พระมหากษัตริย์อิตาลี
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
พระมหากษัตริย์ แห่งราชอาณาจักรอิตาลี | |
---|---|
ราชาธิปไตยในอดีต | |
ตราแผ่นดินราชอาณาจักรอิตาลี | |
พระเจ้าอุมแบร์โตที่ 2 พระมหากษัตริย์อิตาลีองค์สุดท้าย | |
| |
ปฐมกษัตริย์ | พระเจ้าวิตโตรีโอ เอมานูเอเลที่ 2 |
องค์สุดท้าย | สมเด็จพระเจ้าอุมแบร์โตที่ 2 |
สถานพำนัก | พระราชวังควีริแน็ล, โรม ราชอาณาจักรอิตาลี |
เริ่มระบอบ | 17 มีนาคม ค.ศ. 1861 |
สิ้นสุดระบอบ | 12 มิถุนายน ค.ศ. 1946 (85 ปี 87 วัน) |
ผู้อ้างสิทธิ์ | เจ้าชายวิตตอรีโอ เอมานูเอเล |
ประวัติศาสตร์อิตาลี | |
---|---|
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของบทความที่เกี่ยวกับ ประเทศอิตาลี | |
ตามลำดับเหตุการณ์ | |
อิตาลีก่อนประวัติศาสตร์ | |
เกรตเตอร์กรีซ (ศตวรรษที่ 8 ก่อน ค.ศ.– 7 ก่อน ค.ศ) | |
อิตาลีระหว่างการปกครองของโรมัน (ศตวรรษที่ 8 ก่อน ค.ศ.– 6 ก่อน ค.ศ.) | |
อิตาลีในยุคกลาง (คริสต์ศตวรรษ 6–14) | |
อิตาลีระหว่างยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา (คริสต์ศตวรรษ 14–16) | |
สงครามอิตาลี (ค.ศ. 1494–ค.ศ. 1559) | |
ระหว่างอิทธิพลของต่างประเทศและการรวมตัว (ค.ศ. 1559–ค.ศ. 1814) | |
การรวมชาติอิตาลี (ค.ศ. 1814–ค.ศ. 1861) | |
สมัยราชาธิปไตยและสมัยสงครามโลก (ค.ศ. 1861–ค.ศ. 1945) | |
สมัยสาธารณรัฐ (ค.ศ. 1945–"ปัจจุบัน") | |
ตามหัวข้อ | |
ประวัติศาสตร์การทหาร | |
รัฐในประวัติศาสตร์ | |
สถานีย่อยอิตาลี |
พระมหากษัตริย์อิตาลี (ละติน: rex Italiae, อิตาลี: re d'Italia, อังกฤษ: King of Italy) เป็นตำแหน่งที่ใช้สำหรับประมุขผู้ครองคาบสมุทรอิตาลีมาตั้งแต่การล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน แต่ก็ไม่มีพระมหากษัตริย์องค์ใดที่ปกครองคาบสมุทรอิตาลีทั้งหมดมาจนถึงสมเด็จพระเจ้าวิคเตอร์ เอ็มมานูเอลที่ 2 ในปี ค.ศ. 1870 แม้ว่าจะมีกษัตริย์บางพระองค์ก่อนหน้านั้นที่ทรงอ้าง
หลังจากการปลดจักรพรรดิโรมิวลัส ออกัสตัสแห่งจักรวรรดิโรมันตะวันตกในปี ค.ศ. 476 แล้วพระเจ้าโอเดเซอร์ (Odoacer) ประมุขของเฮรูลิ (Heruli) ก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็น "dux Italiae" หรือ "ดยุคแห่งอิตาลี" โดยจักรพรรดิเซโนแห่งจักรวรรดิโรมันตะวันออก ต่อมาโอเดเซอร์ใช้ตำแหน่ง "rex" หรือ "ราช"/"กษัตริย์" แต่กระนั้นก็ยังถือว่าตนเองเป็นข้าราชการของจักรวรรดิโรมันตะวันออก ในปี ค.ศ. 493 พระมหากษัตริย์ออสโตรกอธพระเจ้าธีโอดอริคมหาราชก็ทรงพิชิตพระเจ้าโอเดเซอร์ และทรงก่อตั้งราชวงศ์อามาล (Amal dynasty) ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งอิตาลี การครอบครองอิตาลีโดยออสโตรกอธมาสิ้นสุดลงเมื่อจักรวรรดิไบแซนไทน์กลับมายึดอำนาจคืนในปี ค.ศ. 552
แต่การยึดอำนาจของจักรวรรดิไบแซนไทน์ก็เป็นไปเพียงระยะเวลาอันสั้น ในปี ค.ศ. 568 ชนลอมบาร์ดก็เข้ามารุกรานคาบสมุทรอิตาลี และก่อตั้งราชอาณาจักรอนารยชนเพื่อเป็นการต่อต้านอำนาจของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ราชอาณาจักรส่วนใหญ่อยู่ในอิตาลีโดยเฉพาะในลอมบาร์เดีย ยกเว้นอาณาจักรบริวารราเวนนา (Exarchate of Ravenna) และอาณาจักรดยุคต่าง ๆ ที่รวมทั้งโรม, เวเนเชีย, เนเปิลส์ และทางตอนใต้ ระหว่างสองศตวรรษต่อมาลอมบาร์ดและไบแซนไทน์ก็ต่อสู้แย่งอำนาจกันในคาบสมุทรอิตาลี
ในคริสต์ศตวรรษที่ 8 ความขัดแย้งระหว่างจักรวรรดิโรมันในอิตาลีและไบแซนไทน์ก็เปิดโอกาสให้ลอมบาร์ดยึดอำนาจของดินแดนโรมันทางตอนเหนือของอิตาลี แต่ในปี ค.ศ. 774 ลอมบาร์ดก็พ่ายแพ้ต่อชาร์เลอมาญ ผู้ทรงปลดกษัตริย์ลอมบาร์ดและก่อตั้งตำแหน่ง "rex Italiae" หรือ "กษัตริย์แห่งอิตาลี" ราชอาณาจักรอิตาลีในช่วงนี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในรัชสมัยของสมเด็จพระจักรพรรดิออตโตที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ต่อมาก็ถือตำแหน่งเป็นกษัตริย์แห่งอิตาลี และกษัตริย์ส่วนใหญ่ก็ได้รับการราชาภิเษกที่เมืองปาวีอาที่เป็นเมืองหลวงของลอมบาร์เดียก่อนที่จะเดินทางต่อไปทำการราชาภิเษกเป็นจักรพรรดิในกรุงโรม แต่จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ก็ยังทรงปกครองเพียงบางส่วนของอิตาลี โดยมีอาณาจักรอื่นบนคาบสมุทรที่ยังคงเป็นอิสระจากจักรวรรดิต่อมาอีกหลายร้อยปี บางอาณาจักรก็มีฐานะเป็นราชอาณาจักรเช่นราชอาณาจักรซิซิลี และ ราชอาณาจักรเนเปิลส์
ตามข้อตกลงของสนธิสัญญาสันติภาพเวสต์ฟาเลียในปี ค.ศ. 1648 จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ก็สูญเสียดินแดนส่วนใหญ่ในอิตาลีแก่ราชบัลลังก์อิตาลี ต่อมาในปี ค.ศ. 1805 จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ก็เข้ามามีอำนาจในอิตาลี และทรงทำพิธีราชาภิเษกโดยการสวมมงกุฎเหล็กแห่งลอมบาร์เดียที่เมืองปาวีอา ปีต่อมาสมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ก็ทรงสละราชสมบัติ หลังจากจักรพรรดินโปเลียนทรงถูกปลดจากราชบัลลังก์ในปี ค.ศ. 1814 มาจนกระทั่งถึงการรวมชาติอิตาลี (Italian unification) ในปี ค.ศ. 1861 อิตาลีก็ไม่มีพระมหากษัตริย์มาจนเมื่อราชวงศ์ซาวอยขึ้นครองราชอาณาจักรอิตาลีที่เป็นผลจากการรวมตัวของอาณาจักรต่าง ๆ ในคาบสมุทรอิตาลีที่รวมทั้งราชอาณาจักรซาร์ดิเนียและราชอาณาจักรซิซิลีทั้งสอง ระบบราชาธิปไตยมาถูกยุบเลิกในปี ค.ศ. 1946 ในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าอุมแบร์โตที่ 2 แห่งอิตาลี และมาแทนด้วยสาธารณรัฐอิตาลี (อิตาลี: Repubblica Italiana)
อ้างอิง
[แก้]- Davis, John A. Italy in the Nineteenth Century. London: Oxford University Press, 2000.
ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ พระมหากษัตริย์อิตาลี