลายเป็นที่เรียกกันว่า ลัทธิแทตเชอร์

แทตเชอร์จบการศึกษาสาขาเคมีที่วิทยาลัยซอเมอร์วิลล์ เมืองออกซ์ฟอร์ด และทำงานเป็นนักเคมีวิจัยช่วงสั้น ๆ ก่อนที่จะเป็นเนติบัณฑิต เธอได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของฟินช์ลีย์ในปี ค.ศ. 1959 เอ็ดเวิร์ด ฮีธ แต่งตั้งเธอเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและวิทยาศาสตร์ในรัฐบาลปี ค.ศ. 1970 - 1974 ในปี ค.ศ. 1975 เธอเอาชนะฮีธในการเลือกตั้งผู้นำพรรคอนุรักษนิยมเพื่อเป็นผู้นำฝ่ายค้านโดยเป็นผู้หญิงคนแรกที่เป็นผู้นำพรรคการเมืองสำคัญในสหราชอาณาจักร

ในการเป็นนายกรัฐมนตรีหลังจากชนะการเลือกตั้งทั่วไปในปี ค.ศ. 1979 แทตเชอร์ได้เสนอนโยบายเศรษฐกิจชุดหนึ่งที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อย้อนกลับอัตราเงินเฟ้อที่สูงและการดิ้นรนของสหราชอาณาจักรหลังจากฤดูหนาวแห่งความไม่พอใจและภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่กำลังจะเกิดขึ้น ปรัชญาการเมืองและนโยบายเศรษฐกิจของเธอเน้นย้ำถึงกฎระเบียบ(โดยเฉพาะภาคการเงิน) การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และการลดอำนาจและอิทธิพลของสหภาพแรงงาน ความนิยมของเธอในช่วงปีแรกๆ ในการดำรงตำแหน่งลดลงท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจถดถอยและการว่างงานที่เพิ่มขึ้น จนกระทั่งชัยชนะในสงครามฟอล์กแลนด์ปี ค.ศ. 1982 และเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวกลับมาได้รับการสนับสนุนอีกครั้ง ส่งผลให้เธอได้รับเลือกตั้งใหม่อย่างถล่มทลายในปี ค.ศ. 1983 เธอรอดชีวิตจากการพยายามลอบสังหารโดยกองกำลังเฉพาะกาล ไออาร์เอในโรงแรมไบร์ทตันเมื่อ ค.ศ. 1984 และประสบความสำเร็จทางการเมืองกับชัยชนะเหนือสหภาพแรงงานเหมืองแร่ในการประท้วงค.ศ. 1984 - 1985 ของคนงานเหมือง

แทตเชอร์ได้รับเลือกตั้งใหม่เป็นสมัยที่สามอย่างถล่มทลายอีกครั้งในปี ค.ศ.1987 แต่การสนับสนุนภาษีรายหัวของเธอกลับไม่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย และความคิดเห็นต่อประชาคมยุโรปที่เพิ่มมากขึ้นของเธอไม่ได้มีการพูดคุยกับคณะรัฐมนตรีของเธอ เธอลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคในปี ค.ศ. 1990 หลังจากเกษียณตัวเองจากสภาผู้แทนราษฎรในปี ค.ศ. 1992 มาร์กาเรต แทตเชอร์ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ขุนนางตลอดชีพเป็น 'บารอนเนสแทตเชอร์แห่งเมืองเคสตีเวน ในมณฑลลิงคอล์นไชร์' ซึ่งทำให้เธอได้มีโอกาสนั่งในสภาขุนนางของสหราชอาณาจักร บารอนเนสแทตเชอร์ถึงแก่อสัญกรรมอย่างสงบเมื่อวันที่ 8 เมษายน ค.ศ. 2013 ณ โรงแรมริทซ์ ลอนดอน ด้วยอาการอุดตันของเส้นเลือดสมอง

แทตเชอร์ยังถูกมองว่าอยู่ในเกณฑ์ดีในการจัดอันดับนายกรัฐมนตรีอังกฤษในประวัติศาสตร์ การดำรงตำแหน่งของเธอก่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนนโยบายเสรีนิยมใหม่ในสหราชอาณาจักร โดยมีการถกเถียงกันเกี่ยวกับมรดกอันซับซ้อนที่สืบเนื่องมาจากลัทธิแทตเชอร์จนถึงศตวรรษที่ 21

ชีวิตวัยเด็กและการศึกษา

[แก้]
The corner of a terraced suburban street. The lower storey is a corner shop, now advertising as a chiropractic clinic. The building is two storeys high, with some parts three storeys high. It was formerly Alfred Roberts' shop.
ร้านที่เคยเป็นของพ่อของแทตเชอร์ในปี ค.ศ. 2009
 
photograph of plaque reading "Birth place of the Rt.Hon. Margaret Thatcher, M.P. First woman prime minister of Great Britain and Northern Ireland"
ป้ายอนุสรณ์
มาร์กาเร็ตและพี่สาวขของเธออาศัยอยู่ในแฟลตที่ท้ายถนนนอร์ธพาเรดในวัยเด็ก[1]

ครอบครัวและวัยเด็ก

[แก้]

มาร์กาเรต ฮิลดา รอเบิตส์ เกิดเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม ค.ศ. 1925 ณ เมืองแกรนแธม มณฑลลิงคอล์นเชอร์[2] บิดาของเธอชื่อว่า อัลเฟรด รอเบิตส์ จากมณฑลนอร์ทแธมตันเชอร์ แม่ของเธอชื่อว่า เบียทริซ อีเธล สตีเฟนสัน จากลิงคอร์นเชอร์[2][3] ตาทวดของเธอเกิดใน เคาตี เคอร์รี ประเทศไอร์แลนด์[4] เธอมีพี่สาว 1 คน คือ มูเรียล รอเบิตส์

รอเบิตส์ใช้ชีวิตวัยเด็กของเธอในเมืองแกรนแธมที่ซึ่งพ่อของเธอได้เปิดร้านขายของชำ ในปี ค.ศ. 1938 ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ครอบครัวรอเบิตส์ได้ให้ที่หลบภัยกับสาวชาวยิวที่ได้หนีนาซีเยอรมนี

มาร์กาเรต รอเบิตส์ เมื่ออายุประมาณ 12 - 13 ปี ค.ศ. 1938

หลังจากนั้นพ่อของเธอได้เป็นฆราวาสนักเทศน์ในนิกายเมโทดิส[3] เขามาจากครอบครัวพรรคเสรีนิยม แต่ไม่ได้สังกัดพรรคใด ด้วยถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของการเมืองท้องถิ่นในสมัยนั้น และได้เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดหลังจากที่พรรคเสรีนิยมชนะเสียงข้างมากเป็นครั้งแรกในสภาเมืองแกรนแธมในปี ค.ศ. 1950 เขาเสียตำแหน่งผู้ว่าราชการไปในปี ค.ศ. 1952 มาร์กาเรต รอเบิตส์ได้รับการเลี้ยงดูแบบลัทธิเมโทดิสต์ที่เคร่งครัดศาสนา[5] เธอได้เข้าร่วมโบสถ์นิกายเมโทดิสต์ ฟิงก์คิน สตรีท แต่มาร์กาเร็ตไม่เชื่อมากนัก เนื่องจากความเป็นนักวิทยาศาสตร์ตัวเธอ เธอยงเคยบอกกับเพื่อนว่าเธอไม่สามารถเชื่อในเทวดาได้ เมื่อคำนวณว่าพวกเขาต้องการกระดูกหน้าอกยาวหกฟุตเพื่อรองรับปีก[6]

มาร์กาเรต รอเบิตส์ได้รับการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาฮันติงทาวเวอร์ ก่อนจะได้รับทุนเพื่อศึกษาต่อในโรงเรียนเด็กหญิงเคสตีเวนและแกรนแธม[2][3] ตามรายงานจากโรงเรียนของเธอแสดงให้เห็นว่าเธอมีความขยันและปรับปรุงตัวเองอย่างต่อเนื่อง รอเบิตส์ได้เข้าร่วมกิจกรรมนอกหลักสูตร ได้แก่ เปียโน ฮ็อกกี้สนาม การแสดงบทกวี ว่ายน้ำและเดิน[3] เธอได้เป็นประธานนักเรียนในปี ค.ศ. 1942 - ค.ศ. 1943[7] นักเรียนคนอื่นคิดว่ารอเบิตส์เป็น "นักวิทยาศาสตร์ดาวเด่น" แม้ว่าคำแนะนำที่ผิดผลาดเกี่ยวกับการทำความสะอาดหมึกจากไม้ปาร์เก้-ของเธอเกือบจะทำให้เกิดพิษจากก๊าซคลอรีน ในขณะที่เธออยู่ชั้นม. 6 รอเบิตส์ได้ตัดสินใจยอมรับสำหรับทุนการศึกษาเพื่อศึกษาสาขาเคมีที่วิทยาลัยซอเมอร์วิลล์ เมืองออกซ์ฟอร์ด ซึ่งเป็นวิทยาลัยสตรีโดยเริ่มในปี ค.ศ. 1944 หลังจากที่ผู้สมัครคนอื่นถอนตัว รอเบิร์ตก็ได้เข้า ออกซ์ฟอร์ด ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1943[3][6][8]

ออกซ์ฟอร์ด (ค.ศ. 1943 - ค.ศ. 1947)

[แก้]
วิทยาลัยซัมเมอวิลล์

รอเบิตส์ได้เข้าเรียนที่เมืองออกซ์ฟอร์ดในปี ค.ศ. 1943 และสำเร็จการศึกษาในปี ค.ศ. 1947[2] ด้วยเกียรตินิยมอันดับสอง ในสาขาเคมี 4 ปี ปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิต วิชาเอกผลึกศาสตร์เอ็กซ์เรย์ภายใต้การดูแลของโดโรธี ฮอดจ์กิน[3][8] วิทยานิพนธ์ของเธออยู่เป็นการศึกษาโครงสร้างของยาปฏิชีวนะแกรมิซิดิน[9] นอกจากนี้เธอยังได้รับปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ในปี ค.ศ. 1950[10] รอเบิร์ตส์ไม่ได้เรียนเคมีเพียงเพราะเธอตั้งใจจะเป็นนักเคมีเพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆ[9] เธอยังคิดเกี่ยวกับกฎหมายและการเมืองอยู่แล้ว[11] มีรายงานว่าเธอภูมิใจที่ได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกที่มีปริญญาวิทยาศาสตร์มากกว่าการเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรก[12] ในขณะที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เธอก็พยายามที่จะให้วิทยาลัยซอมเมอร์วิลล์ยังคงเป็นวิทยาลัยสตรี[13] เธอทำงานนอกห้องเรียนสัปดาห์ละสองครั้งในโรงอาหารของกองกำลังท้องถิ่น[14] ในช่วงเวลาที่เธออยู่ที่ออกซ์ฟอร์ด

รอเบิตส์เป็นที่รู้จักจากทัศนคติที่โดดเดี่ยวและจริงจังของเธอ[6] โทนี่ เบรย์ แฟนคนแรกของเธอ เล่าว่าเธอเป็นคนที่ “ช่างคิดและเป็นนักสนทนาที่เก่งมาก นั่นอาจเป็นสิ่งที่ฉันสนใจ และเธอก็เก่งในเรื่องทั่วไป”[6][15] ความกระตือรือร้นในด้านการเมืองของรอเบิร์ตส์ในวัยเด็กทำให้เขาคิดว่าเธอ"ไม่ปกติ" และพ่อแม่ของเธอ"ค่อนข้างเข้มงวด" และ "เหมาะสมมาก"[6][15]

รอเบิตส์ได้รับตำแหน่งประธานสมาคมอนุรักษนิยมแห่งมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดในปี ค.ศ.1946 โดยเป็นสตรีคนที่สามที่อยู่ในตำแหน่งนี้ เธอได้รับอิทธิพลจากงานการเมืองในมหาวิทยาลัย เช่น The Road to Serfdom (1944) ของฟรีดริช ฮาเย็ค[8] ซึ่งประณามการแทรกแซงทางเศรษฐกิจโดยรัฐบาลในฐานะผู้นำของรัฐเผด็จการ[16]

หลังจบจากออกซ์ฟอร์ด(ค.ศ. 1947 - ค.ศ. 1951)

[แก้]

หลังจบการศึกษาเธอได้ย้ายไปยังโคลเชสเตอร์ ในมณฑลเอสเซกส์ เพื่อเป็นนักวิจัยทางด้านเคมีเพื่อศึกษาเกี่ยวกับ บีเอ็กซ์ พลาสติก[3] ในปี ค.ศ. 1958 เธอได้สมัครงานที่ อิมพีเรียลเคมิคอลอินดัสตรี(ICI) แต่ถูกปฏิเสธหลังจากฝ่ายบุคคลประเมินว่าเธอ "เอาแต่ใจ ดื้อรั้น และมีความคิดในตนเองอย่างอันตราย"[17] ในหนังสืออาการ์กล่าวว่าความเข้าใจของเธอเกี่ยวกับการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ส่งผลต่อมุมมองของเธอในฐานะนายกรัฐมนตรีในเวลาต่อมา[18]

รอเบิตส์ได้เข้าร่วมสมาคมอนุรักษนิยมในท้องถิ่นและเข้าร่วมการประชุมพรรคที่ลันดุดโน เวลส์ในปี ค.ศ. 1958 โดยเป็นตัวแทนของสมาคมอนุรักษนิยมระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัย[3] เพื่อนคนหนึ่งในออกซ์ฟอร์ดของเธอเป็นเพื่อนของประธานสมาคมอนุรักษนิยมดาร์ทฟอร์ดในเมืองเคนต์ซึ่งกำลังมองหาผู้สมัคร[3] เจ้าหน้าที่ของสมาคมประทับใจเธอมากจึงขอให้เธอสมัคร แม้ว่าเธอจะไม่อยู่ในรายชื่อที่พรรคอนุมัติ เธอได้รับเลือกในเดือนมกราคม ค.ศ. 1960 (อายุ 24 ปี)

ชีวิตทางการเมืองช่วงต้น

[แก้]

ในการเลือกตั้งทั่วไปในปี ค.ศ. 1950 และ 1951 รอเบิร์ตส์ได้เป็นผู้สมัครพรรคอนุรักษนิยมสำหรับเขตดาร์ตฟอร์ด พรรคเลือกเธอเป็นผู้สมัครเพราะแม้ว่าเธอจะไม่ใช่นักพูดในที่สาธารณะ แต่รอเบิตส์ก็พร้อมและไม่กลัวที่จะตอบคำถามต่างๆ บิล ดีดึส เล่าว่า "เมื่อเธอเปิดปาก พวกเราที่เหลือก็เริ่มดูค่อนข้างเป็นอันดับสอง"[12] เธอได้รับความสนใจจากสื่อในฐานะผู้สมัครที่อายุน้อยที่สุดและเป็นผู้หญิงเพียงคนเดียว[3] เธอแพ้ทั้ง 2 ครั้งให้กับนอร์แมน ด็อดส์ แต่ลดเสียงข้างมากของพรรคแรงงานลง 6,000 และอีก 1,000 แต้ม ในระหว่างการหาเสียง[3] เธอได้รับการสนับสนุนจากพ่อแม่และสามีในอนาคต เดนิส แทตเชอร์ ซึ่งเธอแต่งงานด้วยในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1951[3][19] เดนิสให้ทุนสนับสนุนการศึกษาของมาร์กาเรตสำหรับทางด้านกฎหมาย[3] เธอได้รับการรับรองเป็นทนายความในปี ค.ศ. 1953 และเชี่ยวชาญด้านภาษีอากร[8] ในปีเดียวกันนั้นเอง เธอก็ได้คลอดแครอลและมาร์ก ลูกฝาแฝดของเธอก่อนกำหนดโดยการผ่าคลอด[3][20][21]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ค.ศ. 1959 – 1970)

[แก้]

เมื่อปี ค.ศ. 1954 แทตเชอร์พยายามจะเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคอนุรักษนิยมสำหรับการเลือกตั้งเขตออร์พิงตันเมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 1955 แต่เธอก็ได้รับความผิดหวังในครั้งนั้นไป เธอเลือกที่จะไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไปปี ค.ศ. 1955 ในปีต่อ ๆ มาโดยกล่าวว่า "ฉันรู้สึกจริงๆ ฝาแฝด [...] อายุแค่ 2 ขวบ ฉันรู้สึกว่ามันเร็วเกินไป ฉันทำไม่ได้"[9] หลังจากนั้น แทตเชอร์เริ่มมองหาในพรรคอนุรักษนิยม และได้รับเลือกให้เป็นผู้สมัครชิงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขตฟินช์ลีย์ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1958 (เอาชนะเอียน มอนตากู เฟรเซอร์อย่างหวุดหวิด) และเธอได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งหลังจากการหาเสียงอย่างหนักในการเลือกตั้งปี ค.ศ. 1959[3][22] ในการจับสลากสำหรับให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแถวหลัง(Backbencher)เสนอกฎหมายใหม่ ทำให้เธอได้เป็นผู้เสนอกฎหมาย[12] สุนทรพจน์ครั้งแรกของแทตเชอร์ถือว่าทำได้ดี ในการสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติองค์กรสาธารณะ (การจัดการประชุม) ค.ศ. 1960 ซึ่งกำหนดให้หน่วยงานท้องถิ่นต้องจัดการประชุมสภาในที่สาธารณะ ซึ่งประสบผลสำเร็จและออกเป็นกฎหมาย[20][23] ในปี ค.ศ. 1961 เธอได้คัดค้านต่อจุดยืนของพรรคอนุรักษนิยมโดยลงคะแนนให้การรื้อฟื้นการลงโทษด้วยไม้เบิร์ชเป็นการลงโทษทางร่างกายทางตุลาการ[9]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแถวหน้า

[แก้]

พรสวรรค์และแรงผลักดันของแทตเชอร์ทำให้เธอถูกกล่าวถึงในฐานะนายกรัฐมนตรีในอนาคตเมื่ออายุราว 20 ปี[12] แต่ถึงอย่างนั้น ตัวแทตเชอร์เองได้ระบุในช่วงปลายปี ค.ศ. 1970 ว่า "ในชีวิตของฉันจะไม่มีนายกรัฐมนตรีหญิง ประชากรชายมีอคติมากเกินไป"[24] ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1961 เธอได้รับการเลื่อนตำแหน่งให้เป็นเลขาธิการรัฐสภาของรัฐมนตรีกระทรวงบำเหน็จบำนาญในรัฐบาลของฮาโรลด์ แมคมิลแลน[16] โดยเธอเป็นผู้หญิงที่อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ที่ได้รับตำแหน่งดังกล่าว และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับเลือกตั้งในปี ค.ศ. 1959 กลุ่มแรกที่ได้รับการเลื่อนตำแหน่ง[25] หลังจากที่พรรคอนุรักษนิยมแพ้การเลือกตั้งในปี ค.ศ. 1964 เธอก็กลายเป็นผู้อภิปรายในด้านเคหะและที่ดิน เธอได้ย้ายไปร่วมกับกระทรวงการคลังเงาในปี ค.ศ. 1966 โดยต่อต้านการควบคุมรายได้บังคับของแรงงาน โดยอ้างว่าจะสร้างผลกระทบโดยไม่ได้ตั้งใจกับเศรษฐกิจ[26]

เจมส์ ไพออร์ได้เสนอให้แทตเชอร์ได้เป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลเงาหลังจากการพ่ายแพ้ของพรรคอนุรักษนิยมในปี ค.ศ. 1966 แต่เอ็ดเวิร์ด ฮีธ หัวหน้าพรรคอนุรักษนิยม และผู้คุมเสียงในสภา วิลเลียม ไวท์ลอว์ก็เลือก เมอร์วิน ไพค์ เป็นรัฐมนตรีหญิงคนเดียวในรัฐบาลเงา[25] ในการประชุมพรรคอนุรักษนิยม แทตเชอร์วิพากษ์วิจารณ์นโยบายภาษีสูงของรัฐบาลแรงงานว่า "ไม่เพียงแต่มุ่งสู่ลัทธิสังคมนิยมเท่านั้น แต่ยังมุ่งสู่ลัทธิคอมมิวนิสต์" โดยอ้างว่าภาษีที่ต่ำลงนั้นเป็นแรงจูงใจให้ทำงานหนัก[26] แทตเชอร์เป็นหนึ่งในสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกลุ่มอนุรักษนิยมไม่กี่คนที่สนับสนุนร่างกฎหมายของลีโอ แอบเซ ที่ให้รักร่วมเพศในเพศชายถูกกฎหมาย[27] และเธอได้ลงคะแนนสนับสนุนร่างกฎหมายของ เดวิด สตีล ในการทำแท้งอย่างถูกกฎหมาย[28][29] และเธอได้สนับสนุนการคงโทษประหารชีวิตไว้[30] และลงมติคัดค้านการผ่อนปรนกฎหมายการหย่าร้าง[31]

รัฐมนตรีเงา

[แก้]

ในปี ค.ศ. 1967 สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาได้เลือกแทตเชอร์เพื่อเข้าร่วมในโครงการ International Visitor Leadership Program โครงการแลกเปลี่ยนทางวิชาชีพที่อนุญาตให้เธอใช้เวลาประมาณหกสัปดาห์ในการเยี่ยมชมเมืองต่างๆ ของสหรัฐอเมริกาและบุคคลสำคัญทางการเมือง ตลอดจนสถาบันต่างๆ เช่น กองทุนการเงินระหว่างประเทศ แม้ว่าเธอจะยังไม่ได้เป็นสมาชิกคณะรัฐมนตรีเงา แต่มีรายงานว่าสถานทูตได้กล่าวถึงเธอกับกระทรวงการต่างประเทศว่าเธอจะได้เป็นนายกรัฐมนตรีในอนาคต จากโครงการช่วยให้แทตเชอร์ได้พบกับบุคคลสำคัญในระหว่างการเดินทางที่วุ่นวายซึ่งเน้นประเด็นทางเศรษฐกิจ ได้แก่ พอล สมูลเอลสัน, วอลต์ รอสโตว์, ปีแยร์-ปอล ชไวท์เซอร์ และ เนลสัน รอกกีเฟลเลอร์ หลังจากนั้นเธอได้พบกับฮีธ ฮีธก็ได้แต่งตั้งแทตเชอร์เป็นรัฐมนตรีเงาในด้านน้ำมันและเชื้อเพลิง[25][32] ก่อนการเลือกตั้งทั่วไปในปี ค.ศ. 1960 เธอได้รับการเลื่อนตำแหน่งให้เป็นรัฐมนตรีเงาของกระทรวงคมนาคม ก่อนจะเปลี่ยนไปยังกระทรวงศึกษาธิการ[26]

ในปี ค.ศ. 1968 เอนอค พาวเวลล์ ได้กล่าวสุนทรพจน์เรื่อง "แม่น้ำแห่งเลือด" ซึ่งเขาได้วิพากษ์วิจารณ์การอพยพของประชากรในเครือจักรภพเข้ามายังสหราชอาณาจักรอย่างรุนแรง และร่างกฎหมายความสัมพันธ์ระหว่างการแข่งขันที่เสนอในตอนนั้น เมื่อฮีธโทรหาแทตเชอร์เพื่อแจ้งเธอว่าเขาจะไล่พาวเวลล์ออกจากรัฐมนตรีเงา เธอได้ฮีธว่า "คิดจริงๆ ว่าควรปล่อยให้สถานการณ์สงบลงดีกว่าที่จะทำให้สถานการณ์รุนแรงขึ้น" เธอเชื่อว่าประเด็นหลักของเขาเกี่ยวกับการย้ายถิ่นฐานของเครือจักรภพนั้นถูกต้องและคำพูดที่เลือกมาจากคำพูดของเขานั้นไม่อยู่ในบริบท[33] ในการสัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ Today ในปี ค.ศ. 1991 แทตเชอร์กล่าวว่าเธอคิดว่าพาวเวลล์ "ได้โต้แย้งอย่างถูกต้อง"[34] ในช่วงนี้ เธอได้กล่าวในสภาผู้แทนราษฎรเป็นครั้งแรกในฐานะรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมเงาและได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการลงทุนในรถไฟบริเตน เธอโต้แย้งว่า "ถ้าเราสร้างถนนที่ใหญ่ขึ้นและดีขึ้น ในไม่ช้าถนนเหล่านั้นก็จะเต็มไปด้วยยานพาหนะมากขึ้น และเราก็จะแก้ปัญหาไม่ได้"[9] แทตเชอร์ได้ไปเยือนสหภาพโซเวียตเป็นครั้งแรกในช่วงฤดูร้อนปี ค.ศ. 1969 ในฐานะรัฐมนตรีเงากระทรวงคมนาคม และในเดือนตุลาคมก็ได้กล่าวสุนทรพจน์ฉลองสิบปีของเธอในรัฐสภา ในช่วงต้นปี ค.ศ. 1970 เธอบอกกับ The Finchley Press ว่าเธออยากเห็น "การผกผันของสังคมที่อิสระ"[9]

รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการและวิทยาศาสตร์(ค.ศ. 1970 – 1974)

[แก้]
แทตเชอร์ยกเลิกนมฟรีสำหรับเด็กอายุ 7–11 ปี (ในภาพ) ในปีค.ศ. 1971 เหมือนที่ผู้ดำรงตำแหน่งก่อนหน้าเธอยกเลิกไปในเด็กโตเมื่อค.ศ. 1968

พรรคอนุรักษนิยม นำโดยเอ็ดเวิร์ด ฮีธ ชนะการเลือกตั้งทั่วไปในปี ค.ศ. 1970 และแทตเชอร์ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงการศึกษาและวิทยาศาสตร์ แทตเชอร์ได้สร้างข้อขัดแย้งหลังจากดำรงตำแหน่งเพียงไม่กี่วัน เธอถอนหนังสือประกาศนโยบาย 10/65 ของพรรคแรงงาน ซึ่งพยายามบังคับให้เกิดโรงเรียนครอบคลุมโดยไม่ผ่านกระบวนการพิจารณา ทำให้เธอถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก[9] ซึ่งพยายามบังคับให้มีการทำความเข้าใจโดยไม่ผ่านกระบวนการพิจารณา ทำให้เธอถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก[9] ด้วยเหตุนี้เธอจึงร่างนโยบายใหม่ของเธอเอง (หนังสือประกาศนโยบาย 10/70) ซึ่งทำให้มั่นใจได้ว่าเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นจะไม่ถูกบังคับให้ดำเนินการโรงเรียนครอบคลุม นโยบายใหม่ของเธอไม่ได้หมายถึงการหยุดการพัฒนาโรงเรียนครอบคลุมใหม่ เธอกล่าวว่า: "เราจะ [...] คาดหวังว่าแผนจะขึ้นอยู่กับการพิจารณาด้านการศึกษามากกว่าหลักการเบ็ดเสร็จ" [35]

แทตเชอร์สนับสนุนข้อเสนอของลอร์ดรอธไชลด์ในปี ค.ศ. 1971 สำหรับกลไกตลาดที่จะส่งผลต่อทุนสนับสนุนการวิจัยของรัฐบาล แม้ว่านักวิทยาศาสตร์หลายคนจะคัดค้านข้อเสนอนี้ แต่ภูมิหลังด้านการวิจัยของเธออาจทำให้เธอไม่เชื่อในคำกล่าวอ้างของพวกเขาที่ว่าบุคคลภายนอกไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเงินทุน[11] กระทรวงประเมินข้อเสนอสำหรับหน่วยงานการศึกษาในท้องถิ่นเพิ่มเติมเพื่อปิดโรงเรียนมัธยมและนำการศึกษาระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนครอบคลุมมาใช้ แม้ว่าแทตเชอร์จะมุ่งมั่นกับระบบการศึกษาของโรงเรียนมัธยมสมัยใหม่แบบแบ่งชั้นและพยายามรักษาโรงเรียนมัธยมไว้[16] ในระหว่างที่เธอดำรงตำแหน่ง เธอปฏิเสธข้อเสนอเพียง 326 จาก 3,612 ข้อเสนอ (ประมาณ 9 เปอร์เซ็นต์)[9] สำหรับโรงเรียนครอบคลุม สัดส่วนของนักเรียนที่เข้าเรียนในโรงเรียนที่ครอบคลุมจึงเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 32 เป็นร้อยละ 62[36] อย่างไรก็ตาม เธอสามารถรักษาโรงเรียนมัธยมไว้ได้ 94 แห่ง[35]

ในช่วงเดือนแรกๆ ที่ทำงาน เธอได้รับความสนใจจากสาธารณชนเนื่องจากรัฐบาลพยายามลดการใช้จ่าย เธอให้ความสำคัญกับความต้องการด้านวิชาการในโรงเรียน[16] ในขณะที่จัดการลดค่าใช้จ่ายสาธารณะในระบบการศึกษาของรัฐ ส่งผลให้มีการยกเลิกนมฟรีสำหรับเด็กนักเรียนอายุ 7 - 11 ปี เธอคิดว่าเด็กเพียงไม่กี่คนที่จะต้องทนทุกข์ทรมานหากโรงเรียนเก็บค่านม แต่เธอก็ได้ตกลงที่จะจัดหานม 0.3 ไพนต์ (0.17 ลิตร) ให้กับเด็กเล็กทุกวันเพื่อคุณค่าทางโภชนาการ[26] เธอยังแย้งว่าเธอเพียงแค่ดำเนินการกับสิ่งที่รัฐบาลแรงงานเริ่มต้นตั้งแต่พวกเขาหยุดให้นมฟรีแก่โรงเรียนมัธยมแล้ว นมจะยังถูกจัดหาให้กับเด็ก ๆ ที่ต้องใช้มันด้วยเหตุผลทางการแพทย์ และโรงเรียนก็ยังสามารถขายนมได้[9] เธอบอกกับแฮโรลด์ เครตัน บรรณาธิการนิตยสาร The Spectator ว่า "อย่าประมาทฉันเลย ฉันเห็นว่าพวกเขาทำลายคีธ [โจเซฟ] ได้อย่างไร แต่พวกเขาจะทำลายฉันไม่ได้"[9]

เอกสารของคณะรัฐมนตรีเปิดเผยในภายหลังว่าเธอคัดค้านนโยบายนี้แต่ถูกกระทรวงการคลังบังคับให้ทำ[37] การตัดสินใจของเธอก่อให้เกิดกระแสการประท้วงจากแรงงานและสื่อมวลชน[16] ทำให้เธอได้รับฉายาอย่างฉาวโฉ่ว่า"มาร์กาเรต แทตเชอร์ ผู้ฉกฉวยนม"[26][38] มีรายงานว่าเธอเคยคิดจะออกจากการเมืองและเขียนในอัตชีวประวัติของเธอในภายหลังว่า: "ฉันได้เรียนรู้บทเรียนอันมีค่า ฉันได้ความเกลีดชังทางการเมืองสูงสุดเพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองน้อยที่สุด"[16][28]

ผู้นำฝ่ายค้าน(ค.ศ. 1975 – 1979)

[แก้]

รัฐบาลของฮีธยังคงประสบปัญหากับการห้ามค้าน้ำมันและการเรียกร้องให้สหภาพแรงงานขึ้นค่าจ้างในปี ค.ศ. 1973 ทำให้ต่อมาพรรคอนุรักษนิยมแพ้การเลือกตั้งทั่วไปในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1974[16] พรรคแรงงานได้จัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อยและก่อนที่จะได้เสียงข้างมากในการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1974 ความเป็นผู้นำของพรรคอนุรักษนิยมของฮีธได้รับข้อกังขามากขึ้น ในตอนแรกแทตเชอร์ไม่ได้ถูกมองว่าเป็นผู้ที่จะเข้ามาแทนที่อย่างชัดเจน แต่ในที่สุดเธอก็กลายเป็นตัวเต็ง โดยสัญญาว่าจะเริ่มต้นใหม่ การสนับสนุนหลักของเธอมาจากคณะกรรมการ 1922 (สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคอนุรักษนิยมแถวหลัง)[16] และนิตยสาร The Spectator[39] ขณะดำรงตำแหน่ง แทตเชอร์แสดงให้เห็นว่าเธอเป็นนักปฏิบัติมากกว่านักอุดมการณ์[12] เธอเอาชนะฮีธในการลงคะแนนเสียงครั้งแรก ทำให้เขาลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค[40] ในการลงคะแนนครั้งที่สองเธอเอาชนะวิลเลียม ไวท์ลอว์ ผู้ที่ฮีธตั้งใจว่าจะสืบทอดตำแหน่งต่อจากเขา การเลือกตั้งของแทตเชอร์ทำให้ภายในพรคแบ่งออกเป็น 2 ขั้ว; เธอได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝ่ายขวา และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทางตอนใต้ของอังกฤษ และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ไม่ได้เข้าเรียนในโรงเรียนของรัฐหรือออกซบริดจ์[41]

แทตเชอร์ได้เป็นหัวหน้าพรรคอนุรักษนิยมและผู้นำฝ่ายค้าน เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1975[42] เธอเป็นหัวหน้าพรรคการเมืองสตรีคนแรกในประวัติศาสตร์การเมืองของอังกฤษ เธอแต่งตั้งไวท์ลอว์เป็นรองหัวหน้าพรรค และฮีธไม่เคยปรับความเข้าใจกับแทตเชอร์อีกเลย[35]

นักวิจารณ์ทางโทรทัศน์ ไคลฟ์ เจมส์ เขียนในหนังสือพิมพ์ ดิออบเซิร์ฟเวอร์ ก่อนการเลือกตั้งหัวหน้าพรรคอนุรักษนิยมโดยเปรียบเทียบเสียงของเธอในปี 1973 เหมือนกับ "แมวที่เลื่อนตัวบนกระดานดำ"[43] แทตเชอร์จึงได้เริ่มเปลี่ยนแปลงตามคำแนะนำของกอร์ดอน รีซ อดีตโปรดิวเซอร์รายการโทรทัศน์ โดยบังเอิญ รีซได้พบกับนักแสดงลอเรนซ์ โอลิวีเอร์ ซึ่งจัดบทเรียนกับโค้ชเสียงของโรงละครแห่งชาติ[28][44]

แทตเชอร์เริ่มเข้าร่วมรับประทานอาหารกลางวันเป็นประจำที่ สถานบันธุรกิจทางเศรษฐกิจ (IEA) ซึ่งเป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่ก่อตั้งโดย แอนโทนี ฟิชเชอร์ นักธุรกิจทางสัตว์ปีก เธอเคยไปที่ IEA และอ่านสิ่งพิมพ์ตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1960 ที่นั่นเธอได้รับอิทธิพลจากแนวคิดของ ราล์ฟ แฮร์ริส และ อาร์เธอร์ เซลดอน และทำให้เธอเป็นหน้าเป็นตาของขบวนการอุดมการณ์ต่อต้านรัฐสวัสดิการของอังกฤษ ซึ่งพวกเขาเชื่อว่าเศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์กำลังทำให้อังกฤษอ่อนแอลง เอกสารแผ่นพับของสถาบันเสนอให้ ลดภาษี และเพิ่มอิสระสำหรับธุรกิจและผู้บริโภค[45] แทตเชอร์ได้เดินทางเยือนทั่วมหาสมุทรแอตแลนติก และสร้างชื่อเสียงระดับนานาชาติและส่งเสริมนโยบายเศรษฐกิจและต่างประเทศของเธอ เธอไปเยือนสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1975 และพบกับประธานาธิบดีเจอรัลด์ ฟอร์ด และเดินทางไปเยือนอีกครั้งในปี ค.ศ. 1977 ซึ่งเธอได้พบกับประธานาธิบดีจิมมี คาร์เตอร์[46] นอกจากนี้เธอยังได้พบกับ พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี ระหว่างการเยือนอิหร่านในปี ค.ศ. 1978[47] แทตเชอร์เลือกที่จะเดินทางโดยไม่มีเรจินัลด์ มอดลิง รัฐมนตรีต่างประเทศเงาของเธอเดินทางไปด้วย เพื่อพยายามสร้างภาพพจน์ส่วนตัวที่โดดเด่นยิ่งขึ้น[46]

แทตเชอร์ตั้งใจที่จะส่งเสริมแนวคิดทางเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมใหม่ทั้งในและต่างประเทศ ถึงแม้จะมีการกำหนดทิศทางของนโยบายต่างประเทศสำหรับรัฐบาลอนุรักษนิยมแล้ว แต่แทตเชอร์ก็ยังรู้สึกทุกข์ใจที่เธอล้มเหลวซ้ำแล้วซ้ำเล่าในสภา ด้วยเหตุนี้ แทตเชอร์จึงตัดสินใจว่า "เสียงของเธอมีน้ำหนักเพียงเล็กน้อยเมื่ออยู่ที่บ้าน" แต่มันจะ "มีคนได้ยินทั่วโลก"[9]

ในด้านภายในประเทศ แทตเชอร์คัดค้านการมอบอำนาจแก่สกอตแลนด์ (การปกครองภายใน) และการจัดตั้งสมัชชาแห่งสกอตแลนด์ เธอสั่งให้ส.ส.หัวโบราณลงคะแนนเสียงต่อต้านร่างกฎหมายของสกอตแลนด์และเวลส์ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1976 ซึ่งทำให้ร่างกฎหมายถูกตีตกไปได้สำเร็จ แก่อนจะมีมีการเสนอกฎหมายใหม่ เธอไดสนับสนุนการแก้ไขกฎหมายเพื่อให้ชาวอังกฤษลประชามติเกี่ยวกับการมอบอำนาจปกครองให้แกสกอตแลนด์ในปี ค.ศ. 1979[48]

เศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรในช่วงทศวรรษ 1970 อ่อนแอมากจนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศเจมส์ คัลลาฮานได้เตือนสมาชิกคณะรัฐมนตรีของพรรคแรงงานในปี ค.ศ. 1974 ถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิด "การล่มสลายของระบอบประชาธิปไตย" โดยบอกกับพวกเขาว่า "ถ้าฉันเป็นชายหนุ่ม ฉันคงย้ายออกนอกประเทศ"[45] ในช่วงกลางปี ค.ศ. 1978 เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว และการสำรวจความคิดเห็นพบว่าพรรคแรงงานมีเสียงนำอยู่ โดยคาดว่าจะมีการเลือกตั้งทั่วไปในปลายปีนั้น และพรรคแรงงานจะมีโอกาสชนะ แต่นายกรัฐมนตรีคัลลาฮานก็ทำให้คนประหลาดใจโดยประกาศในวันที่ 7 กันยายนว่าจะไม่มีการเลือกตั้งทั่วไปในปีนั้น และเขาจะรอจนถึงปี 1979 จึงจะลงเลือกตั้ง แทตเชอร์ตอบโต้เรื่องนี้ด้วยการตราหน้ารัฐบาลแรงงานว่า "ไก่(chicken มีความแฝงในภาษาอังกฤษว่า ขี้ขลาด)" และเดวิด สตีล หัวหน้าพรรคเสรีนิยมก็ได้วิจารณ์พรรคแรงงานว่า "กลัวการวิ่ง"[49]

จากนั้นรัฐบาลพรรคแรงงานก็เผชิญกับความไม่สบายใจของประชาชนเกี่ยวกับทิศทางของประเทศและการนัดหยุดงานที่สร้างความเสียหายในช่วงฤดูหนาวปี ค.ศ. 1978 – 1989 ซึ่งเรียกว่า "ฤดูหนาวแห่งความไม่พอใจ" พวกอนุรักษนิยมโจมตีการว่างงานในรัฐบาลพรรคแรงงาน โดยใช้คำขวัญโฆษณาว่า "แรงงานไม่ทำงาน" การเลือกตั้งทั่วไปมีขึ้นหลังจากรัฐบาลของคัลลาฮานแพ้ในญัตติไม่ไว้วางใจในต้นปี ค.ศ. 1979 ซึ่งพรรคอนุรักษ์นิยมได้รับเสียงข้างมากในสภา ทำให้แทตเชอร์ได้เป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของอังกฤษ

นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร(ค.ศ. 1979 – 1990)

[แก้]

แทตเชอร์ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรหลังจากชนะ[50] เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1979 เมื่อไปถึงถนนดาวน์นิง เธอกล่าวโดยถอดมาจากคำอธิษฐานของนักบุญฟรานซิสว่า

"Where there is discord, may we bring harmony; ที่ใดมีความบาดหมางกัน ขอให้เรานำความสามัคคีมาให้

Where there is error, may we bring truth; ที่ใดมีข้อผิดพลาด ขอให้เรานำความจริงมาให้

Where there is doubt, may we bring faith; ที่ใดมีข้อสงสัย ขอให้เรานนำศรัทธามาให้

And where there is despair, may we bring hope. และที่ใดมีความสิ้นหวัง ขอให้เรานำความหวังมาให้"[51]

ตลอดการดำรงตำแหน่งในช่วงทศวรรษ 1980 แทตเชอร์ได้รับการขนานนามว่าเป็นผู้หญิงที่ทรงอิทธิพลที่สุดในโลก[52][53][54][55]

ด้วยการนำโดยแทตเชอร์ พรรคอนุรักษนิยมได้กลายเป็นพรรคขวาจัดมากขึ้น ทำให้การเมืองและสังคมของประเทศอังกฤษแบ่งขั้วมากที่สุดนับแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลแทตเชอร์ได้ใช้นโยบายปฏิรูปที่ค่อนข้างรุนแรง สนับสนุนกิจการเอกชน แปรรูปรัฐวิสาหกิจทั้งอุตสาหกรรมและสาธารณูปโภคที่รัฐบาลก่อน ๆ ยึดเป็นของรัฐคืนเอกชนด้วยการกระจายหุ้น ลดบทบาทสหภาพแรงงาน ลดภาษีเงินได้ และพยายามจัดตั้งบรรษัทขึ้นดูแลการศึกษาและสาธารณสุขที่เป็นหน้าที่ของรัฐ

แทตเชอร์ได้รับเลือกกลับเข้ามาเป็นรัฐบาลวาระที่ 2 ในปี ค.ศ. 1983 โดยได้เสียงข้างมากทั้ง ๆ ที่อัตราการว่างงานของอังกฤษต่ำที่สุดในรอบ 50 ปี สงครามฟอล์กแลนด์และความระส่ำระสายของพรรคฝ่ายค้านทำให้ความนิยมแทตเชอร์เพิ่มมากขึ้นและได้รับเลือกกลับเข้ามาเป็นรัฐบาลวาระที่ 3 ในปี ค.ศ. 1987 และเมื่อถึงปี ค.ศ. 1988 แทตเชอร์ได้ทำสถิติกลายเป็นนายกรัฐมนตรีอังกฤษที่อยู่ในตำแหน่งนานที่สุดในคริสต์ศตวรรษ ที่ 20 แทตเชอร์ได้รับการขนานนามว่า “ลัทธิแทตเชอร์” (Thatcherism) และด้วยเหตุผลที่แทตเชอร์เป็นผู้ดึงดันยึดมั่นในนโยบายอย่างมั่นคงไม่ว่าจะถูกคัดค้านจากนักวิจารณ์ว่าอย่างไร รวมทั้งจากการกังขาไม่แน่ใจของผู้สนับสนุนรัฐบาลเองด้วย

เศรษฐกิจและและการจัดเก็บภาษี

[แก้]

นโยบายเศรษฐกิจของแทตเชอร์ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดแบบการเงินและนักเศรษฐศาสตร์ เช่น มิลตัน ฟรีดแมน และอลัน วอลเตอร์ส[56] ร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนแรกของเธอ เจฟฟรีย์ ฮาว เธอได้ลดภาษีเงินได้และเพิ่มภาษีทางอ้อม[16] เธอเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเพื่อชะลอการเติบโตของปริมาณเงินในประเทศ และทำให้อัตราเงินเฟ้อลดลง เสนอวงเงินสำหรับการใช้จ่ายสาธารณะและลดค่าใช้จ่ายด้านบริการสังคม เช่น การศึกษาและที่อยู่อาศัย[16] การจลาจลในอังกฤษในปี ค.ศ. 1981 ส่งผลให้สื่ออังกฤษพูดถึงความจำเป็นในการกลับตัวของนโยบาย ในการประชุมพรรคอนุรักษนิยม แทตเชอร์ได้กล่าวถึงประเด็นนี้ด้วยสุนทรพจน์ที่เขียนโดยนักเขียนบทละครโรนัลด์ มิลลาร์[57]ว่า " "สำหรับผู้ที่รอคอยอย่างใจจดใจจ่อกับประโยคโปรดของสื่อ ถึง 'การเลี้ยวกลับ' ฉันมีเพียงสิ่งเดียวที่จะพูด 'คุณเลี้ยวถ้าคุณต้องการผู้หญิงไม่เลี้ยว' "[58]

อัตราการอนุมัติการทำงานในรัฐบาลแทตเชอร์ลดลงเหลือ 23% ภายในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1980 ซึ่งต่ำกว่าทุกรัฐบาลที่ผ่านมา[59] เมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในช่วงต้นทศวรรษ 1980 รุนแรงขึ้น เธอจึงทำการเพิ่มอัตราภาษี[16] แม้จะมีแถลงการณ์แสดงความกังวลเมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 1981 ลงนามโดยนักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำ 364 คน กล่าวว่า "ไม่มีพื้นฐานในทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ [...] สำหรับความเชื่อของรัฐบาลที่ว่าการลดอุปสงค์จะทำให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ภายใต้การควบคุมอย่างถาวร" และเสริมว่า "นโยบายปัจจุบันจะทำให้ภาวะซึมเศร้าลึกลงไป กัดกร่อนฐานอุตสาหกรรมของเศรษฐกิจของเรา และ คุกคามเสถียรภาพทางสังคมและการเมือง”[60]

ภายในปี ค.ศ. 1982 สหราชอาณาจักรเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ[61] อัตราเงินเฟ้อลดลงเหลือ 8.6% จากที่เคยขึ้นไปถึง 18% แต่การว่างงานมีมากกว่า 3 ล้านคนเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ทศวรรษ 1930[62] ภายในปี ค.ศ. 1983 การเติบโตทางเศรษฐกิจโดยรวมแข็งแกร่งขึ้น และอัตราเงินเฟ้อและอัตราจำนองลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 13 ปี แม้ว่าการจ้างงานภาคการผลิตซึ่งคิดเป็นส่วนแบ่งของการจ้างงานทั้งหมดลดลงเหลือเพียงกว่า 30% เท่านั้น[63] ดยจำนวนการว่างงานทั้งหมดยังคงอยู่ในระดับสูง โดยถึงจุดสูงสุด ที่ 3.3 ล้านคนในปี ค.ศ. 1984[64]

ตราประจำตำแหน่งของบารอนเนสแทตเชอร์ ภาพนายพลเรือแทนสงครามฟอล์กแลนด์ ภาพเซอร์ไอแซก นิวตันแทนภูมิหลังแห่งการเป็นนักเคมีและแทนบ้านเกิดเมืองแกรนแทม ซึ่งท่านจนถึงวะระสุดท้ายของชีวิต

ภายหลังการดำรงตำแหน่ง

[แก้]

แทตเชอร์ได้ลาออกจากตำแหน่งในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1990 สืบเนื่องจากการต่อสู้ภายในพรรคและการถกเถียงโต้แย้งกับฝ่ายค้านในประเด็นที่แทตเชอร์ไม่ยอมเสียเอกราชในการเข้าเป็นสมาชิกเศรษฐกิจประชาคมยุโรป รวมทั้งการเสื่อมความนิยมจากการไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับนโยบายผู้มีสิทธิ์ออกเสียง (Poll Tax)

หลังจากได้รับบรรดาศักดิ์ชั้นบารอน แทตเชอร์ได้ตระเวนปาฐกถาไปทั่วโลกในนามของมูลนิธิแทตเชอร์ และได้ตีพิมพ์หนังสืออัตชีวประวัติชื่อ "มาร์กาเรต แทตเชอร์: ชีวิตในดาวนิงสตรีท" (Margaret Thatcher: the Downing Street Years) เมื่อปี ค.ศ. 1993

มาร์กาเร็ต แทตเชอร์ ถึงแก่อสัญกรรมอย่างสงบเมื่อเช้าวันที่ 8 เมษายน ค.ศ. 2013 ด้วยอาการอุดตันของเส้นโลหิตที่ไปเลี้ยงสมอง ทำให้เส้นเลือดตีบ รวมอายุได้ 87 ปี[65]

สิ่งสืบทอด

[แก้]

ผลกระทบทางการเมือง

[แก้]

ลัทธิแทตเชอร์แสดงถึงการเปลื่ยนแปลงที่เป็นระบบและอย่างเด็ดขาดแนวคิดเศรษฐกิจหลังสงคราม ซึ่งพรรคการเมืองที่สำคัญได้เห็นพ้องกันเป็นส่วนใหญ่ในประเด็นของแนวคิดเศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์ รัฐสวัสดิการ อุตสาหกรรมที่เป็นของรัฐ การกำกับเศรษฐกิจแบบปิด และการคิดภาษีในอัตราสูง เธอได้สนับสนุนรัฐสวัสดิการเป็นเป็นส่วนใหญ่ในขณะที่เสนอให้กำจัดการใช้มันในทางที่ผิด[nb 1]

เธอได้สัญญาในปี ค.ศ. 1982 ว่าบริการสุขภาพแห่งชาติที่ได้รับความนิยมอย่างสูงจะ "ปลอดภัยในมือของพวกเรา" ตอนแรกเธอเพิกเฉยต่อการแปรรูปอุตสาหกรรมที่เป็นของรัฐให้เป็นของเอกชน จากการได้รับอิทธิพลอย่างมากมาจากนักคิดฝ่ายขวา โดยเฉพาะอย่างยิ่งจาก คีธ โจเซฟ (Keith Joseph) ดังนั้นแทตเชอร์จึงได้ขยายการโจมตีของเธอ ลัทธิแทตเชอนิยมคือนโยบายของเธอ ที่มีมุมมองทางจริยธรรม การสมบูรณาญาสิทธิราชย์ทางศีลธรรม ลัทธิชาตินิยม ลัทธิปัจเจกนิยม เสรีนิยม และแนวทางที่แน่วแน่ในการบรรลุเป้าหมายทางการเมือง[66]

แทตเชอร์ได้กำหนดหลักปรัชญาทางการเมือง ในข้อขัดแย้งครั้งใหญ่เกี่ยวกับลัทธิอนุรักษนิยมหนึ่งชาติ ของ นายกรัฐมนตรีคนก่อนหน้า เอ็ดเวิร์ด ฮีธ ในการสัมภาษณ์ในปี ค.ศ. 1987 ที่ถูกตีพิมพ์ในนิตยสาร ของผู้หญิงเอง หรือ วูแม่นส์โอน์ (Woman's Own):

"ฉันคิดว่าเราผ่านช่วงเวลาที่มีเด็กและคนเข้าใจเยอะเกินไป ว่า "ฉันมีปัญหา มันเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จัดการกับมัน!" หรือ "ฉันมีปัญหา ฉันจะไปรับเงินจากรัฐบาลเพื่อจัดการกับมัน!" "ฉันเป็นคนจรจัด รัฐบาลต้องสร้างบ้านให้ฉัน!" ดังนั้นพวกเขาโยนปัญหามาให้สังคม แล้วใครคือสังคม ไม่มีสังคมแบบนั้น มีแต่ผู้ชายผู้หญิงที่เป็นบุคคล หรือ มีครอบครัว ซึ่งรัฐบาลไม่สามารถทำอะไรได้ นอกจากทำโดยผ่านประชาชน และประชาชนลองหาทางช่วยดูตัวเองก่อน มันเป็นหน้าที่ของพวกเราที่จะดูแลตัวเอง และช่วยดูแลเพื่อนบ้าน ชีวิตเป็นเหมือนธุรกิจที่แลกผลประโยชน์กัน และต่างคนต่างก็ได้รับสิทธิ์มากเกินไปโดยไม่มีความรับผิดชอบ"

ชื่อเสียง

[แก้]

แทตเชอร์ได้ดำรงตำแหน่ง 11 ปี 209 วัน ในฐานะนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร ที่นานที่สุดนับตั้งแต่รอเบิร์ต เซซิล มาร์ควิสที่ 3 แห่งซอลส์บรี (13 ปี 252 วันในสามสมัย) และดำรงตำแหน่งต่อเนื่องนานที่สุดนับตั้งแต่รอเบิร์ต เจ็นคินสัน เอิร์ลที่ 2 แห่งลิเวอร์พูล (14 ปี 305 วัน)

หลังจากนำพรรคอนุรักษนิยมสู่ชัยชนะในการเลือกตั้งสามครั้งติดต่อกัน เธอเป็นหนึ่งในผู้นำพรรคที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในประวัติศาสตร์สหราชอาณาจักรในแง่ของคะแนนโหวตสำหรับพรรคที่ชนะ ถึงสองครั้ง มีการลงคะแนนเสียงมากกว่า 40 ล้านใบสำหรับพรรคอนุรักษนิยมภายใต้การนำของเธอ ความสำเร็จในการเลือกตั้งของเธอถูกขนานนามว่าเป็น "แฮตทริกในประวัติศาสตร์" โดยสื่ออังกฤษในปี ค.ศ. 1987

แทตเชอร์ได้อยู่อันดับสูงที่สุดในบรรดาบุคคลที่มีชีวิตในพ.ศ. 1999 จากโพลล์ชาวบริติชผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดหนึ่งร้อยลำดับ ของบรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1992ไทม์ได้ถือว่าแทตเชอร์เป็นหนึ่งใน 100 คนที่สำคัญที่สุดของศตวรรษที่ 20 ในปี ค.ศ. 2015 เธอได้รับคะแนนสูงสุด ในฐานะผู้หญิงที่ทรงอิทธิพลที่สุดในช่วง 200 ปีที่ผ่านมา จากโพลล์โดย สก็อตติช วิโดว์ส บริษัทผู้ให้บริการทางการเงินรายใหญ่ และในปี ค.ศ. 2559 เธอติดอันดับใน รายชื่อพลังของชั่วโมงสตรี หรือ วูแม่นส์ฮาวเวอร์พาวเวอร์ลิส (Woman's Hour Power List) ในรายการของ บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ วิทยุ 4 หรือ เรดีโอ 4 (Radio 4) ในฐานะผู้หญิงที่มีผลกระทบมากที่สุดต่อชีวิตผู้หญิงตลอด 70 ปีที่ผ่านมา ในปี ค.ศ. 2020 นิตยสารไทม์ได้ใส่ชื่อของแทตเชอร์ไว้ในรายชื่อ 100 สตรีแห่งปี (Woman of the Year) เธอยังถูกเลือกให้เป็นสตรีแห่งปี ค.ศ. 1982 ซึ่งเป็นปีที่สงครามฟอล์กแลนด์ (Falklands) เริ่มขึ้นภายใต้คำสั่งของเธอ ซึ่งสหราชอาณาจักรได้รับชัยชนะ

ตรงกันข้ามกับคะแนนเฉลี่ยการยอมรับที่ค่อนข้างแย่ ของแทตเชอร์ในฐานะนายกรัฐมนตรี เธอได้อยู่ในอันดับสูงในโพลล์ย้อนหลัง และ จากข้อมูลของยูโกฟ (YouGov) ประชาชนชาวอังกฤษ "โดยรวมได้มองเธอในแง่บวก" หลังจากที่เธอเสียชีวิตในปี ค.ศ. 2556 จากโพลล์ของเดอะการ์เดียน ประชาชนประมาณครึ่งหนึ่งมองเธอในแง่บวก ในขณะที่หนึ่งในสามมองเธอในแง่ลบ ในโพลล์ของปี ค.ศ. 2019 โดย ยูโกฟ (YouGov) ชาวอังกฤษส่วนใหญ่ให้คะแนนเธอว่าเป็นผู้นำหลังสงครามที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของสหราชอาณาจักร (โดยวินสตัน เชอร์ชิลมาเป็นอันดับสอง) เธอถูกโหวตให้เป็นนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอันดับสี่ของศตวรรษที่ 20 จากโพลล์ของนักวิชาการ 139 คน ที่จัดโดย อิปสอสโมริ (Ipsos MORI)

นักเขียนชีวประวัติ จอห์น แคมป์เบลล์ (John Campbell) ได้กล่าวว่า แทตเชอร์ไม่ได้เป็นเพียงสตรีคนแรกและนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดในยุคปัจจุบัน แต่ยังเป็นบุคคลสาธารณะที่ได้รับความชื่นชม เกลียดที่สุด เคารพนับถือมากที่สุด และถูกดูหมิ่นที่สุดในครึ่งหลังของศตวรรษที่ 20 สำหรับบางคน เธอเป็นผู้กอบกู้ประเทศของเธอที่ สร้างเศรษฐกิจองค์กรที่เข้มแข็ง ซึ่งยี่สิบปีต่อมายังคงมีประสิทธิภาพเหนือกว่าระบบเศรษฐกิจที่มีการควบคุมมากขึ้นของทวีป สำหรับคนอื่น เธอได้โดนมองว่ามีอุดมการณ์แคบๆ ซึ่งนโยบายที่เผชิญหน้าอย่างแข็ง มีความโลภแบบถูกกฎหมาย เพิ่มความไม่เท่าเทียมในสังคมโดยเจตนา และทำลายความรู้สึกเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันและความภาคภูมิใจของพลเมืองของประเทศ อีกทั้งยังไม่มีการปรับมุมมองเหล่านี้ ทว่าทั้งสองอย่างนั้นเป็นความจริง[nb 2]

Biographer John Campbell (2011b, p. 499)

ผลงานตีพิมพ์

[แก้]
  • ปีแห่งถนนดาวนิง หรือ เดอะดาวนิงสตรีทเยียร์ (The Downing Street Years) สำนักพิมพ์ ฮาร์เปอร์คอลลินส์ (HarperCollins) ปี ค.ศ. 1993 ISBN 978-0-00-255049-9
  • เส้นทางสู่อำนาจ หรือ เดอะแพททูพาวเวอร์ (The Path to Power) สำนักพิมพ์ ฮาร์เปอร์คอลลินส์ (HarperCollins) ปี ค.ศ. 1995 ISBN 978-0-00-255050-5
  • รัฐศาสตร์ กลยุทธ์เพื่อโลกที่เปลี่ยนแปลง หรือ สเตทคราฟ สแทรททิจีฟอร์อะเชนจ์จิ้งเวิลด์ (Statecraft: Strategies for a Changing World) สำนักพิมพ์ ฮาร์เปอร์เปอร์เรนเนียล์ (Harper Perennial) ปี ค.ศ. 2003 ISBN 978-0-06-095912-8

อ้างอิง

[แก้]

เชิงอรรถอธิบาย

[แก้]
  1. Moore (2013, p. 87): แทตเชอร์ไม่เคยปฏิเสธแนวคิดพื้นฐานแห่งรัฐสวัสดิการเลย ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ นโยบายสังคม หรือ การศึกษา ทั้งช่วงต้นของเส้นทางในอาชีพการเมืองหรือในขณะที่เป็นนายกรัฐมนตรี แทตเชอร์มีแนวคิดที่รุนแรงน้อยกว่าที่ผู้วิจารณ์หรือผู้นิยมชมชอบเธอได้คาดคิด แทตเชอร์ให้ความสำคัญไปที่การใช้ระบบไปในทางที่ผิด ในระบบราชการ การใช้สหภาพเป็นเครื่องมือโจมตี และการเติบโตของสิ่งที่ต่อมาถูกเรียกว่าวัฒนธรรมแห่งการพึ่งพิง มากกว่าระบบรัฐสวัสดิการเสียเอง
  2. Campbell (2011a, p. 800) also writes about a third view that can be argued: Thatcher "achieved much less" than she and her "dries" would claim; she failed to curb public spending, diminish or privatise the welfare state, change fundamental attitudes of the general public, or "enhance" freedom where she had instead centralised control over "many areas of national life".

รายการอ้างอิง

[แก้]
  • The Cambridge Biograhical Encyclopedia / Edited by David Cystal-2nd ed., Cambridge University Press, 2000
  1. Beckett (2006), p. 3.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 "Thatcher, Baroness, (Margaret Hilda Thatcher) (13 Oct. 1925–8 April 2013)". WHO'S WHO & WHO WAS WHO (ภาษาอังกฤษ). doi:10.1093/ww/9780199540891.001.0001/ww-9780199540884-e-37305;jsessionid=7515eccd0739458a6bc76e019bc1c615.
  3. 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 3.10 3.11 3.12 3.13 3.14 Beckett, Clare (2013). Thatcher. London. ISBN 978-1-907822-84-1. OCLC 951434535.
  4. "Margaret Thatcher's Irish roots lie in Co Kerry". belfasttelegraph (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0307-1235. สืบค้นเมื่อ 2021-09-04.
  5. Johnson, Maureen (28 May 1988). "Bible-Quoting Thatcher Stirs Furious Debate". Associated Press.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 "A side of Margaret Thatcher we've never seen". www.telegraph.co.uk.
  7. "School aims / About School / KGGS - Kesteven Grantham Girls School". web.archive.org. 2013-01-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-28. สืบค้นเมื่อ 2021-09-10.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 Blundell, John (2008). Margaret Thatcher : a portrait of the Iron Lady. New York: Algora Pub. ISBN 978-0-87586-632-1. OCLC 368326788.
  9. 9.00 9.01 9.02 9.03 9.04 9.05 9.06 9.07 9.08 9.09 9.10 9.11 Campbell, John (2001–2004). Margaret Thatcher. London: Pimlico. ISBN 0-7126-7418-7. OCLC 46984969.{{cite book}}: CS1 maint: date format (ลิงก์)
  10. "THATCHER: College will honour its former student". Oxford Mail (ภาษาอังกฤษ).
  11. 11.0 11.1 By (2019-03-18). "How Thatcher The Chemist Helped Make Thatcher The Politician". Popular Science (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  12. 12.0 12.1 12.2 12.3 12.4 Runciman, David (2013-06-06). "Rat-a-tat-a-tat-a-tat-a-tat". London Review of Books (ภาษาอังกฤษ). Vol. 35 no. 11. ISSN 0260-9592. สืบค้นเมื่อ 2021-11-25.
  13. "Thatcher fought to preserve women-only Oxford college". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2016-12-30.
  14. Dougill, John (2007). Oxford's famous faces (New ed.). Oxford: Oxface Publications. ISBN 0-9512388-0-9. OCLC 189423529.
  15. 15.0 15.1 "Tony Bray - obituary". www.telegraph.co.uk.
  16. 16.00 16.01 16.02 16.03 16.04 16.05 16.06 16.07 16.08 16.09 16.10 Reitan, E. A. (2003). The Thatcher revolution : Margaret Thatcher, John Major, Tony Blair, and the transformation of modern Britain, 1979-2001. Lanham, Md.: Rowman & Littlefield. ISBN 0-7425-2202-4. OCLC 50006501.
  17. "In quotes: Margaret Thatcher". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2013-04-08. สืบค้นเมื่อ 2021-11-25.
  18. Agar, Jon (2011-09-20). "Thatcher, Scientist". Notes and Records of the Royal Society. 65 (3): 215–232. doi:10.1098/rsnr.2010.0096. ISSN 0035-9149.
  19. "Sir Denis Thatcher, Bt". www.telegraph.co.uk.
  20. 20.0 20.1 Aitken, Jonathan (2013). Margaret Thatcher : Power and Personality. London: Bloomsbury Publishing. ISBN 978-1-4088-3186-1. OCLC 858762996.
  21. Ogden, Chris (1990). Maggie : an intimate portrait of a woman in power. New York: Simon and Schuster. ISBN 0-671-66760-2. OCLC 21038256.
  22. "Page 6433 | Issue 41842, 13 October 1959 | London Gazette | The Gazette". www.thegazette.co.uk.
  23. "HC S 2R [Public Bodies (Admission of the Press to Meetings) Bill] (Maiden Speech) | Margaret Thatcher Foundation". www.margaretthatcher.org.
  24. "Viewpoint: What if Margaret Thatcher had never been?". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2013-04-09. สืบค้นเมื่อ 2022-08-11.
  25. 25.0 25.1 25.2 Scott-Smith, Giles (2003-11-01). "'Her Rather Ambitious Washington Program': 'Margaret Thatcher's International Visitor Program Visit to the United States in 1967". Contemporary British History. 17 (4): 65–86. doi:10.1080/13619460308541010. ISSN 1361-9462.
  26. 26.0 26.1 26.2 26.3 26.4 Wapshott, Nicholas (2007). Ronald Reagan and Margaret Thatcher : a political marriage. New York, N.Y.: Sentinel. ISBN 978-1-59523-047-8. OCLC 145938809.
  27. "SEXUAL OFFENCES (No. 2) (Hansard, 5 July 1966)". hansard.millbanksystems.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-26. สืบค้นเมื่อ 2022-10-26.
  28. 28.0 28.1 28.2 Thatcher, Margaret (1995). The path to power. London: Harper Collins. ISBN 0-00-638753-5. OCLC 931336396.
  29. "MEDICAL TERMINATION OF PREGNANCY BILL (Hansard, 22 July 1966)". hansard.millbanksystems.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-26. สืบค้นเมื่อ 2022-10-26.
  30. "CAPITAL PUNISHMENT (Hansard, 24 June 1969)". hansard.millbanksystems.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-26. สืบค้นเมื่อ 2022-10-26.
  31. "DIVORCE REFORM BILL (Hansard, 9 February 1968)". hansard.millbanksystems.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-26. สืบค้นเมื่อ 2022-10-26.
  32. "Margaret Thatcher's timeline: From Grantham to the House of Lords, via". The Independent (ภาษาอังกฤษ). 2013-04-09.
  33. Aitken, Jonathan (2013). Margaret Thatcher : Power and Personality. London: Bloomsbury Publishing. ISBN 978-1-4088-3186-1. OCLC 858762996.
  34. Sandford, Christopher (2017-12-04). "To See and to Speak - Chronicles" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  35. 35.0 35.1 35.2 Moore, Charles (2013). Margaret Thatcher : the authorized biography, from Grantham to the Falklands (1st U.S. ed ed.). New York: Alfred A. Knopf. ISBN 978-0-307-95894-5. OCLC 840463015. {{cite book}}: |edition= has extra text (help)
  36. Marr, Andrew (2009). A history of modern Britain. London. ISBN 978-0-330-51330-2. OCLC 919129801.
  37. "Tories move swiftly to avoid 'milk-snatcher' tag". The Independent (ภาษาอังกฤษ). 2010-08-08.
  38. "How Margaret Thatcher became known as 'Milk Snatcher'". www.telegraph.co.uk.
  39. "Clear choice for the Tories | The Spectator". web.archive.org. 2017-10-25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-25. สืบค้นเมื่อ 2023-04-28.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  40. Online, By Philippe Naughton, Times. "Thatcher leads tributes to Sir Edward Heath" (ภาษาอังกฤษ). ISSN 0140-0460. สืบค้นเมื่อ 2023-04-28.
  41. COWLEY, PHILIP; BAILEY, MATTHEW (2000-10). "Peasants' Uprising or Religious War? Re-examining the 1975 Conservative Leadership Contest". British Journal of Political Science. 30 (4): 599–629. doi:10.1017/s0007123400000260. ISSN 0007-1234. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  42. "Press Conference after winning Conservative leadership (Grand Committee Room) | Margaret Thatcher Foundation". www.margaretthatcher.org.
  43. "2. C. MT on TV". The Observer. 1975-02-09. p. 26. สืบค้นเมื่อ 2023-04-28.
  44. Nast, Condé (2011-11-18). "The Invincible Mrs. Thatcher". Vanity Fair (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  45. 45.0 45.1 Beckett, Andy (2009). When the lights went out : Britain in the seventies. London. ISBN 978-0-571-25226-8. OCLC 904754706.
  46. 46.0 46.1 Cooper, James (2010-03-01). "The Foreign Politics of Opposition: Margaret Thatcher and the Transatlantic Relationship before Power". Contemporary British History. 24 (1): 23–42. doi:10.1080/13619460903565358. ISSN 1361-9462.
  47. "Press Conference concluding visit to Iran | Margaret Thatcher Foundation". www.margaretthatcher.org.
  48. "How Thatcher tried to thwart devolution - The Scotsman". web.archive.org. 2015-10-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-16. สืบค้นเมื่อ 2023-04-28.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  49. "1978: Callaghan accused of running scared" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 1978-09-07. สืบค้นเมื่อ 2023-04-28.
  50. 1979: Thatcher wins Tory landslide
  51. "Remarks on becoming Prime Minister (St Francis's prayer) | Margaret Thatcher Foundation". www.margaretthatcher.org.
  52. Bern, Paula (1987). How to work for a woman boss, even if you'd rather not (1st ed ed.). New York: Dodd, Mead. ISBN 0-396-08839-2. OCLC 13902799. {{cite book}}: |edition= has extra text (help)
  53. Ogden, Chris (1990). Maggie : an intimate portrait of a woman in power. New York: Simon and Schuster. ISBN 0-671-66760-2. OCLC 21038256.
  54. Sheehy, Gail (1989). "Gail Sheehy on the most powerful woman in the world". Vanity Fair. Vol. 52. p. 102.
  55. MARGARET THATCHER...The Most Powerful Women In The World (The Philadelphia Inquirer Newspaper Magazine , Von Hayes..Phillies , Schools For Scholars...Orthodox Judism, Jun 7 , 1987)
  56. Childs, David (2006). Britain since 1945 : a political history (6th ed ed.). London: Routledge. ISBN 0-203-96991-X. OCLC 70878706. {{cite book}}: |edition= has extra text (help)
  57. Politics UK. Bill Jones (6th ed ed.). Harlow, England: Pearson Education. 2007. ISBN 1-4058-2411-5. OCLC 71552511. {{cite book}}: |edition= has extra text (help)CS1 maint: others (ลิงก์)
  58. "Speech to Conservative Party Conference ('the lady's not for turning') ["The Reason Why"] | Margaret Thatcher Foundation". www.margaretthatcher.org.
  59. Thornton, Richard C. (c2003-). The Reagan revolution. Victoria, B.C.: Trafford. ISBN 1-4120-0213-3. OCLC 52030754. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  60. "Economy: Letter of the 364 economists critical of monetarism (letter sent to academics and list of signatories) [released 2012] | Margaret Thatcher Foundation". www.margaretthatcher.org.
  61. The Cambridge economic history of modern Britain. Roderick Floud, Paul Johnson. Cambridge: Cambridge University Press. 2003–2004. ISBN 0-521-52736-8. OCLC 51942310.{{cite book}}: CS1 maint: date format (ลิงก์) CS1 maint: others (ลิงก์)
  62. "1982: UK unemployment tops three million" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 1982-01-26. สืบค้นเมื่อ 2023-04-27.
  63. Rowthorn, Bob (1987). De-industrialization and foreign trade. J. R. Wells. Cambridge [Cambridgeshire]: Cambridge University Press. ISBN 0-521-26360-3. OCLC 15283939.
  64. "Unemployment among young workers hits 15 per cent". The Independent (ภาษาอังกฤษ). 2009-03-16.
  65. นางสิงห์เหล็ก 'มาร์กาเรต แทตเชอร์' ถึงแก่อสัญกรรม จากไทยรัฐ
  66. Young, Hugo (n.d.). "Margaret Thatcher profile". Encyclopædia Britannica. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 October 2011. สืบค้นเมื่อ 30 October 2008.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]