ข้ามไปเนื้อหา

โลกสภา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Lok Sabha)
โลกสภา
House of the People
โลกสภาที่ 17
Emblem of India
ประเภท
ประเภท
เป็นส่วนหนึ่งของรัฐสภาอินเดีย
จำกัดวาระ
5 ปี
ผู้บริหาร
ว่าง
Snehlata Shrivastava
ตั้งแต่ 1 ธันวาคม ค.ศ.2017[2]
ว่าง เนื่องจากไม่มีพรรคฝ่ายค้านใดมีที่นั่งมากกว่า 10%
โครงสร้าง
สมาชิก545 (543 Elected + 2 Nominated)
Lok Sabha
กลุ่มการเมือง
รัฐบาล (355)

National Democratic Alliance (355)

  •   พรรคภารตียชนตา (303)
  •   SS (18)
  •   JD(U) (16)
  •   LJP (6)
  •   AD(S) (2)
  •   SAD (2)
  •   AIADMK (1)
  •   AJSU (1)
  •   MNF (1)
  •   NDPP (1)
  •   NPP (1)
  •   RLP (1)
  •   SKM (1)
  •   อิสระ (1)

ฝ่ายค้าน (188)
United Progressive Alliance (93)

อื่นๆ (95)

ว่าง (2)

การเลือกตั้ง
แบ่งเขตคะแนนสูงสุด
การเลือกตั้งครั้งล่าสุด
11 เมษายน – 19 พฤษภาคม ค.ศ.2019
การเลือกตั้งครั้งหน้า
พฤษภาคม ค.ศ.2024
ที่ประชุม
view of Sansad Bhavan, seat of the Parliament of India
โลกสภา, Sansad Bhavan,
Sansad Marg, นิวเดลี, ประเทศอินเดีย - 110 001
เว็บไซต์
loksabha.nic.in

โลกสภา (อักษรโรมัน: Lok Sabha; ฮินดี: लोकसभा, Lōkasabhā) เป็นสภาล่างของรัฐสภาอินเดีย ตามรัฐธรรมนูญอินเดียกำหนดให้สมาชิกโลกสภามีจำนวนไม่เกินห้าร้อยห้าสิบสองคน ไม่เกินยี่สิบคนในจำนวนนี้เป็นผู้แทนจากสหภาพดินแดนต่าง ๆ ของประเทศอินเดีย และสองคนเป็นผู้แทนจากประชาคมแองโกลอินเดีย

สมัยประชุมแต่ละสมัยของโลกสภามีอายุห้าปี หลังจากนั้นจะสิ้นสุดลงโดยอัตโนมัติ เพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ แต่อาจมีการขยายระยะเวลาของสมัยประชุมออกไปได้ตามรัฐกำหนดที่รัฐบาลอินเดียตราขึ้นเมื่อมีเหตุจำเป็น ปัจจุบันอยู่ระหว่างสมัยประชุมที่สิบหกของโลกยสภา ซึ่งเริ่มต้นเปิดสมัยประชุมมาตั้งแต่หลังการเลือกตั้งทั่วไปในอินเดีย เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2557

โลกสภา มีความแตกต่างจาก ราชยสภา หรือสภาสูงของรัฐสภาอินเดีย ที่โลกสภาสามารถถูกยุบสภาได้ตามระบอบการปกครองประชาธิปไตยแบบเวสต์มินสเตอร์ แต่จะไม่มีการยุบราชยสภา อย่างไรก็ดี ประธานาธิบดีอินเดียมีอำนาจที่จะสั่งการให้ระงับสมัยประชุมของโลกสภาและราชยสภาได้ทั้งคู่ นอกจากนั้น สมัยประชุมของโลกยสภาก็มีการเปิดขึ้นและปิดสมัยประชุมไปเป็นระยะตามวงรอบทุกห้าปี แต่ราชยสภาเปิดสมัยประชุมต่อเนื่องตลอดเวลา

โลกสภาและราชยสภาบริหารอำนาจนิติบัญญัติร่วมกัน โดยมีอำนาจหน้าที่เท่าเทียมกันในการเสนอและพิจารณาร่างกฎหมาย (ยกเว้นประเด็นที่เกี่ยวกับงบประมาณ เป็นอำนาจหน้าที่โดยตรงของโลกสภาที่จะพิจารณา นอกจากนั้น โลกสภายังมีอำนาจหน้าที่ที่จะประชุมอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีและรัฐบาล ซึ่งราชยสภาไม่มี) ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านนิติบัญญัติ ปัญหาดังกล่าวนี้จะได้รับการตัดสินโดยที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาอินเดีย แต่โดยที่โลกสภามีสมาชิกมากกว่าราชยสภาถึงสองเท่า จึงนับว่าโลกสภามีอำนาจมากกว่าในการประชุมร่วมกันดังกล่าว อย่างไรก็ดี การประชุมร่วมกันของสภาทั้งสองที่ประกอบขึ้นมาเป็นรัฐสภาอินเดียมีน้อยครั้งมาก ในประวัติศาสตร์ตั้งแต่การก่อตั้งสาธารณรัฐอินเดียจนถึงปัจจุบัน มีการประชุมร่วมเช่นว่านั้นเพียงสามครั้งเท่านั้น

ในที่ประชุมรัฐสภา ที่นั่งและพรมทางเดินของสมาชิกโลกสภาจะเป็นสีเขียว ขณะที่ของสภาสูงหรือราชยสภาเป็นสีแดง

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Om Birla unanimously elected Lok Sabha Speaker, PM Modi heaps praises on BJP colleague". India Today (ภาษาอังกฤษ). 19 June 2019. สืบค้นเมื่อ 19 June 2019.
  2. "Snehlata Shrivastava appointed Lok Sabha Secretary General". The Economic Times. 28 November 2017. สืบค้นเมื่อ 21 June 2019.
  3. "Narendra Modi to be sworn in as 15th Prime Minister of India on May 26". Deccan Chronicle. 20 May 2014. สืบค้นเมื่อ 23 June 2019.