ข้ามไปเนื้อหา

ภาษากันนาดา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Kannada)
ภาษากันนาดา
ಕನ್ನಡ
คำว่า กัณณฑฺ ("กันนาดา") ในอักษรกันนาดา
ออกเสียง[ˈkɐnːɐɖa]
ประเทศที่มีการพูดรัฐกรณาฏกะ อินเดีย
ชาติพันธุ์ชาวกันนาดา
จำนวนผู้พูด64 ล้านคน[1]  (ไม่พบวันที่)
ตระกูลภาษา
รูปแบบก่อนหน้า
ภาษากันนาดาเก่า
  • ภาษากันนาดา
ระบบการเขียนอักษรกันนาดา
อักษรเบรลล์กันนาดา
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการ อินเดีย
ผู้วางระเบียบองค์กรทางวิชาการและรัฐบาลของรัฐกรณาฏกะ
รหัสภาษา
ISO 639-1kn
ISO 639-2kan
ISO 639-3kan

ภาษากันนาดา หรือ ภาษากันนะฑะ (กันนาดา: ಕನ್ನಡ) เป็นภาษากลุ่มดราวิเดียนที่สำคัญภาษาหนึ่ง ใช้พูดทางภาคใต้ของอินเดีย เป็นภาษาราชการของรัฐกรณาฏกะ เขียนด้วยอักษรกันนาดา เช่นเดียวกับภาษาท้องถิ่นอื่น ๆ ในรัฐกรณาฏกะ ได้แก่ ภาษาตูลู ภาษาโกทวะ และภาษากอนกานีที่เขียนด้วยอักษรกันนาดาเช่นกัน ภาษากันนาดาได้รับอิทธิพลด้านคำศัพท์จากภาษาสันสกฤตเช่นเดียวกับภาษากลุ่มดราวิเดียนอื่น ๆ วรรณคดีรุ่นแรก ๆ ที่เขียนด้วยภาษานี้คือ กวิราชมารค (ಕವಿರಾಜಮಾರ್ಗ) โดยจักรพรรดิอโมฆวรรษที่ 1 (นฤปตุงคะ)

ประวัติและพัฒนาการ

[แก้]
จารึกหัลมิที ที่หมู่บ้าน หัลมิที เขียนด้วยอักษรกันนาดาโบราณ สมัยราชวงศ์กทัมพะ
จารึกภาษากันนาดาโบราณที่ Gomateshwara monolith ในShravanabelagola (981 AD. ราชวงศ์คันคะตะวันตก)

ภาษากันนาดาเป็นภาษากลุ่มดราวิเดียนที่เก่าที่สุด มีประวัติย้อนหลังไปได้ถึง 2,000 ปี [3][4][5][6]ภาษาในรูปแบบภาษาพูดได้แยกอออกจากภาษาดราวิเดียนดั้งเดิมก่อนภาษาทมิฬและเป็นเวลาใกล้เคียงกับภาษาตูลู จากหลักฐานทางโบราณคดี การเขียนทางการค้าของภาษานี้เริ่มเมื่อราว 1500-1600 ปีมาแล้ว การพัฒนาในระยะแรกเป็นเช่นเดียวกับภาษาดราวิเดียนอื่น ๆ และเป็นอิสระจากภาษาสันสกฤต ในยุคต่อมาจึงได้อิทธิพลทางด้านคำศัพท์และวรรณคดีจากภาษาสันสกฤตเช่นเดียวกับภาษาเตลุกุ ภาษามลยาฬัม และอื่น ๆ

จารึกภาษากันนาดาพบครั้งแรกในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เมื่อราว พ.ศ. 313 [7][8] ศิลาจารึกภาษากันนาดาที่สมบูรณ์ชิ้นแรกคือ ศิลาศาสนะ เขียนด้วยภาษากันนาดาโบราณ รวมทั้งจารึกหัลมิที, อายุราว พ.ศ. 93 [9] จารึกภาษากันนาดาพบในอินเดียราว 40,000 ชิ้น และพบนอกรัฐกรณาฏกะด้วย เช่นที่ รัฐอานธรประเทศ รัฐมหาราษฏระ รัฐทมิฬนาดู รวมทั้งในรัฐมัธยประเทศและรัฐอุตตรประเทศด้วย

เหรียญกษาปณ์

[แก้]

เหรียญในสมัยราชวงศ์กทัมพะบางส่วนมีจารึกภาษากันนาดา "วิระ" และ "สกันธะ" .[10]เหรียญทองมีคำจารึกว่า "ศรี" และคำย่อของชื่อกษัตริย์ภาคิระกะว่า "ภาคิ" [11] ทั้งหมดนี้ใช้อักษรกันนาดาโบราณ การค้นพบล่าสุดเป็นเหรียญทองแดง อายุราวพุทธศตวรรษที่ 10 ในพนวาสี ตำบลอุตรกันนาดา ซึ่งมีจารึกศรีมนราคี ใช้อักษรกันนาดาแสดงว่าภาษากันนาดาเป็นภาษาราชการในสมัยราชวงส์กทัมพะแห่งพนวาสี [12] เหรียญที่มีจารึกภาษากันนาดาพบแพร่กระจายทั่วไปในเขตปกครองของราชวงศ์คันคะตะวันตก จลุกยะตะวันตก อลุปัส รัศตรกุตัส โหสาลัส จักรวรรดิวิชัยนคร และอาณาจักรไมซอร์ [13][14][15] เหรียญในสมัยราชวงศ์กทัมพะที่พบในกัวมีลักษณะพิเศษคือมีทั้งอักษรกันนาดาและอักษรเทวนาครี [16]

พัฒนาการ

[แก้]

การเขียนภาษากันนาดาเกิดขึ้นภายใต้อิทธิพลทางศาสนาและสังคมที่หลากหลายในช่วง 1,600 ปีที่ผ่านมา นักภาษาศาสตร์แบ่งการพัฒนาการเขียนเป็น 4 ยุคด้วยกัน คือ

  • ยุคก่อนกันนาดาโบราณ (โปร์วทะ หาเลคันนทะ) เป็นภาษาที่พบในจารึกหัลมิที อายุราวพุทธศตวรรษที่ 10 จากหลักฐานที่พบสรุปได้ว่า ภาษากันนาดาที่เป็นภาษาพูดพัฒนาไปเร็วกว่าภาษาที่พบในจารึกหัลมิที โดยภาษาในจารึกมีลักษระของภาษาสันสกฤตอยู่มาก
  • ยุคกันนาดาโบราณ (หาเลคันนทะ) อยู่ในชาวงระหว่างพุทธศตวรรษที่ 14 -19 ในช่วงนี้ภาษากันนาดาเป็นภาษาที่มีพัฒนาการพร้อมที่จะเป็นภาษาทางวรรณคดี กวีของพวกเชนและไสวิเตเริ่มปรากฏในช่วงนี้ งานทางศาสนาพราหมณ์เริ่มปรากฏในพุทธศตวรรษที่ 12 ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา ภาษษกันนาดามีบทกวีมากซึ่งเป็นยุคก่อนสมัยกวีรชมรรคาราว 200 - 300 ปี และเริ่มมีตำราไวยากรณ์ภาษากันนาดา
  • ยุคกันนาดากลาง (นทุคันนทะ) เป็นช่วงระหว่างพุทธศตวรรษที่ 19 - 23 ศาสนาฮินดูมีอิทธิพลต่อวรรณคดีและภาษากันนาดามาก
  • ยุคกันนาดาใหม่ (โหลาคันนทะ) เริ่มตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 24 เป็นต้นมา

อิทธิพลต่อภาษาและวัฒนธรรมอื่น

[แก้]

อิทธิพลของภาษากันนาดาโบราณต่อภาษาในจารึกอักษรทมิฬ-พราหมี ตั้งแต่ช่วง พ.ศ. 343 จนถึงพุทธศตวรรษที่ 11 มีทั้งด้านไวยากรณ์และรากศัพท์ การเขียนในพุทธศตวรรษที่ 14 ในเขตกวิราชมรรคาซึ่งเป็นบริเวณระหว่างแม่น้ำกาเวรีและแม่น้ำโคธาวารี ซึ่งถือว่าเป็นดินแดนกันนาดาแสดงให้ถึงความนิยมใช้ภาษานี้ ภาษากันนาดามีอิทธิพลต่อภาษาคุชราตซึ่งเป็นภาษาเพื่อนบ้านในขณะนั้นด้วย ก่อนพุทธศตวรรษที่ 6 บริเวณที่มีผู้พูดภาษากันนาดาอยู่ในเส้นทางการค้าของจักรวรรดิกรีก-โรมัน ทำให้ภาษานี้มีการแพร่กระจายไปในวงกว้าง ภาษาที่ปรากฏร่วมกับภาษากันนาดาเช่น ภาษาตูลู ภาษาโกทวะ ภาษาสันเกถิ และภาษากอนกานีจึงมีคำยืมจากภาษากันนาดาจำนวนมาก

วรรณคดีและกวี

[แก้]

บทกวีภาษากันนาดาที่เก่าที่สุดคือ กัปเป อรภัตตะ เขียนเมื่อ พ.ศ. 1243 กวิราชมรรคา เขียนโดยกษัตริย์หริปตุระ อโมฆวรรษาที่ 1 เป็นวรรณคดีชิ้นแรกของภาษากันนาดา

สำเนียง

[แก้]

มีความแตกต่างของรูปแบบภาษาที่ใช้ในการพูดและเขียน ภาษาพูดของภาษากันนาดามีแนโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงไปตามบริเวณ โดยที่ภาษาเขียนในรัฐกรณาฏกะมีความคงตัวกว่า มีภาษากันนาดาสำเนียงต่าง ๆ กันถึง 20 สำเนียงซึ่งได้รับอิทธิพลจากภูมิหลังทางวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น

การแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์

[แก้]

ภาษากันนาดาใช้พูดในรัฐกรณาฏกะในอินเดียเป็นหลักและแพร่กระจายไปในรัฐใกล้เคียงเช่น รัฐอันธรประเทศ รัฐมหาราษฎระ รัฐทมิฬนาฑู รัฐเกระละและกัว และมีชุมชนที่ใช้ภาษานี้ในสหรัฐ อังกฤษและสิงคโปร์

สถานะการเป็นภาษาราชการ

[แก้]

ภาษากันนาดาเป็น 1 ในภาษาราชการ 22 ภาษาของอินเดียและเป็นภาษาประจำรัฐกรณาฏกะ

ไวยากรณ์

[แก้]

ภาษากันนาดามีการผันคำ คำนามมี 3 เพศ คือ เพศชาย เพศหญิง และไม่มีเพศ การผันคำจะผันตามเพศ จำนวน และกาล

ระบบการเขียน

[แก้]
วิกิพีเดียภาษากันนาดา
ป้ายภาษากันนาดาในอินเดีย

อักษรกันนาดามี 41 ตัว แบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ สวรคลุ (สระมี13 ตัว) โยควาหกคลุ (เครื่องหมายมี 2 ตัวคือ ಂ และ ಃ) และ วยันชนคลุ (พยัญชนะมี 34 ตัว) อักษรแต่ละตัวออกเสียงต่างจากกันอย่างชัดเจน นอกจากนี้ อักษรกันนาดายังใช้เขียนอักษรอื่น เช่น ภาษาตูลู ภาษาโกทวะ และภาษากอนกานี

อักษรที่เลิกใช้แล้ว

[แก้]

ในวรรณคดีภาษากันนาดา มีอักษร ಱ (ṟ หรือ rh) และ ೞ (ḻ, lh หรือ zh) ซึ่งใกล้เคียงกับเสียงที่คล้ายกันที่ยังใช้อยู่ในภาษาทมิฬและภาษาตูลู อักษร 2 ตัวนี้เลิกใช้เมื่อพุทธศตวรรษที่ 17 และ 23 ตามลำดับ งานเขียนภาษากันนาดารุ่นหลังแทนที่เสียง rh และ lh ด้วย ರ (r) และ ಳ (l) ตามลำดับ[17]

อักษรอีกตัวที่กำลังจะเลิกใช้คือ nh ซึ่งมีเสียงที่คล้ายกันนี้ในภาษาทมิฬและภาษามลยาฬัม การใช้อักษรตัวนี้ลดลงหลัง พ.ศ. 2523 และมักจะแทนที่ด้วย ನ್ (n)

อ้างอิง

[แก้]
  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-09. สืบค้นเมื่อ 2007-04-02.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-03. สืบค้นเมื่อ 2007-04-02.
  3. Kamath (2001), p. 5–6
  4. (Wilks in Rice, B.L. (1897), p490)
  5. Pai and Narasimhachar in Bhat (1993), p103
  6. Iravatham Mahadevan. "Early Tamil Epigraphy from the Earliest Times to the Sixth Century AD". Harvard University Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-09-04. สืบค้นเมื่อ 2007-04-12.
  7. คำว่าIsila พบในจารึกสมัยพระเจ้าอโศก หมายถึง "ขว้างลูกศร" เป็นคำภาษากันนาดา แสดงว่าภาษากันนาดามีใช้ในช่วงเวลานั้น (Dr. D.L. Narasimhachar in Kamath 2001, p5)
  8. Staff reporter. "Declare Kannada a classical language". The Hindu, Friday, May 27, 2005 ข้อมูลวันที่ 2006-11-25. The Hindu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-01-05. สืบค้นเมื่อ 2007-04-08.
  9. A report on Halmidi inscription, Muralidhara Khajane. "Halmidi village finally on the road to recognition". The Hindu, Monday, Nov 03, 2003 ข้อมูลวันที่ 2006-11-25. The Hindu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2003-11-24. สืบค้นเมื่อ 2007-04-08.
  10. Moraes (1931), p382
  11. Moraes (1931), p 382
  12. Dr Gopal, director, Department of Archaeology and Ancient History (2006-02-06). "5th century copper coin discovered at Banavasi". Hindu, Monday, February 6, 2006. Chennai, India: The Hindu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-26. สืบค้นเมื่อ 2007-10-18.{{cite news}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  13. Kamath (2001), p12, p57
  14. Govindaraya Prabhu, S. "Indian coins-Dynasties of South". Prabhu's Web Page On Indian Coinage, November 1, 2001. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-09-01. สืบค้นเมื่อ 2006-11-27.
  15. Harihariah Oruganti-Vice-President, Madras Coin Society. "Vijayanagar Coins-Catalogue". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-10-25. สืบค้นเมื่อ 2006-11-27.
  16. This shows that the native vernacular of the Goa Kadambas was Kannada – Moraes (1931), p384
  17. Rice, Edward. P (1921), "A History of Kanarese Literature", Oxford University Press, 1921: 14–15