ภูมิศิลป์
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/8/84/Spiral-jetty-from-rozel-point.png/300px-Spiral-jetty-from-rozel-point.png)
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/8/8d/Tylicki_Natural_Art_506.jpg/300px-Tylicki_Natural_Art_506.jpg)
ภูมิศิลป์[2] (อังกฤษ: land art หรือ earthworks หรือ earth art) บางตำราเรียกว่า ธรณีศิลป์[3] คือ ขบวนการศิลปะที่เริ่มขึ้นในสหรัฐอเมริการาวปลายคริสต์ทศวรรษ 1960 จนถึงคริสต์ทศวรรษ 1970 ที่ความสัมพันธ์ระหว่างภูมิทัศน์และงานศิลปะเป็นความสัมพันธ์ที่ผสานกันอย่างแยกไม่ออก ประติมากรรมมิได้วางอยู่ท่ามกลางภูมิทัศน์ แต่ภูมิทัศน์เป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดศิลปะ งานธรณีศิลป์มักจะเป็นศิลปะนอกสถานที่ที่ตั้งอยู่ไกลจากบ้านจากเมือง และปล่อยทิ้งไว้ให้ถูกกัดกร่อนลงไปตามธรรมชาติ งานชิ้นแรก ๆ สร้างขึ้นในทะเลทรายในเนวาดา, นิวเม็กซิโก, ยูทาห์ และแอริโซนาที่เป็นงานชั่วคราวที่สร้างท่ามกลางธรรมชาติ ที่เหลืออยู่แต่เพียงจากการบันทึกไว้ในวิดีโอ หรือ ภาพถ่ายเท่านั้น
ประวัติ
[แก้]ภูมิศิลป์เป็นปรัชญาศิลปะที่มีวัตถุประสงค์ในการต่อต้านงานศิลปะที่กลายเป็นสิ่งผิดธรรมชาติ, เป็นพลาสติก และ เป็นงานค้าขายกันจนเกินหน้าที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาในปลายคริสต์ทศวรรษ 1960 ผู้ถือปรัชญาธรณีศิลป์จะหันหลังให้กับการตั้งแสดงงานศิลปะในพิพิธภัณฑ์ และจะสร้างงานภูมิทัศน์ขนาดมหึมาที่เกินเลยไปจากการซื้อขายกันเป็นชิ้นได้ในตลาดศิลปะโดยทั่วไป ธรณีศิลป์มีพื้นฐานมาจากลัทธิจุลนิยม และ ศิลปะเชิงมโนทัศน์ และแนวคิดของปรัชญาศิลปะสมัยใหม่และแนวจุลนิยมเช่นเดสตีเจล, บาศกนิยม, ลัทธิจุลนิยม และงานศิลปะของ คอนสแตนติน บรังคุช และ โยเซฟ บอยส์ ศิลปินที่สร้างงานที่เกี่ยวกับธรณีศิลป์มักจะพัฒนามาจากศิลปะจุลนิยมและศิลปะเชิงแนวคิด งานออกแบบลานเล่นลดหลั่นของศิลปินชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่นอิซะมุ โนะงุชิ ที่นิวยอร์กในปี ค.ศ. 1941 ที่นิวยอร์กบางครั้งก็ตีความหมายว่าเป็นงานชิ้นสำคัญชิ้นแรกในกลุ่มศิลปะธรณีศิลป์ที่แม้ว่าตัวศิลปินเองจะไม่ได้เรียกงานของตนว่า “ธรณีศิลป์” แต่เรียกง่าย ๆ ว่า “ประติมากรรม” ก็ตาม อิทธิพลของงานของอิซะมุ โนะงุชิจะเห็นได้อย่างเด่นชัดในงานธรณีศิลป์ร่วมสมัย, ภูมิสถาปัตยกรรม และ ประติมากรรมผสานสิ่งแวดล้อม หลายชิ้นที่เห็นในปัจจุบัน ยั่งยืน
ศิลปินอเมริกันแอแลน ซอนฟิสต์เป็นผู้ริเริ่มวิธีนอกแนว (alternative approach) ในการสร้างงานโดยการผสานใช้ธรรมชาติและวัฒนธรรมในงานศิลปะที่เริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1965 โดยการนำเอาธรรมชาติทางประวัติศาสตร์และถาวรศิลป์ (Sustainable art) กลับเข้ามายังนครนิวยอร์กอีกครั้ง ตามคำกล่าวของนักวิพากษ์ศิลป์บาร์บารา โรสใน “Artforum” ที่กล่าวในปี ค.ศ. 1969 ว่าเธอเพิ่มความหมดแรงใจกับงานศิลปะที่กลายเป็น “สินค้า” (commodification) และที่เสนอมุมมองที่ “ขาดความสัมพันธ์” (insularity) ของงานที่แสดงกันตามห้องแสดงศิลป์ต่าง ๆ ในปี ค.ศ. 1967 นักวิพากษ์ศิลป์เกรซ กลึคประกาศใน “เดอะนิวยอร์กไทมส์” ว่างาน “ธรณีศิลป์” ชิ้นแรกสร้างขึ้นโดยดักกลาส ไลค์เตอร์ และ ริชาร์ด ซาบาที่โรงเรียนจิตรกรรมและประติมากรรมสเคาว์ฮีกัน ในปี ค.ศ. 1968 งาน “ธรณีศิลป์” ที่เริ่มปรากฏขึ้นอย่างรวดเร็วก็อาจจะถือได้ว่าเป็นการโต้ตอบของศิลปินรุ่นที่ส่วนใหญ่อายุอยู่ในราวยี่สิบกว่าๆ ต่อขบวนการของการมีบทบาททางการเมืองในปีนั้น และ ต่อขบวนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและขบวนการรณรงค์เพื่อความเท่าเทียมกันของสตรี
ขบวนการ “ธรณีศิลป์” เริ่มขึ้นในเดือนตุลาคม ในปี ค.ศ. 1968 โดยการแสดงงานศิลปะมูลดิน (Earthwork) ที่หอศิลป์ดวานในนิวยอร์ก ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1969 ศิลปินและภัณฑารักษ์ของห้องแสดงศิลปะวิลเลอบี ชาร์พก็จัดงานแสดงศิลปะมูลดินขึ้นที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะแอนดรูว์ ดิคสัน ไวท์ที่มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ที่อิทาคาในรัฐนิวยอร์ก ศิลปินที่เข้าร่วมการแสดงก็ได้แก่: Walter De Maria, Jan Dibbets, Hans Haacke, Michael Heizer, Neil Jenney, Richard Long, David Medalla, Robert Morris, Dennis Oppenheim, โรเบิร์ต สมิธสัน และ กุนเทอร์ เอิคเคอร์
ศิลปินผู้อาจจะเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในบรรดาศิลปินกลุ่มนี้ก็เห็นจะเป็นศิลปินอเมริกันโรเบิร์ต สมิธสันผู้ที่ในปี ค.ศ. 1968 เขียน “ตะกอนความคิด: โครงการศิลปะมูลดิน” (The Sedimentation of the Mind: Earth Projects) ซึ่งเป็นงานที่วางรากฐานอันสำคัญสำหรับขบวนการที่เป็นปฏิกิริยาต่อความห่างเหินของลัทธิสมัยใหม่นิยมจากปัญหาสังคมตามที่กล่าวโดยนักวิพากษ์ศิลป์เคลเมนท์ กรีนเบิร์ก งานธรณีศิลป์ชิ้นที่มีชื่อเสียงที่สุดของโรเบิร์ต สมิธสันคืองาน “กำแพงทะเลขมวดหอย” (Spiral Jetty) ที่สร้างในปี ค.ศ. 1970 สมิธสันสร้างงานชิ้นนี้โดยการจัดหิน, ดิน และ สาหร่าย ที่ยาวราว 1500 ฟุตเป็นกำแพงทะเล (jetty) ที่ขมวดวนยื่นออกไปในทะเลสาบเกรตซอลต์ในยูทาห์ การปรากฏของงานชิ้นนี้ให้เห็นมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับระดับน้ำที่ขึ้นลง
งานของโรเบิร์ต สมิธสันอีกชิ้นหนึ่งคือ “วงแตกและเนินขมวด”[4] (Broken Circle and Spiral Hill) ที่สร้างในปี ค.ศ. 1968 ก็เป็นงานอีกชิ้นหนึ่งที่เป็นตัวอย่างของงานธรณีศิลป์ แต่งงานธรณีศิลป์ “กระจกกรวดกับรอยแตกและฝุ่น” (Gravel Mirror with Cracks and Dust) ที่สร้างในปี ค.ศ. 1968 เป็นงานที่ตั้งแสดงในห้องแสดงภาพแทนที่จะตั้งอยู่ภายนอกตามธรรมชาติ งานชิ้นนี้เป็นกองกรวดที่ตั้งอยู่ติดกับผนังส่วนที่เป็นกระจกของห้องแสดงภาพ ความปราศจากความซับซ้อนของรูปทรงและการเน้นความงามของวัสดุที่ใช้สร้างงานทำให้งานธรณีศิลป์มีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับศิลปะจุลนิยม และกับศิลปะสมถะ (Arte Povera) ตรงการใช้วัสดุที่ตามปกติแล้วไม่ถือว่าเป็นวัสดุที่ไม่เหมาะแก่การสร้างงานศิลปะ หรือ เป็นวัสดุที่ “ขาดคุณค่า”
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/9/91/Roden.jpg/300px-Roden.jpg)
ศิลปินธรณีศิลป์ส่วนใหญ่มักจะเป็นศิลปินอเมริกันที่รวมทั้งศิลปินผู้มีชื่อเสียงจากสาขาอื่นที่รวมทั้งแนนซี โฮลท์, วอลเตอร์ เดอ มาเรีย, ฮันส์ ฮาคเคอ, แอลิซ อายค็อค, เดนนิส ออพเพนไฮม์, ไมเคิล ไฮเซอร์, แอนดรูว์ โรเจอร์, แอแลน ซันฟิสต์ และ เจมส์ เทอร์เรลล์ เทอร์เรลล์เริ่มสร้างงานในปี ค.ศ. 1972 ที่อาจจะเป็นงานธรณีศิลป์ชิ้นที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยทำกันมาที่เปลี่ยนรูปทรงของแผ่นดินในบริเวณรอบหลุมโรเดนซึ่งเป็นหลุมภูเขาไฟที่ดับแล้วในแอริโซนา
ศิลปินธรณีศิลป์ผู้มีชื่อเสียงที่ไม่ใช่ชาวอเมริกันก็ได้แก่ศิลปินอังกฤษคริส ดรูรีย์, แอนดี โกลด์สเวิร์ทธี, ริชาร์ด ลอง และประติมากรออสเตรเลียแอนดรูว์ โรเจอร์ส
งานบางชิ้นของคริสโตและฌอง-โคลด (ผู้มีชื่อเสียงในการห่อสิ่งก่อสร้าง, อนุสาวรีย์ และภูมิทัศน์ด้วยผืนผ้า) ก็ถือกันว่าเป็นงานธรณีศิลป์โดยนักวิพากษ์บางท่าน แต่ตัวศิลปินเองเห็นว่าเป็นการจัดกลุ่มที่ไม่ถูกต้อง[5] ความคิดของโยเซฟ บอยส์เกี่ยวกับ “ประติมากรรมเชิงสังคม” (social sculpture) มีอิทธิพลต่องาน “ธรณีศิลป์” ในโครงการ “โอ้ค 7000 ต้น” (7000 Oaks) ที่บอยส์ทำการปลูกต้นโอ้ค 7000 ต้นในปี ค.ศ. 1972 ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับกระบวนการสร้าง “ธรณีศิลป์”
“จังหวะชีวิต” (Rhythms of Life) โดยประติมากรออสเตรเลียแอนดรูว์ โรเจอร์ส เป็นงานธรณีศิลป์ร่วมสมัยชิ้นที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่ประกอบด้วยประติมากรรมหินหรือธรณีรูปลักษณ์ที่ต่อเนื่องกันเป็นโซ่รอบโลก 12 ที่ที่แต่ละแห่งก็จะแปลกแตกต่างกันเป็นอย่างมาก (ตั้งแต่บริเวณต่ำกว่าระดับน้ำทะเล ไปจนถึงบริเวณที่สูงขึ้นไปกว่า 4,300 เมตร และธรณีรูปลักษณ์อีกสามแห่งที่มีขนาดใหญ่ขึ้นไปถึง 40,000 ตาราเมตร
ศิลปินธรณีศิลป์ในสหรัฐอเมริกาส่วนใหญ่ดำรงชีวิตอยู่ด้วยการอยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ของผู้อุปถัมภ์ที่มีฐานะดี หรือองค์การส่วนบุคคลในการให้ทุนสนับสนุนโครงการซึ่งมักจะมีราคาสูง เมื่อเศรษฐกิตตกต่ำอย่างกะทันหันราวกลางคริสต์ทศวรรษ 1970 ทุนสำหรับโครงการเหล่านี้ก็เหือดแห้งตามไปด้วย และเมื่อโรเบิร์ต สมิธสันมาเสียชีวิตไปกับเครื่องบินตกในปี ค.ศ. 1973 ขบวนการธรณีศิลป์ที่สูญเสียผู้นำคนสำคัญก็ค่อยสลายตัวไป เจมส์ เทอร์เรลล์ยังคงทำโครงการหลุมโรเดน แต่โดยทั่วไปแล้วธรณีศิลป์ก็กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของศิลปะประชาคม (public art) และในบางกรณีคำว่า “ธรณีศิลป์” ก็นำมาใช้กันอย่างไม่ถูกต้องในการหมายถึงศิลปะไม่ว่าจะชนิดใดก็ตามที่เกี่ยวกับธรรมชาติ แม้ว่าจะไม่เกี่ยวข้องกับความหมายของศิลปินธรณีศิลป์ที่วางไว้
งานธรณีศิลป์พบโดยทั่วไปในแทบจะทุกประเทศในยุโรปและอเมริกา ในแอฟริกาธรณีศิลป์เป็นประเภทของงานศิลปะที่เริ่มจะแพร่หลาย โดยมี Strijdom van der Merwe[6] จากแอฟริกาใต้เป็นผู้นำ งานธรณีศิลป์ชิ้นหนึ่งในแอฟริกาใต้เป็นงานประวัติศาสตร์โบราณชื่อ “Mama Africa” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสวนพฤกษชาติ ซึ่งเป็นมูลดินสูง 3 เมตร ยาว 16 เมตรและกว้าง 7 เมตร
ศิลปินธรณีศิลป์ร่วมสมัย
[แก้]- Betty Beaumont
- Eberhard Bosslet
- Walter De Maria
- Lucien den Arend
- Agnes Denes
- Harvey Fite
- แอนดี โกลด์สเวิร์ทธี
- Michael Heizer
- Junichi Kakizaki
- Richard Long
- David Nash
- George Papageorge
- John Pfahl
- Andrew Rogers
- Robert Smithson
- Alan Sonfist
- James Turrell
- Nils Udo
- Bill Vazan
- Elisabeth Wierzbicka Wela
- Vito Acconci
- Jacek Tylicki
ระเบียงภาพ
[แก้]-
“วงแตกและเนินขมวด”
Broken Circle and Spiral Hill
ค.ศ. 1968
โรเบิร์ต สมิธสัน -
“Fold 1”
ค.ศ. 2006
แอนดี โกลด์สเวิร์ทธี -
“แนวโอ้คตาย”
Bog Track
ค.ศ. 2005
โยฮัน ซีทเซอมา
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ""Spiral Jetty"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-11. สืบค้นเมื่อ 2010-01-22.
- ↑ "ศัพท์ศิลปะ ราชบัณฑิตยสถาน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-15. สืบค้นเมื่อ 2012-02-24.
- ↑ มะลิฉัตร เอื้ออานันท์. “พจนานุกรมศัพท์ศิลปะ” สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พ.ศ. 2545
- ↑ ภาพ “วงแตกและเนินขมวด”
- ↑ "Common Errors". Christojeanneclaude.net. สืบค้นเมื่อ 2008-11-07.
{{cite web}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - ↑ http://www.strijdom.co.za
บรรณานุกรม
[แก้]- Lawrence Alloway, Wolfgang Becker, Robert Rosenblum et al., Alan Sonfist, Nature: The End of Art, Gli Ori,Dist. Thames & Hudson Florence, Italy,2004 ISBN 0615125336
- Max Andrews (Ed.): Land, Art: A Cultural Ecology Handbook. London 2006 ISBN 978-0-901469-57-1
- John Beardsley: Earthworks and Beyond. Contemporary Art in the Landscape. New York 1998 ISBN 0-7892-0296-4
- Suzaan Boettger, Earthworks: Art and the Landscape of the Sixties. University of California Press 2002. ISBN 0-520-24116-9
- Amy Dempsey: Destination Art. Berkeley CA 2006 ISBN 13-978-0-520-25025-3
- Michel Draguet, Nils-Udo, Bob Verschueren, Bruseels: Atelier 340, 1992
- Jack Flam (Ed.). Robert Smithson: The Collected Writings, Berkeley CA 1996 ISBN 0-520-20385-2
- John K. Grande: New York, London. Balance: Art and Nature, Black Rose Books, 1994, 2003 ISBN 1-55164-234-4
- Eleanor Heartney, Andrew Rogers Geoglyphs, Rhythms of Life, Edizioni Charta srl, Italy, 2009 ISBN 978-88-8158-712-4
- Robert Hobbs, Robert Smithson: A Retrospective View, Wilhelm Lehmbruck Museum, Duisburg / Herbert F. Johnson Museum of Art, Cornell University,
- Jeffrey Kastner, Brian Wallis: Land and Environmental Art. Boston 1998 ISBN 0-7148-4519-1
- Lucy R Lippard: Overlay: Contemporary Art and the Art of Prehistory. New York 1983 ISBN 0-394-54812-8
- Udo Weilacher: Between Landscape Architecture and Land Art. Basel Berlin Boston 1999 ISBN 3-7643-6119-0
- Edward Lucie-Smith (Intro) and John K. Grande: Art Nature Dialogues: Interviews with Environmental Artists, New York 2004 ISBN 0-7914-6914-7
- David Peat & Edward Lucie-Smith (Introduction & forward) Dialogues in Diversity, Italy: Pari Publishing, 2007, ISBN 978-88-901960-7-2
- Gilles A. Tiberghien: Land Art. Ed. Carré 1995
ดูเพิ่ม
[แก้]- ศิลปะตะวันตก
- ศิลปะเชิงมโนทัศน์ (Concept art)
- ศิลปะเชิงแนวคิด (Conceptual art)
- ศิลปะเฉพาะที่
- ศิลปะสมัยใหม่
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้] วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ธรณีศิลป์
- Monumental Land Art of the United States.
- SaveLandArt.org - Media Initiatives to Protect Land Art from Urbanization, Industry and Overcuration. เก็บถาวร 2011-07-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- EarthArtists.org - listings of Earth, Land, and Eco-artists.
- Alan Sonfist Official Website
- Artist in Nature International Network เก็บถาวร 2007-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Denarend.com - About land art เก็บถาวร 2009-01-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Land Arts of the American West
- Official UNM Land Arts of the American West Program Website
- Land & Environmental Artists & Art เก็บถาวร 2007-10-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Australian land arts เก็บถาวร 2016-10-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Roden Crater by James Turrell
- Jacek Tylicki Land & Environmental Art projects
- - Land Art project in South Africa เก็บถาวร 2008-12-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- (ฝรั่งเศส) Portail du Land Art เก็บถาวร 2016-12-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Land Arts of the American West