ข้ามไปเนื้อหา

เลดีกากา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Lady Gaga)
เลดีกากา
Side view of a smiling Lady Gaga, as she is looking away from the camera, wearing a navy blue dress decorated with a golden bird.
กากาที่พิธีสาบานตนโจ ไบเดิน ปี ค.ศ. 2021
เกิดสเตฟานี โจแอนน์ แอนเจลินา เจอร์มาน็อตตา
(1986-03-28) 28 มีนาคม ค.ศ. 1986 (38 ปี)
นครนิวยอร์ก สหรัฐ
อาชีพ
  • นักร้อง
  • นักแต่งเพลง
  • เรียงเรียง
  • นักแสดง
ปีปฏิบัติงาน2001–ปัจจุบัน
องค์การ
ผลงาน
บิดามารดา
ญาตินาตาลี เจอร์มาน็อตตา (น้องสาว)
รางวัลรายการทั้งหมด
อาชีพทางดนตรี
แนวเพลง
เครื่องดนตรี
  • เสียงร้อง
  • เปียโน
  • กีตาร์
  • คีย์ตาร์
ค่ายเพลง
เว็บไซต์ladygaga.com

สเตฟานี โจแอนน์ แอนเจลินา เจอร์มาน็อตตา (อังกฤษ: Stefani Joanne Angelina Germanotta[1]; เกิด 28 มีนาคม ค.ศ. 1986) หรือที่รู้จักในนาม เลดีกากา (อังกฤษ: Lady Gaga) เป็นศิลปินเพลงป็อปชาวอเมริกันเชื้อสายอิตาลี เริ่มแสดงดนตรีครั้งแรกกับวงร็อกในนิวยอร์ก ในปี ค.ศ. 2003 เธอเข้าเรียนที่โรงเรียนศิลปะทิสช์ แห่งมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก ต่อมาได้อยู่ในสังกัดอินเตอร์สโคป และต่อสัญญากับค่ายสตรีมไลน์ ในเครืออินเตอร์สโคปในปี ค.ศ. 2007 เธอเคยเขียนเพลงให้กับศิลปินร่วมสังกัด ทำให้ความสามารถด้านการร้องเพลงของเธอได้รับความสนใจจาก Akon และได้เซ็นสัญญากับ คอนไลฟ์ดิสทริบิวชัน

เดอะเฟม อัลบั้มแรกของเธอ ได้วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 2008 สามารถขึ้นชาร์ตอันดับหนึ่งในสหราชอาณาจักร แคนาดา ออสเตรีย เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ และไอร์แลนด์ และสามารถติดชาร์ต 1 ใน 10 อันดับแรกในอีกหลายประเทศ รวมทั้งในสหรัฐอเมริกา ที่สามารถทำสถิติขึ้นชาร์ตบิลบอร์ด 200 ในอันดับที่ 2 และขึ้นอันดับหนึ่งในชาร์ตอัลบั้มเพลงแดนซ์/อิเล็กทรอนิกส์ ของบิลบอร์ด และอีกสองเพลงเปิดตัว คือ จัสต์แดนซ์ และ โป๊กเกอร์เฟซ ที่กาการ่วมแต่งและผลิตกับเรดวัน ก็เป็นที่นิยมและติดอันดับหนึ่งในหลายประเทศ รวมถึงอันดับต้น ๆ ของบิลบอร์ดฮอต 100 ในสหรัฐอเมริกา อัลบั้มเดอะเฟมได้รับการเสนอชื่อให้เข้าชิงรางวัลแกรมมี่มากถึง 6 สาขารางวัล และได้รับรางวัลในสาขาอัลบั้มเพลงอิเล็กทรอนิกส์/เพลงแดนซ์ยอดเยี่ยม และรางวัลเพลงแดนซ์ยอดเยี่ยมจากเพลงโป๊กเกอร์เฟซ ต้น ค.ศ. 2009 เธอออกทัวร์คอนเสิร์ตครั้งแรกในชื่อ เดอะเฟมบอลทัวร์ และในปลายปีเดียวกัน เธอได้ประกาศวางจำหน่ายอัลบั้มเสริม เดอะเฟมมอนสเตอร์ เป็นอัลบั้มต่อจากอัลบั้มเปิดตัว เดอะเฟม อัลบั้มนี้ทำให้เธอได้เข้าชิงรางวัลแกรมมี่ 6 สาขารางวัล สามารถขึ้นชาร์ตอันดับหนึ่งด้วยซิงเกิลเปิดตัวอัลบั้ม คือ แบดโรแมนซ์ และได้ออกทัวร์คอนเสิร์ตครั้งที่สอง เดอะเฟมมอนสเตอร์บอลทัวร์ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน

กากาได้รับแรงบันดาลใจจากเพลงแนวแกลมร็อก โดยมีศิลปินอย่างเดวิด โบวี และวงควีน รวมทั้งนักร้องเพลงป็อป เช่น มาดอนนา และไมเคิล แจ็กสัน อีกทั้งแฟชั่น ก็เป็นอีกหนึ่งแรงบันดาลใจในการเขียนเพลงและการแสดงของเธอ กากาอยู่ในอันดับที่ 73 ของศิลปินยุคคริสต์ทศวรรษที่ 2000 โดยการจัดลำดับของบิลบอร์ด ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2010 ยอดขายอัลบั้มของเธอทะลุ 15 ล้านสำเนา และ 51 ล้านซิงเกิลทั่วโลก[2] นิตยสารไทม์ส จัดลำดับให้เลดีกากา อยู่ในรายชื่อไทม์ส 100 ที่รวบรวมบุคคลทรงอิทธิพลต่อโลกประจำ ค.ศ. 2010 และใน 100 อันดับบุคคลที่มีชื่อเสียงที่มีอิทธิพลต่อโลก ส่วนนิตยสารฟอบส์ ได้จัดอันดับให้เธออยู่ในอันดับที่ 7 ของผู้หญิงทรงอำนาจที่สุดในโลกประจำ ค.ศ. 2010[3][4][5][6] เลดีกากา มีผลงานอัลบั้ม ที่ทำยอดขายสูงสุดในโลกประจำปี 2010 [7] ภายใน 2 ปี เธอมียอดขายอัลบั้มมากกว่า 55 ล้านชุด[8]

ช่วงชีวิต

[แก้]

1986 - 2004: วัยเด็ก

[แก้]
การแสดงที่สต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน เมื่อค.ศ. 2008

โจแอนน์ สเตฟานี แองเจลินา เจอร์มานอตต้า เกิดเมื่อวันที่ 28 มีนาคม ค.ศ. 1986 เวลา 9.53 น. ที่โรงพยาบาลในย่านแมนฮัตตันที่ชื่อว่า Lenox Hill Hospital รัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ในครอบครัวอิตาเลียน-อเมริกัน ที่ยองเกอร์ส นครนิวยอร์ก ต่อมาย้ายไปอยู่ที่เขตแมนแฮตตัน กากาเป็นลูกสาวคนโตของโจเซฟ เจอร์มานอตต้า นักลงทุนทางอินเทอร์เน็ต กับ​ซินเธีย (สกุลเดิม บิสเซตต์) แม่ของเธอมีเชื้อสาย อิตาเลียน-แคนาดา-ฝรั่งเศส เธอมีน้องสาวหนึ่งคนชื่อ "นาตาลี" กากาเริ่มเล่นเปียโนตั้งแต่อายุได้ 4 ปี เมื่ออายุ 11 ปี เธอได้เข้าเรียนที่โรงเรียนคอนแวนต์แซเครดฮาร์ต โรงเรียนเอกชนคอนแวนต์คาทอลิกในอัปเปอร์อีสต์ไซด์ แมนแฮตตัน[9] เนื่องจากครอบครัวกากาไม่ได้มีฐานะร่ำรวย เธอจึงถูกต่อต้านจากกลุ่มเพื่อนในโรงเรียน เธอพูดถึงพ่อกับแม่ "ทั้งสองมาจากชนชั้นแรงงาน ดังนั้นจึงทำงานทุกอย่างเพื่อพวกเรา แม่กับพ่อทำงานในสายงานโทรคมนาคม ตั้งแต่ 8 โมงเช้า ถึง 2 ทุ่ม จึงได้กลับบ้าน"[10][11]

ด้วยความต้องการเล่นละครในสมัยไฮสกูล เธอจึงได้รับโอกาสแสดงเรื่อง Guys & Dolls โดยรับบทเป็น เอดิเลด และได้แสดงซีรีส์ A Funny Thing Happened on the Way to the Forum รับบทเป็น ฟิลเลีย กากาเล่าถึงชีวิตนักเรียนในโรงเรียไฮสกูลว่า "เป็นสิ่งที่เธออุทิศตัวมากที่สุด ตั้งใจเรียนมากที่สุด และเคร่งครัดในกฎระเบียบมาก แต่ก็ไม่มั่นคงนัก" ตามที่เธอให้สัมภาษณ์ว่า "ฉันเคยถูกล้อเลียนว่าเป็นคนก้าวร้าวและบ้าระห่ำ ดังนั้นจึงปรับปรุงตัวให้ดีขึ้น แต่ฉันรู้สึกว่าไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับโรงเรียนได้ รู้สึกเหมือนตัวเองเป็นคนประหลาด"[12] แต่เพื่อนร่วมชั้นเรียนของเธอตอนนั้นกลับแย้งว่ากากาเป็นนักเรียนดี มีแค่เพื่อนกลุ่มเล็ก ๆ หน้าตาคล้ายเด็กชาย แต่มีน้ำเสียงดี ร้องเพลงเก่ง[13][14] ด้วยบุคลิกของเธอที่มีอารมณ์ลึกซึ้งและเป็นอิสระอย่างศิลปินเนื่องจากถนัดมือซ้าย กากาให้สัมภาษณ์กับนิตยสารแอลว่าเธอนั้นถนัดมือซ้ายจริง ๆ [15]

เมื่ออายุได้ 17 ปี เธอได้รับสิทธิให้เข้าเรียนก่อนเกณฑ์ในโรงเรียนศิลปะทิสช์แห่งมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก และพักอยู่ในหอพักของมหาลัยบนถนนที่สิบเอ็ด ที่นั่น เธอได้เรียนวิชาดนตรีและพัฒนาทักษะการเขียนเพลงของตัวเอง จากการแต่งร้อยแก้วและบทวิเคราะห์ที่มุ่งประเด็นไปในด้านศิลปะ ศาสนา ประเด็นต่าง ๆ ในสังคม และการเมือง เธอรู้สึกว่าตัวเองมีความคิดสร้างสรรค์มากกว่าเพื่อนร่วมชั้น เธอจึงตัดสินใจลาออกจากมหาวิทยาลัยเพื่อมองหาโอกาสในอาชีพทางดนตรีในภาคเรียนที่สองขณะเรียนชั้นปีที่ 2[9][16] พ่อของเธอยินยอมที่จะออกค่าเช่าอพาร์ตเมนต์ให้เป็นเวลา 1 ปี โดยมีเงื่อนไขว่า หากไม่ประสบความสำเร็จด้านอาชีพ จะต้องกลับมาเรียนใหม่[17] สเตฟานีต้องย้ายออกจากบ้านไปเช่าอพาร์ตเมนต์ย่านดาวน์ทาวน์ราคาถูกและไม่มีลิฟต์ เธอเริ่มต้นทำงานที่คลับละแวกนั้นตอนอายุเพียง 18 ปี[12]

2005 - 2007: เริ่มต้นสู่อาชีพศิลปิน

[แก้]

กากาเซ็นสัญญาครั้งแรกกับค่ายเดฟแจม เมื่ออายุ 19 ปี แต่ 3 เดือนต่อมา ต้นสังกัดกลับยกเลิกสัญญา ไม่นาน ผู้บริหารค่ายเดฟแจมได้แนะนำเธอให้รู้จักกับเรดวัน นักแต่งเพลงและโปรดิวเซอร์ที่เคยร่วมงานกับผู้บริหารคนนี้

เพลงแรกที่กาการ่วมแต่งกับเรดวัน คือ Boys Boys Boys ที่ได้แรงบันดาลใจจากเพลง Girls Girls Girls ของ เมิทลีย์ ครือ และเพลง T.N.T. ของวง เอซี/ดีซี ที่ผสมผสานกัน เธอย้ายไปอยู่ที่อพาร์ตเมนต์ในฝั่งตะวันออกทางใต้ และได้บันทึกเสียงหลายเพลงกับนักร้องฮิปฮอป แกรนด์มาสเตอร์ เมลล์ เมล เพื่อประกอบหนังสือเสียงสำหรับเด็ก The Portal in the Park ของ คริกเก็ต แคซีย์ เธอเริ่มตั้งวงร็อกในชื่อ สเตฟานี เจอร์มาน็อตตา ซึ่งเป็นชื่อของเธอเอง ร่วมกับเพื่อน ๆ ที่มหาวิทยาลัย[18] พวกเขาได้บันทึกอีพีเพลงบัลลาดที่แต่งเองในสตูดิโอใต้ร้านเหล้าแถบนิวเจอร์ซีย์ ต่อมาได้เล่นประจำที่คลับแถวดาวน์ทาวน์ ในฝั่งตะวันออกทางใต้[12] หลังจากนั้นกากาเริ่มเสพโคเคนเมื่อครั้งการแสดงนีโอ-เบอร์เลสก์ พ่อไม่เข้าใจเหตุผลที่เธอเสพยาและไม่อาจทนเห็นลูกสาวของตนตกอยู่ในสภาพเช่นนั้นได้ จึงพาไปบำบัดจนกระทั่งหายขาด[10]

ต่อมาโปรดิวเซอร์เพลง ร็อบ ฟูซารี เป็นคนช่วยเธอแต่งเพลงขึ้นอีกหลายเพลง โดยเขาเปรียบเทียบเสียงร้องของเธอว่าคล้ายกับเสียงของเฟรดดี้ เมอร์คิวรี[10][19] ฟูซารีเป็นคนที่คิดชื่อในวงการให้เธอว่า เลดีกากา หลังจากได้ฟังเพลงเรดิโอ-กากา ของวงควีน ซึ่งตอนนั้นกากากำลังอยู่ในระหว่างคิดหาชื่อเพื่อใช้ในการแสดง เมื่อฟูซารีส่งความถึงเธอว่า "Lady Gaga" สเตฟานีจึงตัดสินใจใช้ชื่อนี้[19] และเป็นที่รู้จักทั่วไปหลังจากนั้น

กาการ่วมแสดงบนเวทีอเมริกันลอลลาพาลูซ่า ค.ศ. 2007 กับเลดี้สตาร์ไลต์

อย่างไรก็ดี หนังสือพิมพ์นิวยอร์กโพสต์ รายงานว่า เรื่องที่ฟูซารีอ้างถึงที่มาของชื่อ "เลดีกากา" นั้นไม่เป็นความจริง และจริง ๆ แล้ว ชื่อ "เลดีกากา" ได้มาจากการพบกันทางธุรกิจกับเลดี้สตาร์ไลต์ ศิลปินแสดงสด ในค.ศ. 2007[20] และกากาได้ร่วมงานกับเธอนับแต่นั้นมา สตาร์ไลต์เป็นยังเป็นผู้สร้างสรรค์แฟชั่นบนเวทีการแสดงเองด้วย[21] ทั้งคู่เริ่มงานแสดงที่คลับในดาวน์ทาวน์นิวยอร์ก ชื่อ เมอร์คิวรี่เลานจ์ และเดอะบิตเทอร์เอนด์ รวมไปถึง เดอะร็อกวูดมิวสิกฮอล ด้วยความสามารถในศิลปะการแสดงสดและจำอวดของพวกเธอที่เป็นที่พูดถึงแล้ว ทำให้เป็นที่รู้จักในชื่อ "การแสดงเบ็ดเตล็ดของเลดีกากาและสตาร์ไลต์" โดยถูกยกย่องว่าเป็น "การแสดงป็อป-เบอร์เลสก์ชุดสุดท้าย" การแสดงของกากาและสตาร์ไลต์มีกลิ่นอายของยุคคริสต์ทศวรรษที่ 1970 ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2007 ทั้งสองได้รับเชิญให้ขึ้นแสดงสดบนเวทีในเทศกาลดนตรีอเมริกันลอลลาพาลูซา ค.ศ. 2007[22][23] การแสดงของพวกเธอในครั้งนั้นได้รับการตอบรับดีมาก และได้รับคำวิจารณ์ในเชิงบวก ด้วยความสนใจในการทดลองแนวเพลงอิเล็กทรอนิกส์แดนซ์ กากาค้นพบความสามารถทางดนตรีในตัวเองเมื่อตอนที่เริ่มผสมทำนองดนตรีป็อปกับเพลงแนวแกลมร็อกของเดวิด โบวี ลงในเพลงที่แต่งเอง[24]

กากาขณะแสดงที่ผับใต้ดินนิวยอร์ก

ฟูซารีนำเพลงที่เขาและกากาได้แต่งร่วมกัน ส่งให้เพื่อนของเขาที่เป็นโปรดิวเซอร์และผู้บริหารค่ายเพลง ชื่อ วินเซนต์ เฮอร์เบิร์ต เฮอร์เบิร์ตเซ็นสัญญากับกากาทันที ภายใต้สังกัดสตรีมไลน์เรคอดส์ ในเครืออินเตอร์สโคป[25] ในช่วงของการก่อตั้งค่ายเพลงค.ศ. 2007 เธอยกย่องเฮอร์เบิร์ตว่าเป็นผู้ชายที่เห็นความสามารถของเธอ และกล่าวว่า "ฉันรับรู้ว่า เราได้สร้างประวัติศาสตร์ป็อปอีกครั้ง และกำลังทำให้มันเดินต่อไป" กากาได้เป็นนักแต่งเพลงคนใหม่ในค่ายเฟมัสมิวสิกพับลิชชิง แต่ต่อมาตกอยู่ภายใต้ความครอบครองของบริษัทโซนี่/เอทีวีมิวสิกพับลิชชิง ดังนั้นเธอจึงถูกว่าจ้างให้แต่งเพลงให้กับบริทนีย์ สเปียร์ส และนักร้องร่วมค่ายอย่าง นิว คิดส์ออนเดอะบล็อก เฟอร์กี้ และวงพุสซี่แคทดอล[26] ระหว่าการเขียนเพลงให้กับอินเตอร์สโคป เอคอน นักร้องและนักแต่งเพลง ได้เห็นความสามารถในเสียงทรงพลังของเธอ เมื่อได้ร้องเดโมเป็นตัวอย่างสำหรับเพลงในแทร็กของเอคอน หลังจากนั้นเอคอนได้ขอร้องประธานบริษัทอินเตอร์สโคป-เกฟเฟน-เอแอนด์เอ็ม และจิมมี ไอโอวีนซีอีโอของบริษัท ให้เขาร่วมกับบริษัทได้ปั้นกากาให้เป็นนักร้องร่วมกัน และให้เธอเซ็นสัญญากับเขาภายใต้ค่าย คอนไลฟ์ดิสทริบิวชัน เอคอนเรียกเธอว่า "แฟรนไชส์เพลเยอร์" กากายังคงร่วมงานกับเรดวันต่อไปในสตูดิโอ เพื่อร่วมกันทำอัลบั้มแรกของเธอ พร้อมทั้งเตรียมเพลงใหม่ "Just Dance" และ "Poker Face" นอกจากนั้นเธอยังได้ร่วมงานกับค่ายเชอร์รี่ทรี สังกัดอินเตอร์สโคป ที่ก่อตั้งขึ้นโดยโปรดิวเซอร์และนักแต่งเพลง มาร์ติน เคียร์เซนบาอัม ทั้งสองได้แต่งเพลงด้วยกันถึง 4 เพลง หนึ่งในนั้นมีเพลงดังอย่าง Eh, Eh (Nothing else I can Say)[27]

2008 - 2010: อัลบั้ม The Fame และ The Fame Monster

[แก้]

ในปี 2008 กากาได้ย้ายไปอยู่ที่ลอสแอนเจลิส, แคลิฟอร์เนีย และได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับต้นสังกัดที่นั่น และเร่งทำอัลบั้มเปิดตัว The Fame ให้เสร็จ โดยผสมผสานแนวเพลงที่แตกต่างกันลงในอัลบั้ม โดยใช้จังหวะมือจากกลองเมทัลของเออร์บานแทร็ค [19] สอดคล้องกับสรุปผลการวิจารณ์ดนตรีโดยเมต้าคริติค ให้คะแนนอัลบั้ม The Fame 71คะแนนจาก 100 เต็ม [28] อัลบั้มนี้ขึ้นชาร์ตอันดับหนึ่งในออสเตรีย, สหราชอาณาจักร, แคนาดา และไอร์แลนด์ ติดท็อปชาร์ต 5 อันดับแรกที่ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา

กาการ้องเพลงปาปารัซซี่ใน เดอะเฟมบอลทัวร์

อัลบั้ม The Fame ทำยอดขายได้มากกว่า 12ล้านก๊อปปี้ทั่วโลก ด้วยเพลงเปิดตัวอัลบั้ม Just Dance ที่แตะชาร์ตอันดับ 1 ในกว่า 6 ประเทศ คือ ออสเตรเลีย, แคนาดา, เนเธอร์แลนด์, ไอร์แลนด์, สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา [29] [30] ต่อมาถูกเสนอชื่อให้เข้าชิงรางวัลแกรมมี่ ในสาขาเพลงแดนซ์ยอดเยี่ยม [31] เพลงที่สอง Poker Face นับเป็นความประสบสำเร็จที่ยิ่งใหญ่อีกครั้ง เมื่อเพลงนี้ขึ้นท็อปชาร์ตอันดับ 1 ในเกือบทุกตลาดเพลงหลักในโลก รวมทั้งสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา เพลง Poker Face ได้รับรางวัล "เพลงแดนซ์ยอดเยี่ยม" ในงานประกาศผลรางวัลแกรมมี่ครั้งที่ 52 รวมถึงได้รับการเสนอให้เข้าชิงรางวัลในสาขา "เพลงแห่งปี" "บันทึกเสียงแห่งปี" และ รางวัลใหญ่ "อัลบั้มแห่งปี" ด้วย แต่ได้รับรางวัลในสาขาอัลบั้มเพลงอิเล็กทรอนิก-แดนซ์ยอดเยี่ยม แม้ว่าการทัวร์คอนเสิร์ตครั้งแรกของเลดีกากาจะเป็นเพียงการแสดงเปิดเวทีให้กับนักร้องร่วมสังกัด นิว คิดส์ ออน เดอะ บล็อก [32] ในที่สุดเธอตัดสินใจออกเดินสายทัวร์คอนเสิร์ตครั้งแรกของตัวเอง The Fame Ball Tour ที่เริ่มขึ้นในเดือนมีนาคม 2009 และได้รับคำชื่นชมพอควร [33]

กากาขึ้นปกนิตยสารโรลลิ่งสโตน ฉบับเดือนพฤษภาคม 2009 ในสภาพกึ่งเปลือยกาย สวมเพียงชุดฟองน้ำพลาสติดที่ปกปิดเพียงของลับเท่านั้น ในคอลัมน์ Hot 100 เธอได้ให้สัมภาษณ์ถึงการเริ่มต้นสู่เส้นทางอาชีพสายดนตรี และได้พบรักกับมือกลองวงเฮฟวี่เมทัลขณะเล่นดนตรีอยู่ที่ไนท์คลับในนิวยอร์ก เธอเล่าถึงความสัมพันธ์ระหว่างเขากับเธอและสุดท้ายก็เลิกรากันไป เธอบอกว่าเขาเป็นเบื้องหลังแรงบันดาลใจในการทำอัลบั้ม The Fame[34] ต่อมากากาได้รับการเสนอชื่อให้เข้าชิงรางวัลเอ็มทีวี วิดีโอมิวสิกประจำปี 2009 ทั้งหมด 9 สาขารางวัล แต่ได้รับรางวัลในสาขาศิลปินหน้าใหม่แห่งปี ส่วนเพลง Paparazzi ได้ชิงสองรางวัลคือ รางวัลการกำกับศิลป์ยอดเยี่ยมและรางวัลเทคนิคพิเศษในวิดีโอยอดเยี่ยม ในเดือนตุลาคมเธอได้รับรางวัลดาวรุ่งปี 2009 จากนิตยสารบิลบอร์ด[35]

กากาในคอนเสิร์ตเดอะมอนสเตอร์บอลทัวร์

เดือนเดียวกันกับที่เธอร่วมงานชุมนุมรวมพลังเพื่อความเท่าเทียม ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. [36] [37] เธอประกาศวางจำหน่ายอัลบั้ม The Fame Monster เพลงทั้ง 8 แทร็คกล่าวถึงด้านมืดของความมีชื่อเสียงโด่งดังที่จากประสบการณ์ในช่วงที่เธอทัวร์คอนเสิร์ตระหว่างปี 2008-2009 และถ่ายทอดผ่านคำ"Monster" (ปีศาจ) ทัวร์คอนเสิร์ตครั้งที่สองของเธอ "The Fame Monster Ball Tour" จัดขึ้นเพื่อโปรโมตอัลบั้มนี้ และเริ่มทัวร์ในเดือนพฤศจิกายน 2009 [38] [39] "Bad Romance" เป็นเพลงเปิดตัวอัลบั้ม และติดชาร์ตอันดับหนึ่งใน 18 ประเทศทั่วโลก และติดชาร์ตอันดับ 1 สองครั้ง ในสหรัฐอเมริกา, ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ เดือนธันวาคม [40] กากาได้มีโอกาสเข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ณ โรงละครแบล็กพลู ประเทศอังกฤษ ในการแสดงรอยัลวาไรตี้ ประจำปี 2009 และได้ใช้เพลง "Speechless" แสดงสดต่อหน้าพระพักตร์ด้วย เธอสวมชุดผ้ายางลาเท็กซ์เลียนแบบฉลองพระองค์ของสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1ที่หลายคนเห็นว่าไม่เหมาะสม [41]

กากาได้ถูกจัดอันดับให้เป็นหนึ่งใน 10 บุคคลน่าชื่นชมมากที่สุดแห่งปี 2009 โดยบาร์บารา วอลเทอร์ส ระหว่างรายการวอลเตอร์ส แอนนวล เอบีซี สเปเชียล ในระหว่างให้สัมภาษณ์ในรายการเธอเลี่ยงที่จะตอบคำถามในข้อกล่าวหาที่ว่าเธอเป็นกะเทยแท้ ที่มีสองเพศในตัวเองตามข่าวลือ และตอบกลับไปว่า "ตอนแรก ๆ เรื่องนี้มันแปลกแต่ทุกคนก็คิดว่ามันก็เป็นแค่เรื่องธรรมดาทั่วไปนั่นแหละ แต่ฉันเองเชื่อว่า ตัวเองมีภาพลักษณ์ของกะเทยจริงๆ และฉันเองก็รักพวกกะเทยด้วยนะ"[42]

เดือนมกราคม 2010 เธอได้รับการแต่งตั้งจากบริษัทโพลารอยด์ ให้เป็นหัวหน้าทีมครีเอทีฟและให้เริ่มต้นสร้างสรรค์แฟชั่น, เทคโนโลยี และผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการถ่ายภาพ [43] เดือนกุมภาพันธ์ ซิงเกิลที่สองในอัลบั้ม The Fame Monster คือ "Telephone" ได้นักร้องหญิงอาร์แอนด์บี คือ บียอนเซ่มาร่วมฟีเจอร์ริ่งด้วย กลายเป็นเพลงลำดับสี่ของเธอที่สามารถขึ้นชาร์ตอันดับหนึ่งในสหราชอาณาจักรได้ [44]

มีนาคม 2010 ร็อบ ฟูซารีฟ้องร้องบริษัทต้นสังกัดของเลดีกากา เมอร์เมด มิวสิก แอลแอลซี ให้ข้อหาว่าได้รับส่วนแบ่งอย่างไม่เป็นธรรม ซึ่งควรจะได้รับ 20% จากยอดขายอัลบั้ม ชาร์ลส์ ออร์ทเนอร์ ทนายความของกากาฟ้องกลับฟูซารีว่าสัญญาที่กากาได้ทำกับฟูซารีนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่ขอออกความเห็นใด ๆ ต่อสื่อมวลชน ท้ายที่สุดในเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน [45] ศาลฎีกาสูงสูดนครนิวยอร์ก ยกฟ้องคำร้องของร็อบ ฟูซารี [46] [47]

เดือนเมษายนปีเดียวกัน มีรายงานว่ามิวสิกวิดีโอของเธอมียอดคนดูมากกว่าพันล้านครั้งบนเว็บไซต์ Youtube และกลายเป็นศิลปินคนแรกที่มียอดดูในหลักพันล้าน [48] เดือนเดียวกันกากาได้รับการเสนอชื่อจากนิตยสารไทมส์ ให้เป็นหนึ่งใน100 ของบุคคลที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดในโลกแห่งปี 2009 ระหว่างให้สัมภาษณ์กับไทมส์นั้น เธอพูดเปรย ๆ ว่า กำลังป่วยด้วยโรคลูปัส ซึ่งเป็นโรคเนื้อเยื่อติดเชื้อรุนแรงในร่างกาย[49] สองเดือนต่อมาเธอให้สัมภาษณ์ผ่านรายการทอล์กโชว์ของลาร์รี่ คิง ว่าไม่ได้ป่วยด้วยโรคลูปัสแต่เล่าถึงผลการตรวจร่างกาย "พบว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็น" เพราะโรคลูปัสเป็นกรรมพันธุ์ในครอบครัว และป้าเธอเพิ่งเสียชีวิตไปด้วยโรคนี้

ปลายปี 2010 อัลบั้ม The Fame Monster ได้รับการเสนอชื่อให้เข้าชิงรางวัลแกรมมี่ ในสาขาอัลบั้มเพลงป็อบยอดเยี่ยมและอัลบั้มแห่งปี[50]

กากาและเอลตัน จอห์น ได้ปล่อยเพลงดูเอ็ตที่ร้องร่วมกันในชื่อ "Hello Hello" เพื่อใช้ประกอบภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชั่นของดิสนีย์ "Gnomeo and Juliet" [51] และเดือนกันยายน 2010 กากาได้เซ็นสัญญาทางธุรกิจกับโคตี้ อินคอร์ปเปเรชั่น เพื่อผลิตน้ำหอมร่วมกันที่มีชื่อ "มอนสเตอร์" และออกวางจำหน่ายในปี 2012

2011 - 2012: Born this way

[แก้]

เดือนมีนาคม 2010 กากาเปิดเผยว่า ได้เริ่มทำสตูดิโออัลบั้มใหม่ และเขียนธีมหลักของอัลบั้มเสร็จแล้ว สามเดือนต่อมา เธอประกาศว่าสตูดิโออัลบั้มที่สองใกล้เสร็จสมบูรณ์ "มันเร็วมาก ฉันทำงานนี้เป็นเดือน ๆ และรู้สึกได้ว่ามันเสร็จแล้ว ศิลปินบางคน อาจใช้เวลานานเป็นปี แต่ไม่ใช่ฉัน ฉันเขียนเพลงทุก ๆ วัน"[52]

เลดีกาการ้องเพลง Bad Romance ที่จตุรัสไทมแควร์ นิวยอร์ก, ประเทศสหรัฐอเมริกา สิงหาคม 2010

กากาประกาศชื่ออัลบั้มใหม่ที่จะออกวางจำหน่ายในปี 2011 นี้ว่า "Born This Way"[53] [54] ในระหว่างขึ้นรับรางวัลวิดีโอแห่งปีบนเวทีเอ็มวีมิวสิกวิดีโออวอร์ดส์ ประจำปี 2010 [55] โดยกากาได้นำเพลงจากอัลบั้มใหม่มาใช้ร้องสดในทัวร์คอนเสิร์ตของเธอ คือ Born this way และอีกเพลงคือ Yoü and I ซึ่งเธอร้องเพลงนี้บนเวทีเทศกาลดนตรีลอลลาพาลูซา 2010 เพลง Born this way จะเป็นซิงเกิลเปิดตัวอัลบั้ม ที่จะจำหน่ายในวันที่ 13 กุมภาพันธํ 2011 เธอกล่าวถึงอัลบั้มนี้ว่า "จะเป็นอัลบั้มที่ดีที่สุดในทศวรรษนี้" "เป็นสิ่งพาให้เรานอนดึกและรู้สึกสะพรึงกลัว" "เด็กเลวมุ่งสู่โบสถ์" และ "ความสนุกสนานขึ้นไปอีกระดับ" กากาอธิบายถึงเพลงใหม่ของตัวเองว่า "เป็นอะไรที่ลึกซึ้งกว่าผมปลอม ลิปสติก หรือ เสื้อผ้าที่เห็น"[56]

แล้วเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2554 ซึ่งเป็นวันประกาศผลรางวัลแกรมมี่ อวอร์ส ซึ่งกากาได้ไปร่วมงานนี้พร้อมสร้างความตกตะลึงเมื่อกากาปรากฏตัวโดยนอนอยู่ในไข่ใบยักษ์ที่มีคนแบกเข้ามา โดยไข่นี้เป็นหนึ่งในการโปรโมทเพลงใหม่ที่กากาจะใช้เปิดตัวเพลงใหม่ในการแสดงงานนี้ และในงานแกรมมี่ ปีนี้ กากากวาดรางวัลไปถึงสามรางวัล โดยอัลบั้มอีพี The Fame Monster ได้รับรางวัล อัลบั้มเพลงป็อปยอดเยี่ยม และ ศิลปินเพลงป็อปหญิงยอดเยี่ยม จากเพลง Bad Romance โดยในการแสดงกากาได้ร่วมแสดงในงานนี้ด้วย พร้อมเปิดตัวเพลงใหม่ Born This Way โดยกากาแสดงและเปิดตัวที่นี่ครั้งแรก พร้อมปล่อยลงโซเชียลมีเดียในวันเดียวกัน โดยเพลงBorn This Way ทำสถิติขึ้นชาร์ตอันดับ 1 ในสหราชอาณาจักร แคนาดา สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และอีกหลายๆประเทศ และเพลง Born This Way ได้สร้างประวัติศาสตร์ให้กากาดดยมียอดดาวน์โหลดสูงถึง ห้าแสนครั้งภายในเวลา 5 ชั่วโมง ได้สร้างประวัติศาสตร์ยอดดาวน์โหลดสูงสุดที่ดาวน์โหลดผ่านทางเว็บไซต์ อแมซอน และ ไอทูนส์ และสองอาทิตย์ต่อมาได้ปล่อยมิวสิควีโอเพลง Born This Way ออกมาก็ได้สร้างความตกตะลึงอีกครั้งกับยอดคนดูในยูทูปที่มียอดเกิน 2 ล้านวิวภายใน 1 วัน

เลดีกากาในคอนเสิร์ตเดอะบอร์นดิสเวย์บอลทัวร์

เพลง Born This Way ได้ประสบกับคำวิจารณ์อย่างหนักจนถึงปัจจุบัน โดยมีหลายคนเห็นถึงความคล้ายคลึงระหว่างเพลง Born This Way และเพลง Express Yourself ของมาดอนน่า ที่คล้ายกันมากเหมือนใช้คอดเพลงตัวเดียวกัน อีกทั้งเพลง Born This Way ได้ถูกตัดส่วนที่พูดถึงชาวรักร่วมเพศออกไปเพื่อเปิดในวิทยุของประเทศมาเลเซีย โดยมีกฎหมายออกมาอย่างทางการ พร้อมกับปรับเงินกับสถานีที่เปิดเพลงตัวเต็ม ที่ชาวรักร่วมเพศถือว่ายังเป็นสิ่งรับไม่ได้กับประเทศนี้ที่มีคนนับถือศาสนาอิสลามเป็นส่วนใหญ่ อีกทั้งในประเทศจีนยังถูกห้ามไม่ให้มีใครเปิดเพลง หรือจำหน่ายอัลบั้มของเธอในประเทศนี้

หลังจากหลายเดือนต่อมา กากาประกาศว่าเธอจะปล่อยเพลง Judas ที่มีเนื้อหาเพลงจากพระคัมภีย์ไบเบิ้ล โดยจะปล่อยพร้อมกับมิวสิควีโโอ แต่ไม่ทันจะปล่อย ก็ถูกต่อต้านอย่างหนักจากชาวคริสต์ ว่ากากาไม่สมควรเอาเรื่องจากพระคัมภีย์มาล้อเล่น หรือมาล้อเลียน เพราะกากาเธอเคยประกาศไว้ว่าจะนำเรื่องราวในพระคัมภัย์มาดัดแปลงทำเป็นมิวสิควีดีโอ แต่ในความจริง กากาแต่งเพลงJudas ขึ้นมาก็เพื่อประชดประชันแฟนเก่าของเธอที่ทรยศเธอ เหมือนจูดาสที่ทรยศต่อพระเยซูเพียงเท่านั้นเอง

หลังจากนั้นหนึ่งเดือน กากาได้ปล่อยเพลง The Edge Of Glory ซึ่งเพลงนี้กากาได้รับแรงบันดารใจจากการเสียชีวิตของคุณปู่ของเธอ ที่ถึงจุดบั้นปลายของชีวิต โดยเหมือนเราอยู่ที่ขอบเหวที่ไม่สามารถหนีหรือเดินต่อไปได้ จึงต้องจบชีวิต เพราะจุดสิ้นสุดที่เราจะเดินต่อไปแล้ว หลังจากนั้น

ในวันที่ 23 พฤษภาคม 2554 กากาได้เปิดตัวอัลบั้ม บอร์นดิสเวย์ โดยทำสถิติขึ้นชาร์ตอันดับ 1 ในหลายประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร แคนาดา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และอีกหลายๆประเทศ มียอดขายเกิน 1 ล้านชุด ภายในไม่ถึง 5 วัน และมียอดดาวน์โหลดอัลบั้มทางอแมซอนและไอทูนส์ สูงเป็นประวัติศาสตร์ของวงการดนตรี โดยปีนี้กากาได้ถูกจัดอันดับจากนิตยสารฟอบส์ให้เป็นผู้ทรงอิทธิพลอันดับ 1ของโลก และผู้ที่มีรายได้มากที่สุดของปี 2011 โดยเธอได้รายได้ส่วนหนึ่งจากยอดขายอัลบั้มและคอนเสิร์ต The Monster Ball ที่ปิดทัวร์ ก่อนขายอัลบั้ม

เมื่อต้นปี 2012 กากาและซินเธีย แม่ของเธอได้จัดตั้งมูลนิธิบอร์นดิสเวย์ขึ้น เพื่อเรียกร้องสิทธิเด็กและเหล่า LGBTQ+ โดยปี 2012 นี้กากาได้เริ่มต้นทัวร์คอนเสิร์ตของเธอโดยใช้ชื่อว่าเดอะบอร์นดิสเวย์บอลทัวร์เป็นทัวร์รอบโลกโดยเริ่มที่แถบเอเชียก่อนและไปต่อที่แถบโอเซียเนียและยูโรป รวมถึงการแสดงในประเทศไทยที่สนามกีฬาราชมังคลากีฬาสถานเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 ด้วย

2013 - 2014: Artpop และ Cheek to Cheek

[แก้]

ในต้นปี 2013 ในระหว่างการทัวร์คอนเสิร์ตของกากา เดอะบอร์นดิสเวย์บอลล์ กากาได้รับบาดเจ็บ จึงทำให้กากาต้องยกเลิกโชว์กว่า 20 โชว์ และใช้เวลา เกือบ 4 เดือนพักฟื้น และในเดือนกรกฎาคม กากาได้ประกาศอัลบั้มอย่างเป็นทางการ ในงานเลี้ยงของทีมงาน นั้นแสดงให้รู้ว่า หมดยุคของบอร์นดิสเวย์ เข้าสู่ยุคอาร์ตป็อปแล้วนั้นเอง

เลดีกากาในคอนเสิร์ตอาร์ตป๊อปบอลทัวร์

ซิงเกิลแรกของอัลบั้มคือเพลง Applause ที่กากาประกาศวันวางจำหน่ายเพลงในวันที่ 19 สิงหาคม แต่เนื่องจากมีแฮกเกอร์ ผู้เจาะข้อมูลพยายามดึงบางส่วนของเพลงออกมาปล่อยลงโซเชียล จนกระทั่งหลุดทั้งเพลง กากาจึงไม่สามารถทนสภาพของการดาวน์โหลดเพลงฟรี โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายได้ จึงตัดสินใจปล่อยเพลงออกมาขายทางไอทูนส์ ในวันที่ 12 สิงหาคม เพื่อให้แฟนเพลงได้โหลดเพลงอย่างถูกกฎหมาย ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ดันไปชนกับวันเดียวกันกับวันขายซิงเกิลใหม่ ของเคที เพอร์รี กับซิงเกิล รอร์ จากอัลบั้มใหม่ของเธอ ปริซึม ซึ่งทำให้เกิดประเด็นระหว่างแฟนคลับกันเอง ซึ่งมิวสิควีดีโอได้ถูกเผยในวันที่ 19 สิงหาคมที่รายการ Good Morning America กำกับโดย Inez van Lamsweerde และ Vinoodh Matadin ซึ่งถ่ายทำในสตูดิโอที่ลอสแอนเจลิส ต่อมาเธอได้ประกาศซิงเกิลที่ 2 คือเพลง Venus วางจำหน่ายในวันที่ 27 ตุลาคม แต่เนื่องจากเพลง ดูวอทยูวอนต์ มียอดขาย และกระแสที่ดีกว่า กากาจึงเปลี่ยนเป็นซิงเกิ้ลแทนวีนัส

ซิงเกิ้ลที่ 2 ของอัลบั้มนี้ มีชื่อว่า " ดูวอทยูวอนท์ กากาประกาศอย่างเป็นทางการผ่านทวิตเตอร์ ว่าจะเป็นซิงเกิ้ลที่ 2 ของอัลบั้มต่อจากเพลงแอพพลอส ที่จะออกจำหน่ายในรูปแบบดิจิตอลดาวน์โหลดผ่านทางไอทูนส์ เนื่องจากเพลงนี้มียอดดาวน์โหลดสูงที่สุดในอัลบั้ม กระแสดีเกินคาด และเป็นเพลงที่ขึ้นอันดับ 1 ได้เร็วที่สุดในปี 2013 กากาจึงประกาศเปลี่ยนเพลงนี้ที่เป็นเพลงโปรโมทก่อนอัลบั้มวางจำหน่าย เป็นซิงเกิ้ลที่ 2 แทน ซึ้งเปลี่ยนเพลงวีนัส ให้เป็นเพียงโปรโมทซิงเกิ้ลเท่านั้น

"G.U.Y" ได้มาเป็น ซิงเกิ้ลที่ 3 อย่างเป็นทางการเมื่อกากามีแผนที่จะพรีเมียร์มิวสิควีดีโอใหม่ของเธอในรายการโทรทัศน์ จึงได้มีการคอนเฟริมในทวิตเตอร์ของทางโปรดิวเซอร์รายการว่าเพลงที่จะเดบิวต์ในรายการนั้นคือ G.U.Y[57]

เลดีกากากับโทนี เบนเนต ที่คอนเสิร์ต Cheek to Cheek Tour

ในวันที่ 10 พฤศจิกายน กากาจัดงาน artRave ขึ้นมาที่นิวยอร์ก เพื่อให้แฟนเพลงได้ชมและร่วมงานเปิดตัวอัลบั้มอย่างเป็นทางการ ในงานกากาได้นำปติมากรรมทางศิลปะของเจฟ คูนส์ มานำเสนอในงานด้วย รวมถึงรูปปั้นปติมากรรมของเลดีกากา ที่นำไปใช้ในหน้าปกอัลบั้ม ที่เจฟ คูนส์ปั้นขึ้น ในงานกากาแสดงเพลง เป็นมินิคอนเสิร์ตของเธอ ซึ้งเธอแสดงไปทั้งหมด 9 เพลงจากอัลบั้ม

กากาประกาศคอนเสิร์ตของเธอขึ้น โดยใช้ชื่อว่า Artrave: Artpop Ball Tour

กากาได้ร่วมงานกับโทนี เบนเนต กับอัลบั้มเพลงแจ๊ซชื่อ Cheek to Cheek ถูกปล่อยเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2014 อัลบั้มนี้ทำรายได้ 131,000 ก๊อปปี้ในอาทิตย์แรก และได้รับรางวัลแกรมมี่ปี 2015 สาขา Best Traditional Pop Vocal Album กากากับโทนี่เปิดคอนเสิร์ตร่วมกัน Cheek to Cheek Tour

2015: American Horror Story

[แก้]

22 กุมภาพันธ์ 2015 เลดีกากาได้ไปร่วมงานประกาศผลรางวัลออสการ์ และขึ้นแสดงโชว์เมดเล่ย์ The Sound of Music เพื่อฉลองครบรอบ 50 ปี ภาพยนตร์ มนต์รักเพลงสวรรค์ (The Sound of Music) โดยตอนจบการแสดงจูลี่ แอนดรูว์สเดินขึ้นมาเซอไพรส์บนเวที

เลดีกากาได้ออกมิวสิควิดิโอเพลง Til It Happens To You เพลงประภาพยนตร์สารคดี The Hunting Ground เพื่อนำรายได้ของวิดิโอและเพลง ไปบริจาคให้กับองค์กรที่ช่วยเหลือแก่ผู้ที่เคยถูกทำร้ายหรือถูกละเมิดทางเพศ และเพลงนี้ยังติดชาร์ตอันดับ 1 Billboard Dance Club Song (ในเวอร์ชัน Remix) ในต้นปี 2016 อีกด้วย

20 กันยายน 2015 เลดีกากาได้ไปร่วมงานประกาศผลรางวัลเอ็มมี โดยเธอได้เดินพรมแดงด้วยชุดที่เรียบหรู ธรรมดา ทำให้ทุกคนต่างตกตะลึงในความเปลี่ยนไปของเธอ เธอยังได้เข้าชิงรางวัลในสาขา Outstanding Variety, Music or Comedy Special ร่วมกับโทนี เบนเนตอีกด้วย

เลดีกากาได้ร่วมแสดงซีรีส์ American Horror Story ซีซั่น 5 ในตอนที่ชื่อว่า Hotel โดยกากาแสดงเป็น อลิซาเบธ เจ้าแม่แฟชั่นและเป็นเจ้าของโรงแรมที่มีชื่อว่า Cortez เธอยังได้เข้าชิงสาขารางวัลเกี่ยวกับละครโทรทัศน์อีกหลายสาขาอีกด้วย

เลดีกากา ได้ไปร่วมงาน Billboard Women in Music 2015 โดยเธอได้รับรางวัล Woman of the Year ทำให้เธอได้รับการยอมรับจากศิลปินมากมาย เช่น เคธี เบตส์,เอลตัน จอห์น,จูลี่ แอนดรูว์ส,โทนี เบนเนต ทั้งผลงานการแสดง และผลงานเพลง

2016-2017 : Joanne และการแสดงพักครึ่งซูเปอร์โบว์ลครั้งที่ 51

[แก้]

เลดีกากาได้รับรางวัลนักแสดงนำหญิงในสาขา Best Performance in a Miniseries or Television Film จาก American Horror Story: Hotel ในงานประกาศผลรางวัลลูกโลกทองคำ ครั้งที่ 73 ถือเป็นการคว้ารางวัลถ้วยแรกของการเป็นนักแสดงของเธอเลยทีเดียว และเพลง Til It Happens to You ของเธอที่ร่วมกันแต่งกับไดแอน วาร์เรน จากภาพยนตร์สารคดี "The Hunting Ground" ก็ได้รับการเสนอเข้าชิงรางวัลในงานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 88 ในสาขาเพลงประกอบภาพยนตร์แห่งปี และก่อนหน้านี้ก็ได้เข้าชิง Best Song Written for Visual Media จากงานประกาศผลรางวัลแกรมมี่ ครั้งที่ 58 และได้รับรางวัล Satellite Awards ครั้งที่ 20 ในสาขาเพลงประกอบภาพยนตร์แห่งปีอีกด้วย

เลดีกากาหลังจากร้องเพลง National Anthem ในศึกซูเปอร์โบวล์ ครั้งที่50

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2016 เลดีกากา ได้รับเชิญให้ไปร้องเพลงชาติสหรัฐอเมริกา หรือ เดอะสตาร์สแปงเกิลด์แบนเนอร์ ในศึกการแข่งขันอเมริกันฟุตบอลซูเปอร์โบวล์ ครั้งที่ 50 เพื่อเป็นการเปิดการแข่งขันนั่นเอง

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2016 เลดีกากา ได้ไปร่วมงานประกาศผลรางวัลแกรมมี่ ครั้งที่ 58 และทำการแสดงย้อนรำลึกและอุทิศให้การจากไปของเดวิด โบอี และเธอก็ได้เข้าชิงรางวัล Best Song Written for Visual Media อีกด้วย

พฤษภาคม เลดีกากาและเอลตัน จอห์น ร่วมกับ Macy's ออกไลน์ลิมิเต็ดอิดิชั่นที่มีชื่อว่า Love Bravery โดยรายได้ส่วนหนึ่งจะนำเข้า มูลนิธิบอร์นดิสเวย์ กับ Elton John AIDS Foundation

เดือนสิงหาคม ทางวอร์เนอร์บราเธอร์ส ได้คอนเฟิร์มออกมาว่ากากาจะแสดงหนังรีเมคเรื่อง "A Star Is Born" โดยแบรดลีย์ คูเปอร์ จะเริ่มถ่ายทำในกลางปี 2017

เมื่อวันที่ 9 กันยายน เลดีกากาได้ปล่อยซิงเกิ้ลใหม่จากอัลบั้มชุดที่ 5 ที่มีชื่อว่า เพอร์เฟกต์อิลลูชัน (Perfect Illusion) โดยมีโปรดิวเซอร์หลักคือ มาร์ก รอนสัน เคลวิน ปาร์คเกอร์ และบลัดป๊อบ โดยเพลงนี้ได้ติดอันดับ 1 บน iTunes Chart เกือบ 70 ประเทศ รวมถึงอเมริกาและก็ไทยด้วย และได้เปิดตัวในอันดับที่ 15 ใน Billboard Hot 100 และอันดับ 1 ในประเทศฝรั่งเศส,โดยอัลบั้มใหม่ชื่อว่า โจแอนน์ (Joanne) วางขายในวันที่ 21 ตุลาคม 2016 และเปิดตัวขึ้นอันดับ 1 ใน Billboard 200 ทำให้เป็นอัลบั้มที่ 4 ของเธอที่ขึ้นอันดับ 1 ได้ , กากาได้แสดงซีรีส์ American Horror Story อีกครั้ง ในซีซั่นที่ 6 โดยเธอเล่นบทเป็น Scathach

กากาแสดงเพลง บอร์นดิสเวย์ ในการแสดงพักครึ่งซูเปอร์โบวล์ครั้งที่ 51

ซิงเกิ้ลที่ 2 จากอัลบั้มโจแอนน์คือ มิลเลี่ยนรีซันส์ (Million Reasons) เธอได้ขึ้นแสดงเพลงนี้ที่ วิกตอเรียส์ซีเคร็ตแฟชั่นโชว์ 2017 กับเพลง เอ-โย่ (A-Yo) และ จอห์น เวย์น (John Wayne) และที่อเมริกันมิวสิกอะวอร์ด 2016

เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2017 กากาได้ขึ้นโชว์การแสดงพักครึ่งศึกในศึกอเมริกันซูเปอร์โบว์ลครั้งที่ 51 ที่สนาม NRG Stadium และได้เรตติ้งไปทั้งหมด 117.5 ล้านในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นเรตติ้งที่สูงที่สุดอันดับที่ 2 แต่เมื่อรวมเรตติ้งผู้ชมทุกช่องทางการรับชมแล้ว การแสดงของเธอคว้าเรตติ้งไปทั้งหมด 172 ล้าน สูงที่สุดในประวัติศาสตร์การแสดงพักครึ่ง และประวัติศาสตร์การแสดงทางดนตรีสูงที่สุดในสหรัฐ และจากนั้นเธอก็ได้ประกาศทัวร์คอนเสิร์ตใหม่ทันที คือคอนเสิร์ต Joanne World Tour 2017 ทำให้เพลง มิลเลี่ยนรีซันส์กระโดดขึ้นอันดับที่ 4 ใน Billboard Hot 100 ได้สำเร็จ, กากาได้ปล่อยมิวสิควิดิโอตัวใหม่ในเพลง จอห์น เวย์น (John Wayne)

เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ เลดีกากาได้ขึ้นแสดงเพลง Moth Into Flame คู่กับวงร็อคเมทัลลิกา ในงานประกาศผลรางวัลแกรมมี ครั้งที่ 59

เมื่อ 16 เมษายน เลดีกากาได้ขึ้นแสดงโชว์ที่งาน Coachella Valley Music and Arts Festival 2017 ซึ่งกากานั้นได้ขึ้นแสดงแทนบียอนเซ่ เนื่องจากบียอนเซ่นั่นได้ตั้งครรภ์ลูกแฝดนั่นเอง ในงานก็มีผู้ชมมากมาย รวมทั้งศิลปินดังๆคนอื่น เช่น เคที เพร์รี รีแอนนา ลานา เดล เรย์ เป็นต้น ในขณะที่กากาแสดงนั้น เธอก็ได้ร้องเพลงใหม่ของเธอที่มี่ชื่อว่า The Cure แต่งโดย DJ White Shadow และโปรดิวซ์โดย Nick Monson เมื่อวางจำหน่ายบน iTunes เพลงนี้ก็สามารถทยานขึ้นอันดับ 1 ใน Itunes Chart ได้ถึง 62 ประเทศ และอันดับ 1 บน Itunes Worldwide และทยานขึ้นอันดับ 1 ในชาร์ตประเทศฟินแลนด์และอันดับ 3 ในประเทศนิวซีแลนด์

กลางเดือนเมษายน เลดีกากา ได้เริ่มเปิดกล้องถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง A Star Is Born ที่รัฐแคลิฟอร์เนีย รีเมคมาจากเวอร์ชันปี 1937 โดยเธอรับบทเป็น แอลลี่ นางเอกของเรื่อง ซึ่งแสดงคู่กับแบรดลีย์ คูเปอร์ ซึ่งเป็นผู้กำกับด้วย

2018 : A Star Is Born และ คอนเสิร์ต Lady Gaga Enigma

[แก้]

เมื่อเดือนมีนาคม 2018 ที่ผ่านมา เลดีกากาได้ร่วมสนับสนุนการเดินขบวน มาร์ชฟอร์เอาเออร์ไลฟ์ (The March for Our Lives) ซึ่งเป็นการเดินขบวนเพื่อเรียกร้องให้ยกเลิกการครอบครองอาวุธปืนในสหรัฐอเมริกา สืบเนื่องจากเหตุการณ์ยิงกันในโรงเรียนมัธยมสโตนแมนดักกลาส ในวอชิงตัน ดี.ซี [58] และเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2018 ที่ผ่านมาเธอได้ปล่อยเพลงโคปเวอร์ของ เอลตัน จอห์น เพลง "Your Song" ซึ่งอยู่ในแทร็กลำดับที่ 12 ของอัลบัม Revamp & Restoration [59]

ต้นเดือนสิงหาคม 2018 เลดีกากา ได้เริ่มโปรโมทโชว์คอนเสิร์ตถาวรเป็นเวลา 2 ปี ที่โรงละคร พาร์ค เอ็มจีเอ็ม ในลาสเวกัส ชื่อโชว์ว่า Lady Gaga Enigma ซึ่งจะเริ่มทำการแสดงในเดือนธันวาคม ปี 2018 เป็นต้นไป[60]

ในเดือนตุลาคม 2018 ภาพยนตร์เรื่อง A Star Is Born ที่เลดีกากาแสดงนำในบท "แอลลี่" คู่กับแบรดลีย์ คูเปอร์ ในบท "แจ็กสัน" ฉายครั้งแรก พร้อมกับอัลบัมเพลงประกอบภาพยนตร์ A Star Is Born (Soundtrack) ซึ่งจะวางจำหน่ายในวันที่ 5 ตุลาคม 2018 [61] 2020-2023 lady gaga ได้ปล่อยอัลบั้มใหม่เรื่อยๆ

ฉายาที่มีผลต่อภาพลักษณ์ในวงการ

[แก้]

กากา เธอมีภาพลักษณ์ต่อสังคมที่ทำให้เธอดูโดดเด่นไปจากศิลปินอื่นโดยสิ้นเชิง แม้ในบางแง่มุมอาจจะมองเธอเป็นคนบ้าที่ไร้สติ แต่งตัวเกินความงามและลิมิตของตน แต่มันก็สร้างความโดดเด่นเป็นที่รู้จักให้เธอ แม้กระทั่งนักวิจารณ์ด้านแฟชั่นบางคนอย่างยกให้กากาเป็นเจ้าแม่แห่งวงการแฟชั่น และให้การแต่งตัวของเธอเป็นแรงบันดาลใจทุกครั้ง ตั้งแต่กากาเข้าวงการปี 2008 เธอก็สร้างเอกลักษณ์ของตนเองขึ้นมาแล้ว โดยในสมัยยุคเดอะเฟม กากาก็ก็ภาพลักษณ์ในแบบของตนเอง จนสมัยยุคเดอะเฟมมอนสเตอร์ กากามีลุคที่ประหลาดมากขึ้น การแต่งตัว สีผม การใส่รองเท้ารูปทรงประหลาด โดยเฉพาะในงาน MTV Vma 2010 กากาปรากฏกายในชุดเนื้อสด ที่สร้างความประหลาดใจไปทั่วโลก จนยุคบอร์นดิสเวย์ กากาเริ่มเปลี่ยนลุค ในแบบของเธอ โดยแฟชั่นแบบซีลีโคนโหนกที่แหลมออกมาจากใบหน้า และไหล่ ที่ดูเหมือนเอเลี่ยน (ซึ่งเธอมีจุดประสงค์ให้มองในแง่นั้นเพื่อโปรโมทเพลงบอร์นดิสเวย์) การเปลี่ยนสีผม จนยุคล่าสุด อาร์ตป็อป กากาเริ่มเปลี่ยนลุคไป เช่น ทำทรงผมให้ฟูเหมือนสิงโต (เธอสื่อถึงวีนัส) ใส่บีกีนี่เปลือกหอย การเปลี่ยนสีผมเป็นสีดำ ซึ่งไปอาจแปลกใจที่กากาจะมีแฟนเพลงมากอันดับหนึ่งของโลก และนิตยสารหลายฉบับยกให้กากาเป็นผู้ทรงอิทธิพลต่อโลก โดยกากามีแฟนคลับจำนวนมาก เธอจึงเรียกแฟนเพลงของเธอว่า "ลิตเติ้ลมอนสเตอร์" (Little Monster) โดยแฟนคลับเธอจะเรียนตัวเธอเองว่า "Mother Monster" หรือในชื่อที่เรียกต่างๆมากมายเช่น Mama Monster, มอนสเตอร์ ตัวแม่, เจ้าแม่แฟชั่น ซึ่งมันทำให้กากามีเอกลักษณ์ในวงการที่แตกต่างจากคนอื่นอย่างสิ้นเชิง

ความเป็นศิลปิน

[แก้]

แนวเพลงและแรงบันดาลใจ

[แก้]
เลดีกากาและเอลตัน จอห์น ใน Carnegie Hall

เลดีกากาได้รับแรงบันดาลใจจากศิลปินแกลมร็อก เช่น เดวิด โบวี และวงควีน รวมถึงนักร้องเพลงป็อบเช่น มาดอนนา, บริทนีย์ สเปียร์ส ไคลี มิโนกและไมเคิล แจ๊กสัน เพลงเรดิโอ-กากา ของวงควีนนั้นเป็นแรงบันดาลใจของชื่อที่เธอใช้ในวงการ[62][63][64]

เมื่อพูดถึงการเปรียบเทียบระหว่างตัวเธอกับมาดอนนา กากายืนยันว่าไม่อยากได้แค่เพียงคำทักท้วง แต่เธอมีเป้าหมายของตัวเองที่จะปฏิวัติดนตรีป็อบ การเปลี่ยนแปลงป็อบครั้งก่อนเกิดขึ้นโดยมาดอนนาเมื่อ 25 ปีที่แล้วและครั้งนี้จะเป็นของเธอ ส่วนนักร้องนักแสดงเกรซ โจนส์ ก็เป็นอีกแรงบันดาลใจของเธอ รวมทั้งเด็บบี้ แฮร์รี่ นักร้องนำแห่งวงบลอนดี้[64][65][66][67]

เสียงร้องของกากาถูกนำไปเปรียบเทียบกับเสียงของมาดอนนาและเกว็น สเตฟานี บ่อยครั้ง ในขณะที่โครงสร้างทางดนตรีของเธอคล้ายคลึงกับเพลงคลาสสิกป็อบยุค 1980 และเพลงยูโรป็อบในยุค 90[68] ในการวิเคราะห์อัลบั้มเปิดตัว The Fame หนังสือพิมพ์เดอะซันเดย์ไทมส์ กล่าวว่า เป็นการผสมผสานทางดนตรี, แฟชั่น, ศิลปะ และเทคโนโลยี เลดีกากาได้ปลุกกระแสความเป็นมาดอนนา, ไคลี มิโนก และเพลงฮอลลาแบ็คเกิร์ลของเกว็น สเตฟานีในปี 2001 หรือ เกรซ​ โจนส์ เช่นเดียวกับซาร่าห์ รอดแมน นักวิจารณ์แห่งหนังสือพิมพ์เดอะบอสตันโกลบวิจารณ์ว่า "เธอได้แรงบันดาลใจจากมาดอนนารวมถึงเกว็น สเตฟานี และแฝงความเป็นเด็กสาวของเธอเอง แต่มีเสียงร้องที่ทรงพลังและจังหวะเร้าอารมณ์ แม้ว่าเนื้อร้องจะขาดสาระไปบ้าง เธอได้พาคุณเข้าไปสู่โลกแห่งความสุขโดยแทบไม่ต้องใช้ความพยายามอะไรมากเลย"[69][70] ไซมอน เรโนลดส์ เขียนไว้ว่า "ทุกอย่างที่เกี่ยวกับเลดีกากามาจากอิเล็กโทรแคลช ยกเว้นดนตรีซึ่งไม่ได้มาจากยุค 1980 และเป็นเพลงป็อบที่คุ้นหูโดยผ่านโปรแกรมออโต้ทูนส์กับจังหวะอาร์แอนด์บี

กากายังระบุว่า แฟชั่นก็คือแรงบันดาลใจหลักของ เธอชื่นชมโดนาเทลลา เวอร์ซาส ว่าเป็นต้นแบบความคิด[71] และเธอมีทีมครีเอทีฟประจำตัวที่ชื่อ เฮ้าส์ ออฟ กากา ที่จัดการบริหารด้วยตัวเอง ทีมเฮ้าส์ออฟกากาออกแบบและสร้างสรรค์เสื้อผ้า ทรงผม และการแสดงบนเวทีให้แก่เธอ ซินเธีย ผู้เป็นแม่มีอิทธิต่อความหลงใหลในแฟชั่นต่อกากา ที่ยืนหยัดว่า "พยายามอย่างดีที่สุดเพื่อรักษาความงาม" สำนักโกลบอล แลงกวิจ มอนิเตอร์ ระบุว่า เลดีกากาเป็นคำค้นหาแฟชั่นในอันดับต้น ๆ ของ เครื่องหมายการค้า "No Pant" ไม่มีขา (กางเกง) ในอันดับที่สาม[17] นิตยสารเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จัดอันดับให้เครื่องแต่งกายของเธอเป็นหนึ่งในสิ่งสุดยอดแห่งปลายศตวรรษ 2000 แม้จะเป็นชุดที่ทำจากหุ่นมือกบตัวเขียว หรือชุดฟองน้ำพลาสติกที่ปกปิดเพียงอวัยวะเพศ การแต่งกายแบบพิสดารจากคนทั่วไปทำให้เธอสามารถนำศิลปะการแสดงสดเข้าสู่สื่อกระแสหลักได้[72]

จากคำวิจารณ์ต่อดนตรีของเธอ, อิทธิพลทางแฟชั่น และภาพลักษณ์ของเธอที่ผสมผสานกันทำให้เธอมีสถานะเป็นนางแบบ, ผู้นำแฟชั่น และแฟชั่นไอคอน ทั้งได้รับการยอมรับและถูกปฏิเสธ อัลบั้ม The Fame อัลบั้มแรกของเธอได้รับคำวิจารณ์ในทางบวกและให้ตำแหน่งเธอในฐานะที่ทำเพลงป็อบอันมีเอกลักษณ์ไม่ซ้ำใคร และสิ่งจำเป็นที่จะขับเคลื่อนวัฒนธรรมใหม่ ๆ ความสนใจในตัวเธอกลายประเด็นทางสังคมที่สำคัญ ความสามารถทางศิลปะในตัวเธอ และถูกมองว่าเป็น "ผู้เพิ่มความนับถือในตัวเอง" ก็เป็นอีกบทบาทหนึ่งที่กากามีต่อแฟนเพลงที่ได้รับการยกย่อง เธอได้ทำให้อุตสาหกรรมแฟชั่นกลับมาคึกคักอีกครั้งในช่วงเศรษฐกิจกำลังซบเซา[73][74][75] [76][77][78]

การแสดงสดของเธอได้รับการชื่นชมว่า "เป็นความสนุกสนานและแปลกใหม่ที่สุด" โดยอ้างถึงการแสดงในงานแจกรางวัลเอ็มทีวี วิดีโอ มิวสิก 2009 ในเพลง Paparazzi เธอสวมเสื้อซึ่งระเบิดออกมาเป็นเลือด ได้รับคำวิจารณ์จากเอ็มทีวีว่า "ชวนให้ผู้ชมตาค้าง"[79] และยังใช้ธีม "โชกเลือด" นี้ ในทัวร์คอนเสิร์ต เดอะ เฟม มอนสเตอร์ บอล ด้วย ในฉากหนึ่งของการแสดงที่เมืองแมนเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษ กากาสวมชุดรัดรูปสีดำและจู่ ๆ ก็ถูกทำร้ายจากชายลึกลับที่เพิ่งกระโดดขึ้นเวที (ที่จริงแล้วเป็นแดนเซอร์ของเธอเอง) ใช้มีดปาดคอเธอ ทำให้ "เลือดปลอม" ไหลท่วมตัวเธอ สร้างความตกใจให้กับผู้ชมโดยไม่รู้ว่านี้คือการแสดง ครอบครัวและแฟนเพลงที่เข้าชมการแสดงในรอบนี้รู้สึกไม่พอใจต่อการแสดงนี้ ที่ยังรู้สึกสะเทือนใจต่อเหตุการณ์คนขับแท็กซี่ใช้อาวุธปืนยิงชาวเมืองคัมเบรียถึง 12 คน ซึ่งเพิ่งเกิดขึ้นบนเกาะอังกฤษไม่กี่เดือนก่อนนี้[80][81][82]

เดือนกันยายน 2010 เลดีกากากลับไปรับรางวัลในงานเอ็มทีวี วิดีโอมิวสิกวิดีโอ 2010 ที่แอลเอ ด้วยชุดเดรสยาวสุดล้ำสไตล์โกธิค และรองเท้าส้นสูง 12 นิ้วลายพิมพ์หนังงูเหลือมและที่ยิ่งฮือฮากว่านั้นเมื่อเธอเปลี่ยนชุด "เนื้อสด" เพื่อขึ้นรับรางวัลวิดีโอแห่งปี เป็นชุดตัดจากเนื้อวัวสด รวมทั้งแอคเซสซอรี่ต่าง ๆ หมวก กระเป๋า และรองเท้าบูท ฝีมือการตัดเย็บของแฟรงค์ เฟอร์นันเดซ ดีไซเนอร์ชาวอาร์เจนตินา สร้างความคิดเห็นเป็นสองฝ่ายทั้งปลุกความสนใจจากสื่อมวลชนทั่วโลกและสร้างความไม่พอใจให้กับองค์การพิทักษ์สัตว์ (PETA) อย่างไรก็ดี[83] กากาออกมาย้ำว่าไม่ได้ตั้งใจจะดูหมิ่นเหยียดหยามมใครหรือองค์การใดทั้งสิ้น และปรารถนาให้ชุดของเธอสื่อความหมายไปในทางสิทธิความเป็นมนุษย์และสิทธิเพื่อเพศที่สาม [84][85]

เธอเรียกแฟนเพลงของตัวเองว่า "ลิตเทิล มอนสเตอร์ -เจ้าปีศาจตัวน้อย" นั่นก่อให้เกิดกระแสวิจารณ์อย่างมาก เพราะเป็นธรรมดาของธุรกิจดนตรีและภาพลักษณ์ที่มีมูลค่ามหาศาล ในขณะที่หลายคนเชื่อว่า คำนี้ใช้แบ่งแยกตัวเองและขัดต่อวัฒนธรรมของคนทั่วไป คิตตี้ เอ็มไพร์ แสดงความเห็นต่อคำว่า ลิตเทิล มอนสเตอร์ ลงหน้าหนังสือพิมพ์การ์เดียนของอังกฤษว่า "ทำให้ผู้ชมได้รับประสบการณ์ที่ผิด ๆ โดยขาดการไตร่ตรองตั้งแต่แรก หัวใจหลักของการแสดงของเธอคือการอยู่ท่ามกลางความหวาดกลัวและโดนสังคมต่อต้าน และที่กล่าวว่า คอนเสิร์ตมอนสเตอร์ บอล ทัวร์ที่พวกเราทั้งหมดจะถูกปลดปล่อยนั้น ช่างเป็นเรื่องที่ไร้สาระทีเดียว ผู้คนมากมายที่ยอมเสียเงินให้กับธุรกิจดนตรีอันเจ้าเล่ห์ของกากา ไม่ได้จำกัดแต่เพียงพวกข้ามเพศ คนบ้าแฟชั่น และมนุษย์ราตรี ตามที่เธอหวังไว้ตามแรงบันดาลใจเท่านั้น แต่ตัวเธอเองกลับดูเหมือนจะจริงใจต่อแฟน ๆ มากกว่า"[86]

เดือนกันยายน 2010 คามิลล์ แพ็กเลีย เขียนหนังสือชื่อ Lady Gaga and the death of sex มีเนื้อหาโจมตีกากาอย่างรุนแรงว่า ว่าเป็น "นักเลียนแบบที่ไร้เพศ" และไม่ได้เป็นผู้นำเทรนด์แฟชั่นแปลกประหลาดอย่างหลาย ๆ คนเข้าใจ จึงควรเรียกเธอใหม่ว่า "นักเลียนแบบหัวขโมยมากกว่าผู้ริเริ่มการแสดงยั่วยวนทางกามารมณ์ที่ถูกห้าม"[87]

ภาพลักษณ์ในสังคม

[แก้]
เลดีกากาในงานเอ็มทีวีวิดีโอมิวสิกอะวอดส์ 2011

การแต่งตัวสไตล์ประหลาดพิสดารของเลดีกากาตรงข้ามกับสไตล์ในช่วงแรก ๆ ที่เพิ่งเริ่มเข้าวงการใหม่ ๆ ดังที่หนังสือพิมพ์นิวยอร์กโพสต์ อธิบายไว้ "เหมือนผู้ลี้ภัยจากละครเรื่องเจอร์ซีย์ ชอร์ ในผมพองฟูมหึมาน้ำตาลเข้ม, การแต่งดวงตาดำเข้ม และชุดรัดติ้วที่เปิดเผยเนื้อหนังมากไป กากามีผมสีน้ำตาลเข้มโดยกำเนิด เธอฟอกผมเป็นสีบลอนด์ เพราะเคยถูกเข้าใจผิดว่าเป็นเอมี ไวน์เฮาส์ ศิลปินเพลงโซล เธอมักเรียกแฟนเพลงของตัวเองว่า ลิตเทิล มอนสเตอร์ และสักลายคำ ๆ นี้ลงบนแขนข้างที่ถือไมโครโฟน เพื่อแสดงถึงการอุทิศตัวเพื่อแฟนเพลง เธอมีรอยสักที่สังเกตเห็นได้ 6 แห่งด้วยกัน เช่น สัญลักษณ์สันติภาพของจอห์น เลนนอน ฮีโรในดวงใจ และคำคมในรูปตัวเขียนเยอรมัน ของเรนเนอร์ มาเรีย ริลค์ กวีและนักปราชญ์ชาวเยอรมันที่ชื่นชอบ เธอบอกว่าคำคมที่พูดถึงความสันโดษนี้ความหมายต่อตัวเธอ [88]

ปลายปี 2008 แฟชั่นของกากาถูกนำไปเปรียบเทียบกับนักร้องซุเปอร์สตาร์ คริสตินา อากีเลรา ทั้ง ๆ ที่ไม่ความเหมือนกันเลยในสไตล์ของพวกเธอทั้งทรงผม และการแต่งหน้า อากิเลราให้สัมภาษณ์ในภายหลังว่า "แทบไม่ได้รู้จักหล่อน (กากา) เลยและไม่รู้ด้วยว่าหล่อนเป็นผู้ชายหรือผู้หญิงกันแน่"[89] กากายอมรับการเปรียบเทียบนี้ว่าทำให้เธอได้เป็นที่รู้จักทั่วไป เธอขอบคุณอากีเลราว่าทำให้เธอได้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในอเมริกาหลังจากการเปรียบเทียบนี้ มันทำให้เธอเป็นที่รู้จักในวงการ [90]

การเปรียบเทียบนี้ยังคงดำเนินต่อไปจนถึงปี 2010 เมื่ออากีเลราปล่อยมิวสิกวิดีโอของเธอ "Not Myself Tonight" นักวิจารณ์สังเกตเห็นความคล้ายคลึงกันหลายจุดทั้งเพลงและมิวสิกวิดีโอว่าเหมือนกับเพลงและมิวสิกวิดีโอ Bad Romance ของกากา[91] และเปรียบเทียบความคล้ายคลึกในสไตล์การแต่งตัวของกากากับแฟชั่นไอคอนอย่าง เดล บอสซิโอแห่งวงมิสซิง เพอร์สัน บางคนวิจารณ์ภาพลักษณ์ของทั้งด้วยความเคารพว่า เหมือนกันอย่างแปลกประหลาด ถึงแม้ว่า แฟนเพลงของบอสซิโอจะบอกว่า เธอเป็นผู้ริเริ่มสไตล์นี้เมื่อกว่า 30 ปีก่อนแล้ว"[92]

เลดีกากามีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมและสังคมยุคใหม่ จนทำให้มหาวิทยาลัยเซาธ์แคโรไลนา ได้เปิดสอนหลักสูตรใหม่ในสาขาวิชา "เลดีกากาและสังคมวิทยาความโด่งดัง"โดย มีจุดประสงค์เพื่อเปิดเผยประเด็นทางสังคมในมุมมองความมีชื่อเสียงโด่งดังของกากาที่เกี่ยวข้องกับเพลง วิดีโอ แฟชั่น และความพยายามทางศิลปะของเธอ [93] [94]

ในปี 2015-2016 เลดีกากาได้มีการเปลี่ยนลุคที่ทำให้ตัวเองดีขึ้น ไม่หลุดแนวเหมือนกับเมื่อก่อน ทำให้เธอเป็นที่ให้การยอมรับแก่ผู้คนและดารานักแสดงมากมาย เช่น จูลี่ แอนดรูวส์ เคธี เบตส์ และอีกมากมาย

พืช

[แก้]

ปี 2012 ได้มีการค้นพบพืชจำพวกเฟิร์นสายพันธุ์ใหม่โดยองค์กรชีววิทยา ได้ตั้งชื่อเฟิร์นพันธุ์นี้ว่า "GAGA" เหตุที่ใช้ชื่อเลดีกากา เป็นชื่อเฟิร์นชนิดใหม่เนื่องจาก ดีเอ็นเอของเฟิร์นตระกูลนี้ จำแนกออกมาแล้ว เรียงตัวตามลำดับเป็น Guanine, Adenine, Guanine, Adenine, และ เพื่อเป็นเกียรติให้กับนักร้องอเมริกันคนนี้ ที่ต่อสู้เพื่อสิทธิของชาวเกย์และชาวรักร่วมเพศมาโดยตลอด อีกเหตุผลหนึ่งคือ "เลดีกากา" เคยสวมชุดที่เป็นแรงบันดาลใจจากเฟิร์น "เกมีโตไฟท์" ในการแสดงบนเวที นอกจากนี้ ชุดที่เป็นเอกลักษณ์ของเลดีกากา ที่เหมือนกางเกงขอบยื่น เป็นแบบเดียวกับใบอ่อนของเฟิร์นที่ม้วนเป็นก้อนกลม มีเฟิร์น 2 สปีชี่ย์ ที่เป็นการค้นพบใหม่ คือ "กากา เจอร์มาน็อตตา" พบที่คอสตาริกา และได้ชื่อตามชื่อสกุลของเลดีกากา กับ "กากา มอนสตราพาร์วา" ที่หมายถึง "ลิตเติล มอนสเตอร์" ชื่อที่เลดีกากา ใช้เรียกสาวกของตนเอง[95] [96]

น้ำหอม

[แก้]
น้ำหอมเฟม น้ำหอมตัวแรกของเลดีกากา
น้ำหอมออ เดีย กากา น้ำหอมตัวที่สองของเลดีกากา

เลดีกากาเฟม ซึ่งเป็นน้ำหอมแรกของเลดีกากา ผลิตโดยเฮาส์แลบอราทอรีส์ (Haus Laboratories) ร่วมกับบริษัทโคตี (Coty, Inc.) โดยใช้เทคโนโลยี push-pull ในการผสมส่วนผสมทั้งหมดเข้าด้วยกัน ซึ่งมาในรูปแบบน้ำสีดำ โดยจำหน่ายในเมริกาที่ห้างเมซีส์ (Macy's) [97] เฟม เป็นน้ำหอมแบรนด์แรกของโลกที่มีน้ำเป็นสีดำสนิท โดยกากากล่าวว่า น้ำหอมเป็นสีดำ แต่เมื่อฉีดโดนผิวหนังแล้ว จะไม่มีคราบสีดำติดผิวหนัง แม้จะเป็นผ้าสีขาวบริสุทธิ์ น้ำหอมเฟมยังขึ้นเป็นน้ำหอมขายดีอันดับ 1 ของสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร และอีกหลายๆประเทศที่น้ำหอมขึ้นท็อปส์อันดับ 1 น้ำหอมเฟม มีสโลแกนว่า THE FIRST EVER BLACK eau de PARFUM น้ำหอมเฟม จำหน่ายได้ 28 ล้านขวด ภายในอาทิตย์แรกที่วางจำหน่าย ซึ่งมียอดขายมากกว่าน้ำหอมศิลปินอื่น อาทิเช่น บียอนเซ่ มาดอนน่า บริทนีย์ สเปียร์ส เคที เพอร์รี่ ปัจจุบันน้ำหอมเฟมมียอดขายตั้งแต่เปิดตัวรวม 30 ล้านขวด ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จมาก

ออ เดีย กากา เป็นน้ำหอมยี่ห้อที่สองของ เลดีกากา ผลิตโดยเฮาส์แลบอราทอรีส์ (Haus Laboratories) ร่วมกับบริษัทโคตี (Coty, Inc.) เปิดตัววันแรกเมื่อ 1 กันยายน 2014

ฉายาและแฟนคลับ

[แก้]

บรรดาแฟนคลับของเธอจะเรียกตัวเธอว่า Mother Monster แม่ของเหล่าปีศาจ และเหล่าแฟนคลับก็เรียกว่า Little Monster ซึ่งเรียกได้ว่าแม่กับลูก ๆ นั้นเอง

กิจกรรมการกุศล

[แก้]
เลดีกากาที่ Camden, New Jersey

การเมือง

[แก้]

ในเดือนกรกฎาคม 2016 เลดีกากา ได้เป็นหัวหน้าแกนนำในการจัดคอนเสิร์ตที่ Camden, New Jersey ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อสนับสนุนนางฮิลลารี คลินตัน จากพรรคเดโมแครต ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา โดยเลดีกากาได้นำชุดสูทของไมเคิล แจ็กสัน ครั้นที่มาเยือนทำเนียบขาวเมื่อปี 1990 มาใส่กล่าวปราศัย และจัดคอนเสิร์ตกับบอน โจวี ท้ายสุดฮิลลารี คลินตันขึ้นมากล่าวปราศัย

เกย์ไอคอน

[แก้]

กากายกความสำเร็จที่ได้รับในช่วงแรก ๆ ของการเป็นศิลปินกระแสหลักให้แก่แฟนเพลงชาวเกย์ และถูกยกย่องให้เป็นขวัญใจชาวเกย์ ก่อนหน้าปี 2009 เป็นเรื่องยากมากที่ดีเจจะยอมเปิดเพลงของเธอออกอากาศบนคลื่นวิทยุในอเมริกา เธอระบุว่า "จุดเปลี่ยนของฉันคือกลุ่มชาวเกย์, ฉันมีแฟนเพลงชาวเกย์มากมายที่ชื่นชอบในตัวฉัน พวกเขายกย่องฉันและยังคงสนับสนุนฉัน ซึ่งฉันจะต้องสนับสนุนพวกเขา ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะมีฐานแฟนเพลงเป็นของตัวเอง [98] เธอขอบคุณบริษัทฟลายไลฟ์ บริษัทการตลาดของกลุ่ม LGBT ที่ตั้งอยู่ในแมนแฮตตันและได้ร่วมงานกับบริษัทอินเทอร์สโคป ต้นสังกัดของเธอ ในปกอัลบั้ม The Fame เธอเขียนบันทึกไว้ว่า

"ฉันรักพวกคุณ (กลุ่มชาวเกย์) มาก, คุณคือแรงดลใจของอัลบั้มนี้ให้ดำเนินต่อไป การสนับสนุนและความสดใสของพวกคุณมีหมายความต่อฉันราวกับโลกทั้งใบ ฉันจะยืนหยัดต่อสู้เพื่อการชาวเกย์จนถึงที่สุดพร้อมกับทีมงานที่ไม่น่าเชื่อ'"'

[99]

เลดีกากากล่าวปราศรัยในงานชุมนุมเพื่อความเท่าเทียม National Equlity March

การแสดงครั้งแรกของเธอที่ได้ถ่ายทอดสดครั้งแรก เกิดขึ้นในเดือนพฤษภาคม 2008 ในงานมอบรางวัลนิวนาวเน็กซ์อวอร์ดที่เธอได้ร้องเพลง Just Dance บนเวทีนี้และออกอากาศโดยสถานีโทรทัศน์ในเครือข่าย LGBT[100] เดือนมิถุนายนในปีเดียวกันเธอขึ้นร้องเพลงในเทศกาลซานฟรานซิสโกไพรด์ [101] หลังจากที่อัลบั้ม The Fame ของเธอออกวางจำหน่ายแล้ว เธอเปิดเผยว่าเพลงโป๊กเกอร์เฟซนั้นพูดถึงความเป็นคนรักสองเพศในตัวเธอ เมื่อเธอได้เป็นแขกรับเชิญในรายการดิ เอลเลน ดิเจอเนอเรส เลดีกากาได้กล่าวยกย่องดิเจอเนอเรสว่าเป็น "แรงบันดาลใจสำหรับสตรีและชาวเกย์ [102] ในงานชุมนุมรวมพลังเพื่อความเท่าเทียม National Equality March ที่เนชั่นแนลมอล เธอประกาศว่า งานอีเวนท์นี้เป็นงานสำคัญที่สุดในอาชีพของเธอ" และกล่าวอวยพรด้วยความปิติยินดีว่า "Bless God and bless gays" เช่นเดียวกับที่ขึ้นกล่าวคำขอบคุณบนเวทีมอบรางวัลเอ็มทีวีมิวสิกวิดีโอ 2009 ในเพื่อขึ้นรับรางวัลศิลปินหน้าใหม่ยอดเยี่ยมเมื่อหลายเดือนก่อน [103] ณ งานชุมนุมรวมพลังเพื่อความเท่าเทียมนั้น กากาได้แสดงเพลง Imagine ของจอห์น เลนนอน จากนั้นเธอได้ประกาศว่า "ฉันจะไม่ร้องเพลงของตัวเองสักเพลงเดียวในคืนนี้ เพราะคำคืนนี้ไม่ได้เกี่ยวกับฉันแต่เกี่ยวกับพวกคุณ" แล้วเธอเปลี่ยนเนื้อร้องเดิมของเพลงให้เป็นเพลงที่สะท้อนการเสียชีวิตของแมทธิว เชพเพิร์ด นักศึกษาวิทยาลัยแห่งหนึ่งที่ถูกฆาตกรรมเนื่องจากลักษณะทางเพศของเขาเอง [104]

เลดีกากากล่าวปราศรัยเพื่อผลักดันนโยบาย Don't ask Don't tell ที่เมืองพอร์ตแลนด์ รัฐเมน
เลดีกากาขณะกล่าวปราศัยที่ L.A Vigil

เดือนกันยายน 2010 เธอกล่าวในที่ชุมนุมเพื่อต่อต้านกองทัพอเมริกัน ด้วยนโยบาย ห้ามถาม ห้ามบอก ที่ไม่ให้บุคคลห้ามบอกว่าตนเป็นเลสเบี้ยน เกย์ หรือรักร่วมสองเพศเมื่อเข้าสมัครเป็นทหารเข้ากองทัพอเมริกา [105] และได้เผยแพร่วิดีโอที่กระตุ้นให้แฟนเพลงของเธอพยายามติดต่อสมาชิกวุฒิสภาเพื่อผลักดันให้นโยบายนี้ให้เป็นผล บรรณาธิการแห่งนิตยสาร ดิ แอดโวเคต ให้ความเห็นต่อเรื่องนี้ว่า เลดีกากาได้กลายเป็น “ผู้สนับสนุนที่ดุเดือดสำหรับชาวเกย์และเลสเบี้ยนตัวจริง”[106]

14 มิถุนายน 2016 เธอได้กล่าวปราศัยและรำลึกถึงผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ที่มีผู้ก่อการร้ายยิงเข้าไปในไนท์คลับ Pulse ในออร์แลนโด,รัฐฟลอริดา โดยงานจัดขึ้นที่ L.A Vigil โดยได้บอกว่า

"ดังที่เราได้เห็นถึงเหตุการณ์ฆาตกรรมครั้งใหญ่ในอเมริกานี้ ฉันก็รับรู้ได้ถึงระดับความเกลียดชัง ความอคติ ซึ่งมีต่อมนุษย์ด้วยกันเอง ค่ำคืนนี้ ฉันมารวมตัวอยู่กับพวกคุณที่นี่ ด้วยความสงบและความจริงใจ เพื่อไว้อาลัยกับการสูญเสียคนที่บริสุทธิ์และสวยงามทั้งหลายเหล่านี้ คืนนี้ ฉันจะไม่ยอมให้ความรู้สึกโกรธที่มีต่อเหตุการณ์ในครั้งนี้ของฉันมาทำลายงานรำลึกถึงบุคคลที่สูญเสียคนอันเป็นที่รัก สูญเสียสมาชิกกลุ่มรักร่วมเพศ ฉันหวังว่าพวกคุณคงรู้ว่า ตัวฉันและคนอื่นอีกจำนวนมากอยู่ข้างคุณ"

ขณะนั้นเธอก็ได้กล่าวรายชื่อผู้เสียชีวิตทั้ง 49 คน พร้อมกับแสดงความเสียใจโดยการร้องไห้ออกมา

ริสแบนด์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยชาวญี่ปุ่น

[แก้]

หลังจากที่เกิดเหตุแผ่นดินไหวขนาด 8.9 ในประเทศญี่ปุ่น จนทำให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิสูงกว่า 10 เมตรพัดถล่มเมืองเซ็นไดจนได้รับความเสียหาย กากา ได้รณรงค์จัดทำสายรัดข้อมือออกมาเพื่อหารายได้ช่วยเหลือผู้ประสบภัยดังกล่าว โดยกากา ได้เปิดตัวสายรัดข้อมือสีขาว ตัวอักษรแดง ที่เขียนข้อความว่า "We Pray for Japan" พร้อมกับคำแปลภาษาญี่ปุ่น ซึ่งในสายรัดข้อมือนี้ยังมีภาพกรงเล็บที่เป็นสัญลักษณ์ชาว Little Monster แฟนคลับของเลดีกากา ปรากฏอยู่ด้วย โดยกากากล่าวว่า "ฉันออกแบบสายรัดข้อมือภาวนาเพื่อญี่ปุ่นนี้มา เพื่อนำรายได้ทั้งหมดมอบให้ผู้ประสบภัยสึนามิ ลุยเลย Monster" กากาบอกผ่านแฟนเพลงชาว Little Monster ของเธอทุกคน และเมื่อครั้งเธอไปญี่ปุ่นเธอก็สวมกำไลนี่ไปด้วย การเกิดสึนามิครั้งนี้ได้พบร่างผู้เสียชีวิตแล้วมากกว่า 1000 ศพ และยังมีที่สูญหายอีกนับหมื่นรายในเมืองเซ็นได ซึ่งการเกิดแผ่นดินไหวครั้งนี้นับเป็นแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่สุดติดหนึ่งในห้าอันดับแรกของโลกนับตั้งแต่ปี 1900 เป็นต้นมา ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ยังระบุว่าแผ่นดินไหวครั้งนี้มีความรุนแรงมากกว่าที่เกิดขึ้นในเมืองไครสต์เชิร์ช นิวซีแลนด์ เมื่อเดือนที่แล้วถึง 8,000 เท่าเลยทีเดียว โดยรายได้ทั้งหมดไม่หักค่าใช่จ่ายกากานำไปบริจาคให้ชาวญี่ปุ่นรวมทั้งเงินส่วนหนึ่งจากเธอด้วย

แต่ก็ประสบปัญหาเนื่องจากมีผู้ยื่นฟ้องศาลกล่าวหาว่าเธอยักยอกเงินบริจาคและขายริสแบนด์เกินราคาจริง อย่างไรก็ตามกากาเธอได้นำเงินบริจาคทั้งหมดให้ชาวญี่ปุ่นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยความจริงเรื่องที่ยักยอกเป็นเพียงขอกล่าวหาไม่มีมูลความจริงแต่ใด ๆ

มูลนิธิ Born This Way Foundation

[แก้]

Born This Way Foundation หรือ มูลนิธิบอร์นดิสเวย์ เป็นมูลนิธิที่กากาจัดตั้งขึ้นกับแม่ของเธอ ซินเธีย เจอร์มาน็อตตาร์ จุดประสงค์เพื่อช่วยเหลือเด็กที่ถูกรังแกในโรงเรียน หรือ บุคคลที่ถูกละเมิดสิทธิส่วนบุคคล Born This Way Foundation มีสโลแกนว่า "Born To Be Brave" หรือ เกิดมามีความกล้าหาญ ตรงกับความหมายเพลงบอร์นดิสเวย์ ที่สื่อความหมายให้ทุกคนมีความกล้า

ผลงานเพลง

[แก้]

สตูดิโออัลบั้มเดี่ยว

สตูดิโออัลบั้มที่ทำงานร่วมกัน


ทัวร์แลเรสซิเดนซ์ส

[แก้]

ทัวร์หลัก

ทัวร์ที่ทำงานร่วมกัน

เรสซิเดนซ์ส


ผลงานภาพยนตร์

[แก้]

ละครโทรทัศน์ / รายการโทรทัศน์

[แก้]
ปีที่เข้าฉาย ชื่อเรื่อง ตัวละครที่แสดง อื่นๆ
2001 The Sopranos เพื่อนร่วมชั้น Episode "The Telltale Moozadell" Uncredited
2005 Boiling Points ตัวเธอเอง Uncredited
2009 แสบใสไฮโซ ตัวเธอเอง Episode "The Last Days of Disco Stick" Cameo appearance
2009 แซตเทอร์เดย์ไนต์ไลฟ์ แขกรับเชิญ Episode "Ryan Reynolds/Lady Gaga"
2010 Double Exposure ตัวเธอเอง Episode "No One Can Work Like This"
2011 Lady Gaga Presents the Monster Ball Tour: At Madison Square Garden ตัวเธอเอง Television special
2011 อเมริกันไอดอล ผู้ช่วย Season 10
2011 แซตเทอร์เดย์ไนต์ไลฟ์ แขกรับเชิญ Episode "Justin Timberlake/Lady Gaga"
2011 Inside the Outside ตัวเธอเอง Documentary
2011 โซยูทิงก์ยูแคนดานซ์ ผู้พิพากษา Season 8, episode 3
2011 A Very Gaga Thanksgiving ตัวเธอเอง Television special
2011 Dick Clark's New Year's Rockin' Eve ตัวเธอเอง Television special
2012 เดอะซิมป์สันส์ ตัวเธอเอง Episode "Lisa Goes Gaga"
2012 Opening Act ตัวเธอเอง Episode "Von & Lady Gaga"
2013 Who the F–k is Arthur Fogel? ตัวเธอเอง Documentary
2013 แซตเทอร์เดย์ไนต์ไลฟ์ เจ้าของบ้าน Episode "Lady Gaga"
2013 Lady Gaga and the Muppets' Holiday Spectacular ตัวเธอเอง Television special
2014 Tony Bennett and Lady Gaga: Cheek to Cheek Live! ตัวเธอเอง Television special
2015 - 2016 American Horror Story: Hotel อลิซาเบธ Season 5 of American Horror Story
2016 Variety Studio: Actors on Actors ตัวเธอเอง Season 4
2016 American Horror Story: Roanoke สกาฮะ Season 6 of American Horror Story
2016 แซเทอร์เดย์ไนต์ไลฟ์ แขกรับเชิญ Episode: "Tom Hanks/Lady Gaga"
2016 The Late Late Show with James Corden ตัวเธอเอง Carpool Karaoke
2016 Tony Bennett Celebrates 90: The Best Is Yet to Come ตัวเธอเอง Television special
2017 RuPaul's Drag Race แขกรับเชิญ Episode: "Oh My Gaga"

อ้างอิง

[แก้]
  1. "BBC Sound of 2009: Lady GaGa". BBC. 2008-12-05. สืบค้นเมื่อ 2009-01-09.
  2. "Artists of the Decade: Lady Gaga". Billboard. Nielsen Business Media, Inc. 2009-12-21. สืบค้นเมื่อ 2010-05-21.
  3. "Spotted: Lady Gaga Celebrates Success In Los Angeles". MTV News. 2010-08-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-10. สืบค้นเมื่อ 2010-08-18.
  4. Pomerantz, Dorothy; Rose, Lacey. "The World's Most Powerful Celebrities". Forbes. สืบค้นเมื่อ 2010-06-29.
  5. Pomerantz, Dorothy; Rose, Lacey. "The Celebrity 100: #4 Lady Gaga". Forbes. สืบค้นเมื่อ 2010-06-29.
  6. Johnson, Jamey (2010-10-06). "Lady Gaga, Beyonce Among Forbes' 100 Most Powerful Women". MTV. MTV Networks. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-21. สืบค้นเมื่อ 2010-11-03.
  7. http://www.mediatraffic.de/albums-2010.htm
  8. http://livemusiconpc.blogspot.com/2011/06/american-pop-singer-lady-gaga.html
  9. 9.0 9.1 "Lady Gaga Bio". ladygaga.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 6, 2010. สืบค้นเมื่อ August 7, 2017.
  10. 10.0 10.1 10.2 Hattie, Collins (2008-12-14). "Lady GaGa: the future of pop?". The Sunday Times. London: News International. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-27. สืบค้นเมื่อ 2009-12-06.
  11. Sturges, Fiona (2009-05-16). "Lady Gaga: How the world went crazy for the new queen of pop". The Independent. London: Independent News & Media. สืบค้นเมื่อ 2009-05-26.
  12. 12.0 12.1 12.2 Grigoriadis, Vanessa (March 28, 2010). "Growing Up Gaga". New York. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 1, 2010. สืบค้นเมื่อ March 29, 2010.
  13. Bream, Jon (2009-03-21). "Don't Gag on Gaga". Star Tribune. The Star Tribune Company. สืบค้นเมื่อ 2010-01-23.
  14. Poppell, Seth (2009-12-22). "Lady Gaga was surprisingly normal". In Touch Weekly. Bauer Media Group. สืบค้นเมื่อ 2010-01-23.
  15. Zee, Joe (2009-12-01). "Lady Gaga – An Exclusive Interview with ELLE's January Cover Girl". Elle. Hachette Filipacchi Médias. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-15. สืบค้นเมื่อ 2010-05-05.
  16. Florino, Rick (January 30, 2009). "Interview: Lady GaGa". Artistdirect. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 1, 2017. สืบค้นเมื่อ August 7, 2017.
  17. 17.0 17.1 Harris, Chris (2008-06-09). "Lady GaGa Brings Her Artistic Vision Of Pop Music To New Album". MTV. MTV Networks. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-24. สืบค้นเมื่อ 2009-05-07.
  18. Musto, Michael (2010-01-19). "Lady Gaga Did a Children's Book In 2007!". The Village Voice. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-18. สืบค้นเมื่อ 2010-01-19.
  19. 19.0 19.1 19.2 Reporter, Staff. "Lady GaGa Profile". Contactmusic.com. สืบค้นเมื่อ 2009-02-20.
  20. Callahan, Maureen; Stewart, Sara (2010-01-22). "Who's that lady?". New York Post. News Corporation. สืบค้นเมื่อ 2010-03-26.
  21. Cassis, Christine (2010-02-22). "Meet the woman who inspired Lady Gaga". Thaindian News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-15. สืบค้นเมื่อ 2010-02-03.
  22. Hobart, Erika (2008-11-18). "Lady GaGa: Some Like it Pop". Seattle Weekly. Village Voice Media. สืบค้นเมื่อ 2009-01-10.
  23. Lee, Ann (2009-01-06). "Just Who Is Lady GaGa?". Metro. Associated Newspapers. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-09. สืบค้นเมื่อ 2009-02-26.
  24. Thrills, Adrian (2009-01-09). "Why the world is going gaga for electro-pop diva Stefani". Daily Mail. Associated Newspapers. สืบค้นเมื่อ 2009-01-12.
  25. Haus of GaGa (2008-12-16). Transmission Gaga-vision: Episode 26. Lady Gaga Official website.
  26. Harding, Cortney (2009-08-15). "Lady Gaga: The Billboard Cover Story". Billboard. Nielsen Business Media, Inc. สืบค้นเมื่อ 2010-05-06.
  27. Cowing, Emma (2009-01-20). "Lady GaGa: Totally Ga-Ga". The Scotsman. Johnston Press. สืบค้นเมื่อ 2009-02-20.
  28. "Lady Gaga: The Fame". Metacritic. สืบค้นเมื่อ 2009-01-09.
  29. Williams, John (2009-01-14). "Lady GaGa's 'Fame' rises to No. 1". Jam!. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ 2009-01-14.
  30. "Lady Gaga – The Fame – World Charts". aCharts.us. สืบค้นเมื่อ 2009-01-08.
  31. "The 51st Annual Grammy Awards Nominations List". National Academy of Recording Arts and Sciences. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-11. สืบค้นเมื่อ 2009-01-02.
  32. Reporter, Staff (2009-01-08). "International Pop Star Lady Gaga Set to Tour With New Kids on the Block". Reuters. Thomson Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-08. สืบค้นเมื่อ 2009-01-08.
  33. Menze, Jill (2009-05-29). "Lady Gaga / May 2, 2009 / New York (Terminal 5)". Billboard. Nielsen Business Media, Inc. สืบค้นเมื่อ 2009-05-05.
  34. Hiatt, Brian (May 30, 2009). "The Rise of Lady Gaga". Rolling Stone. Vol. 1080 no. 43. New York. ISSN 0035-791X.
  35. Caulfield, Keith (2009-10-03). "Beyonce Accepts Billboard's Woman Of the Year Award, Lady Gaga Is Rising Star". Billboard. Nielsen Business Media, Inc. สืบค้นเมื่อ 2009-10-06.
  36. Brand, Fowler (2009-10-12). "Kanye Who? Lady Gaga Teams Up With President Obama". E! Entertainment Television. E! Online. สืบค้นเมื่อ 2009-12-12.
  37. Zak, Dan (2009-10-12). "For Gay Activists, The Lady Is a Champ". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 2009-12-12.
  38. Herrera, Monica (2009-10-15). "Lady Gaga Unveils 'The Monster Ball'". Billboard. Nielsen Business Media, Inc. สืบค้นเมื่อ 2009-10-15.
  39. Release, Press (2009-10-08). "Lady Gaga Returns With 8 New Songs on 'The Fame Monster'". PR Newswire. สืบค้นเมื่อ 2009-10-09.
  40. "Lady Gaga – Bad Romance – World Charts". acharts.us. สืบค้นเมื่อ 2010-04-17.
  41. Lawter, Daniel (2009-12-08). "Lady GaGa meets the Queen at Royal Variety Performance". Daily Mirror. Trinity Mirror. สืบค้นเมื่อ 2009-12-09.
  42. Walters, Barbara (2009-12-30). "Lady Gaga: 'I Love Androgyny'". ABC News. สืบค้นเมื่อ 2010-05-03.
  43. Eisinger, Amy (2010-01-08). "Lady Gaga wears hat made entirely from her own hair". Daily News. News Corporation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-10. สืบค้นเมื่อ 2010-01-10.
  44. McCormick, Neil (2010-03-17). "Lady GaGa's Telephone video". The Daily Telegraph (London). สืบค้นเมื่อ 2010-12-13.
  45. Reporter, Staff (2010-03-20). "Lady Gaga bites back at music producer". The Daily Telegraph. London: Telegraph Media LLC. สืบค้นเมื่อ 2010-03-20.
  46. Reporter, Staff (2010-03-20). "Lady Gaga bites back at music producer". The Daily Telegraph. London: Telegraph Media LLC. สืบค้นเมื่อ 2010-03-20.
  47. "Lady Gaga and jilted producer drop legal dispute". Reuters. Thomson Reuters. 2010-09-10. สืบค้นเมื่อ 2010-09-11.
  48. Kooch, Eileen (2010-03-26). "Lady Gaga becomes a 'billion-hit' artist". BBC. BBC Online. สืบค้นเมื่อ 2010-04-19.
  49. "The 2010 TIME 100". Time. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 3, 2015. สืบค้นเมื่อ December 15, 2015.
  50. http://www.usatoday.com/life/music/awards/grammys/2010-12-01-grammy-nominations-list_N.htm?loc=interstitialskip
  51. Michaels, Sean (2010-10-25). "Elton John and Lady Gaga record duet". The Guardian (London). สืบค้นเมื่อ 2010-12-15.
  52. Michaels, Sean (2010-06-23). "Lady Gaga's new album 'finished'". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2010-06-23.
  53. Vena, Jocelyn (2010-12-01). "Lady Gaga to Release first Born This Way Single in February". MTV (MTV Networks). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-07. สืบค้นเมื่อ 2010-12-01.
  54. Kreps, Daniel (2010-09-13). "Lady Gaga Names Her New Album 'Born This Way'". Rolling Stone. Jann Wenner. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-24. สืบค้นเมื่อ 2010-11-11.
  55. "Lady Gaga Announces New Album Name in VMA Speech". Entertainment Weekly. 2010-09-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-19. สืบค้นเมื่อ 2010-09-13.
  56. Dinh, James (2010-11-09). "Lady Gaga Says Born This Way Will Be 'Greatest Album Of This Decade'". MTV (MTV Networks). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-25. สืบค้นเมื่อ 2010-11-30.
  57. http://www.hiphopdx.com/index/news/id.25751/title.t-i-twista-too-short-r-kelly-slated-to-appear-on-lady-gaga-s-artpop-album
  58. https://www.billboard.com/articles/news/8259218/jennifer-lopez-jimmy-fallon-lady-gaga-sponsor-buses-to-march-for-our-lives-gun-control-violence
  59. https://www.rollingstone.com/music/music-news/hear-lady-gagas-powerful-take-on-elton-johns-your-song-629549/
  60. https://ew.com/music/2018/08/07/lady-gaga-las-vegas-residency-details/
  61. https://www.billboard.com/articles/news/8363332/bradley-cooper-interview-a-star-is-born-lady-gaga-tribeca-film-festival
  62. Birchmeier, Jason (2008-04-20). "Allmusic| Lady Gaga". Allmusic. Rovi Corporation. สืบค้นเมื่อ 2010-01-03.
  63. Reporter, Staff (2010-02-10). "Britney Spears/Lady Gaga collaboration in the works". The Sun. London: Pop Crunch. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-28. สืบค้นเมื่อ 2010-06-20.
  64. 64.0 64.1 <Dingwall, John (November 27, 2009). "The Fear Factor; Lady Gaga used tough times as inspiration for her new album". Daily Record. pp. 48–49. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-22. สืบค้นเมื่อ August 8, 2017.{{cite news}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  65. Thomson, Graeme (2009-09-06). "Soundtrack of my life: Lady Gaga". The Guardian. London: Guardian News and Media. สืบค้นเมื่อ 2010-05-06.
  66. Symonds, Alexandra (2009-07-10). "Lady GaGa: "Grace Jones, Androgynous, Robo, Future Fashion Queen"". Prefix. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-16. สืบค้นเมื่อ 2009-07-11.
  67. Smith, Liz (2009-10-25). "Debbie Harry Would Love To Perform With Lady Gaga". Evening Standard. Daily Mail and General Trust. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-03. สืบค้นเมื่อ 2009-10-30.
  68. Simpson, Dave (2009-07-01). "Lady Gaga: Academy, Manchester". The Guardian. London: Guardian News and Media. สืบค้นเมื่อ 2009-10-30.
  69. Rodman, Sarah (2008-10-27). "Lady Gaga". The Boston Globe. สืบค้นเมื่อ 2009-08-09.
  70. Sawdey, Evan (2009-01-12). "Lady GaGa The Fame". PopMatters. สืบค้นเมื่อ 2009-04-30.
  71. Garcia, Cathy (2009-03-08). "Lady Gaga Burning Up Album Charts". The Korea Times. Hankook Ilbo. สืบค้นเมื่อ 2009-03-10.
  72. Geier, Thom (December 11, 2009). "The 100 Greatest Movies.. Trends That Entertained Us Over The Past 10 Years". Entertainment Weekly. Vol. 1079/1080 no. 74. p. 84. ISSN 1049-0434.
  73. Lewis, Luke (2009-08-09). "Lady Gaga Vs. Roisin Murphy – Spot The Difference". Yahoo!. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-13. สืบค้นเมื่อ 2010-06-18.
  74. Lewis, Luke (2009-08-09). "Lady Gaga Vs. Roisin Murphy – Spot The Difference". Yahoo!. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-13. สืบค้นเมื่อ 2010-06-18.
  75. Browne, David (2010-01-09). "Is Lady GaGa a saviour of Pop?". Entertainment Weekly. 1091 (02). ISSN 1049-0434.
  76. Andres, Joanna (2010-04-09). "Heather Cassils: Lady Gaga's Prison Yard Girlfriend". Out. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-15. สืบค้นเมื่อ 2010-06-18.
  77. "Lady Gaga Fashion – Vote on 15 of Lady Gaga's Outfits". Elle. 2009-12-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-05. สืบค้นเมื่อ 2010-06-18.
  78. "Kylie Minogue thinks there's an element of her in Lady Gaga‎". Hollywood News. 2010-06-13. สืบค้นเมื่อ 2010-06-18.[ลิงก์เสีย]
  79. Vena, Jocelyn (2009-09-13). "Lady Gaga Lets It Bleed During Eye-Popping VMA Performance". MTV. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-02. สืบค้นเมื่อ 2010-06-18.
  80. Roberts, Sorya (2010-06-03). "Fans protest Lady Gaga's blood-spattered Monster Ball show in England after shooting spree". New York Daily News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-16. สืบค้นเมื่อ 2010-06-23.
  81. "Gaga's bloody stage show sparks fury". Hindustan Times. 2010-06-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-16. สืบค้นเมื่อ 2010-06-23.
  82. Empire, Kitty (2010-02-21). "Lady Gaga at MEN arena, Manchester". The Guardian. london. สืบค้นเมื่อ 2010-06-18.
  83. Roberts, Laura (September 14, 2010). "Lady Gaga's meat dress divides opinion". The Daily Telegraph. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 14, 2010. สืบค้นเมื่อ June 12, 2010.
  84. Winterman, Denise; Kelly, Jon (2010-09-14). "Five interpretations of Lady Gaga's meat dress". BBC (BBC Online). สืบค้นเมื่อ 2010-12-06.
  85. Lee, Ann (2010-09-14). "Lady Gaga defends meat dress by claiming she's no 'piece of meat'". Metro. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-17. สืบค้นเมื่อ 2010-12-06.
  86. Fynes-Clinton, Jane (2010-09-15). "Lady Gaga's grab for attention enough to make you gag". The Courier-Mail. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-01. สืบค้นเมื่อ 2010-10-04.
  87. Paglia, Camille (2010-09-12). "Lady Gaga and the death of sex". The Sunday Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-15. สืบค้นเมื่อ 2010-10-04.
  88. Odell, Amy (2010-02-03). "Lady Gaga dedicates her new 'Little Monsters' tattoo to her fans". Daily News. News Corporation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-06. สืบค้นเมื่อ 2010-04-02.
  89. Reporter, Daily Mail (2009-02-03). "So who copied who? Lookalikes Lady GaGa and Christina Aguilera". Daily Mail. Associated Newspapers. สืบค้นเมื่อ 2009-02-06.
  90. Temple, Sonic (2008-12-31). "GaGa: I'm thankful for Christina". OK!. Northern & Shell. สืบค้นเมื่อ 2009-01-08.
  91. Thrills, Adrian (2010-05-02). "Christina Aguilera Copies Lady GaGa". Daily Mail. Associated Newspapers. สืบค้นเมื่อ 2010-05-10.
  92. Tarradell, Mario (2009-12-14). "Dale Bozzio should be flattered...maybe". Dallas Morning News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-07. สืบค้นเมื่อ 2010-11-03.
  93. Vena, Jocelyn (2010-10-30). "US College Offering Lady GaGa Degree". MTV. MTV Netweoks. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-19. สืบค้นเมื่อ 2010-11-03.
  94. Deflem, Mathieu. "SOCY 398D – Lady Gaga and the Sociology of the Fame". University of South Carolina. สืบค้นเมื่อ 2010-03-11.
  95. http://www.wired.com/wiredscience/2012/10/lady-gaga-fern/
  96. http://www.eonline.com/news/357155/lady-gaga-gets-fern-species-named-after-her-check-out-the-resemblance
  97. Odell, Amy (2010-07-13). "Lady Gaga Rumored to Be Working on a Fragrance". New York. New York Media LLC. สืบค้นเมื่อ 2012-07-09.
  98. Vena, Jocelyn (2009-05-07). "Lady Gaga On Success: 'The Turning Point For Me Was The Gay Community'". MTV. MTV Networks. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-10. สืบค้นเมื่อ 2009-08-11.
  99. Lady Gaga (2008). The Fame (Liner notes). Interscope Records. 2726601.
  100. "NewNowNext Awards". 2008-05-03. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-25. สืบค้นเมื่อ 2009-08-11.
  101. "2008 Main Stage Line-Up". San Francisco Pride. 2008-06-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-12. สืบค้นเมื่อ 2009-08-11.
  102. "Lady GaGa's wacky headgear almost knocks out chat show host Ellen DeGeneres". Daily Mail. Associated Newspapers. 2009-05-13. สืบค้นเมื่อ 2009-08-11.
  103. Vena, Jocelyn (2009-08-14). "Lady Gaga's Shocking 2009 VMA Fashion Choices". MTV. MTV Networks. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-07. สืบค้นเมื่อ 2009-08-19.
  104. Carter, Nicole (2009-12-10). "Lady Gaga performs her version of 'Imagine' at the Human Rights Campaign dinner in Washington D.C." Daily News. News Corporation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-12-16. สืบค้นเมื่อ 2010-06-12.
  105. Zezima, Katy (2010-09-20). "Lady Gaga Goes Political in Maine". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2010-09-21.
  106. "Gaga: We've Found Our Fierce Advocate". The Advocate. 2010-09-28. สืบค้นเมื่อ 2010-09-21.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]